ข้อพิจารณา: ศูนยตาจิตนิยมวิภาษวิธีของนาคารชุน กับจิตนิยมของเบิร์กลีย์ (Berkeley)


ศูนยตาจิตนิยมวิภาษวิธีของนาคารชุน กับจิตนิยมของเบิร์กลีย์ (Berkeley)

เบิร์กลีย์ มีแนวคิดที่เรียกว่า จิตนิยมอัตวิสัย (Subjective idealism) คือทรรศนะที่ถือว่า สิ่งที่เป็นวัตถุเป็นเพียงมโนภาพ (ideas) ซึ่งมีอยู่ในจิตของพระเป็นเจ้า

จากแนวคิดดังกล่าว เมื่อเทียบกับของนาคารชุนดังกล่าวแล้วย่อมเห็นได้ว่าสิ่งที่เบิร์กลีย์ต้องการชี้ไว้คือความจริงที่ยึดว่าต้องมีความจริงแท้สูงสุดที่สามารถสัมผัสรับรู้ได้แม้มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ แต่ในแนวคิดของนาคารชุนนั้นไม่เชื่อว่าจะมีความจริงสูงสุดในตนเองไม่ว่ากรณีใด โดยเฉพาะการยึดว่าเป็นเทวนิยมก็ยิ่งหากไกลกับแนวคิดที่นาคารชุนหรือมหายานปฏิเสธเรื่องเทวนิยมด้วย อย่างไรก็ตามแต่ วิธีการวิภาษวิธีนั้นมุ่งเพื่อตรวจสอบความจริงหรือความเชื่อต่างๆ ว่ามีข้อบกพร่องหรือไม่จริงมากน้อยเพียงใด หรือล้วนก็เป็นสิ่งที่เท็จหรือไม่จริงด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแล้ววิธีการดังกล่าวจึงเป็นไปเพื่อการตรวจสอบมากกว่าการยืนยันหรือสนับสนุน เพื่อหาข้อบกพร่องแต่แนวคิดของตนนั้นมิได้กล่าวไว้ว่าเป็นเช่นนั้น


ฉะนั้นแล้วแม้นาคารชุน จะพยายามอธิบายด้วยสิ่งต่างๆที่ต้องอิงอาศัยกันและกันในการเกิดขึ้นทั้งสิ้นการเกิดขึ้นมิมีสิ่งใดมิได้เกิดด้วยปราศจากเงื่อนไข จากลักษณะดังกล่าวจึงสามารถชี้ให้เห็นได้บางส่วนด้วยว่า วิภาษวิธีดังกล่าว ย่อมต้องอิงบางส่วนกับความเป็นจิตที่เป็นสิ่งที่จริง ในการรับรู้ว่าเป็นเช่นไร ไม่ว่าจะเป็นไปในลักษณะจะเชื่อว่ามีหรือไม่ เป็นอยู่หรือไม่

ดังนั้นแล้ว จิตนิยมดังกล่าวจึงอาจจะแตกต่างไปกับสิ่งที่เป็นวิภาษวิธีกับนาคารชุนได้ใช้ตรวจสอบแนวคิดหรือทัศนะต่างๆ รวมทั้งความเชื่อของสำนัก หรือลัทธิ เพราะการมีความเชื่อบางอย่างย่อมเป็นเงื่อนไขต่อการปฏิเสธ และเป็นเงื่อนไขก็ต่อการพัฒนาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ต่างๆ ในพัฒนาได้เกิดขึ้น และอาจเป็นการทำให้เกิดการลดทอนหรือทำลายศีลธรรมที่เพ่งเล็งเพียงเพื่อชี้เห็นประโยชน์เพียงส่วนตนหรือส่วนอื่นมากกว่าการเข้าใจถึงการอิงอาศัยกันทุกส่วนแล้ว เเละเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วจะสามารถเชื่ออะไรได้ว่าเป็นสิ่งที่จริงได้แนวคิดของนาคารชุน

หมายเลขบันทึก: 618835เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2016 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2016 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท