ข้อกำหนดมาตรฐานโดรน(รักจะเล่นโดรนต้องไม่เล่นให้เสี่ยง)KM_AGA


ประชาชนไทยย่อมต้องมีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองที่ดี..... ต้องส่งเสริมให้ตระหนักในความปลอดภัยก่อน.....เพราะ จนท ของรัฐตรวจจับคงไม่มีจำนวนมากพอ ปชช. ต้องเป็นหูเป็นตาเพราะโดรนนั้นเสี่ยงเกิดอันตรายต่อ ปชช พี่น้องด้วยกันเอง

.....โดรนต้องเล่นด้วยจิตสำนึกความปลอดภัยและไม่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว

.....เพราะโดรนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถบินอยู่เหนือศรีษะชาวบ้านและตกลงมาทำความเสียหายได้ มีความเสี่ยงต่อทุกคนที่อยู่บนพื้น

.....เพราะโดรนเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติการบินของอากาศยาน ที่มีความเสี่ยงต่อ ชีวิตผู้โดยสาร ลูกเรือ กัปตัน บนอากาศยาน

......เพราะโดรนมีกล้องเป็นอุปกรณ์ที่สามารถละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ในพื้นที่ส่วนบุคคล ในบ้านเรือนที่ไม่มีเจ้าบ้านอยากให้มีใครมามองสังเกตุอะไรในบ้านตน

......เพราะโดรนสามารถนำสิ่งอันตราย หรือสิ่งผิดกฏหมายมาปล่อยยังสถานที่ใดๆก็ได้ ทำให้ได้รับอันตรายหรือเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหา

......บุคคลที่กระทำการใดๆในที่สาธารณะ ต้องมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสาธารณะ เสี่ยงต้องหยุดทำ มิใช่ รอให้เกิดเหตุอันตรายแล้วจึงหยุดทำ........

......ผมว่าหน้าที่พลเมืองตาม รธม.... ในข้อที่ว่า ....ประชาชนไทยย่อมต้องมีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองที่ดี..... อันนี้น่าส่งเสริมให้ตระหนักเกิดก่อนนะครับพี่.....เพราะจะให้ จนท ของรัฐตรวจจับคงไม่มีมากพอแน่ ปชช ต้องเป็นหูเป็นตาด้วย เพราะ มันอันตรายต่อ ปชช พี่น้องกันเองครับ ..........ต้องแยกแยะให้ออกสำหรับคนที่เล่นโดยประมาทครับ.... คนที่เล่นอย่างประมาท คือเล่น ใกล้ร่างกายคนอื่น ...ใกล้ทรัพย์สินอันมีค่าของคนอื่น ....โอกาสเกิดความเสี่ยง.... อันที่จะทำให้บาดเจ็บและทรัพย์เสียหายได้มาก ...รู้อยู่แล้วว่าอันตรายยังฝืนทำหนะครับ ....ต้องอบรมวิธีคิดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสถานที่สาธารณะก่อนที่จะอนุญาต หรือ ก่อนจะซื้อขาย เหมือน วิทยุสื่อสาร ปืน พลุขนาดใหญ่ สารเคมีประกอบ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่นๆ ร่วมกับการขึ้นทะเบียนโดรนกันด้วยครับ


.............................................................

กฎหมายโดรน...

ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558

ซึ่งลงประกาศตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตามประกาศดังกล่าวได้นิยามความหมายไว้ดังนี้

  • “อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความว่า อากาศยานที่ควบคุมการบินโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548
  • “ระบบควบคุมอากาศยาน” หมายความว่า ชุดอุปกรณ์อันประกอบด้วยเครื่องเชื่อมโยงคําสั่งควบคุมหรือการบังคับอากาศยาน รวมทั้งสถานีหรือสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้หรือเครื่องมือที่ใช้ควบคุมการบินจากภายนอกและตัวอากาศยานด้วย

อากาศยานในประกาศนี้แบ่งเป็นสองประเภทตามวัตถุประสงค์คือ

  • ประเภท 1 ใช้เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา
  • ประเภท 2 ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากตามประเภท 1 คือรายงานข่าว รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ วิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือเพื่อการอื่น ๆ

ประเภทที่ 2 นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม ขณะที่ประเภทที่ 1 มีแบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้

ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

เงื่อนไข

(1) ก่อนทําการบิน

(ก) ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทําการบินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน

(ข) ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ที่จะทําการบิน

(ค) ทําการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทําการบิน

(ง) มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสําหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และการแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได้

(2) ระหว่างทําการบิน

(ก) ห้ามทําการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น

(ข) ห้ามทําการบินเข้าไปในบริเวณเขตห้าม เขตจํากัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่

(ค) แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง

(ง) ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทําการบินและห้ามทําการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง

(จ) ต้องทําการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน

(ฉ) ห้ามทําการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ

(ช) ห้ามทําการบินภายในระยะเก้ากิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต

(ซ) ห้ามทําการบินโดยใช้ความสูงเกินเก้าสิบเมตร (สามร้อยฟุต) เหนือพื้นดิน

(ฌ) ห้ามทําการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่

(ญ) ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน

(ฎ) ห้ามทําการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น

(ฏ) ห้ามทําการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรําคาญ แก่ผู้อื่น

(ฐ) ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน

(ฑ) ห้ามทําการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต)

ประเภท 1.ข มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ไม่เคยโดนโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือศุลกากร และต้องขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เหมือนประเภท 1.ก และเพิ่มเติมอย่างการบำรุงรักษาอากาศยาน ความชำนาญในการบังคับอากาศยาน ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้งานได้ติดตัว มีประกันภัยต่อบุคคลที่สาม วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อครั้ง เพิ่มระยะห่างในข้อ (ฑ) เป็นไม่น้อยกว่าห้าสิบเมตร (หนึ่งร้อยห้าสิบฟุต) เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า

สำหรับอากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียนและปฏิบัติเงื่อนไขเช่นเดียวกับประเภท 1.ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัยและพัฒนาอากาศยาน การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วย

ทั้งนี้ หนังสือการขึ้นทะเบียนมีอายุ 2 ปีตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

................................................................

ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา

...............................................................

แบบฟอร์มการลงทะเบียน Remotely Piloted Aircraft (RPA)

แบบพิมพ์ข้อมูลส่วนบุคคล 7 กันยายน 2559

คำขอขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน 7 กันยายน 2559

การตรวจสอบพื้นที่ห้ามบิน

การตรวจสอบพื้นที่ห้ามบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน

30 สิงหาคม 2559

ขั้นตอนการตรวจสอบพื้นที่ห้ามบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุม การบินจากภายนอก (ทดลองใช้เป็นเวลา 6 เดือน)

ข้อมูลสำคัญ

  • แผนภาพที่แสดงนั้นเป็นการแสดงพื้นที่ห้ามบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกที่เป็นพื้นที่บริเวณเขตห้าม เขตกำกัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศในเอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP -Thailand) รวมทั้งบริเวณพื้นที่ 9 กิโลเมตร (5 ไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
  • ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานห้ามทำการบิน ในบริเวณสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
  • ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร (300 ฟุต) เหนือพื้นดิน
  • ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน และห้ามทำการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ
  • ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
  • ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญผู้อื่น
  • ทั้งนี้ให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานศึกษาและปฏิบัติตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก ประกาศ ณ วันที่ 2กรกฎาคม 2558 ......ดังนี้
  • .........................................................................................................................................................................................
  • ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑการขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปลอยอากาศยานซึ่งไมมีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. ๒๕๕๘
  • ..................................................................................................................................................................................
  • โดยที่มาตรา ๒๔ แหงพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ กําหนดใหรัฐมนตรี มีอํานาจอนุญาตและกําหนดเงื่อนไขการบังคับหรือปลอยอากาศยานซึ่งไมมีนักบิน รัฐมนตรีวาการ กระทรวงคมนาคม จึงออกประกาศกําหนดหลักเกณฑการขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือ ปลอยอากาศยานซึ่งไมมีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก ดังตอไปนี้
  • ขอ ๑ ประกาศนี้เรียกวา “ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑการขออนุญาต และเงื่อนไขในการบังคับหรือปลอยอากาศยานซึ่งไมมีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบิน จากภายนอก พ.ศ. ๒๕๕๘”
  • ขอ ๒ ประกาศนี้ใหใชบังคับตั้งแตวันถัดจากวันประกาศเปนตนไป
  • ขอ ๓ ในประกาศนี้ “อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความวา อากาศยานที่ควบคุมการบิน โดยผูควบคุมการบินอยูภายนอกอากาศยานและใชระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไมรวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใชเปนเครื่องเลนตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไมเปนอากาศยาน พ.ศ. ๒๕๔๘ “ระบบควบคุมอากาศยาน” หมายความวา ชุดอุปกรณอันประกอบดวยเครื่องเชื่อมโยงคําสั่ง ควบคุมหรือการบังคับอากาศยาน รวมทั้งสถานีหรือสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณเหลานี้หรือเครื่องมือที่ใช ควบคุมการบินจากภายนอกและตัวอากาศยานดวย
  • ขอ ๔ อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกตามประกาศนี้แบงเปน ๒ ประเภท ดังนี้
  • (๑) ประเภทที่ใชเพื่อวัตถุประสงคในการเลนเปนงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา แบงออกเปน ๒ ขนาด คือ
  • (ก) ที่มีน้ําหนักไมเกิน ๒ กิโลกรัม
  • (ข) ที่มีน้ําหนักเกิน ๒ กิโลกรัมแตไมเกิน ๒๕ กิโลกรัม หนา ๗ เลม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
  • (๒) ประเภทที่ใชเพื่อวัตถุประสงคอื่นนอกจาก
  • (๑) ที่มีน้ําหนักไมเกิน ๒๕ กิโลกรัม ดังตอไปนี้
  • (ก) เพื่อการรายงานเหตุการณหรือรายงานการจราจร (สื่อมวลชน)
  • (ข) เพื่อการถายภาพ การถายทําหรือการแสดงในภาพยนตรหรือรายการโทรทัศน
  • (ค) เพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน
  • (ง) เพื่อการอื่น ๆ
  • ขอ ๕ รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคมอนุญาตใหบังคับหรือปลอยอากาศยานที่มีน้ําหนัก ไมเกิน ๒ กิโลกรัม ที่ใชเพื่อวัตถุประสงคในการเลนเปนงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา ตามขอ ๔ (๑) (ก) ได โดยผูบังคับหรือปลอยอากาศยานตองมีอายุเกินกวา ๑๘ ปบริบูรณ เวนแต จะมีผูแทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล และตองปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังตอไปนี้
  • (๑) กอนทําการบิน
  • (ก) ตรวจสอบวาอากาศยานอยูในสภาพที่สามารถทําการบินไดอยางปลอดภัย ซึ่งรวมถึง ตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน
  • (ข) ไดรับอนุญาตจากเจาของพื้นที่ที่จะทําการบิน
  • (ค) ทําการศึกษาพื้นที่และชั้นของหวงอากาศที่จะทําการบิน
  • (ง) มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสําหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และ การแกปญหากรณีไมสามารถบังคับอากาศยานได
  • (๒) ระหวางทําการบิน
  • (ก) หามทําการบินในลักษณะที่อาจกอใหเกิดอันตรายตอชีวิต รางกาย ทรัพยสิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น
  • (ข) หามทําการบินเขาไปในบริเวณเขตหาม เขตกํากัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงขาวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หนวยงานของรัฐ โรงพยาบาล เวนแตจะไดรับอนุญาต จากหนวยงานเจาของพื้นที่
  • (ค) แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะตองไมมีสิ่งกีดขวาง
  • (ง) ผูบังคับหรือปลอยอากาศยานตองสามารถมองเห็นอากาศยานไดตลอดเวลาที่ทําการบิน และหามทําการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกลองบนอากาศยานหรืออุปกรณอื่นที่มีลักษณะใกลเคียง หนา ๘ เลม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
  • (จ) ตองทําการบินในระหวางเวลาพระอาทิตยขึ้นถึงพระอาทิตยตก ซึ่งสามารถมองเห็น อากาศยานไดอยางชัดเจน
  • (ฉ) หามทําการบินเขาใกลหรือเขาไปในเมฆ
  • (ช) หามทําการบินภายในระยะเกากิโลเมตร (หาไมลทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลง ชั่วคราวของอากาศยาน เวนแตไดรับอนุญาตจากเจาของหรือผูดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลง ชั่วคราวอนุญาต
  • (ซ) หามทําการบินโดยใชความสูงเกินเกาสิบเมตร (สามรอยฟุต) เหนือพื้นดิน
  • (ฌ) หามทําการบินเหนือเมือง หมูบาน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู
  • (ญ) หามบังคับอากาศยานเขาใกลอากาศยานซึ่งมีนักบิน
  • (ฎ) หามทําการบินละเมิดสิทธิสวนบุคคลของผูอื่น
  • (ฏ) หามทําการบินโดยกอใหเกิดความเดือดรอน ความรําคาญ แกผูอื่น
  • (ฐ) หามสงหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณปลอยแสงเลเซอร ติดไปกับอากาศยาน
  • (ฑ) หามทําการบินโดยมีระยะหางในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งกอสราง หรืออาคาร นอยกวาสามสิบเมตร (หนึ่งรอยฟุต) เมื่อปรากฏวา ผูบังคับหรือปลอยอากาศยานไมสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดขางตนได ใหระงับการบังคับหรือปลอยอากาศยาน เวนแตจะไดรับอนุญาตตามขอ ๑๗
  • ขอ ๖ รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคมอนุญาตใหบังคับหรือปลอยอากาศยานที่มีน้ําหนักเกินกวา ๒ กิโลกรัมแตไมเกิน ๒๕ กิโลกรัม ที่ใชเพื่อวัตถุประสงคในการเลนเปนงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬาตามขอ ๔ (๑) (ข) ได เมื่อผูบังคับหรือปลอยอากาศยานมีคุณสมบัติและลักษณะ ตามขอ ๗ และไดขึ้นทะเบียนตามขอ ๘ โดยผูบังคับหรือปลอยอากาศยานตองปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่กําหนดตามขอ ๙
  • ขอ ๗ ผูบังคับหรือปลอยอากาศยานตามขอ ๖ ตองมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังตอไปนี้
  • (๑) มีอายุไมต่ํากวายี่สิบปบริบูรณ
  • (๒) ไมเปนผูมีพฤติการณอันเปนภัยตอความมั่นคงของประเทศ หนา ๙ เลม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
  • (๓) ไมเคยตองโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดใหจําคุกในความผิดตามกฎหมายวาดวยยาเสพติด หรือกฎหมายวาดวยศุลกากร
  • ขอ ๘ ใหผูบังคับหรือปลอยอากาศยานตามขอ ๖ ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนตออธิบดีพรอมดวย เอกสารและหลักฐานแสดงรายละเอียด ดังตอไปนี้
  • (๑) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาหนังสือเดินทาง
  • (๒) สําเนาทะเบียนบาน
  • (๓) แบบ ยี่หอ หมายเลขประจําตัวเครื่อง จํานวน และสมรรถนะของอากาศยาน รวมทั้ง อุปกรณที่ติดตั้ง
  • (๔) สําเนากรมธรรมประกันภัย ซึ่งคุมครองความเสียหายอันเกิดแกรางกาย ชีวิต ตลอดจน ทรัพยสินของบุคคลที่สาม วงเงินประกันไมต่ํากวาหนึ่งลานบาทตอครั้ง
  • (๕) วัตถุประสงคของการใชอากาศยาน
  • (๖) ขอบเขตของพื้นที่ ตําแหนงทางภูมิศาสตรที่จะทําการบิน
  • (๗) ขอมูลติดตอของผูยื่นคําขอลงทะเบียน
  • (๘) คํารับรองวาผูบังคับหรือปลอยอากาศยานมีคุณสมบัติและลักษณะตามขอ ๗
  • ขอ ๙ ใหผูบังคับหรือปลอยอากาศยานที่ไดขึ้นทะเบียนตามขอ ๘ แลว ปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังตอไปนี้ (๑) กอนทําการบิน
  • (ก) ดําเนินการตามขอ ๕ (๑) (ก) ถึง (ง)
  • (ข) มีการบํารุงรักษาตามคูมือของผูผลิต
  • (ค) มีความรูความชํานาญในการบังคับอากาศยานและระบบของอากาศยาน
  • (ง) มีความรูความเขาใจในกฎจราจรทางอากาศ
  • (จ) นําหนังสือหรือสําเนาหนังสือการขึ้นทะเบียนติดตัวตลอดเวลาที่ทําการบิน
  • (ฉ) มีอุปกรณดับเพลิงที่สามารถใชงานไดติดตัวตลอดเวลาที่ทําการบิน
  • (ช) มีการทําประกันภัยสําหรับความเสียหายอันเกิดแกรางกาย ชีวิต ตลอดจนทรัพยสิน ของบุคคลที่สาม วงเงินประกันไมต่ํากวาหนึ่งลานบาทตอครั้ง หนา ๑๐ เลม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ (๒) ระหวางทําการบิน
  • (ก) ดําเนินการตามขอ ๕ (๒) (ก) ถึง (ฐ)
  • (ข) หามทําการบินโดยมีระยะหางในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งกอสราง อาคาร ที่ไมเกี่ยวของกับการปฏิบัติการบินนอยกวาหาสิบเมตร (หนึ่งรอยหาสิบฟุต)
  • (ค) เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแกอากาศยาน ใหผูบังคับหรือปลอยอากาศยานแจงอุบัติเหตุนั้น ตอพนักงานเจาหนาที่โดยไมชักชา เมื่อปรากฏวา ผูบังคับหรือปลอยอากาศยานฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดไว ตามวรรคหนึ่ง ใหอธิบดีมีอํานาจสั่งใหแกไขการกระทํานั้นภายในระยะเวลาที่กําหนด หากไมดําเนินการ หรือการฝาฝนหรือการไมปฏิบัติดังกลาวจะกอใหเกิดความไมปลอดภัย ใหอธิบดีมีอํานาจสั่งเพิกถอน การขึ้นทะเบียนตามขอ ๖ ได
  • ขอ ๑๐ รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคมอนุญาตใหบังคับหรือปลอยอากาศยานที่มีน้ําหนัก ไมเกิน ๒๕ กิโลกรัม ที่ใชเพื่อวัตถุประสงคอื่นตามขอ ๔ (๒) ได เมื่อผูบังคับหรือปลอยอากาศยาน มีคุณสมบัติและลักษณะตาม
  • ขอ ๑๑ และไดขึ้นทะเบียนตามขอ ๑๒ โดยผูบังคับหรือปลอยอากาศยาน ตองปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดตามขอ ๑๓ ขอ ๑๑ ผูบังคับหรือปลอยอากาศยานตามขอ ๑๐ ตองมีคุณสมบัติและลักษณะ ดังตอไปนี้
  • (๑) เพื่อการรายงานเหตุการณหรือรายงานการจราจร (สื่อมวลชน) ตองเปนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงคและดําเนินการดานสื่อสารมวลชน เชน หนังสือพิมพ วารสาร วิทยุ และโทรทัศน เปนตน
  • (๒) เพื่อการถายภาพ การถายทําหรือการแสดงในภาพยนตรหรือรายการโทรทัศน ตองเปน
  • (ก) บุคคลธรรมดา
  • ๑) มีอายุไมต่ํากวายี่สิบปบริบูรณ
  • ๒) ไมเปนผูมีพฤติการณอันเปนภัยตอความมั่นคงของประเทศ
  • ๓) ไมเคยตองโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดใหจําคุกในความผิดตามกฎหมาย วาดวยยาเสพติดหรือกฎหมายวาดวยศุลกากร (ข) นิติบุคคล ซึ่งผูแทนนิติบุคคลและผูจัดการของนิติบุคคลนั้น มีคุณสมบัติตาม
  • (ก) หนา ๑๑ เลม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ (๓) เพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน ตองเปนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงคและดําเนินการ เพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน
  • (๔) เพื่อการอื่น ตองมีคุณสมบัติและลักษณะตาม (๒) (ก) (ข)
  • ขอ ๑๒ ใหผูบังคับหรือปลอยอากาศยานตามขอ ๑๐ ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนตออธิบดีพรอมดวย เอกสารและหลักฐานแสดงรายละเอียด ดังตอไปนี้ (๑) กรณีผูขอขึ้นทะเบียนเปนนิติบุคคล (ก) หนังสือรับรองหรือหลักฐานการเปนนิติบุคคล ซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ วัตถุประสงค ที่ตั้งสํานักงาน และผูมีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่เปนปจจุบัน โดยมีคํารับรองของผูมีอํานาจใหคํารับรอง ตามกฎหมายไมเกินสามสิบวัน นับแตวันที่ออกหนังสือรับรองหรือหลักฐานนั้น (ข) บัญชีรายชื่อหุนสวนผูจัดการหรือกรรมการผูจัดการ และผูมีอํานาจควบคุม (ถามี) (ค) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาหนังสือเดินทางของบุคคลตาม (ข) (ง) รายชื่อของผูบังคับหรือปลอยอากาศยานและบุคคลอื่นที่จําเปนตองมีในการปฏิบัติการบิน ของอากาศยาน
  • (จ) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนและสําเนาทะเบียนบาน รวมทั้งเอกสารแสดงความยินยอม ของบุคคลตาม (ง) (ฉ) แบบ ยี่หอ หมายเลขประจําตัวเครื่อง จํานวน และสมรรถนะของอากาศยาน รวมทั้ง อุปกรณที่ติดตั้ง
  • (ช) สําเนากรมธรรมประกันภัย ซึ่งคุมครองความเสียหายอันเกิดแกรางกาย ชีวิต ตลอดจน ทรัพยสินของบุคคลที่สาม วงเงินประกันไมต่ํากวาหนึ่งลานบาทตอครั้ง
  • (ซ) วัตถุประสงคของการใชอากาศยาน
  • (ฌ) ขอบเขตของพื้นที่ ตําแหนงทางภูมิศาสตรที่จะทําการบิน
  • (ฎ) ขอมูลติดตอของผูยื่นคําขอลงทะเบียน (ฏ) คํารับรองวาผูแทนนิติบุคคลและผูจัดการของนิติบุคคล มีคุณสมบัติและลักษณะ ตามขอ ๑๑ (๒) หนา ๑๒ เลม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ (๒) กรณีผูขอขึ้นทะเบียนเปนบุคคลธรรมดา (ก) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน หรือสําเนาหนังสือเดินทาง (ข) สําเนาทะเบียนบาน (ค) รายการตาม (๑) (ฉ) ถึง (ฏ)
  • ขอ ๑๓ ใหผูบังคับหรือปลอยอากาศยานที่ไดขึ้นทะเบียนตามขอ ๑๒ แลว ปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่กําหนดไวในขอ ๙ โดยอนุโลม
  • ขอ ๑๔ เมื่ออธิบดีไดรับคําขอขึ้นทะเบียนตามขอ ๘ หรือขอ ๑๒ แลว ใหอธิบดีตรวจสอบ คุณสมบัติและลักษณะของผูขอตามที่กําหนดในขอ ๗ หรือขอ ๑๑ รวมทั้งเอกสารหลักฐานตามที่ กําหนดในขอ ๘ หรือขอ ๑๒ แลวแตกรณี หากตรวจสอบตามวรรคหนึ่งแลว เห็นวาผูขอมีคุณสมบัติและลักษณะ รวมทั้งเอกสารหลักฐาน ถูกตองครบถวน ใหอธิบดีออกหนังสือการขึ้นทะเบียนมอบไวแกผูขอ หรือมิฉะนั้น ใหอธิบดียกคําขอ และแจงใหผูขอทราบ ทั้งนี้ ไมตัดสิทธิผูขอที่จะยื่นคําขอใหม
  • ขอ ๑๕ หนังสือการขึ้นทะเบียนตามขอ ๑๔ ใหมีอายุสองป นับแตวันที่ออกหนังสือ
  • ขอ ๑๖ เมื่อผูไดรับหนังสือการขึ้นทะเบียนประสงคจะใชอากาศยานที่ขึ้นทะเบียนไวตอไป ใหยื่นคําขอขึ้นทะเบียนตามขอ ๘ หรือขอ ๑๒ แลวแตกรณี ตออธิบดี กอนวันที่หนังสือการขึ้นทะเบียน สิ้นอายุไมนอยกวาสามสิบวัน
  • ขอ ๑๗ ในกรณีที่ผูบังคับหรือปลอยอากาศยานไมสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่กําหนด ในขอ ๕ ขอ ๙ และ ขอ ๑๓ และมีหนังสือแจงใหอธิบดีทราบแลว ใหอธิบดีมีอํานาจอนุญาตใหผูบังคับ หรือปลอยอากาศยานปฏิบัติแตกตางไปจากที่กําหนดได ทั้งนี้ อธิบดีอาจกําหนดเงื่อนไขและขอจํากัด เพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยไวดวยก็ได
  • ขอ ๑๘ ผูใดประสงคจะบังคับหรือปลอยอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกที่มีน้ําหนักเกิน ๒๕ กิโลกรัม ใหยื่นขออนุญาตตออธิบดีเปนกรณีไป และจะบังคับหรือปลอยอากาศยานไดตอเมื่อไดรับ อนุญาตเปนหนังสือจากรัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคม และตองปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนด ประกาศ ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีวาการกระทรวงคมนาคม
  • ถ้าอุปกรณ์ของท่านไม่มีโปรแกรม Google Earth สามารถ Download และติดตั้ง ได้ตาม Link https://www.google.com/earth/

* หมายเหตุ หากมีข้อสอบถามหรือข้อเสนอแนะ สามารถติดต่อได้ที่ email : [email protected]

รวบรวมโดย KMTEAMDCA , KM_AGA , [email protected]


หมายเลขบันทึก: 620672เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2016 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2016 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท