ทฤษฎีการแก้ไขปัญหา


คำว่า “การแก้ไขปัญหา” ทั่วไปหมายถึงการใช้กระบวนการหาเหตุและผลทางตรรกวิทยาหรือการใช้สติปัญญาหาทางออกของปัญหา ปกติทุกคนต้องมีการแก้ไขปัญหาอยู่แล้วในชีวิตประจำวันการที่คนเราไม่สามารถเผชิญกับปัญหานั้นเกิดจากการขาดตกบกพร่องของปัจจัย 3 ประการที่เรียกเป็นคำย่อว่า “MCO”

4PS ได้แก่

  • Person = ผู้ใช้บริการ
  • Problem = ปัญหา
  • Place = สถานที่
  • Process = กระบวนการ

คือ ผู้ที่ประสบปัญหาซึ่งแต่ละคนมีอดีตและประสบการณ์ชีวิตแตกต่างกัน นักสังคมสงเคราะห์ คือ ผู้ให้การช่วยเหลือ ติดต่อ ประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ นักสังคมสงเคราะห์ต้องไม่ตัดสินผู้ใช้บริการว่า การตกอยู่ในสภาวะยากลำบากนั้นไมได้เกิดจากตัวของผู้ใช้บริการเอง แต่ต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพสังคม การไม่รู้ภาษา การสื่อสาร และการไม่รู้ถึงสิทธิที่ตนเองมี ครอบครัว คือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก เพราะมีความใกล้ชิดรู้จักและเป็นกลุ่มคนที่ผู้ใช้บริการไว้วางใจ การทำงานสังคมสงเคราะห์ไม่ใช่แค่ทำงานกับผู้ใช้บริการ แต่ควรทำงานกับครอบครัวของผู้ใช้บริการด้วย

นักสังคมสงเคราะห์ควรพิจารณาปัญหาในแง่มุมต่างๆ เนื่องจาก ปัญหาของแต่ละคนมีความซับซ้อนและแตกต่างกัน ต้องใช้การวิเคราะห์อย่างระมัดระวัง

หมายถึงองค์กรในการให้ความช่วยเหลือ

โดยขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการแก้ไขปัญหา คือการกำหนดปัญหาให้ชัดเจน ค้นหาสิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการ (client) นั้นเกิดความคับข้องใจ เดือดร้อน นั้นคืออะไร

หัวใจสำคัญของทฤษฎี

  • แรงจูงใจในการจัดการปัญหา
  • สมรรถภาพ ได้แก่ ความสามารถในการจัดการปัญหา
  • โอกาสหมายถึง วิถีทางในการจัดปัญหา

ประโยชน์ของ ในการปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์

  • นักสังคมสงเคราะห์จะต้องสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้ใช้บริการมีพลังในการเผชิญกับปัญหา โดยลดความวิตกกังวลและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ใช้บริการ
  • นักสังคมสงเคราะห์ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการ ได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และประมวลปัญหา อีกทั้งได้เลือกแนวทางและจัดการกับปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นการฝึกสรรถนะในการเผชิญกับปัญหา
  • นักสังคมสงเคราะห์ต้องคอยสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการได้รับความช่วยเหลือและเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็น
  • ต่อการสร้างพลัง และความสามารถในการเผชิญกับปัญหา
หมายเลขบันทึก: 616751เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท