​จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๗๙ : Coaching and Mentoring for medical professionalism Part V


จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๗๙ : Coaching and Mentoring for medical professionalism Part V

"๑๒ Angry Men"

เทคนิกการสอนในอีกรูปแบบหนึ่งอยู่ในกลุ่ม "Edutainment" ซึ่งเป็นสนธิของ education กับ entertainment (ถ้าเล่นคำก็คือ play + learn ก็คือ "เพลิน") ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุณสมบัติดีๆหลายประการ ได้แก่

@ ง่ายกว่า role-play เพราะนักเรียนเป็น observer

@ มีอิสระในการ appraise values มากขึ้น เพราะเราไม่ต้องเกรงอกเกรงใจตัวละครในหนัง เราสามารถจะ criticize ได้ใกล้เคียงกับระดับความรู้สึกจริง (เรายังคงถูกกระทบจากคนที่ยืนฟังอยู่ก็จริง แต่อย่างน้อยดูเหมือนเราไม่ได้พูดถึง "ใคร" แต่เราจะ focus ที่ "ทำอะไร" กับ "เพราะอะไร" แทนโดยไม่กระทบคน)

@ replay ตรงไหน เมื่อไรก็ได้ ตัดต่อมาบางตอนก็ได้

@ คนเรียนจะอยู่ในภาวะ "ผ่อนคลาย" เมื่อเราเป็น observer มากกว่าเมื่อเราเป็น first หรือ second party ในประสบการณ์นั้นๆ

@ หนังดีๆ ที่มีผู้เขียน ผู้กำกับดีๆ จะสามารถใส่เนื้อหารายละเอียดที่ต้องใช้สัมผัสทั้งหมดอย่างเต็มที่ของผู้ชมในการรับรู้ เป็นการฝึกทักษะการสื่อสารที่ละเมียดละไม ละเอียดประณีต ผสมผสานกับการ "เสมือนจริง" ถ้าได้นักแสดงมือเก่งๆมาเล่นด้วย ทั้งวจนภาษา และอวจนภาษา ได้หมดทุกเรื่อง รวมทั้ง impact ของสิ่งแวดล้อม ambient ฉาก ชุด เสื้อผ้าหน้าผม บางเรื่องที่ใช้ script writer มือดีๆ จะได้สุนทรียของภาษา และพลังของภาษาออกมาครบถ้วน

@ หนังดีๆ จะทำให้คนดู engage ไปกับการ narrative ได้อย่างมาก เสมือนกำลังใช้ชีวิตอยู่ในฉากนั้นๆจริงๆ สะท้อนความรู้สึก ความคิด ของคนชมไปกับคนเล่นได้จริงๆ

Empathic skill and "Beyond reasonable doubt"

ภาพยนต์เรื่อง ๑๒ angry men เป็น court-room drama (จริงๆเกิดในฉากห้องอภิปรายของลูกขุนเกือบทั้งหมด มีอยู่ในศาลแป๊บเดียว) โดยเริ่มต้นผู้พิพากษาแจ้งให้คณะลูกขุนทราบชัดเจนว่าจะต้องทำอะไร และผลกระทบคืออะไร นั่นคือทั้ง ๑๒ คนจะต้องหา consensus ว่าเด็ก ๑๘ ปีหรือจำเลยเป็นคนฆ่าพ่อตนเองหรือไม่ ถ้าตัดสินว่าผิด เด็กคนนี้จะมีโทษเดียวคือประหารชีวิตด้วยการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า แต่การตัดสินนั้นต้องเป็น unanymous นั่นคือ "เป็นเอกฉันท์" ๑๒ : ๐ ไม่มีเสียงแย้งแม้แต่เสียงเดียว หลักการง่ายๆ (คือชัดเจน เข้าใจได้ ไม่ได้หมายถึง "ทำง่ายๆ") คือ ลูกขุนมั่นใจอย่างไม่มีข้อสงสัย สงกา เลยว่าจำเลยกระทำผิดจริง (there are NO reasonble doubts)

ภาพยนต์เรื่องนี้แสดงนำโดย Henry Fonda ดาราใหญ่ของฮอลลีวูด ในยุคที่ภาพยนต์ยังไ่ม่ได้เน้น special effects ในการทำความบันเทิง แต่ใช้เรื่องของการแสดงสมจริง เล่าเรื่องได้ชวนติดตาม ชวนคิด และทำให้ผู้ชมหลอมละลายรวมอยู่ในเรื่องราวนั้นๆจริงจากฝึมือนักแสดง และบทบาท บทพูดที่ละเอียด ประณีต มีพลังโน้มน้าวให้เชื่อ

ระบบศาลมีสองระบบ ระบบที่ใช้ลูกขุนเป็นคนตัดสิน กับระบบที่ใช้ผู้พิพากษาเป็นคนตัดสิน ซึ่งก็จะมีข้อดี/ข้อเสีย จุดอ่อนจุดแข็ง และข้อจำกัดต่างๆไม่เหมือนกัน ลูกขุนจะเป็น "ตัวแทน" ของคนธรรมดาๆ ที่อาศัยในสังคม มักจะเป็นคนที่มีอาชีพการงานมั่นคง เป็น ordinary citizen เป็นพลเมืองดี ที่ไม่มีความด่างพร้อยในการดำเนินชีวิต

ภาพยนต์นำเข้าสู่ theme ของเรื่องอย่างรวดเร็วทีเดียว ไม่ยืดเยื้อ เพียงใช้เวลาสั้นๆก็สามารถจำแนก profile ของตัวละครเอกทั้ง ๑๒ คนได้ บางคนอยากจะทำงานให้เสร็จๆ อยากจะไปดูเบสบอลต่อ บางคนเงียบขรึม บ้างก็แสดงความมั่นใจ บ้างก็ไม่แน่ใจ บางคนก็ค่อนข้างจะ casual เหมือนกับจะไม่ serious มากนัก เพียงชั่วขณะ บุคลิกต่างๆเหล่านี้ก็กลายเป็น personality and profile ของสมาชิกไปได้เพื่อสนับสนุนสิ่งที่คนเหล่านี้จะพูดในเวลาต่อมา

มีคนเสนอว่าลอง vote เลยดูดีไหม เผื่อถ้าได้ความเห็นตรงกันทั้ง ๑๒ คน จะได้เลิกงานได้ทันที ทุกคนก็เห็นด้วย แต่เมื่อผลการ vote ออกมา ๑๑ : ๑ บอกว่า "ผิด : ไม่ผิด" ก็นำเข้าเนื้อเรื่องหลักได้ทันทีหลังจากนั้น

ข้อดีของภาพยนต์ก็คือ การให้ "concept" ของอะไรก็ตาม จะผ่านเรื่องเล่า ไม่บอกตรงๆ สำหรับเรื่องนี้ประเด็นที่น่าสนใจมากคือ การที่พระเอก (คนที่ vote not-guilty คนเดียวในตอนแรก) "กล้า" เห็นไม่เหมือนกับคนส่วนใหญ่ และค่อยๆใช้คำสำคัญของผู้พิพากษา คือ เราต้องตัดสินอย่าง beyond หรือ no reasonble doubt ไม่มีข้อสงสัย ไม่มีข้อสงกา ว่าเด็กคนนี้ผิด เราจึงจะตัดสินว่าผิด (เราอาจจะแปลกใจ เพราะระบบศาลนี้ ผู้ต้องสงสัยนั้น จะถูก assume ว่าบริสุทธิ์ และอัยการหรือโจทย์จะต้องเป็นคนหาหลักฐาน พยาน ต่างๆ มาบอกว่าผิด เพราะระบบอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อโดนกล่าวหา ผู้โดนกล่าวหาจะต้องเป็นคนไปค้นหาหลักฐานและพยาน มาพิสูจน์ว่าตนเองบริสุทธิ์)

ประเด็นนี้จะเหมือนเรื่อง "ขวัญกับเรียม" ในกิจกรรมก่อน แตกต่างกันตรงที่เรื่องขวัญกับเรียม พวกเราเป็นคน "ตัดสิน" (นัยยะแบบนั้น แม้ว่าจะใช้คำว่า "ใครน่ารังเกียจ" "ใครน่าสงสาร" และ "ใครน่าเห็นใจ" ก็ตาม ทั้งหมดเป็น values และเราตัดสิน) แต่ในเรื่องนี้เราได้มานั่งดูดาราเหล่านั้นตัดสินให้เราดู

"ความเชื่อ" เป็นอะไรที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ "ตัวตน" ดังนั้น เวลามีอะไรมากระทบความเชื่อดั้งเดิมของเรา เราจะรู้สึกอึดอัดไม่มากก็น้อย พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็จะมีได้หลายอย่าง พอเราชมภาพยนต์ เราก็เริ่ม form ความเชื่อของเราเองอย่างรวดเร็วว่าความจริงเป็นเช่นไร ซึ่งมีหลายกลไก

@ เชื่อเพราะมีพยาน

@ เชื่อเพราะมีหลักฐาน

@ เชื่อเพราะฝังใจมาก่อน

@ เชื่อเพราะความเกลียดชัง ความกลัว หรือความโกรธ

@ เชื่อเพราะมักง่าย

@ เชื่อเพราะสมเหตุสมผล

@ เชื่อเพราะ "คนส่วนใหญ่เชื่อเช่นนั้น"

เราจะถูกกลไกที่ทำให้เชื่อทุกประการข้างต้นเติมเข้ามาไม่หยุดยั้ง แต่คำๆหนึ่งที่ถูกใช้บ่อยคือ "ผมไม่แน่ใจจริงๆ ว่า...." "มันพอจะมีคำอธิบายอื่นได้อีกไหมว่า......" ซ้ำแล้วซ้ำอีก

เวลาที่เรายึดมั่น ขัดแย้งกับ "คนส่วนใหญ่" นั้น ต้องใช้คุณสมบัติ หรือพลังด้านใดบ้าง?

เป็นความง่ายของชีวิตประการหนึ่งที่จะ "ไหล" ไปตามกระแส ไม่ต้องทำอะไร แค่ไหลไปเรื่อยๆก็ได้ ออกแรงน้อย แต่เมื่อไรก็ตามที่เรา "อยากต้านกระแส" เราต้องใช้แรงมากขึ้น

นั้นคือ "แรงของคุณค่า values"

ถ้าตัดสินใจเรื่องซื้อกับข้าว ไปเที่ยว ฯลฯ พระเอกก็คงจะไม่ทุ่มเทที่จะโต้แย้งคนหมู่มากแบบนี้ ไม่ใช่แค่คนหมู่มากเฉยๆ แต่เป็นคนหมู่มากที่เกิดอารมณ์หงุดหงิด และโกรธมากขึ้นๆเรื่อยๆ ภาพยนต์เรื่องนี้ค่อยๆ แย้มพรายให้เราเห็น สัมผัส "values" ตรงนี้ได้อย่างแยบยล โดยการนำไป challenge กับ values ที่แตกต่างกันไปของตัวละครอื่นๆ

บางทีอธิบายสีขาวว่าเป็นอย่างไรก็คงจะยาก และทำได้ง่ายขึ้นเมื่อนำไปทาบบนสีดำ

ตัวละครอีก ๑๑ ตัวจึงเป็น contrast ที่ค่อยๆเสริมเติมพลังให้ความเชื่อของอีก ๑ ว่ามันคืออะไร ทำไมมันถึงสำคัญ สำคัญแค่ไหน และที่ทำได้เนียนสุดๆคือ เมื่อ "ข้อมูลใหม่" มากระทบนั้น เกิด "การเปลี่ยนแปลง" ขึ้นได้

คนดู "เชื่อ" ด้วยว่ามันเปลี่ยนได้อย่างสมเหตุสมผล ไม่ใช่จำใจต้องเชื่อ อันนี้ยกเป็นความดีความชอบของผู้กำกับ คนแต่งเรื่อง คนเขียน script และดาราที่แสดงออกมาได้อย่างสมบทบาท

สำหรับนักศึกษาแพทย์ (และแพทย์) Empathy ความเห็นอกเห็นใจ หรือที่ฝรั่งมีสำนวนว่า "put yourself into others' shoes" เอาตัวเองลองไปอยู่ในสถานการณ์แบบของคนอื่นดู ว่าเขาคิดอย่างไร และถ้าเป็นเราเราอาจจะทำเหมือนหรือต่างจากเขาอย่างไร เป็นทักษะสำคัญมาก

เพราะถ้าเราไม่ empathy แล้ว....

@ เราจะไม่เกิดความเมตตา กรุณา เนื่องจากเราไม่ sense ความทุกข์ ความสุขของคน

@ เราจะไม่เล่าเรื่องในแบบของเขา เราจะเล่า "ในแบบของเรา"

@ เราจะดูแลเขาในสไตล์เรา

@ เราจะ "ตัดสินเขา" ด้วยประสบการณ์เก่าของเรา

@ เราอาจจะโกรธ เกลียด กลัว เพราะเราไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาคิด เขาทำ เขาพูด

@ เมื่อเราโกรธ เกลียด กลัวเขาเสียแล้ว เราก็จะรักเขาไม่ได้เลย เรายิ่งดูแลเขาไม่ได้

@ ชีวิตเราจะโดดเดี่ยว เงียบเหงา และว้าเหว่เอามากๆ ถ้าเรา empathy ไม่เป็น

แต่ถ้าเรา empathy เป็นล่ะ?

@ เราเปิดโลกทรรศน์กว้างมากขึ้น

@ เราเห็นความเป็นไปได้ของชีวิตมากขึ้น จากประสบการณ์ของผู้อื่น

@ เรายอมให้ชีวิตอื่นๆ เข้ามาในหัวใจของเรา

@ เราจะ "เชื่อม" connect ชีวิตเรากับชีวิตคนอื่นเป็น

@ เราจะรู้จัก "ความรักและเมตตา" อย่างแท้จริงได้ด้วยวิธีนี้วิธีเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอื่น

@ เราจะเพิ่ม "ความเป็นไปได้ของชีวิตของเรา" เพราะเราเล่าเรื่องชีวิตได้หลากหลายมากขึ้น

@ เราจะมี antidote ไปพิชิตโรค SHAME ของผู้อื่น ที่รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ไร้ความหมาย จริงๆแล้ว empathy เป็นยาที่ทรงพลังในการรักษาความท้อแท้ โดดเดี่ยว เงียบเหงา และอื่นๆอีกมากมาย

หมายเลขบันทึก: 620480เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2016 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2016 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท