ท่านอดีตนายกชวน หลีกภัย กับหลักธรรมาภิบาล -สังคมไทยต้องเสริม "หลักความไม่เกรงใจ"


ท่านอดีตนายกชวน มาบรรยายพิเศษ เรื่องธรรมาภิบาลกับอนาคตวงการแพทย์ไทย ให้กับ นศ.หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารทางการแพทย์ระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับแพทยสภา

ท่านอดีตนายกชวน เล่าถึงกรณีต่างๆ ของการไม่มีธรรมาภิบาล และสรุป ธรรมาภิบาล 6 หลักตามที่สถาบันพระปกเกล้าใช้บรรยายให้กับทุกหลักสูตร และท่านอดีตนายกชวนเสริมว่า ต้อง “ยึดหลักความไม่เกรงใจ” เพิ่มขึ้นมาในสังคมไทยพร้อมกรณีที่หลายคนต้องเสียชื่อเสียง ถูกให้ออกจากราชการ ติดคุกเพราะ “ความเกรงใจ”ส่วนประเด็นทางการแพทย์ ท่านขอละไว้เพราะผู้เรียน /นศ. ปธพ. 5 นี้ เป็น ผู้บริหารและสุดยอดทางการแพทย์ อยู่แล้ว

ปล. ผมอาจสรุปรวบรัดไป ท่านอดีตนายกชวน บอกว่า ความเกรงใจ มี 2 ด้าน ด้านที่ดี คือ เกรงใจคนดี คนที่น่าเคารพนับถือ คนที่อยู่ในศีลและธรรม ส่วนด้านเกรงใจแล้วทำในสิ่งที่ขัดกับความถูกต้อง จะมีผลให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะจาก ผู้บังคับบัญชา หรือ คนที่มีตำแหน่งสูงกว่า




หมายเลขบันทึก: 616786เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2016 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หลักความไม่เกรงใจนั้น ไม่แน่ใจว่าควรเสริมหรือไม่ เพราะสังคมทุกวันนี้คนก็ไม่ค่อยเกรงใจกันอยู่แล้ว

จนสังคมนี้ปั่นป่วนไปหมด ถ้าเสรืมคงเป็นโรคเครียดกันไปหมด คงต้องเฉพาะเจาะจงลงไปว่า ใครไม่ควรเกรงใจใครในเรื่องหรือหน้าที่ใด ความเกรงใจเป็นบ่อเกิดของหายนะแก่ใคร คิดว่าคนบางกลุ่มเกรงกลัวและโลภและไม่รู้กฏระเบียบ และกฏหมายที่เกี่ยวข้องมากกว่าจึงกระทำผิด แต่เด๊๋ยวนี้ความไม่เกรงใจและความไร้มนุษยธรรมทำให้กระทำหรือตัดสินใจบิดเบือน ให้โทษให้ทุกข์แก่ผู้อื่น แม้กระทั่งผู้ทำดีแล้วถูกแล้ว เพื่อประโยชน์ตน เพื่อความสะใจ เพื่อกดขี่ทำลาบล้างกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท