806. Appreciative Inquiry 2017 (ตอนที่ 5)


ผมเริ่มตั้งแต่ตั้งคำถามว่า เราอยากได้บรรยากาศการทำงานแบบไหน แบบบ่น ก่นด่า โอดครวญ แต่ก็หาคำตอบไม่ได้ กับบรรยากาศที่คนเลือกที่จะตั้งคำถามดีๆ แล้วคนหาสิ่งดีๆ มาแก้ปัญหา ไล่มาจนถึงการแนะนำให้ท่านรู้จัก Appreciative Inquiry ในแง่ของนิยาม และประวัติศาสตร์ และนำมาเชื่อมโยงถึงหลักทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้เห็นอะไรที่ลงลึกขึ้นไปอีก ในลำดับถัดไปผมจะพูดถึงเรื่องหลักการพื้นฐานห้าข้อของ Appreciative Inquiry .. ที่ตอนแรกๆ ผมก็มองว่าเป็นการสรุปการสังเคราะห์งานวิจัยด้านจิตวิทยา ที่อาจารย์มองว่าน่าจะเอามาอธิบายปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาล Cleveland ที่อาจารย์ไปทำวิจัยเรื่องภาวะผู้นำ แล้วไปตั้งคำถามเชิงบวก ทำให้เกิดการค้นพบ เกิดวิสัยทัศน์ เกิดการเปลี่ยนแปลงดีๆ ขึ้นมา

ผมดูงานวิจัยที่ทำไปดูมาก็เช่น The Pigmalion Effect ที่ถ้าจำไม่ผิดเป็นงานวิจัยที่ครูถูกหลอกว่าเด็กกลุ่มหนึ่งฉลาดกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งๆที่จริงแล้วทุกอย่างเท่ากัน ไปมาๆ เด็กที่ครูเชื่อว่าเก่ง ก็เก่งขึ้นจริงๆ จากการตามสังเกต ผมว่าเด็กที่ครูเชื่อว่าเก่ง จะได้รับความสนใจจากครูมากกว่า เลยดูเหมือนครูจะพยายามปรับกลยุทธ์การสอน การสร้างสัมพันธ์กับเด็ก เลยเป็นผลให้เด็กเก่งขึ้นจริง ประมาณนี้ ตอนแรกผมก็อ่านไปงั๊นๆ แต่ผ่านไปสิบปีผมกลับเห็นเหตุการณ์หลายๆเรื่องเกิดขึ้นตามหลักการนี้ ลองมาดูหลักการและตัวอย่างจริงดูนะครับ


จากการสังเคราะห์งานจำนวนมหาศาลอาจารย์ดูเหมือนจะสรุปออกมาได้ห้าหลักคือ

  1. Constructionist Principle หรือ Words create World คำพูดสร้างโลก ความเป็นจริงสร้างขึ้นมาด้วยคำพูดหรือการสนทนา เรื่องนี้จริงครับมีสันหนึ่งผมทักลูกศิษย์ว่า อย่างคุณนี่น่าเปิดบริษัทที่ปรึกษานะ เท่านั้นเองลูกศิษย์ที่ทำ AI เก่งๆคนนี้เปิดบริษัท ตอนนี้ได้งานมากเลย นั่นแสดงว่าถ้าในองค์กรเราพูดกันดีๆ ก็จะเกิดความจริงดๆ จริงไหมครับ ถ้าเอาแต่เรื่องไม่ดีมาพูดก็สร้างความจริงที่ไม่ดี นี่แสดงว่าเราเลือกสร้างความจริงได้ น่าตื่นเต้นมากๆ
  2. The Simultaneity Principle การถามสร้างการเปลี่ยนแปลง นี่ก็น่าสนใจ เราเริ่มถามเมื่อไหร่ การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นเมื่อนั้น ลูกศิษย์ผมเมื่อหลายปีก่อน อยากลองทำร้านกาแฟ เลยเริ่มถามคำถามเชิงบวกกับลูกค้า ว่าชอบกินกาแฟร้านไหน เมื่อเริ่มได้คำตอบก็เริ่มเห็นโอกาส เลยเริ่มทำใส่เหยือก ทดลองขาย ลองผิดลองถูกมาเรื่อย ตอนนี้โตมาเป็น Baristar School มีโรงคั่วกาแฟแล้ว เพิ่งได้รางวัลชนะเลิศด้านความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปมาดๆ น่าทึ่งไหมครับ เพราะฉะนั้นถ้าอยากเปลี่ยนแปลงก็ต้องเริ่มถามแล้ว
  3. The Poetic Principle เราเลือกสนใจศึกษาอะไรก็ได้ อะไรที่เราสนใจ เราก็จะสร้างความแตกต่างได้ นี่ก็ใช่ชัดๆ ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งสนใจศึกษานักศึกษาที่มีปัญหาทางการเรียน ไปมาๆ ตอนนี้ กลายเป็นโค้ชไปแล้ว เช่นไปถามนักศึกษาที่มีปัญหาเรื่องเรียนมากๆ เคยเรียนเก่งไหม เขาบอกเคยเก่ง ตอนเก่งทำอย่างไร นักศึกษาบอกว่า ตอนเก่งเรียนไปจะจดไป เธอเลยนึกได้ปัจจุบันเรียนแต่ไม่จด พอเอาเทคนิคเดิมไปใช้ ปรากฏเรียนดีขึ้น นี่ชัดครับ คุณสนใจอะไรคุณจะสร้างความแตกต่างได้
  4. The Anticipatory Principle ภาพในอนาคตที่ชัด ยิ่งสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการทำจริงมากขึ้น ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งหลายปีก่อนเห็นรุ่นพี่เอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ เลยเกิดแรงบันดาลใจ กลับไปสร้างฝันที่บ้าน จากขายหลักคาเหล็กที่ร้านเดียว ตอนนี้ขยายไป 20 กว่าสาขา จนสามารถเอาบริษัทเข้าตลาด MAI ได้ตอนอายุ 35 ปีเท่านั้น
  5. The Positive Principle การเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องเกิดจากอารมณ์ที่ดี ความสัมพันธ์ที่ดี ถึงจะผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ นี่ของจริงครับ ผมเคยเห็นกับตามาแล้ว ในองค์กรแห่งหนึ่งลูกศิษย์ผมถามพนักงานว่าอยากทำอะไร พนักงาน 200 คนบอกอยากกลับบ้านแต่หัวค่ำ ไม่เกิน 5 โมง ตอนนี้กลับ 2-3 ทุ่มทุกวัน ได้เรื่องครับ เมื่อตกลงว่าจะเรื่องนี้ก็เลยเริ่มมามองหาจุดแข็งกัน ใครทำงานไหนได้ดีกว่าก็ไปช่วยยกระดับคนอื่นให้ทำงานเร็วขึ้น มีการประชุมตัดขั้นตอนต่างๆ ที่สุดไปมา 3-4 เดือน สามารถกลับบ้านกัน 5 โมงเย็นได้จริงๆ ชัดๆ ว่าถ้าคุยกันดีๆ มันเกิดความสัมพันธ์ ความร่วมมือตามมา แล้วที่สุดก็บรรลุจุดหมายร่วมกัน

ถ้าคุณทำ Appreciative Inquiry ถูกทาง คุณจะเห็นปรากฏการณ์ที่อธิบายด้วยหลักการพื้นฐานห้าข้อนี้เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน และมันก็น่าตืนเต้นมากๆ คุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นตาตื่นใจ ที่สำคัญคุณสามารถนำหลักการนี้มาตรวจสอบการทำ AI ของคุณได้ด้วย เช่นคุณได้ถามมากพอไหม เริ่มถามยัง ภาพในอนาคตคุณชัดไหม คุณจัดการแรงต้านได้ดีหรือยัง เขา Buy in คุณยัง แต่เท่าที่ดู ถ้าเริ่มถามดีๆ มันจะออกมาดีเอง ขอให้ถาม ให้ร่วมกันค้นหาเรื่องดีๆ ทุกอย่างจะตามมาเอง

คุณล่ะคิดอย่างไร

Credit ภาพ: http://www.congruenceframework.com/appreciative-co...

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ MBA KKU/AI Thailand


หมายเลขบันทึก: 620053เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชัดจนมาก

ขึ้นอยู่กับเจตคติเลยครับ

ขอบคุณมากๆครับ

จะพิมพ์ว่าชัดเจนมาก

ขึ้นอยู่กับเจตคติเลย

ขอบคุณมากๆครับ

..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท