ปารินุช
นางสาว ปารินุช บริสุทธิ์ศรี

สิทธิบัตรซอฟท์แวร์


สิทธิบัตรซอฟท์แวร์ต่างกับลิขสิทธิ์อย่างไร

ก่อนที่จะกล่าวถึงสิทธิ์บัตรซอฟท์แวร์  ซึ่งมีเงื่อนไขที่จะขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กล่าวคือจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์หรือขบวนการผลิตที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยกำหนดว่า การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ มาตรา 5 กำหนดว่า จะต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 อย่าง

         1.      เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่  คือ ยังไม่เคยมีจำหน่ายหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ในเอกสารสิ่งพิมพ์ใดๆ ในทีวี หรือในวิทยุมาก่อน

         2.      มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น คือ ไม่เป็นสิ่งการประดิษฐ์ที่สามารถทำได้ง่าย โดยผู้มีความรู้ในระดับธรรมดา หรือ อาจพูดได้ว่า มีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ที่มีมาก่อน และ

         3.      สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชย์กรรมได้         

         พระราชบัญญัติสิทธิบัตรของไทยมาตรา 9 (3) ระบุไว้ว่า ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เป็นการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธ์บัตร / อนุสิทธ์บัตร ไม่ได้ประกอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติด้วยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

         ดังนั้น หากเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ โดยมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้มีผลทางเทคนิคและเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีการรวมกันของโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับฮารด์แวร์เพื่อให้มีผลทางเทคนิคก็สามารถที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้  รวมทั้งได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว กล่าวคือหากเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยตัวของมันเองหรือในลักษณะที่เป็นการบันทึกลงบนตัวกลาง ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ แต่ถ้านำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบทางเทคนิค เช่น การนำไปรวมกับเครื่องหรือกระบวนการสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมการทำงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ เป็นต้น   

          อย่างไรก็ตามหากเป็นเพียงการประดิษฐ์ที่เป็นวิธีทางคณิตศาสตร์หรือวิธีทางธุรกิจหรือเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วนตัวมันเองหรือขั้นตอนของการคำนวนก็ไม่สามารถขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้         

          พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ได้แยกโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยตัวของมันเองจากความเป็นสิทธิบัตร ปัจจุบันยังขาดการชี้ชัดในเรื่องของคำอธิบายว่าอะไรคือซอฟท์แวร์ด้วยตัวมันเอง ดังนั้นการตัดสินใจว่าอะไรคือขอบเขตของสิทธิบัตรสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ยังมีความคลุมเครือและกำลังถูกนำมาสู่การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรต่อไป 

                                        ที่มา วารสาร ทรัพย์สินทางปัญญา ปีที่ 1 ฉบับที่10 ประจำเดือน กรกฏาคม-กันยายน โดยคุณชุลีกร โคตรนนท์

baika_01.gif  baika_002.gif   baika_003.gif  baika_01_2.gif  baika_002_2.gif  baika_003_2.gif  baika_0001.gif  baika_0003.gif  baika_0002.gif           tadpole_01.gif

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 61533เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาเพิ่มเติมความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาค่ะ
"ได้ประโยชน์มากจริง ๆ ค่ะ"

เรื่องสิทธิบัตร...เรื่องลิขสิทธิ์ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ของผมครับ...สนใจมาเรียนรู้...

ขอบคุณครับ...

ขอบคุณ  คุณ parisara และคุณ umi มากนะค่ะ ที่มาติดตามอ่านผลงาน ของปารินุช  
   จะแก้ไขกฎหมายอีกแล้วหรือครับ ? แก้ไขในส่วนใดบ้างครับ ?
  • ทบทวนความรู้IP ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท