เหลียวหน้าแลหลัง "R2R คำเขื่อนแก้ว"


มีโอกาสได้คุยกับพี่แกะ-คำเขื่อนแก้ว ...ได้ฟังเรื่องราวการขับเคลื่อนงาน DM/HT และมีการใช้ R2R มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานร่วมด้วย รู้สึกปิติและชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง..

ทำงานไป...เจอ GAP ก็แก้ไขไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

และที่สำคัญลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของที่นี่ คือ การใช้ปิงปองจราจร 7 สีมาเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร่วมกับการใส่กิจกรรมอื่นๆ ร่วมไปด้วยเช่น ... แพทย์วิถีธรรม SKT 3อ2ส เป็นต้น

เมื่อดำเนินมาได้ระยะหนึ่ง ...ทำให้จัดกลุ่มผู้ป่วยได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำประจำต่อเนื่อง กลุ่มที่ทำบ้างไม่ทำบ้าง และกลุ่มที่ไม่ทำเลย สำหรับกลุ่มที่ทำประจำผลของระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างควบคุมได้ สะท้อนผ่านสีของปิงปองจราจร 7สี ซึ่งการใช้สีช่วยสะท้อนผู้ป่วยได้ชัดเจน

ในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ทางคำเขื่อนแก้ว ก็ยังคงมีการพัฒนากิจกรรมทั้งการรักษา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง นำ GAP หรือปัญหาอุปสรรคมาร่วมกันวิเคราะห์ และเพิ่มกิจกรรมเข้าไป

ดั่งเช่น โครงการอรหันต์ทั้งเจ็ด เป็นการลงเชิงลึกใน รพ.สต.นำร่องในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน หรือการใช้พลังของกลุ่มสีมาใช้เสริมสร้างพลังในการดูแลตนเองของผู้ป่วย

แม้ว่าในภาพรวมของการขับเคลื่อน DM/HT ยังไม่บรรลุเป้าแต่ในระดับภาพของจังหวัดยังเป็นอันดับหนึ่งที่สะท้อนถึงแนวโน้มของการเกิดความสำเร็จในการขับเคลื่อนงาน

การจดจ่อและความต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการปรับกระบวนการทำงานเสมอ

ประโยชน์ที่เกิดต่อผู้ป่วยมากมาย แม้ว่าจะมีปัญหาและอุปสรรคอย่างมาก ภาพที่สัมผัสได้จากคำเขื่อนแก้วคือ ...การทำงานเป็นทีมของ คปสอ. ที่ไร้รอยต่อระหว่าง สสอ. และโรงพยาบาล ทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลกันได้อย่างครอบคลุม




หมายเลขบันทึก: 616743เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท