ครูปฐมวัยในอุดมคติ


ครูปฐมวัยในอุดมคติ

หลายคนที่คิดอยากเป็นครูเพราะแค่รักเด็ก นี่อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการอยากเป็นครู แต่ความจริงแล้วครูปฐมวัยหรือครูอนุบาล นั้นต้องมีทั้งความรู้ ความสามารถให้ทุกๆอย่างพร้อมที่จะสอนความรู้ให้กับเด็กได้อย่างเต็มที่ เพราะเด็กอนุบาลนั้น เป็นวัยกำลังเรียนรู้ สมองควรรับรู้อย่างเต็มที่ จึงจัดว่าเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของชีวิต ที่เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และพัฒนาการใดๆ ในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่นๆ ของชีวิตเป็นอย่างมาก พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดู หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ ในระยะปฐมวัยนั้นจะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในอนาคตได้

บทบาทของครูปฐมวัย

เบญจา แสงมะลิ (อ้างใน เยี่ยมลักษณ์ อุดาการณ์, 2542) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้ดูแลเด็กไว้ว่าครูจะต้องมีบทบาทเป็น 9 นัก คือ

1. นักรัก ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่รักเด็กและทำตัวให้เด็กรัก

2. นักเล่น ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่สามารถเล่นกับเด็กได้

3. นักร้อง ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่สามารถร้องเพลงเด็กได้ และสามารถเลือกเพลงที่เหมาะสมกับเด็ก

4. นักรำ ครูผู้ดูแลเด็กต้องมีความสามารถในการเคลื่อนไหวและการทำท่าทางประกอบจังหวะต่างๆ

5. นักเล่า ครูผู้ดูแลเด็กต้องเป็นนักเล่านิทาน หรือเรื่องราวต่างๆ

6. นักคิด ครูผู้ดูแลเด็กต้องเป็นคนที่คิดเก่ง ในเรื่องของการคิดกิจกรรม คิดประดิษฐ์สื่อของเล่น คิดหาทางส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการเด็ก เป็นต้น

7. นักทำ ครูที่ดีต้องเป็นผู้ที่ขยันในการทำงาน ทำสื่ออุปกรณ์ต่างๆ

8. นักฝัน เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ช่างเพ้อฝันจินตนาการ ดังนั้นครูจะต้องเป็นคนที่ช่างฝันจินตนาการร่วมกับเด็กด้วย

9. นักแต่ง ครูปฐมวัยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถแต่งนิทาน เรื่องราวต่างๆที่เหมาะสมกับเด็ก ตกแต่งห้องเรียนสถานที่ แต่งเพลง และการรู้จักแต่งตัว

หน้าที่ครูปฐมวัย

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2548) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ไว้ ดังนี้

1.ปฏิบัติหน้าที่ตามกิจวัตรของเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องทำหน้าที่ดูแลเด็กและปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวันของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเจริญเติบโต มีพัฒนาการทุกด้านตามวัย

2. ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในลักษณะบูรณาการ ผู้ดูแลเด็กมีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เด็กได้พัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคมและจริยธรรมไปพร้อมกันส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาอย่างเต็มที่

3 .สังเกต เฝ้าระวัง และบันทึกความเจริญเติบโต พฤติกรรมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก

4. จัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กทุกด้าน

5. ประสานสัมพันธ์ระหว่างเด็ก กับพ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว และชุมชน

6. รู้จักพัฒนาตนเองในทางวิชาการและอาชีพ

ถือได้ว่าบทบาทของครูปฐมวัยมีผลหรือเรียกได้ว่ามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กในทุกๆด้าน ฉะนั้นครูปฐมวัยเป็นผู้ที่วางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็กซึ่งเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องทำและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่หยุดยั้งเพราะเด็กเขาจะเติบโตและพัฒนาทุกวินาที

ดังนั้นครูปฐมวัยนั้นคือครูคนแรกของเด็ก คนเป็นครูก็ควรเตรียมพร้อมในทุกด้านให้สมกับครูที่ดีเพราะจะเป็นจดจำของเด็กตลอดไป ไม่ใช่แค่รักเด็กอาจไม่จริงเสมอไปเพราะครูที่ดีนั้นต้องเก่งในทุกด้านพร้อมที่มอบความรู้ให้ได้ทุกเมื่อถึงถือว่าครูปฐมวัยที่ดี

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2548).

เบญจา แสงมะลิ (อ้างใน เยี่ยมลักษณ์ อุดาการณ์, 2542). บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัย.

หมายเลขบันทึก: 619341เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท