KM for KM อะไร ทำไม อย่างไร


กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช ผู้เป็นต้นแบบผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ผมเสมอในการสื่อสารสร้างสรรค์สังคมสุขภาวะด้วยการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ดีงาม

ณ งานมหกรรมคุณภาพ ม.มหิดล ปีนี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช ถึงการขับเคลื่อน KM 1.0 ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างคลังความรู้ สู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM 2.0 แต่ไม่มีระบบการมีเป้าหมายร่วมสร้างสรรค์องค์กรแห่งการเรียนรู้ เกิดการทำ KM เพื่อคะแนนและผลงานแยกส่วนงาน แยกวิชาชีพ และแยกคนทำงานด้วยฐานหัว-ฐานกายมากกว่าฐานใจ ซึ่งควรวางระบบกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพและคุณค่าแห่งการเรียนรู้ที่เท่าทันคนรุ่นใหม่และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ที่ปัจจุบันเราเรียกว่า KM 3.0

ระบบกลยุทธ์ข้างต้นคือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างพอเหมาะเพื่อสร้างเครือข่ายแห่งชุมชนนักปฏิบัติทุกระดับอย่างใกล้ชิดกัน มีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นพี่เลี้ยง เกิดมาตรฐานการทำงานร่วมกันข้ามวิชาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลากหลายเครื่องมือและต้นแบบถอดบทเรียนที่ดีงามต่อกันทำให้ลดต้นทุนแห่งการบริหารคน งบประมาณ เวลา และทรัพยากรอื่นๆ โดยเฉพาะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามธรรมชาติแห่งการเรียนรู้ที่มีจุดตัดสินใจเป็นช่วงๆ ระหว่างผู้บริหาร ผู้ออกแบบโครงการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย [ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ Tipping Point] ไม่เน้น Critical Knowledge แต่เน้น Creative Knowledge ที่ควบคู่กับ Change Management

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ (UKM) ครั้งที่ 32 เสมือนครบองค์ประกอบของร่างกาย 32 ประการ ผมจึงขอร้อยเรียงคำสำคัญหลังฟังอย่างลึกซึ้งพร้อมจับประเด็นเป็นแผนที่ด้วยความรู้สึกนึกคิด (Crystal-Based Approach) ร่วมกับเครื่องมือ World Cafe + Five-Slide Inspiration + Logical Levels of Change เน้น WHAT, HOW, & WHY ซึ่งถือเป็นเวทีที่เกิดชุมชนนักปฏิบัติทั้งทางการตามแก่นเรื่องแต่ละครั้งกับทางธรรมชาติตามจริต เครือข่ายวิชาชีพ และหน้าที่การงาน ข้ามสถาบัน และเกิดการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการทำงานร่วมกัน...กำลังรอตกผลึกทางปัญญาเพื่อการสื่อสารสร้างสรรค์สาธารณะต่อไป ที่ผมขอเรียกว่า KM 4.0 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศไทย 4.0 [Acknowledgement of Citation Youtube.com] และเชิญชวนคิดต่อยอดสู่การพัฒนาโลก ตามเป้าหมายของ UN SDGs อธิบายอย่างย่อดังต่อไปนี้


WHAT: ตัวแทนแต่ละมหาวิทยาลัยได้นำเสนอ Strategic KM & Productivity เกิดการสกัดความรู้ที่เหนือความคาดหวัง ได้แก่

  • แนวทางการขับเคลื่อน KM 1.0 for KM 4.0 เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยีที่ไม่ซ้ำซากจำเจสู่ความรู้ใหม่ที่เพิ่มผลผลิตแก่สาธารณะ "งานคือชีวิต ชีวิตคื่องาน บันดาลสุข"
  • แนวทางการขับเคลื่อน KM 2.0 for KM 4.0 เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวาสู่ความรู้ใหม่ที่สร้างสรรค์แก่สาธารณะ "อิสระคือชีวิต ชีวิตคื่ออิสระ พลังสังคม"
  • แนวทางการขับเคลื่อน KM 3.0 for KM 4.0 เพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีจิตมุ่งมั่นสู่ความรู้ใหม่ที่สะสมไตร่ตรองลึกซึ่ง (Slow Knowledge) แก่สาธารณะ "ปัญญาคือชีวิต ชีวิตคือปัญญา นำสุขภาวะ"

HOW: ทุกมหาวิทยาลัยแลกเปลี่ยนเรียนรู้แยกตามพันธกิจการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการบริหาร ชักชวนระดมความคิดก้าวหน้าแต่ยังไม่มีเวลาและเวทีเชื่อมโยงความรู้เชิงบูรณาการพันธกิจมากนัก แต่ทุกมหาวิทยาลัยมีความพยายามเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำ Fragmented KM สู่การเกิดปัญญาปฏิบัติในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามบริบทส่วนงาน ได้แก่

  • แนวทางการขับเคลื่อน KM 1.0 for KM 4.0 โดยทบทวนเรียนรู้คำสำคัญจากความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันเสริมด้วยความรู้ใหม่ที่ควรพัฒนามากขึ้น (อ่านเพิ่มเติมจากรูป Take Home 9 SCs) ข้างล่างแล้วทดลองปฏิบัติตามหลัก PDCA ให้ครบ CQI หลายๆรอบจนตกผลึกเป็นรูปธรรมที่ก้าวหน้าชัดเจน
  • แนวทางการขับเคลื่อน KM 2.0 for KM 4.0 โดยสร้างสมดุลระหว่างความตั้งใจใฝ่รู้ในบุคลากรทุกระดับให้เกิดผู้นำสุขภาวะแห่งการเรียนรู้ที่สามารถแปลความรู้เฉพาะให้เกิดการประยุกต์ใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาข้ามสหวิชาชีพได้เป็นระบบ (เช่น 15 ปี) มิใช่แก้ไขปัญญาเฉพาะหน้า (เช่น 1-5 ปี)
  • แนวทางการขับเคลื่อน KM 3.0 for KM 4.0 โดยฝึกฝนใช้ฐานใจให้เชื่อมโยงฐานคิดจิตกาย เช่น เปิดใจรับรู้สึกให้เรียนรู้ทุกสรรพสิ่ง มีระบบพี่เลี้ยงในทุกระดับให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมพัฒนาทักษะการทำงาน ฝึกทักษะเมตตา - ลดอัตตาสู่การช่วยเหลือด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นพลเมืองดี ที่สำคัญเพิ่มทักษะการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Learning Skills) อย่างหลากหลายและมีความสุข


WHY: แต่ละมหาวิทยาลัยยังพยายามค้นหาจุดเปลี่ยนแปลงทั้งกำลังคน งบประมาณ เครื่องมือ และทรัพยากรต่างๆ เพื่อขับเคลื่อน KM for KM จากการตั้งเป้าหมายระยะสั้นสู่ยาวและยั้งยืน

ผมจึงขอใช้ตัวย่อคำสำคัญ 9 SCs ในการสรุปบทเรียนเพื่อนำกลับไปทบทวนประเมินศักยภาพแห่งตนและส่วนงาน แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือกันและกันมากขึ้น เช่น พัฒนา Good Practice เป็น Best Practice

  1. Systemic Creation การสร้างสรรค์ความรู้เป็นระบบ (มีสติปัฏฐาน 4)
  2. Smart Communication การสือสารความรู้อย่างเฉลียวฉลาด (มีเชาวน์ปัญญาอารมณ์ดี - มีสังขาร 5)
  3. Supporting Catalyst การสังเคราะห์ความรู้แบบช่วยเหลือเกื้อกูล (มีพรหมวิหาร 4)
  4. Strategic Contextualization การวิเคราะห์ความรู้เชิงยุทธศาสตร์อิงบริบทสมดุลทั้ง Top-Down & ฺBottom-Up
  5. Successful Collaboration การประสานร่วมมือร่วมใจนำความรู้ไปปฏิบัติจนสำเร็จผล
  6. Spiritual Connection การติดต่อเชื่อมโยงความรู้สู่สุขภาวะกาย คิด อารมณ์ สังคม และจิตมุ่งมั่นพัฒนาตนและคนอื่นๆ (มีสติสัมปชัญญะ - มรรคสามัคคี 8)
  7. Sharing Citizenship การฝึกฝนพลเมืองดีมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนวาระสุดท้ายของชีวิตแล้วเกิดการเรียนรู้สื่อสารจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่อย่างเป็นพลวัติ
  8. Social Contribution การต่อยอดความรู้เพื่อการพัฒนาช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่องทุกระดับชนและสภาพแวดล้อมทางกายภาพสังคม
  9. Sustainable Change การเปลี่ยนแปลงบนฐานความรู้ที่ตกผลึกและหล่อหลอมจนเกิดปัญญาอย่างยั้งยืนทุกระดับชนและสภาพแวดล้อมทางกายภาพสังคม



WHY: เมื่อผมใช้ทักษะการสื่อสารจิตใต้สำนึก (Neuro Linguistic Programming, NLP) อิง Logical Levels of Change กับการเป็นกระบวนกรกลุ่มพลวัติตามหลักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมอิงการแปลความรู้ (Knowledge Translation of Psychosocial Occupational Therapy, KT) จึงสรุปได้ว่าในแต่ละมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกันในระดับการใช้ KM ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ SCs ข้อ 1-4 บางที่กำลังพัฒนาเพิ่ม 5-6 แต่ยังไม่ถึง 7-9

  • จาก 9SCs ทีใช้ KM 1.0 to KM 2.0 แบบ Show to Share ก็จะใช้ Systemic Creation + Smart Communication + Supporting Catalyst
  • จาก 9SCs ทีใช้ KM 2.0 to KM 3.0 แบบ Show to Share for Lifelong Learning; from Ability to Capacity Building ก็จะใช้ Strategic Contextualization + Successful Collaboration + Spiritual Connection
  • จาก 9SCs ทีใช้ KM 3.0 to KM 4.0 แบบ Show to Share for Deep Learning of Change; from Belief to Value Elicitation ก็จะใช้ Sharing Citizenship + Social Contribution + Sustainable Change

ปล. ส่วนรายละเอียดถอดบทเรียนแยกพันธกิจ...ศึกษาเพิ่มเติมจากเครื่องมือ One Note ครับผม



หมายเลขบันทึก: 619913เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2016 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2016 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาอ่านบทความนี้ครับ

-เป็นกำลังใจให้นะครับ

-ด้วยความระลึกถึงครับ


ขอบคุณมากครับและระลึกถึงน้องเพชรน้ำหนึ่งเสมอ ขอส่งกำลังให้น้องและครอบครัวมีความสุขทุกๆวันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท