จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน


นอกจากการเรียนความรู้พื้นฐานสงัคมสงเคราะห์แล้ว เรายังมีการเรียนจิตวิทยาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อให้เราเข้าใจในพื้นฐานของมนุษย์ได้ดีขึ้น

จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่ออธิบาย คาดการณ์ หรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อจะได้เข้าใจและสามารถนำชีวิตของเราให้ดำเนินไปได้อย่างเฉลียวฉลาด และยังมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับเราด้วย เพื่อชีวิตของเราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จมากขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า

“คนเราเกิดมามีชีวิตอยู่กับคน เรียนรู้ และทำงานร่วมกับคน ใช้สิ่งต่างๆ ในสังคม ร่วมกับคน มีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะคน”

คำกล่าวข้างต้นชี้ว่าทุกชีวิตจะต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคล ดังต่อไปนี้

1. ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ รู้ถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ มนุษย์เกิดความรู้สึกอย่างไรเมื่อไม่สามารถสนองตอบความต้องการของตนเองได้ และอะไรเป็นแรงผลักดันให้คนแสดงพฤติกรรมต่างกัน

2. ช่วยในการปรับตัวและแก้ปัญหาทางจิตใจของตนเอง รู้วิธีรักษาสุขภาพจิตของตนเอง รู้วิธีเอาชนะปมด้อย วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และขจัดความวิตกกังวลต่างๆ ได้

3. ช่วยให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น สามารถเข้าใจและรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่น

คนที่ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข คือคนที่มีความสมหวัง สามารถประกอบกิจการงานประสบความสำเร็จตามความปรารถนา มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวหรือวิตกกังวล มีอารมณ์มั่นคง มีความอดทนและมีความสามารถต่อสู้อุปสรรคต่างๆ ได้ เป็นคนที่ยอมรับความจริงในชีวิต ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม สรุปว่า คนที่มีความสุขก็คือ คนที่มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นคนที่สามารถปรับตัวได้อย่างดีในการดำรงชีวิตประจำวัน

การนำหลักด้านจิตวิทยามาใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้

  1. รักษาสุขภาพทางกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  2. รู้จักตนเองอย่างแท้จริง
  3. เป็นผู้มีความหวัง
  4. กล้าเผชิญกับความกลัวและความกังวลใจ
  5. ไม่เก็บกดอารมณ์ที่ตึงเครียด
  6. เป็นผู้มีอารมณ์ขัน
  7. ยอมรับข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดของตนเอง
  8. รู้จักพอใจในสิ่งที่ตนทำอยู่
  9. มีความต้องการพอเหมาะพอควรและมีความยืดหยุ่นได้
  10. ไม่คิดถึงแต่ตัวเองตลอดเวลา
  11. ยอมรับสภาพของตัวเองโดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น
  12. เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ
  13. หาเพื่อนสนิทที่สามารถระบายความทุกข์และปรึกษาหารือได้
  14. จงปล่อยให้เหตุการณ์บางอย่างผ่านไปตามแนวทางของมัน
  15. จงตระหนักว่า เวลาเป็นยารักษาความเจ็บปวด เมื่อพลาดหวังหรือผิดหวัง
  16. ไม่ปล่อยให้เวลาว่างไปวันหนึ่งๆ โดยไม่ทำอะไร

ที่มาhttp://www2.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter/index.php/component/content/article/97-popdev-vol34-no5/215-2014-06-05-09-13-49.html

หมายเลขบันทึก: 620212เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2016 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2016 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท