จรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย


จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ คือ ข้อบังคับที่สมาคมวิชาชีพตั้งขึ้น และให้สมาชิกปฏิบัติตาม เป็นคุณธรรม เป็นมารยาททางวิชาชีพ อุดมการณ์ที่วิชาชีพตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติร่วมกัน เสมือนเป็นเครื่องมือในการประกันความซื่อตรงความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ

หลักจริยธรรมในการทำงาน/จรรยาบรรณ

  • ความจงรักภักดี
  • ความซื่อสัตย์
  • ความยุติธรรม
  • ความมั่นคง
  • หน้าที่พลเมือง
  • การรักษาสัญญา
  • การเอาใจใส่ต่อบุคคลอื่น
  • การแสวงหาคุณงามความดี
  • ความเคารพต่อผู้อื่น
  • ความรับผิดชอบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง

จรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

จรรยาบรรณทางวิชาชีพได้มีการกำหนดขึ้นจากองค์กรหรือสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ โดยมีวัตถุประสงค์คือ

  • เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพนำไปยึดถือปฏิบัติในการทำงาน
  • เพื่อให้วิชาชีพคงฐานะได้รับการยอมรับและยกย่องจากสังคม
  • เพื่อผดุงเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ได้กำหนดจรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ ไว้ 5 ประการ ดังนี้

1. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องสำนึกว่า การกระทำเพื่อพัฒนาหรือก่อให้เกิดสวัสดิภาพแก่บุคคล กลุ่มชนและชุมชนเป็นความรับผิดชอบของตน

2. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ เสียสละ มีคุณธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง

3. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องเคารพในศักดิ์ศรี และไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของผู้รับบริการ

4. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของวัฒนธรรมอันดีงาม เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่วิชาชีพสังคมสงเคราะห์

5. นักสังคมสงเคราะห์จะต้องยึดมั่นในหลักวิชา เพิ่มพูนความรู้และทักษะ พร้อมทั้งส่งเสริมวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ

หมายเลขบันทึก: 616749เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท