Take Home Examination: Ergonomic -Ischemic stroke case



Case study 1: เคสวัย 40 ปีที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบมา 3 ปี เบื่อและอยากลาออกจากการเป็นอาจารย์ที่หนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนและเสี่ยงเป็นหลอดเลือดสมองตีบ ไม่ชอบออกกำลังกาย มีความสามารถเป็นพิธีกร ดีเจ และนักเขียน และกำลังเครียดเพราะเป็นเสาหลักเลี้ยงดูครอบครัวกว่า 3 คน และมีหนี้บ้านจากการผ่อนชำระเงินเดือนจากงานอาจารย์ประจำ


1.วิเคราะห์ตาม PEOP ดังนี้

P E O P

Self
-อายุ 40 ปี

-เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke)มา 3 ปี

-เบื่อและอยากลาออกจากการทำงานอาจารย์ที่หนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน

-ไม่ชอบออกกำลังกาย
-มีความเสี่ยงต่อการกลับไปเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ
Physical ability

-มีความสามารถเป็นอาจารย์ พิธีกร ดีเจ และนักเขียน

Mental

-Cognitive : Lv.5 ขาดความสามารถในการวางแผนจัดการตนเอง

-Emotion : รู้สึกเครียดเนื่องจากเป็นเสาหลักของครอบครัวและต้องชำระหนี้สินบ้าน

-Personality : Introvert

-Psychosocial skill : Self-management skill

Stress management : มีปัญหาการจัดการภาวะเครียด

Time management : ไม่มีเวลาพักผ่อน
Fatigue management:มีความล้าทางกาย ทางใจ

Physical
-งานที่ทำ
-สถานที่ทำงาน

Social

-อาศัยอยู่กับครอบครัว 3 คน
-ผู้ร่วมงานในมหาวิทยาลัย
-นักศึกษา
-ผู้ร่วมงานภายนอกอื่นๆ
Financial status

-ได้รับเงินเดือนจากงานอาจารย์ประจำ
-มีหนี้สินบ้าน

IADL : Finance management
มีปัญหาในการจัดการด้านการเงิน เป็นเสาหลักต้องเลี้ยงดูครอบครัว และ มีหนี้สินบ้าน

Work: ทำงานเป็นอาจารย์

Rest/sleep: พักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากทำงานหนัก

ability
ผู้รับบริการ มี ความสามารถในการเป็นอาจารย์
พิธีกร ดีเจ และนักเขียน

นักกิจกรรมบำบัดมีส่วนช่วยในการ
แนะนำวิธีจัดการความเครียด
เพิ่มทักษะการจัดการตนเอง
รวมถึงส่งเสริมบทบาทการกลับไปทำงานของผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการมคุณภาพชีวิตที่ดี




P+E=Motivation:
negative motivation คือ ขาดแรงจูงในในการทำงาน
P+E+O+P=Role transformation: ยังไม่มีการเปลี่ยนบทบาท

2.วิเคราะห์ตาม OBP-In depth (PEOP+MOHO)

Volition Subsystem

  • Personal causation : (Narrative reasoning) เชื่อในความสามารถตนเอง คือ เชื่อว่าตนเองมีความสามารถในการเป็น พิธีกร ดีเจ นักเขียน
  • Value : N/A
  • Interests : N/A

Habituation Subsystem

  • Internalized Roles : ลูก พี่หรือน้อง อาจารย์
  • Roles Change : -
  • Habits : -

Performance Subsystem

  • Objective physical : stress fatigue
  • Subjective experience : มีประสบการณ์ในการทำงานอาจารย์



3. Job analysis : อาจารย์

กิจกรรมที่ทำในงาน องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
ค้นหาข้อมูล เตรียมการสอน orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, abstract thinking, metacognition
สอนให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, abstract thinking, metacognition , social and communication skill
เตรียมข้อสอบ orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, abstract thinking, metacognition
ตรวจข้อสอบ orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, abstract thinking, metacognition
จัดการงานบริหารในสาขาหรือคณะ เช่น การประชุมหลักสูตรในสาขาวิชา เป็นต้น orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, abstract thinking, metacognition
ฟื้นฟูผู้รับบริการในคลินิก orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, abstract thinking, metacognition , social and communication skill
รับงานภายนอก เช่น พิธีกร วิทยากร ผู้นำในการจัดกิจกรรมกลุ่ม นักเขียน เป็นต้น orientation, attention, memory, planning, reasoning, problem solving, abstract thinking, metacognition , social and communication skill

4.การคิดและการให้เหตุผลทางคลินิก (Clinical Reasoning)

Scientific Reasoning

Diagnosis Clinical reasoning:
Occupational Imbalance: งานส่งผลให้เกิดความเครียด คือ เครียด เนื่องจากงานอาจารย์เป็นงานที่หนักจึงไม่มีเวลาพักผ่อน มีบทบาทในการเป็นเสาหลักของครอบครัวและมีหนี้สิน อีกทั้งเป็นคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย ส่งผลให้ผู้รับบริการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบอีกครั้ง
Occupational Deprivation: ความเครียดจากงาน ส่งผลต่อการทำงาน คือ เนื่องจากงานหนักไม่มีเวลาพักผ่อน ผู้รับบริการรู้สึกเบื่อและอยากลาออกจากงาน

Narrative Clinical reasoning

“เบื่อ อยากลาออกจากการทำงานอาจารย์ที่หนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน” สะท้อนให้เห็นถึง การที่ผู้รับบริการยังไม่รู้วิธีจัดการตนเอง ในเรื่องของการบริหารเวลา(time management) ความเครียด(stress management) ความล้า (fatigue management)
“ไม่ชอบออกกำลังกาย” สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกที่ชอบทำกิจกรรมที่นั่งอยู่เฉยๆ ไม่เกิดการเคลื่อนไหว และอาจสะท้อนให้เห็นถึงสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เกิดความล้าทางกาย
“มีความสามารถเป็นพิธีกร ดีเจ และนักเขียน” สะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้ความสามารถตนเอง (self-efficacy)
“เป็นเสาหลักเลี้ยงดูครอบครัวกว่า 3 คน มีหนี้บ้านจากการผ่อนชำระเงินเดือนจากงานอาจารย์ประจำ” สะท้อนให้เห็นถึงความเครียด

5. Intervention Plan
Problem list

  • ผู้รับบริการไม่ทราบวิธีในการจัดการความเครียด
  • ผู้รับบริการไม่สามารถบริหารจัดการเวลาได้ส่งผลให้ไม่มีเวลาพักผ่อน
  • ผู้รับบริการขาดแรงจูงใจในการทำงาน

Short term goal

  • ผู้รับบริการมีความเครียดลดลง 2 ระดับ โดยการทำกิจกรรมยามว่าง คือการเขียนบันทึกประจำวัน ภายในระยะเวลา 1 เดือน
  • ผู้รับบริการมีเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมง จากการบริหารจัดตารางเวลา ภายใน 2 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการกลับไปทำงานภายใน 1 เดือน

Long term goal

ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำงานได้


Intervention Implementation
Goal 1: ผู้รับบริการสามารถจัดการความเครียดให้ลดลง 2 ระดับ โดยการทำกิจกรรมยามว่าง คือการเขียนบันทึกประจำวัน ภายในระยะเวลา 1 เดือน
FoR/Model : MOHO Model ,Cognitive Disability Model
Therapeutic media : therapeutic use of self,
Approach : Relaxation technique (diaphragmatic breathing and progressive muscle relaxation ,Self-management,problem solving
Intervention implementation

  • สอบถามผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการมีการตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง(Self-awareness) เกี่ยวกับปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความเครียด ทั้งในด้านกายภาพและจิตใจ พร้อมทั้งแจกแจงปัญหา
  • ให้ผู้รับบริการกำหนดระดับความเครียดด้วยคะแนน 0-10 โดย 0 คือไม่เครียด 10 คือเครียดมากที่สุด
  • ตั้งเป้าประสงค์ร่วมกับผู้บำบัดในการจัดการความเครียด ว่าการจัดการความเครียดในระยะสั้นกับระยะยาวอย่างไร และใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ พร้อมทั้งให้ผู้รับบริการเขียนเป้าหมายลงสมุด เพื่อให้ผู้รับบริการเห็นเป้าหมายของความสำเร็จที่ชัดเจน
  • สอบถามผู้รับบริการถึงวิธีจัดการความเครียดของผู้รับบริการ พร้อมทั้งให้ผู้รับบริการเสนอวิธีอื่นๆร่วมกับผู้บำบัดนอกเหนือจากวิธีที่ผู้รับบริการเคยทำ
  • ผู้บำบัดแนะนำและให้ Relaxation Technique เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้าสู่กิจกรรมต่างๆ เช่น
    • diaphragmatic breathing เป็นวิธีผ่อนคลายความเครียดโดยการฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม โดยนำมือวางบริเวณชายโครงด้านหน้าเพื่อกระตุ้นและรับรู้การเคลื่อนไหวของทรวงอกและหน้าท้องที่เกิดขึ้น หายใจผ่านทางรูจมูกเข้าออกธรรมดา ไม่เกร็งหัวไหล่หรือทรวงอก สังเกตว่าขณะหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบลง
    • progressive muscle relaxation เป็นวิธีการคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นทีละส่วน โดยเริ่มจากเกร็งจิกเท้าให้เต็มที่ก่อนจนทนไม่ไหวแล้วจึงปล่อยให้ผ่อนคลาย ต่อมาก็ทำเช่นเดียวกันที่ขาโดยให้เกร็งเหยียดเข่าแล้วปล่อยให้ผ่อนคลาย ทำเช่นนี้ขึ้นมาเรื่อยๆที่ตะโพก ช่องท้อง อก แขน ไหล่ คอ จนถึงใบหน้า
    • Aromatherapy เป็นการใช้การรับสัมผัสทางกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยซึ่งสกัดจากพืชในการคลายความเครียด ซึ่งควรเป็นกลิ่นที่ผู้รับบริการชอบ
    • Music as a therapy เป็นการเปิดเพลงจังหวะช้าๆ คลอตามขณะที่กำลังทำงาน หรือขณะพักผ่อน
    • Mindful exercisesเช่น qigong หรือ yoga เป็นการออกกำลังกายที่ให้ผู้รับบริการตระหนักเกี่ยวกับตนเองและจัดตำแหน่งของร่างกายให้เกิดการเคลื่อนไหวในระดับต่ำถึงปานกลาง โดยก่อนอื่นให้ผู้รับบริการทราบถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย คือ ช่วยลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ
  • เนื่องจากผู้รับบริการมีความสามารถในการเป็นนักเขียน จึงให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมเขียนบันทึกประจำวัน ในเรื่องราวต่างๆที่ได้เจอมา หากเจอเรื่องราวที่ทำให้รู้สึกเครียด ให้ผู้รับบริการนึกวิธีจัดการความเครียดในสถานการณ์นั้นด้วยตนเองแล้วเขียนประโยชน์ของการเจอเรื่องเหล่านั้น (positive thinking) พร้อมทั้งเขียนวิธีที่ผู้รับบริการใช้ในการแก้ปัญหา (Problem solving) และการแก้ไขปัญหาแบบนั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งการบันทึกประจำวันนอกจากจะเป็นการสะท้อนให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ (Self -awareness) เกี่ยวกับความเครียดของผู้รับบริการเองแล้ว ยังคอยเป็น feedback ให้กับผู้รับบริการ กระตุ้นให้ผู้รับบริการคอยปรับความคิด ปรับความรู้สึก และปรับพฤติกรรม เมื่อเปิดอ่านอีกครั้งจะช่วยให้ผู้รับบริการทราบถึงวิธีการจัดการปัญหาของตนเอง และนำวิธีที่ดีไปใช้ต่อไป พร้อมทั้งปรับปรุงวิธีที่ไม่ได้ผลให้พัฒนาขึ้น
  • ผู้บำบัดและผู้รับบริการนำวิธีต่างๆมาอภิปรายร่วมกัน (discussion) ถึงข้อดีข้อเสีย คอยให้ positive feedback ในแต่ละกิจกรรม และถามความพึงพอใจในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการนำวิธีดังกล่าวไปใช้

Re-evaluation : ประเมินซ้ำโดยให้ผู้รับบริการกำหนดระดับความเครียดด้วยคะแนนจาก 0-10 ; 0 คือ ไม่เครียดเลย 10 คือ เครียดมากที่สุด

Goal 2: ผู้รับบริการมีเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมง จากการบริหารจัดตารางเวลา ภายใน 2 สัปดาห์FoR/Model : MOHO Model ,Cognitive Disability Model
Therapeutic media : therapeutic use of self,
Approach : self-management (time management)
Intervention implementation
เสนอแนวทางในการจัดการเวลาดังนี้

  • ให้ผู้รับบริการพิจารณาให้แน่นอนว่าอะไรสำคัญที่สุด
  • ตั้งเป้าหมายและเขียนเป้าหมายออกมาเนื่องจากช่วยให้จุดประสงค์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • กล้าที่จะตอบปฏิเสธหากมีสิ่งแวดล้อมคอยดึงให้ออกจากเป้าหมาย
  • กำหนดเกณฑ์ในการใช้เวลาในการทำกิจกรรมแต่ละอย่างเช่น การทำงาน การโทรศัพท์ การคุยกับเพื่อน การรับประทานอาหาร การออกไปซื้อของ ควรกำหนดล่วงหน้าว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่
  • วางแผนประจำวัน ควรเขียนกิจกรรมต่างๆ ออกมาอย่างชัดเจน แล้ววางแผนการทำเพื่อให้เป้าหมายออกมาสำเร็จ โดยจัดลำดับความสำคัญ
  • จัดลำดับความสำคัญของงานให้ชัดเจน โดยพิจารณาว่างานไหนเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการโดยด่วน งานไหนที่สามารถทำภายหลังได้ไม่ต้องใช้สมองและเวลามากก็สามารถทำในภายหลังได้
  • ลงมือทำงานที่ยากที่สุด เมื่อสามารถทำงานที่ยากเสร็จจะช่วยให้เกิดความโล่งใจ และช่วยให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน
  • ทำงานให้สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน
  • ทำซ้ำๆให้เป็นนิสัย


Re-evaluation : สอบถามความพึงพอใจ รวมทั้งสอบถามช่วงเวลาการพักผ่อน

Goal 3: ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการกลับไปทำงานภายใน 1 เดือน
FoR/Model : MOHO Model ,Cognitive Disability Model
Therapeutic media : therapeutic use of self
Approach : self –feedback, self-management, problem solving , Positive reinforcement, positive feedback
Intervention implementation

  • ให้ผู้รับบริการสำรวจตนเองว่า เพราะอะไร ผู้รับบริการถึงเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ให้ผู้รับบริการนึกถึงแรงจูงใจแรกที่ได้เข้ามาทำงาน รวมทั้งสอบถามข้อดีต่างๆตลอดการทำงานเป็นอาจารย์ ให้ผู้รับบริการเขียนข้อดี
  • สอบถามผู้รับบริการว่า อะไรเป็นข้ออ้างของการอยากลาออกจากการเป็นอาจารย์ ให้ผู้รับบริการแสดงเหตุผลเชิงบวกในการลบล้างข้ออ้างนั้น และสอบถามว่าหากผู้รับบริการลาออกจากการเป็นอาจารย์แล้วข้อเสียที่ตามมาคืออะไรบ้าง และจะแก้ไขได้อย่างไร ร่วมแลกเปลี่ยนเหตุผลกับผู้บำบัด
  • นำความสามารถของผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการให้ feedback คือ ให้ผู้รับบริการแสดงบทบาทการเป็นอาจารย์ โดยให้สอนหนังสือให้ผู้บำบัดเรียน เป็นดีเจโดยสมมุติถึงการจัดรายการทางวิทยุให้ผู้บำบัดแสดงเป็นคนโทรศัพท์ไปขอเพลง เป็นพิธีกรโดยสมมุติเหตุการณ์งานเลี้ยงหนึ่งให้ผู้รับบริการเป็นพิธีกร นักเขียนโดยกำหนดเรื่องให้ผู้รับบริการเขียน 1 หน้ากระดาษ
  • ผู้บำบัดให้ positive feedback ร่วมกับ Positive reinforcement กับบทบาทต่างๆ พร้อมทั้งให้ผู้รับบริการ ให้ feedback ตนเอง เปรียบเทียบตนเองในบทบาทต่างๆ รวมทั้งสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการในบทบาทต่างๆ และชี้ข้อเสนอแนะให้ผู้รับบริการว่า สามารถทำเป็นอาชีพเสริมร่วมขณะที่เป็นอาจารย์ได้
  • ผู้บำบัดสรุปผลและอภิปราย พร้อมย้ำประเด็นสำคัญของกลับไปทำงาน และจัดการกับข้ออ้างต่างๆที่เป็นการบั่นทอนแรงจูงใจในการกลับไปทำงาน


Re-evaluation : สอบถามผู้รับบริการถึงคุณภาพชีวิตในการกลับไปทำงาน


Reference

การบริหารเวลา (Time Management) [Internet]. [cited 2016 Oct 16]. Available from: http://hq.prd.go.th/plan/ewt_dl_link.php?nid=2004
42_Breathing_exercise.pdf [Internet]. [cited 2016 Oct 16]. Available from: https://sunpasit.go.th/mecu/files/42_Breathing_exe...

A Pilot Evaluation on a Stress Management Programme Using a Combined Approach of Cognitive Behavioural Therapy (CBT) and Complementary and Alternative Medicine (CAM) for Elementary School Teachers - Tsang - 2013 - Stress and Health - Wiley Online Library [Internet]. [cited 2016 Oct 9]. Available from: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/smi.252...

Music as a therapy: Role in psychiatry [Internet]. [cited 2016 Oct 15]. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...

Rational-emotive Consultation in Applied Settings - Raymond DiGiuseppe, Michael L. Bernard - Google หนังสือ [Internet]. [cited 2016 Oct 16]. Available from: https://books.google.co.th/books?hl=th&lr=&id=dmrZ...

Siriraj E-Public Library [Internet]. [cited 2016 Oct 16]. Available from: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articled...





หมายเลขบันทึก: 617136เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2016 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท