ครูบนดอย ณ ออมก๋อย


ถ้าจะต้องนึกถึงคำจำกัดความหรือความหมายของคำว่า"ครู"อาจมีหลาหลายความหมาย บ้างก็เปรียบครูเป็น เรือจ้างบ้าง เป็นแม่คนที่สองบ้าง แล้วแต่ความคิดของบุคคลนั้นๆ แล้วถ้าให้เอ่ยถึงคุณครูคนแรกเชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึงคุณครูสมัยอนุบาล ประถม เป็นส่วนใหญ่ เพราะท่านเป็นคุณครูที่ให้ความรู้พวกเราตั้งแต่แรกเข้าเรียนก็ว่าได้ อาชีพครูบางครั้งก็เลือกไม่ได้อย่างใจคิดว่าอยากจะเลือกสอนที่ไหน โรงเรียนใด ยิ่งโดยเฉพาะคุณครูคนใหม่ ซึ่งต้องสอบบรรจุในเขตการศึกษานั้นๆ จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับอันดับของการสอบบรรจุรวมถึงจำนวนอัตราของโรงเรียนนั้นๆว่าต้องการคุณครูกี่ท่านแต่ละภาควิชาด้วยกัน จะเห็นได้ว่ากว่าจะเป็นครูนั้นยากมากแต่ที่ยากกว่าคือ ทำอย่างไรที่จะบ่มเพาะวิชาความรู้ให้กับลูกศิษย์ได้ดี

จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ขออนุญาตกล่าวถึง"ครูบนดอย"แล้วกันนะค่ะโรงเรียนนี้อยู่ห่างจากตัวเมือง 50 กิโลเมตร ชื่อหมู่บ้านตะกอคะ ติดภูเขา บรรยากาศดีมาก สงบ ร่มรื่น อากาศเย็น ชาวบ้านก็น่ารัก แต่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงนะค่ะ ที่นั้นจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทีวีทั้งหมู่จะมีเครื่องเดียวที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน เมื่อถึงเวลาดูทุกคนก็จะไปรวมตัวกันที่นั้น เหมือนบรรยากาศสมัยก่อนเลย ไปเป็นครูที่นั้นสอนยังไง สอนอะไรบ้าง ทุกอย่าง สอนทุกวิชา สอนทุกสายชั้น ไม่ว่าจะ ป.1 – ป.6 สอนหมดเลย เวลาสอนจะค่อยข้ายากหน่อย เพราะมีเด็กตั้งแต่ อนุบาล – ป.6 เวลาสอนก็จะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก ป.1 – ป.3 ช่วงที่2 ป.4 – ป.6 ถ้าพี่ๆทำงานเสร็จแล้วก็จะมาช่วยสอนน้อง เด็กๆที่นี่ตั้งใจเรียนทุกคนไม่เล่นกันถ้ายังไม่ถึงเวลา ถ้าคุณครูบอกว่าเล่นได้ เด็กก็จะดีใจและออกไปเล่นที่สนามกัน พอเวลากินข้าวเด็กก็จะก่อฟืนจุดไดไฟทำอาหารกินเอง โดยที่ไม่เกี่ยงกันทำจะช่วยกันทำอย่างสามัคคี พอกินข้าวเสร็จก็จะเก็บจานไปล้างช่วยกัน เด็กจะชอบหาผลไม้ป่ามาให้ครูกิน แต่ก็อร่อยนะค่ะ ว่างๆเด็กก็จะพาเดินเที่ยวรอบหมู่บ้าน เที่ยวน้ำตก หาผลไม้ป่ากินกัน สนุกสนานมากคะ ส่วนสภาพอาคารเรียนเป็นอาคารไม้และปูนชั้นเดียว 2 หลัง ชาวบ้านช่วยกันสร้าง เวลาพังก็ต้องซ่อมแซมเองแต่บางครั้งเด็กก็มาช่วยตามความสามารถ เช่น ทาสีเอง ปัด กวาด เช็ด ถู ฯลฯเพื่อให้เด็กๆได้มีโอกาสได้ใช้เหมือนโรงเรียนในเมือง

การไปเป็นครูอาสาบนดอยไม่ใช่เรื่องยากนะค่ะ ถ้าทุกคนตั้งใจที่จะไปเป็นครูอาสาบนดอยแต่ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม เพราะบนดอยไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ แต่ถ้าไปแล้วก็จะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ เด็กๆที่นั้นยังขาดแคลนสิ่งต่างๆ ไม่ได้ทันสมัยเหมือนเด็กในเมือง โอกาสที่จะได้เรียนดีๆก็มีน้อย ครูที่จะไปสอนก็หายาก ขอให้ครูที่ไปอดทนและตั้งใจต่อไปทำหน้าที่ของครูให้ดี ให้ความรู้แก่เด็กสอนให้พวกเขาเป็นคนดี แม้มันจะไม่สวยหรูไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมก็ตามแต่สร้างต่อไปอย่างน้อยกำลังใจจากครอบครัวรวมถึงกำลังใจจากฝั่งทะเลอ่าวไทยส่งให้ครูบนดอยเสมอ "เรือจ้างหนึ่งลำบนดอย โลดแล่นให้ความรู้แก่เด็กๆ"

ที่มา : www.facebook.com/4dekdoipage

http://travel.kapook.com/view119625.html


จัดทำโดย

นางสาววนัชพร ตรีแสน รหัสนักศึกษา 56131112071

ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ (Tags): #ชีวิตครูบนดอย
หมายเลขบันทึก: 619351เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท