​เทคนิคและทักษะในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์


เทคนิคและทักษะในการปฏิบัติงาน

เทคนิคและทักษะในการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานกับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดหรือให้บริการแก่ผู้รับบริการไม่เพียงแต่ในระดับบุคคลเท่านั้น ครอบครัว กลุ่ม ชุมชน ที่นักสังคมสงเคราะห์เข้าไปเกี่ยวข้องก็สามารถนำเทคนิคและทักษะเหล่านี้มาใช้ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เทคนิคและทักษะจึงเป็นที่รวมของศิลปะเพื่อใช้ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี อย่างไรก็ตามเทคนิคและทักษะของนักสังคมสงเคราะห์จำเป็นต้องพัฒนาควบคู่ไปกับความรู้ ทัศนคติต่อวิชาชีพโดยนักสังคมสงเคราะห์จะต้องรู้ถึงจุดมุ่งหมายในการทำงานว่าจะใช้เทคนิคและทักษะเหล่านี้เพื่ออะไร และนำไปใช้ได้อย่างไร รวมทั้งจะก่อให้เกิดผลอย่างไร ในการปฏิบัติงานจริงจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคและทักษะเหล่านี้อยู่เสมอการฝึกฝนจะช่วยสร้างความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพให้นักสังคมสงเคราะห์มากขึ้น เทคนิคและทักษะที่จำเป็นต้องนำมาใช้กับเด็กและเยาวชนที่กระผิดได้แก่

1. เทคนิคและทักษะการสัมภาษณ์ ( Interviewing)

2. เทคนิคและทักษะการเยี่ยมบ้าน (Home Visiting)

3. เทคนิคและทักษะการให้คำแนะนำปรึกษา

4. เทคนิคและทักษะการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์โดยใช้รูปแบบครอบครัวเป็นฐาน

5. เทคนิคและทักษะการติดตาม (Follow up) และ ประเมินผล (Evaluation)

ที่มาwww2.djop.moj.go.th/app/download/upload/download-10-1257758185.doc

หมายเลขบันทึก: 620213เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2016 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2016 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท