ภพภูมิในพระพุทธศาสนา


ภพภูมิในพระพุทธศาสนา

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

ตามหลักพระพุทธศาสนาเชื่อว่าสัตว์โลกที่ตายไปแล้ว จิตยังมีกิเกสอยู่ เขาย่อมเกิดอีก ส่วนจะเกิดเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำ ถ้าทำดีจะเกิดในภพภูมิที่ดี ที่เรียกว่า สุคติ ถ้าทำกรรมชั่ว ก็ในจะไปเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี ที่เรียกว่า ทุคติ แต่ทั้งสุคติและทุคตินี้ หากแยกย่อยออกไปจะมีทั้งหมด ๓๑ ภูมิ ซึ่งมักเรียกว่าวัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ อันหมายถึง ภูมิเป็นที่เวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ที่ยังมีกิเลส ๓๑ ภูมิ ดังนี้


ในภพภูมิทั้ง ๓๑ นั้น ท่านแบ่งเป็น

สุคติ ๒๗ ภูมิ ได้แก่ มนุษยโลก ๑ สวรรค์ ๖ รูปพรหม ๑๖ และอรูปพรหม ๔

ทุคติ ๔ ภูมิ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์ดิรัจฉาน อย่างละ ๑ ภูมิ

เมื่อดูตารางเทียบกันอย่างนี้ จะเห็นว่าสุคติภูมินั้นมีมากกว่าทุคติภูมิ แทบจะเรียกได้ว่า ๙ ต่อ ๑ คือ ถ้าแบ่งภูมิออกเป็น ๑๐ ส่วน ที่เป็นสุคติก็มีมากถึง ๙ ส่วน ส่วนที่เป็นทุคติภูมิมีเพียงส่วนเดียว ซึ่งเมื่อว่าตามสัดส่วนนี้แล้ว สัตว์ที่ไปเกิดในสุคติภูมิน่าจะมากกว่าสัตว์ที่ไปเกิดในทุคติภูมิ แต่ความจริงกับกลายไปว่า สัตว์ที่ไปเกิดในทุคติภูมินั้นมีมากกว่าสัตว์ที่ไปเกิดสุคติภูมิ นี้เป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้ แต่เป็นไปแล้ว และนับวันยิ่งจะมากขึ้นทุกที

ปัจจัยหลักที่ต้องทำให้สัตว์โลกต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิ ทั้ง ๓๑ นั้นก็คือ กิเลส ความโลม โกรธ หลง เมื่อคนมีกิเลสเกิดขึ้นในใจ ก็เป็นเหตุให้ทำกรรม ต่างๆ ทางกาย วาจา ทางความคิด ซึ่งมี่ทั้งดีและไม่ดี และเมื่อก่อกรรมแล้ว แล้วก็เป็นเหตุให้รับผลของกรรมที่เรียกว่า วิบาก ถ้าทำกรรมดี ผลตอบแทนก็ดี ถ้าทำกรรมไม่ดี ผลตอบแทนก็ไม่ดี และเมื่อรับผลกรรมแล้วก็มีกิเลสตัวใหม่เกิดขึ้นอีก ส่งผลให้ก่อกรรมอีก และต้องรับผลอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ข้ามภพข้ามชาติจนกว่าจะเกิดปัญญารู้แจ้งสามารถละกิเลสทั้งหมดได้ ผู้ที่ยังละกิเลสไม่หมด แม้นจะเป็นอริยบุคคลก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด

พระอริยะที่ยังละกิเลสไม่หมด ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด หลายคนอาจสงสัยว่าเป็นพระอริยะบุคคลแล้วยังต้องเวียนว่ายตายเกิดด้วยหรือ พระอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนานั้นท่านแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่ละกิเลสบางส่วนได้เด็ดขาดแล้ว แต่ยังมีกิเลสบางส่วนที่ยังละไม่ได้ กลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่มเสขบุคคล คือที่ยังต้องศึกษาต่อ ได้แก่ พระอริยะบุคคลที่เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามีพระอนาคามี แต่ถึงแม้ว่าจะต้องเกิดอีก ท่านเหล่านี้เป็นผู้แน่วแน่ต่อพระนิพพาน คืออย่างไรเสียก็ต้องได้บรรลุนิพพานแน่นอน คือโสดาบันอย่างช้า เกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ พระสกทาคามีเกิดอีกเพียงชาติเดียว ส่วนพระอนาคามีจะเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส แล้วก็บรรลุอรหันต์ เข้าสู่นิพพานในที่นั้นเลย
  • กลุ่มที่ละกิเลสได้เด็ดขาดแล้ว ซึ่งได้แก่ พระอรหันต์ กลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มอเสขบุคคล คือ ผู้ไม่ต้องศึกษาเพื่อละกิเลสอีกแล้ว เพราะกิเลสได้หมดแล้ว เมื่อตายไปก็ไม่ต้องเกิดอีก ในกลุ่มของพระเสขบุคคล ผู้ที่เป็นโสดาบันก็ดี พระสกทาคามีก็ดี เมื่อตายไปแล้วจะบังเกิดในภูมิมนุษย์และในสวรรค์ ๖ ชั้นชั้นใดชั้นหนึ่งเท่านั้น จะไม่บังเกิดในภพภูมิอื่นนอกจากนี้

ผลกรรมที่ทำให้เกิดในวัฏสงสารแต่ละภูมิ ภพภูมิทั้ง ๓๑ ภพภูมินั้น ใครจะไปเกิดภูมิใดขึ้นอยู่กับกรรมที่สร้างไว้ กล่าวคือ

  • ใครที่ประกอบกรรมชั่วเอาไว้ ที่เรียกว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด พูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจอ พยาบาท เบียดเบียนผู้อื่น คิดกยากของเขา และเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำชั่วแล้วไม่ได้ชั่ว นรก – สวรรค์ไม่มีจริง เป็นต้น เป็นผลให้เกิดในอบายภูมิ ๔ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัญฉาน ส่วนจะเกิดในภูมิไหน ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของกรรมว่ามีโทษมากน้อย ควรจะไปชดใช้กรรมในอบายภูมิไหน
  • ส่วนใดที่ประกอบกรรมดี มีมนุษยธรรม กล่าวคือ รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ และมีธรรม ๕ ประการอยู่ในใจ คือมีความเมตตากรุณา ไม่คิดเบียดเบียน และช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนให้พ้นทุกข์ ตั้งอยู่ในสัมมาอาชีพ คือหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ ไม่คดโกงเอาเปรียบผู้อื่น สทารสันโดษ คือรักเดียวใจเดียวยินดีเฉพาะคู่ครองของตน ไม่นอกใจไปมีกิ๊ก เป็นชู้กับคู่ครองคนอื่น สัจวาจา พูดคำจริง ไม่โกหกหลอกลวง สติสัมปชัญญะ หมั่นฝึกฝนอบรมสติปัญญาด้วยการฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา ไหว้พระ สวดมนต์ ศึกษาหาความรู้ในทางที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและคนรอบข้าง ผู้ที่รักษาศีล ๕ และมีธรรม ๕ ประการนี้ เมื่อตายไปแล้วย่อมไปเกิดเป็นมนุษย์
  • ส่วนผู้ที่บำเพ็ญบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และบุญกริยาวัตถุ ๑๐ ซึ่งเพิ่มเติมจากบุญกิริยาวัตถุ ๓ อีก ๗ ข้อ คือ
  • ส่วนผู้ที่จะไปเกิดในพรหมโลก ทั้งที่เป็นรูปพรหม ๑๖ ชั้น และอรูปพรหม ๔ ชั้นนั้น ต้องเป็นผู้ฝึกสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ นับตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

อ่อนน้อมถ่อมตน

ขวยขวายในสิ่งที่เป็นประโยชน์

แบ่งปันให้คนอื่นร่วมทำความดี

ชื่นชมยินดีในกรรมของผู้อื่น

การฟังธรรมและการศึกษาธรรม ตามโอกาส

การให้คำแนะนำสั่งสอน

การทำความเห็นให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ทั้งหมดเป็นผลให้บังเกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น แต่จะเกิดชั้นไหนขึ้นอยู่กับความมากน้อยของบุญที่ทำ

ผู้ที่ได้รับปฐมฌาน จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑ – ๓

ผู้ที่ได้ทุติยฌาน จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๔ – ๖

ผู้ที่ได้ตติยฌาน จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๗ – ๙

ผู้ที่ได้จตุตถฌาน จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑๐ – ๑๑

ผู้ที่เป็นพระอนาคามี จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑๒ – ๑๖

ผู้ที่ได้อรูปฌาน จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑๗ – ๒๐

ลักษณะการเกิดของสัตว์ ในภพภูมิต่างๆ ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒ หน้า ๑๖๗ ข้อ ๑๔๗ พระพุทธเจ้าได้ตรัสลักษณะการถือกำหนดของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ ไว้ ๔ ประการ คือ

  • ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ คือเกิดในมดลูก ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น คน ลิง ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
  • อัณฑชะ เกิดในไข่ คือคลอดออกมาเป็นไข่ก่อน แล้วจึงฟักออกมาเป็นตัว เท่ากับเกิดสองครั้ง เช่น สัตว์จำพวกไก่ นก จิ้งจก งู ตุ๊กแกกิ้งก่า ยุงเหา จักจั่น เป็นต้น
  • สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ได้แก่ สัตว์ที่เกิดจากผลไม้ ดอกไม้ สิ่งโสโครกเน่าเหม็น หรือสถานที่ชุ่มชื้น เช่น ตัวอะมีบา พารามีเซียม รวมถึงเชื้อโรค หนอนหรือแมลงบางชนิด
  • โอปปาติกะ ผุดเกิดขึ้น ได้แก่ การถือกำเนิดของพวกมีกายทิพย์ เช่น เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ซึ่งสัตว์เหล่านี้เมื่อตายไปแล้วก็จุผุดเกิดขึ้นทันที่ โดยไม่ต้องอาศัยครรภ์ เมื่อเกิดแล้วก็จะโตทันที และอยู่เท่าเดิมจนกว่าจะตาย ต่างจากสัตว์ที่เกิดในครรภ์ ในไข่ ในเถ้าไคล เมื่อเกิดเป็นเด็กเป็นเด็กทารกก่อน แล้วค่อยพัฒนาโตขึ้นและแก่ลงตามลำดับ
คำสำคัญ (Tags): #ศาสนา#ภพภูมิ
หมายเลขบันทึก: 616644เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท