จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์


จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์

๑. เพื่อการสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ที่ช่วยตนเองไม่ได้ ให้สามารถช่วยตนเองได้ การให้การสงเคราะห์นี้ รวมความถึงการบรรเทา และแก้ไขปัญหา การป้องกัน และขจัดปัญหา การฟื้นฟู และปรับสภาพของบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน
คนชราที่สถานสงเคราะห์คนชราบางแค กรุงเทพฯ
คนชราที่สถานสงเคราะห์คนชราบางแค กรุงเทพฯ
๒. เพื่อการแก้ไขปัญหาสังคม เป็นการแก้ไขปัญหาสังคมให้ลดน้อยหรือหมดไป ปัญหาสังคมที่สำคัญ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริม และพัฒนางานสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ระบุไว้มี ๙ ปัญหาด้วยกัน ได้แก่ ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหายาเสพติด ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาการใช้แรงงานเด็กและแรงงานสตรี ปัญหาคนพิการ ปัญหาการขาดแคลนบริการและสวัสดิการในสังคมชนบท ปัญหาครอบครัว ปัญหาศีลธรรม วัฒนธรรม และปัญหาสุขภาพจิต
๓. เพื่อการพัฒนาสังคม หมายถึง การพัฒนาคน เพื่อให้ช่วยพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ถือว่า การสังคมสงเคราะห์มีเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาสังคม กล่าวคือ การสังคมสงเคราะห์จะช่วยให้ผู้รับบริการ สามารถช่วยตนเองได้ เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติในที่สุด
หมายเลขบันทึก: 615844เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2016 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2016 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท