นางสาวปฐมา จันทร์โชติเสถียร


<img src="https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/186/578/large_image.jpeg" "="">

เชื่อว่า หลายๆสถานศึกษาได้ตอบสนองนโยบาย การจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตร หรือที่เราเรียกกันว่า "ทวิศึกษา"

ซึ่งเป้าหมายหลักของการจัดหลักสูตรนี้ก็คือ

- เพิ่มปริมาณผู้เรียนอาชีวศึกษา

-เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายสามัญเลือกเรียนสายอาชีวศึกษาที่ตนสนใจเรียนควบคู่ไปด้วย

จริงๆการจัดการศึกษาเช่นนี้ มีมาค่อนข้างนานแล้ว ที่เรามักได้ยินกันว่า "คู่ขนาน" สองอย่างนี้แต่กต่างกันอย่างไร หลายคนคงสงสัย ?

คู่ขนาน เรียนจบ ม.6 แล้ว ต้องมาสมัครเรียนและลงทะเบียนเรียนกับอาชีวศึกษา อย่างน้อย 1 ภาคเรียน นั่นแปลว่า นักเรียนไม่สามารถได้วุฒิ ปวช.พร้อมกับวุฒิ ม.6

ทวิศึกษา เรียน ม.6 และ ปวช. ควบคู่กันไป โดยเมื่อเรียนจบ ปวช. แล้ว ไม่ต้องลงเรียนกับอาชีวศึกษา อีก 1 ภาคเรียน

ดูเหมือนจะดีใช่หรือไม่?

แน่นอนว่าดี!!!! แต่!!! ก็มีปัญหาตามมาเหมือนกัน ไม่รู้ที่อื่นเป็นเหมือนกันไหมนะ

1.หน่วยกิตโครงสร้างหลักสูตรปวช. พุทธศักราช ๒๕๕๖ ไม่น้อยกว่า 103 หน่วยกิต แต่ทวิศึกษา ไม่น้อยกว่า ๑๑๒ หน่วยกิต อยากได้ 2 วุฒิก็ต้องเรียนหนักขึ้นนะจ๊ะ

2. เมื่อเด็กที่เรียนสายวิทย์-คณิต อยากเรียนทวิศึกษา แน่นอนว่าแค่เรียนสายวิทย์ คณิต รายวิชาก็มากอยู่แล้ว เมื่อต้องการมาเรียนควบคู่ทวิศึกษาไปด้วย ปัญหาก็เกิด เพราะไม่สามารถจัดตารางเรียนได้ เนื่องจากรายวิชานั้นเยอะจนล้น หรือถ้าโรงเรียนต้องการจัดจริงๆ ก็ต้องมาเรียนกันวันเสาร์ อาทิตย์

3. ทำอย่างไร จะควบคุมคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตราฐาน และสามารถสอบผ่านมาตราฐานวิชาชีพได้ วิทยาลัยก็จะต้องออกนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอนบ่อยครั้ง

4. โรงเรียนยังขาดความพร้อมในเรื่องของครุภัณฑ์ อุปกรณ์ ต่างๆในการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะในสาขาวิชาชีพช่าง

5.เมื่อโรงเรียนขาดความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ต่างๆ โรงเรียนก็จำเป็นต้องส่งนักเรียนมาเรียนที่วิทยาลัย ปัญหาที่ตามมาคือ เรื่องการเดินทาง

6. เมื่อต้องการจบการศึกษา คงหนีไม่พ้น การเทียบโอน ปัญหาใหญ่ๆของเด็กไทย คือเรื่องผลการเรียนต่ำ หากผลการเรียนไม่ถึง ๒ ก็ไม่สามารถเทียบโอนรายวิชาได้

นี่เป็นเพียงปัญหาหนึ่ง ที่ได้พบเจอ แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ

<img src="https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/186/579/large_image.jpeg" "="">
หมายเลขบันทึก: 616735เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2016 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท