“สืบสานแนวคิดด้านความปลอดภัย ประยุกต์ใช้ในการทำงาน” กับโครงการพระราชดำริของในหลวง ร ๙


“สืบสานแนวคิดด้านความปลอดภัย ประยุกต์ใช้ในการทำงาน”

เศรษฐกิจพอเพียง...

“ การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอันพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517

……………………..

พระบรมราโชวาทด้านบนนั้นเป็นหลักปรัชญาที่พวกเราคุ้นเคยกันดี แต่มีน้อยคนนักที่สามารถน้อมนำมาปฎิบัติให้เห็นผลได้จริง ความเข้าใจของคนทั่วไปมีไม่น้อยที่เข้าใจผิดเพี้ยน หมายความไปว่าการพอเพียงคือการหยุดทำ การไม่ทำงาน การเกียจคร้าน และยังคิดว่าเหมาะสมกับภาคเกษตรกรรมมากกว่าภาคอุตสาหกรรมเสียอีก

ความจริง เศริษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกระดับทั้งส่วนบุคคล ทั้งองค์กร และได้ทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท จนได้นิยาม “ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข” ตามภาพด้านล่างนี้


แล้วเราจะระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันอย่างไรในแง่ของความปลอดภัยในการทำงาน แต่หากเมื่อทำความเข้าใจกับคำว่า การเดินทางสายกลางที่หมายถึงการรู้จักพอประมาณ คือความพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป ยกตัวอย่างการขับรถโฟลค์ลิฟท์ตักสินค้าต้องรู้จักประมาณตนก่อนว่าทำงานมากจนเหนื่อยเพลียหรือไม่ สายตายังปกติดีอยู่หรือไม่ รถและอุปกรณ์ยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ แล้วก็แก้ไขโดยการแจ้งหัวหน้างานเพื่อปรับเปลี่ยนปรับปรุงให้เหมาะสม นี่คือการมีสติในการทำงานและนำไปสู่เงื่อนไขที่หนึ่ง คือการรอบรู้ การระวัง รอบคอบ ก็จะไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงหรือเกิดอุบัติเหตุได้

เมื่อมีความรู้ในเงื่อนไขที่หนึ่งดีพอแล้ว สามารถพัฒนาต่อไปสู่เงื่อนไขที่สองคือ คุณธรรม เมื่อคนเรามีสติ มีการประมาณตนได้ทุกเมื่อสม่ำเสมอ ก็จะเป็นคนที่มีความขยัน ซื่อสัตย์ อดทน และแบ่งปันให้กับสังคมได้ต่อไป

สรุปให้เข้าใจง่ายๆ “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยึดหลักทางสายกลาง การประมาณตน ประมาณงาน การมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถฝึกฝนให้คนมีสติในการทำงาน มีวินัยในตัวตน เมื่อคนเรามีสติทุกปัจจุบันขณะย่อมจะประกอบงานการด้วยความไม่ประมาท มีวินัย และนำมาซึ่งความปลอดภัยต่อทั้งประโยชน์ส่วนตัว ต่อทั้งระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาคต่อไป

.....................

เครดิตข้อมูลและภาพประกอบ

วิกิพีเดีย

.....................


หมายเลขบันทึก: 620295เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2016 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2016 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเรื่องน่าสนใจมาก

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท