การวิเคราะห์ภาพยนต์สั้น เรื่อง โกง? โดยใช้ทฤษฎีทางสังคมสงเคราะห์


การวิเคราะห์ภาพยนต์สั้น เรื่อง โกง ? โดยใช้ทฤษฎีทางสังคมสงเคราะห์

ภาพยนต์สั้น เรื่อง โกง ? ได้ให้แง่คิดสำหรับท่านผู้ชมไม่มากก็น้อย ในการใช้ชีวิตในสังคม แต่ล่ะสังคม แต่ล่ะพื้นที่ บทบาทหน้าที่ ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ตัวละครในเรื่องนี้ ตัวละครที่สำคัญ คือ เด็กวัด กับ หลวงตา ซึ่งเป็นตัวดำเนินเรื่องที่ทำให้ท่านผู้รับชมได้เข้าใจถึงบทบาทที่สำคัญ เราจะเห็นได้ว่าภาพยนต์สั้นเรื่องนี้ สื่อถึง เรื่องของการโกง โกงในเรื่องนี้มีหลายรูปแบบ ครั้งแรกที่ชมอาจมองได้ว่า เด็กวัด ชอบเป็นเด็กที่มักชอบโกงผู้อื่น ด้วยวิธี เล่ห์กลต่างๆในการเล่นกับเพื่อนของตน แต่เมื่อได้รับชมภาพยนต์สั้น เรื่อง โกง ? จนจบ ทำให้เราสามารถเข้าใจได้เลยว่า การโกงของเด็กวัด ไม่ได้เกิดจากตัวเขา แต่เกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบจากผู้ให้ และสังคม สิ่งแวดล้อม เป็นตัวที่หล่อหลอม ทำให้เด็กวัดต้องมีพฤติกรรมเช่นนี้ ตัวเด็กวัดเองเมื่อได้ฟังคำสอนหลวงตา เด็กวัดได้รับรู้เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับหลวงตา ทำให้เขาแยกแยะเรื่องที่ดีและไม่ดีได้ แต่การตัดสินใจว่าจะทำดีหรือไม่ดี อยู่ที่จิตสำนึกของเด็กวัด เขาสามารถเลือกที่จะปฏิบัติได้ เพราะตัวเขาเป็นผู้ตัดสินใจ หากผู้ใหญ่หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆยังประพฤติปฏิบัติโดยไม่ชอบหรือยังโกง เด็กก็จะจำในสิ่งที่เขาได้รับ และนำไปปฏิบัติ เพราะคิดว่าผู้ใหญ่ทำเลย เพราะอะไรเขาถึงไม่ทำ เขาอาจมองได้ว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำในเรื่อง ของการโกงเป็นเรื่องที่ถูกหรืออาจเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ใครหลายคนนั้นทำ จึงทำให้เด็กวัดถูกหล่อหลอมจากการเลียนแบบ แบบผิด

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา ( Social Cognitive Learning Theory)

ซึ่งเป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ( Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ ( Bandura 1963) จึงเรียกการเรียนรู้จากการสังเกตว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือ การเลียนแบบและเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ บันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูรา ( 1969, 1971) จึงเปลี่ยนชื่อทฤษฎีการเรียนรู้ของท่านว่า การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น การเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา ( Social Cognitive Learning Theory) อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากบันดูราพบจากการทดลองว่า สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ด้วยการสังเกต คือ ผู้เรียนจะต้องเลือกสังเกตสิ่งที่ต้องการเรียนรู้โดยเฉพาะ และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เรียนจะต้องมีการเข้ารหัส ( Encoding) ในความทรงจำระยะยาวได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย ( metacognitive) บันดูรา Bandura, 1986 จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา ( Cognitive Processes) การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling)บันดูรา (Bandura) มีความเห็นว่าทั้งสิ่งแวดล้อม และตัวผู้เรียนมีความสำคัญเท่า ๆ กัน บันดูรากล่าวว่า คนเรามีปฏิสัมพันธ์ ( Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเราอยู่เสมอการเรียนรู้เกิดจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต ( Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะเป็นตัวสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์หรืออาจจะเป็นรูปภาพการ์ตูนหนังสือก็ได้ นอกจากนี้ คำบอกเล่าด้วยคำพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็เป็นตัวแบบได้ การเรียนรู้โดยการสังเกตไม่ใช่การลอกแบบจากสิ่งที่สังเกตโดยผู้เรียนไม่คิด คุณสมบัติของผู้เรียนมีความสำคัญ เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า และสามารถสร้างรหัสหรือกำหนดสัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บไว้ในความจำระยะยาว และสามารถเรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ บันดูราได้เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา ได้ทำการวิจัยเป็นโครงการระยะยาว และได้ทำการพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ทีละอย่าง โดยใช้กลุ่มทดลองและควบคุมอย่างละเอียด และเป็นขั้นตอน

การเรียนรู้พฤติกรรมสำคัญต่าง ๆ ทั้งที่เสริมสร้างสังคม ( Prosocial Behavior) และพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม ( Antisocial Behavior) ได้เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ การ์ตูน หรือจากการอ่านจากหนังสือได้ การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย 2 ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และขั้นการกระทำ ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญญลักษณ์ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา และผู้นำในสังคมประเทศชาติและศิลปิน ดารา บุคคลสาธารณะ ยิ่งต้องตระหนักในการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพราะย่อมมีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชนในสังคมนั้นๆ

สรุป การนำทฤษฎีทางสังคมสงเคราะห์ มาใช้ในการวิเคราะห์หนัง ทำให้เราสามารถมองเห็นกระบวนการหรือแนวทาง ในการทำงานสังคมสงเคราะห์เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ว่าสิ่งที่เขาเป็นเกิดจากอะไร ทุกคนนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ในการเรียนรู้ทฤษฎีที่นำมาปรับใช้ในงานสังคมสงเคราะห์ ทำให้เราเรียนรู้และปรับตัวกับปัญหาและเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น เพื่อให้ง่ายต่อการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน

ชมภาพยนตร์สั้น เรื่อง โกง ได้ที่ https://youtu.be/bXToc4WMfxE

แหล่งอ้างอิง

www.watcharaphonchai.blogspot.com

หมายเลขบันทึก: 617246เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2016 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2016 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท