บันทึกกานเดินทาง ศึกษาดูงานที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ จังหวัด อุบลราชธานี



บันทึกการเดินทางของ นิสิต สามเณรสมพงษ์ พงษ์ศรียา

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ในวันพฤหัสบดี ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ครุศาสตร์ชั้นปีที่ ๒

แหล่งเรียนรู้ที่นิสิตไปศึกษาเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ อย่างไรบ้าง

ห้องที่ ๑ประวัติศาสตร์อุบลราชธานีและมนุษย์ในสมัยก่อน

พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี เจ้าคำผงได้ย้ายครอบครัวและไพร่พลจากบ้านดู่ บ้านแก มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ตำบล ห้วยแจระแม โดยพระบรมราชาอนุญาตในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และตั้งชื่อ เมืองนี้ว่า "เมืองอุบล" พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ได้สร้างวัดหลวงเป็นวัดคู่เมืองขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล

ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออก โดยอำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2515 และต่อมาปี 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ5ของไทยและมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ



ห้องที่ ๒ สมัยก่อนประวัติศาสตร์

จากสภาพภูมิประเทศของจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งมีแนวเทือกเขาหินทรายอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกตั้งแต่เขตอำเภอน้ำยืนเลียบขนานกับประเทศกัมพูชาขึ้นไปทางทิศตะวันออกและทางเหนือเชื่อมต่อกับแนวเทือกเขาภูพานลักษณะภูมิประเทศแถบนี้มีทั้งเป็นลานกินกว้างบางแห่งเป็นผาสูงชันหรือที่เรียกว่าถ้ำ

บริเวณแนวเขาทางทิศตะวันออกแถบนี้ ได้พบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในสังคมล่าสัตว์ ที่บริเวณหน้าเพิงผา ที่เรียกว่าถ้ำตาลาวตำบลไทรงาม อำเภอเขมราฐ ได้พบหลักฐานสำคัญคือ เครื่องมือหินกระเทาะและสะเก็ดหิน ควอทไซด์ ลักษณะเครื่องมือหินที่พบคล้ายคลึงกับเครื่องมือหินในกลุ่มวัฒนธรรมโหบินเนีบน กำหนดอายุได้ประมาณ 14,000 - 6,000 ปี มาแล้วพิธีกรรมความเชื่อโดยเฉพาะพิธีกรรมฝังศพ พบทั้งที่นอนหงายเหยียดยาวและฝังศพในภาชนะดินเผา ซึ่งเป็นพิธีฝังศพครั้งที่สง เช่นที่แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง อ.เมือง และแหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง อ.วารินชำราบ

เครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับสำริดจากแหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง พบว่าเทคนิคการผลิตและลวดลายคล้ายกับวัฒนธรรมดองซองในประเทศเวียดนาม ลักษณะลวดลายมีความปราณีตมากกว่าเครื่องประดับสำริดที่พบในวัฒฯธรรมบ้านเชียง หลักฐานอีกประการหนึ่งที่แสดงถึงการติดต่อกับวัฒนธรรมดองซอนในประเทศเวียดนาม คือการค้นพบกลองมโหระทึกที่ อ.ศรีเมืองใหม่ อ.โขงเจียม และบ้านชีทวน อ.เขื่องใน เป็นต้น




ห้องที่ ๓ วัฒนธรรมขอมหรือเขมรสมัยเมืองพระนคร ราวพุทธศตวรรษที่ 15-16

วัฒนธรรมเขมรสมัยเมืองพระนคร ราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ภายหลังพระเจ้าชัยวรมันที่ 14 ทรงรวบรวมแคว้นเจนละบกและเจนละเข้าด้วยกันเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 14 ต่อมาพระเจ้ายโศวรมันกษัตริย์เขมรอีกพระองค์หนึ่งได้สถาปนาเมืองยโสธรปุระหรือเมืองพระนครขึ้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นเป็นต้นมาอำนาจของอาณาจักรเขมรได้แผ่ขยายเข้ามาในเขตที่ราบสูงโคราชและบริเวณที่เป็นจังหวัดอุบลราชธานี

ปราสาทธาตุนางพญา ต.หนองสะโน อ.บุณฑริก ลักษณะโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย เป็นปราสาทหลังเดียวส่วนยอดหรือหลังคาหักพังลงหมดแล้วเหลือเฉพาะฐาน มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ด้านหน้าทำเป็นซุ้มประตู (โคปุระ) ก่อด้วยศิลาแลงและหอนทราย ถัดจากตัวปราสาทไปทางทิศเหนือมีอ่างเก็บน้ำ (บาราย) ขนาดใหญ่ โบราณสถานแห่งนี้ น่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างแบบเขมร




ห้องที่ ๔ผ้าโบราณและผ้าพื้นเมืองอุบลราชธานี ผ้าพื้นเมืองอุบล เป็นมรดกวัฒนธรรมไต-ลาวที่มีเอกลักษณ์ของชาวพื้นเมืองทั้งลวดลายและวิธีการทอการสืบสานลายผ้า เป็นเอกลักษณ์อย่างเอกแห่งศิลปะของชาวอุบล … ด้วยผ้าเป็นตัวแทนสื่อความหมายของชีวิตชาวอุบลที่ดำรงคงอยู่ประสมประสานกับชนกลุ่มอื่นๆมาเนิ่นนาน จนสามารถสร้างศิลปะการถักทอ อันครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระร่าชหัตถเลขาถึงกรมหมื่นสรรพสิทลักษณะผ้าของเมืองอุบลแตกต่างไปตามกลุ่มคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองอุบลราชธานีแท้ๆ คือ ผ้าแถบอำเภอพนา อำเภอม่วงสามสิบ และอำเภอเมือง นอกจากนั้นยังมีลวดลายอื่นมาแต่งแต้ม เช่น ลวดลายผ้าแบบของชาวภูไทในผ้าแถบอำเภอชานุมาน ลวดลายผ้าแบบจำปาศักดิ์ในผ้าแถบอำเภอพิบูลมังสาหาร ลวดลายผ้าแบบชาวส่วยในผ้าแถบอำเภอวารินชำราบธิประสงค์ ถึงฝีมือการทอผ้าอันดียิ่งของผ้าเมืองอุบลสกุล ณ อุบล เป็นสกุลที่สืบมาจากเจ้าพระยาปทุมวรราช สุริยวงศ์ (คำผง) ซึ่งเป็นเจ้าเมืององค์แรกของเมืองอุบลราชธานี ( พ.ศ. 2335-2338) และเจ้าธรรมเทโว แห่งนครจำปาศักดิ์ทางฝั่งมารดา สายพระอุปฮาดสุดตา พระอุปฮาดโท ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พระยาอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ)




ห้องที่ ๕ ดนตรีพื้นเมือง

ดนตรีพื้นบ้าน คือ เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นเพื่อความบันเทิงหรือเล่นประกอบการแสดงพื้นเมืองตามท้องถิ่นต่างๆเป็นการสร้างบทเพลง การขับร้อง การเล่นดนตรีของผู้คนในท้องถิ่น เกิดขึ้นจากการที่คนเราสามารถรับรู้ และได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นต่าง ๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เสียงร้องของสัตว์ต่าง ๆ

บรรพชนชาวอุบลราชธานี มีการแสดงพื้นบ้านอยู่ 3 ลักษณะ คือ ดนตรี การขับร้อง ฟ้อนรำ และการแสดงโดยใช้หุ่น สำหรับดนตรีในอดีตมีทั้งการบรรเลงล้วนๆ และการบรรเลงประกอบการร้องและการฟ้อนรำ เครื่องดนตรีทั้งหลาย แคน นับว่าได้รับความนิยมมากที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแคนต้องใช้ประกอบการรำต่างๆ อุบลราชธานีจึงได้ชื่อว่าเป็นถิ่น "ดอกคูณเสียงแคน"

องค์ประกอยของดนตรีก็มีประโยชน์เช่นกัน เช่น

-จังหวะหรือลีลา ช่วยเสริมสร้างสมรธิ และช่วยในการผ่อนคลายความเครียด

-ทำนองเพลง ช่วยเพิ่มการระบายความรุ้สึก ส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล



หมายเลขบันทึก: 619893เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2016 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ธันวาคม 2016 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท