๑๐๒๐ ถอดบทเรียน : คลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลน่าน


ถอดบทเรียน : คลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลน่าน


ผู้เขียน: นางอุลี ศักดิ์สุวรรณ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลน่าน

เรียบเรียงโดย: นางสาวเจนจิรา จันทร์มี และนางสาวรติกร เพมบริดจ์

โรงพยาบาลน่านเป็นโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราการสูบบุหรี่ร้อยละ 16.56 เมื่อเปรียบเทียบในปี พ.ศ. 2554 และ 2556 แล้วพบว่ามีผู้สูบบุหรี่ซองและบุหรี่อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น (บุหรี่ซอง จากร้อยละ 42.08 เป็นร้อยละ 45.68 และบุหรี่อื่นๆ จากร้อยละ 0.72 เป็น ร้อยละ 13.84 ตามลำดับ) โครงการจัดตั้งคลินิกอดบุหรี่ และโครงการอดบุหรี่ในโรงพยาบาลน่าน มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้มีความรู้ความเข้าใจในพิษภัยของบุหรี่ และสามารถ ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ด้วยตนเอง และสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้


กิจกรรมในคลินิกอดบุหรี่โรงพยาบาลน่าน ใช้หลักการให้คำปรึกษารายบุคคลและดำเนินการโดยใช้หลัก 5A หรือ ถ-นน-ป-ช-ต (ASK = ถาม, ADVISE = แนะนำ, ASSESS = ประเมิน, ASSIST = ช่วยให้เลิก, ARRANGE = ติดตาม) โดยการทำงานเริ่มจากซักประวัติการสูบบุหรี่/ประเมินนิโคติน จากนั้นตรวจสมรรถภาพปอด/เป่าวัดระดับ CO (แปลผลการประเมิน) ช่วยด้วยเทคนิคการอดบุหรี่ด้วยตนเอง/มะนาว/แจกน้ำยาบ้วนปาก ควบคู่กับการให้กำลังใจ และติดตามทางโทรศัพท์ 7 วัน/1 เดือน/3 เดือน/6 เดือน เมื่อครบ 6 เดือน จึงประเมินผล สุดท้ายหากเลิกบุหรี่ไม่ได้ พาพบแพทย์พิจารณาให้ยาช่วยเลิกควบคู่กับการให้คำปรึกษาและติดตามผลต่อไป

ผลการดำเนินงาน คลินิดอดบุหรี่ โรงพยาบาลน่าน ปี พ.ศ. 2556 - 2557

ปี พ.ศ.

2556

2557

2558 (ณ มีนาคม)

ประเภทผู้รับบริการ

ทั้งหมด

เลิกสำเร็จ

ทั้งหมด

เลิกสำเร็จ

ทั้งหมด

เลิกสำเร็จ

ผู้ที่เป็นโรค NCD

(DM./HT./COPD/MI.)

48 ราย

31 ราย

56 ราย

35 ราย

204 ราย

65 ราย

(64.58%)

(39.06%)

(31.86%)

ผู้ที่ไม่เป็นโรค

18 ราย

7 ราย

30 ราย

9 ราย

26 คน

10 ราย

(38.89%)

(30.00%)

(38.46%)

รวม

66 ราย

38 ราย

86 ราย

44 ราย

230 ราย

75 ราย

(57.57%)

(51.16%)

(32.61%)

สิ่งที่ภาคภูมิใจ เกิดขึ้นทุกครั้งหลังจากที่เราติดตามพบว่า ผู้ต้องการอดบุหรี่กลับไปทำตามที่เราแนะนำ สุดท้ายเขาสามารถเลิกสูบบุหรี่สำเร็จนั้น หมายถึงเขาเหล่านั้นจะมีสุขภาพดี ต่อชีวิตให้เขายืนยาวขึ้น และภูมิใจที่เป็นหนึ่งในทีมการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ มีการเชื่อมโยงกับเครือข่าย (Integration) ในโรงพยาบาลด้วยการดูแลผู้ป่วย/สร้างเสริมสุขภาพเชื่อมต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันแบบครบวงจรแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน เป็นการดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการ โดยการเชื่อมโยงกับ PCT ต่างๆ และสหวิชาชีพ เช่นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และเครือข่าย องค์กรงดเหล้า เครือข่าย อสม. เครือข่ายองค์กรสงฆ์ และเครือข่าย รพ.สต. ในพื้นที่ด้วย

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙

ศจย. website : www.trc.or.th

หมายเลขบันทึก: 617243เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2016 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2016 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท