ความหมายของสังคมสงเคราะห์


ความหมายของสังคมสงเคราะห์

แมรี่ ริชมอนด์

"สังคมสงเคราะห์เป็นศิลปะแห่งการให้ความช่วยเหลือและเป็นการใช้สามัญสำนึกในสถานการณ์ที่ไม่สามัญ"

" เป็นกระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพของคน โดยการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยกันและระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมสังคม"

ความหมายนี้ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์

เบอร์ทา ซี. เรย์โนลด์

"งานสังคมสงเคราะห์เป็นงานที่ช่วยเหลือคนในการปรับตัวให้สอดคล้องกับครอบครัว กลุ่ม และชุมชน"

เฮอร์เบิร์ต เอช. สตรุป

"งานสังคมสงเคราะห์ คือ ศิลปะของการนำเอาทรัพยากรต่างๆ มาใช้เพื่อสนองความต้องการ โดยการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ของการช่วยเหลือ เพื่อให้คนช่วยตนเองได้"

โซเฟีย ที. บิวทริม

"งานสังคมสงเคราะห์คือวิชาชีพแห่งการให้ความช่วยเหลือ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การส่งเสริมสวัสดิภาพของมนุษย์ ผ่านการป้องกันและขจัดปัญหาความเดือดร้อนต่างๆให้หมดสิ้นไป รวมทั้งเกี่ยวข้องกับปัญหาในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างกว้างขวาง"

โรเบิร์ต ซี ครูซ

"งานที่พยายามให้ความช่วยเหลือผู้ซึ่งไม่สามารถช่วยตนเองในการดำรงชีวิตได้ และเป็นงานที่พยายามจะทำให้มนุษย์มีอิสระในตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือ สามารถช่วยตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น"

ศ. คุณนวลนาฏ อมาตยกุล

" การสั้งคมสงเคราะห์หมายถึงวิชาชีพหนึ่งวิชาชีพ สังคมสงเคระาห์ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อช่วยมนุษย์ให้มีชีวิต และความเป็นอยู่อย่างสมศักด์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และช่วยสังคมให้มีลักษณะเอื้ออำนวยให้มนุษย์เจริญงอกงาม สามารถเป็นพลังทางเศรษฐกิจและสังคม ให้แก่ประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

รศ. นันทนีย์ ไชยสุต

"การสังคมสงเคราะห์หมายถึง การจัดให้มีมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มหรือทั้งชุมชน โดยใช้หลักทฤษฎีของการสังคมสงเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ หรือที่เรียกว่า นักสังคมสงเคราะห์ จะต้องปฎิบัติงานนี้โดยใช้หลักวิชาชีพ หรือนัยหนึ่ง คือใช้หลักการ วิธีการ และกระบวนการของการสังคมสงเคราะห์ ไม่ใช่เพียงแต่หยิบยื่นสิ่งที่ผู้มีปัญหาต้องการก็เป็นอันว่าได้ให้บริการสังคมสงเคราะห์แล้ว"

ศ. ยุพา วงศ์ไชย

"การสังคมสงเคราะห์หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ของการจัดหาบริการเพื่อช่วยส่งเสริมความสามารถของบุคคลให้สามารถปฎิบัติหน้าที่ของตน ที่มีอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำรงชีพอยู่ได้อย่างเป็นสุข"

รศ. ดร. ศรีทับทิม พานิชพันธุ์

" สังคมสงเคราห์เป็นวิธีการที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดบริการสังคมประเภทต่างๆ โดยตรงให้แก่บุคคล กลุ่ม และชุมชน ซึ่งประสบปัญหาความเดือดร้อนและอื่นๆ จนไม่สามารถช่วยตนเองได้ในระยะแรก จำเป็นต้องกาศัยการช่วยเหลือจากนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งมีความรู้ ทัศนคติและประสบการณ์ หรือทักษะในงานสังคมสงเคราะห์เป็นอย่างดี โดยที่นักสังคมสงเคราะห์จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ใช้ความสามารถหรือศักยภาพของเขาเอง ข่วยให้เขาสามารถปฎิบัติหน้าที่ทางสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสมาชิกครอบครัว กลุ่ม และชุมชน ตลอดจนสังคมได้ด้วยดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงปลอดภัย และเสถียรภาพที่ดี"

ผศ. ดร. ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช

"การสังคมสงเคราะห์ เป็นการนำความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม เช่นพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจกระจ่างชัดในปัญหาความเดือดร้อนของมนุษย์และสังคม ผนวกเข้ากับองค์ความรู้ในกระบวนการช่วยเหลือมนุษย์และสังคมด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับทัศนคติ หลักการและวัตถุประสงค์ของการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้มนุษย์ทั้งที่เป็นบุคคล กลุ่ม ชุมชน และสังคม สามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้ มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น"

คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางานสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ( 2530) ได้ให้ความหมายไว้ในแผนพัฒนาการสังคมสงเคราะห์แห่งชาติฉบับที่ 1 ว่า

" การสังคมสงเคราะห์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ในการป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟู และพัฒนาบุคคล กลุ่ม ชุมชน ทั้งทีประสบและไม่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้"

หมายเลขบันทึก: 615845เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2016 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2016 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท