แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปกับกิจกรรมบำบัดเมื่อเท้าต้องเข้าเฝือก


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปกับกิจกรรมบำบัดเมื่อเท้าต้องเข้าเฝือก

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ในรายวิชากิจวัตรประจำวันและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับอาจารย์และเพื่อนนักศึกษาสาขากิจกรรมบำบัด ในหัวข้อ Community survivors and Learning skills โดยอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปสัมภาษณ์บุคคลใกล้ตัวจำนวน 1 ท่าน ที่เคยประสบปัญหาหรือความบกพร่องใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย หรือจิตใจที่เป็นประสบการณ์ในอดีต แล้วส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน เมื่อเกิดปัญหาเหล่านั้นแล้ว สามารถเรียนรู้ ช่วยเหลือตนเอง หรือมีการพึ่งพาตนเอง ให้ผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้อย่างไร

ดิฉันจึงเลือกกรณีของเพื่อนสมัยมัธยม (Occupation Performance) เพื่อนเคยประสบเดินตกบันไดขั้นเดียว ทำให้กระดูกเท้าขวาร้าว ไม่สามารถเดินได้ ต้องใส่เฝือกที่เท้าขวาเป็นเวลา 1 เดือน เดินหรือยืนลงน้ำหนักเท้าข้างขวาไม่ได้ จึงต้องเดินโดยใช้ไม้ค้ำยัน (Crutches) ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนไปจากเดิม

สิ่งที่เพื่อนปรับหรือทำให้ผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้ (Occupation Adaptation) ในเรื่องของกิจวัตรประจำวัน การอาบน้ำจะอาบโดยนั่งเก้าอี้ นำเท้าขวาพาดบนเก้าอี้อีกตัวหนึ่ง เพื่อไม่ให้เฝือกโดนน้ำ การแต่งตัวก็เป็นการนั่งเช่นกันและใส่กางเกงขาสั้นหลวมๆ สบายๆ ร่วมด้วยการพักผ่อนมากๆ ไม่เดินมากและพยามไม่เดินลงน้ำหนักที่เท้าขวามากเกินไป และกินยาตามแพทย์สั่ง ประกอบกับเป็นช่วงเปิดเทอมต้องไปโรงเรียน จึงให้แม่ขับรถไปรับ-ส่งแทนการนั่งรถตู้โรงเรียน ห้องเรียนอยู่ชั้น 4 จึงใช้การขึ้นลิฟต์แทนการเดินขึ้นบันได

หลังจากนั้น 1 เดือนก็ถอดเฝือกออกและฝึกเดินใหม่ (Occupation Well-Being) ทำการฝึกเดินใหม่ด้วยการฝึกเดินด้วยราวจับและพยายามเดินลงน้ำหนักที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน ในปัจจุบันนี้เพื่อนก็สามารถกลับมาเดินได้

ดิฉันได้ถอดเรื่องราวเป็น Fact sheet ดังภาพ


จากที่ดิฉันได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกับอาจารย์และเพื่อนในคาบ ทำให้ดิฉันเกิดการเรียนรู้ว่าบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดสามารถนำไปเชื่อมโยงได้ในทุกช่วงของการทำให้ผู้ที่มีปัญหาในด้านต่างๆ สามารถเกิดการเรียนรู้แล้วทำให้ผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้ ดิฉันจึงมาย้อนกลับมาที่กรณีของเพื่อนอยากแนะเรื่องการฝึกถ่ายเทน้ำหนัก (Shift weight) เพื่อลดความเจ็บที่เท้าด้านขวา การกระดกข้อเท้าขึ้น เพื่อให้ข้อเท้าอยู่ในแนว (alignment) ที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ดิฉันได้เกิดการเรียนรู้อีกว่าเมื่อเกิดปัญหาใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายหรือจิตใจ คนเรามักจะมีการเรียนรู้ ช่วยเหลือตนเอง หรือพึ่งพาตนเอง เพื่อให้สามารถผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นมาได้ นอกจากนั้นดิฉันได้เห็นว่าความบกพร่องทางด้านร่างกายมักจะมีภาวะของสภาพจิตใจเข้ามาแทรกด้วยเสมอ ดิฉันจึงได้ถามเพื่อนเพิ่มเติมถึงความรู้สึกกังวล เพื่อนได้ให้คำตอบว่า “รู้สึกกลัวเดินไม่เหมือนเดิม เพราะหมอบอกว่าเวลาถอดเฝือกมันเดินไม่เหมือนเดิม 100%”

ขอขอบคุณอาจารย์และเพื่อนนักศึกษากิจกรรมบำบัดที่ได้เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน และขอบคุณเพื่อนของดิฉัน ที่ให้สัมภาษณ์เรื่องราวดังกล่าวทำให้ดิฉันได้เกิดการเรียนรู้ ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 620049เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท