Learning Space



เมื่อวานนั่งเลือกภาพเพื่อไปใช้ประกอบการพูดในเรื่องการจัดพื้นที่ในการเรียนรู้ Learning Space ได้มาสามภาพ ... อยู่ๆ ก็ทำให้ไปนึกถึง เรื่องทฤษฎีเคออส (Chaos Theory) ทำให้ไป Review เรื่องนี้ อ่านไปอ่านมาก็ปิ๊งแว้ปไปนึกถึงคำว่า "อิทัปปจยตา" ... เหตุมีผลจึงเกิด

ทุกอย่างต่างล้วนดำเนินไปตามธรรมชาติ

เหตุได้เกิดขึ้น ...ผลจากเหตุนั้นก็ดำเนินตามมา

ทฤษฎีเคออส ... อาจดูไร้รูปแบบ ไร้ระเบียบแต่ในเรื่องราวนั้นกลับมีรูปที่ดำเนินไปตามเหตุ


In mathematics, chaos theory describes the behavior of certain dynamical systems

– that is, systems whose states evolve with time – that may exhibit

dynamics that are highly sensitive to initial conditions (popularly

referred to as the butterfly effect).

As a result of this sensitivity, which manifests itself as an

exponential growth of perturbations in the initial conditions, the

behavior of chaotic systems appears to be random. This happens even though these systems are deterministic,

meaning that their future dynamics are fully defined by their initial

conditions, with no random elements involved. This behavior is known as

deterministic chaos, or simply chaos.

จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Chaos_theory


ย้อนกลับมาเรื่อง Learning space หรือการจัดพื้นที่การเรียนรู้

ในหลายๆ ครั้งของการจัดกระบวนการเรียนรู้...

ไม่ค่อยจะได้วางแผนชัดเจน หากมีภาพหลวมๆ ในใจ (Mental Model) ว่าเป้าหมายการเรียนรู้ในแต่ละครั้งเพื่ออะไร และพร้อมที่จะปรับรูปแบบได้เสมอเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน

การจัดกระบวนการเช่นนี้ได้พัฒนาและทดลอง ทดสอบความคิดหลายครั้ง จะนับไปก็เกือบสิบปีของการทดสอบความคิดนี้...

แม้ไม่ได้ทำเป็นการวิจัย แต่ทุกครั้งก็มีการเขียนถอดบทเรียนไว้

"เป้าหมาย... ใส่กระบวนการ...และดูผล"

ภายในกระบวนการนั้นมีหลาหลายเทคนิค กิจกรรม เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Share&learning) สุนทรียสนทนา(Dialogue) world cafe การสะท้อนคิด(reflection) และ การถอดบทเรียน (AAR=After Action Review)

เสียงสะท้อนที่ได้รับบ่อยครั้ง คือ "ไม่เครียด สนุก" ... "เรื่องยากๆ ทำให้รู้สึกเป็นเรื่องง่าย" ..."เกิดแรงบันดานใจ" ... อาจดูเหมือนไม่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่ความยั่งยืนของผู้เรียนที่เวียนวนกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่บ่อยครั้งและสามารถก้าวไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง

เฝ้าดูและพร้อมเข้าไปช่วยเหลือเมื่อติดขัด...

นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ดำเนินเสมอมา


ในการจัดกระบวนการ ...

ความเป็นทางการหรือเป็นฟอร์มของการจัดสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มักจะถูกเริ่มช่วงต้นๆ จากนั้นก็จะถูกสลายด้วยเทคนิคหรือวิธีการอย่างเป็นธรรมชาติ

"แตกรูปเพื่อ...รวมรูปใหม่" ...เป็นสำนวนในใจที่มักพูดกับตนเองเสมอ

การทำให้ไร้ระเบียบ ที่ทำบ่อยๆ ในห้องเรียน คือ การให้ลุกขึ้นจับกลุ่มพร้อมยกหรือลากเก้าอี้ตนเองไปด้วยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่สังเกตเห็นคือ พลังของความตื่นรู้และเบิกบาน สลายความเนือยๆ ออกไปได้ มีความกระตือรือร้นและพร้อมต่อการเรียนรู้มากกว่า การนั่งรอฟัง หรือรอเรียน (Active)

ที่จริงนี้...บทบันทึกนี้ตั้งใจจะพูดอยู่สามเรื่อง

"Learning Space" ... "Chaos Theory " และ อิทัปปจยตา

ที่โฟกัสมาเรื่อง "Learning Space" ... "Chaos Theory " คือ ในเรื่องของความไร้ระเบียบ หรือไร้รูปแบบ

เมื่อมาอ่าน Chaos Theory ที่ว่าด้วยเรื่องเหตุและผล ทำให้ไปนึกถึง อิทัปปจยตา

โดยสรุปในรายละเอียดคงไม่นำมาพูดที่นี่

แต่บทบันทึกนี้ ... ได้ตกผลึกกับตนเองในเรื่อง "มีเหตุเกิด...ผลจึงเกิด"

เมื่อเราทำเหตุถึงพร้อม...ผลที่ออกมาจากถึงพร้อมตามเหตุนั้น

จึงโยงกลับมาที่เรื่องการจัดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ถ้าเราจัดอย่างไร ...ผลก็จะออกมาตามนั้น

ใส่องค์ประกอบอะไรเข้าไป (Element) ผลก็ควรจะออกตามองค์ประกอบนั้น ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวก็ควรเป็นไปสอดคล้องกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในครั้งนั้นๆ

...

5 ตุลาคม พ.ศ.2559


หมายเลขบันทึก: 616636เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท