ผลร้ายทางเศรษฐกิจจากการศึกษาคุณภาพต่ำ



บทความเรื่อง Tackling economic cost of poor education ใน นสพ. บางกอกโพสต์ วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ เขียนโดยอาจารย์ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น คือ John Draper และ พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ บอกว่าเด็กที่หลุดออกไปจากระบบการศึกษาก่อนเวลาอันควร ก่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ


ในประเทศอาเซียนทั้งหมด แต่ละปีมีเด็กที่ออกจากระบบการศึกษาก่อนเวลาอันควร จำนวน ๓.๒ ล้านคน ก่อความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ๒๖,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ผมไม่เข้าใจว่าเขาคิดตัวเลขนี้มาได้อย่างไร คำนวณออกมาได้เป็นความสูญเสีย ต่อคนเกือบ ๓ แสนบาท เป็นตัวเลขที่น่าจะสมเหตุสมผล


ประเทศไทยมีเด็กออกจากโรงเรียนกลางคันปีละ ๓๘๐,๐๐๐ คน เป็นเด็กชั้นประถมเสีย ๒ แสนคน ยูเนสโกคำนวณว่าเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ๒๒๕,๐๐๐ ล้านบาท คิดเป็นความสูญเสียต่อคนเกือบ ๖ แสนบาท


เด็กเหล่านี้ มาจากครอบครัวยากจน อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือเป็นลูกของแรงงานย้ายถิ่น เป็นคนที่เกิดมามีทุนต่ำ ประชาคมอาเซียนจึงออกประกาศ ASEAN DECLARATION ON STRENGTHENING EDUCATION FOR OUT-OF-SCHOOL CHILDREN AND YOUTHเพื่อหาทางร่วมมือกันสร้างระบบ ที่ช่วยให้เด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษา


บทความนี้เน้นความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการที่เด็กออกจากระบบการศึกษา แต่ผมมีความเห็นว่า แม้เด็กที่อยู่ในระบบการศึกษา แต่ระบบการศึกษามีคุณภาพต่ำอย่างที่เป็นอยู่ในประเทศไทย ก่อผลร้ายทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย นักเศรษฐศาสตร์น่าจะทำวิจัยประเมินค่าความสูญเสียนี้



วิจารณ์ พานิช

๑๗ ต.ค. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 618098เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2016 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2016 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท