ปัญหาหลักสูตร กศน.


ในบทบาทและหน้าที่ของข้าพเจ้าที่ก้าวเข้าสู่การเป็นครูกศน.ก็พบปัญหาของหลักสูตรที่สะท้อนถึงตัวครู และนักศึกษากศนทุกคน.มากมายหลายมุมมองโดยที่ยกเป็นตัวอย่างที่พอให้เห็นบ้างคือ

-สังคมส่วนใหญ่หรือผู้ที่หาแหล่งที่จะศึกษาต่อมองการศึกษานอกระบบเป็นทางเลือกสุดท้าย ไม่นิยมเรียน สังคมมองผลผลิตของการศึกษานอกระบบยังไม่มีคุณภาพพอเช่นเรียนแล้วเขากลัวตกงาน เรียนแล้วเขากลัวไม่ได้ความรู้

-หลักสูตรไม่ทันสมัยทำให้เกิดปัญหาการผลิตนักศึกษาเพื่อให้เขาจบพร้อมเป็นกำลังในการต่อสู้งานก้าวสู่อนาคตในโลกยุคใหม่ต่อไปก็เกิดปัญหาตามมามากมายเช่นในหลักสูตรกศน.ยังไม่มีบางวิชา บางสาขาที่ตลาดต้องการเรียนไปก็ไม่มีงานทำทำให้เสียเวลาไปหลายปีแถมยังวิทยากรที่นำมาช่วยสอนเสริมในบางวิชาบางโครงการยังขาดทักษะในการสอน ถ่ายทอดงานทำให้นักศึกษาที่มาเรียนในกศน.ขาดประสบการณ์

-กระแสโลกาภิวัตน์และวัตถุนิยม ทำให้ข้อมูลไหลเข้าถึงตัวนักศึกษาได้เร็วและหลากหลาย ทำให้ศีลธรรมเสื่อม การจัดการเรียนรู้ให้เป็นคนดีทำได้ยากขึ้น

การรักและภาคภูมิใจในของตัวข้าเจ้าที่ได้มาทำหน้าที่เป็นครูกศน.คือความภูมิใจที่ได้มาเป็นครูกศน. สอนให้ข้าพเจ้าได้รู้ว่าอุปสรรคทุกอย่างสำหรับการทำงาน การได้สัมผัสครูกศน.ทำให้ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นทั้งด้านการทำงานหรือการเรียนรู้สิ่งใหม่ที่ไม่ได้พบ เห็น ในการทำงานทุกครั้งสามารถจะปรับเปลี่ยนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เสมอและหลายรูปแบบ เพราะการจัดการศึกษานอกระบบนั้นต้องจัดการศึกษาที่ชุมชนได้รับความรู้มากที่สุดและมีประโยชน์ต่อชุมชนในการประกอบอาชีพหรือจะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ในศูนย์การเรียนชุมชนนั้น ครูจะต้องประจำอย่างน้อย 1 คน ในการพัฒนาชุมชนนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชุมชนได้ค้นคว้าความรู้ ในศูนย์แต่ละศูนย์จะไม่มีนักการภารโรง ครูต้องทำทุกอย่างตั้งแต่ภารโรงถึงผอ.ในชุมชนที่ตัวเองได้รับผิดชอบอยู่ ดั้งนั้นเป็นการทำงานที่ยากมาก แต่ก็สอนให้เราได้รู้จักตนเองมาก จากที่ไม่เคยทำมาก่อน ความรู้ที่ได้นี้สอนให้เรารู้ว่ายังยอมแพ้กับอุปสรรค เพื่อทำให้ชุมชนพัฒนาขึ้นในการเป็นครูกศน.บางทีตัวของครูเองเคยทำแต่ตัวสบายแต่ก็ได้รู้ถึงความลำบาก ความเป็นอยู่และความต้องการของชุมชน แต่นึกถึงเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งทางกศน.ก็ได้เปิดเป็นแหล่งเรียนเศรษฐกิจพอเพียงให้นักศึกษารวมถึงคนในชุมชนเข้ามาเรียนรู้แล้วสามารถพึงพาตนเองและมีการต่อยอดสร้างอาชีพให้กับชุมชนนี่อาจเป็นเหตุผลในตัวของข้าพเจ้าที่เกิดความสุขกับการทำงานในกศน.อีกบทบาทหนึ่งเพราะเราต้องเรียนรู้ และฝันฝ่าอุปสรรคไปพร้อมกับตัวนักศึกษาค่ะ

Best Practice (กศน.)มุมมองของข้าพเจ้า โดยให้คำว่า การสร้างจุดเด่นของกศน.คือ การเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ รู้จากครู มีทางเลือกเรียนหลายทาง เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลายช่อง และเพิ่มคุณภาพและปริมาณของสาระที่เรียน มีวิธีเรียนที่ดีกว่า เนื้อหาทันสมัยกว่าโดยเฉพาะนักศึกษากศน.ต้องเข้าถึงบริบทและความต้องการด้านการศึกษาที่แท้จริงในรายบุคคลต่อไปด้วย


หมายเลขบันทึก: 619455เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2016 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2016 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ให้กำลังใจ สร้างสรรค์งานที่มีคุณค่ากันต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท