กระบวนการทำงานทางสังคมสงเคราะห์


กระบวนการหลักในการทำงานมี 5 ขั้นตอนพร้อมตัวอย่าง ดังนี้

1.การศึกษาข้อเท็จจริง(Fact Finding)

จะมีการเตรียมผู้ใช้บริการและญาติโดยการ สร้างสัมพันธภาพกับผู้ใช้บริการและญาติ อธิบายขั้นตอนการให้บริการ และทำความเข้าใจกับความคาดหวังของผู้ใช้บริการและญาติ ซึ่งเกิดจากการสัมภาษณ์ทั้งตัวผู้ใช้บริการและญาติ และได้มีการเยี่ยมบ้านเพื่อดูสภาพเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้าน รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการเพื่อให้ง่ายต่อการประเมินสภาพปัญหา เช่น มีผู้ใช้บริการสูงอายุถูกทอดทิ้งและถูกสามีทำร้ายร่างกายมาขอความช่วยเหลือ จากการสัมภาษณ์พบว่าผู้ป่วยอายุมากแล้วจึงทำให้การพูดนั้น ลำดับเหตุการณ์ไม่ค่อยถูก นักสังคมสงเคราะห์จะสรุปปัญหาทางสังคมตามบัญชีปัญหาสังคมสงเคราะห์คือ ผู้ป่วยมีปัญหาถูกกระทำรุนแรงและถูกทอดทิ้ง

2.ประเมินและวินิจฉัย (Assessment &Diganosis)

ประเมินปัญหาและทรัพยากร ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ และสังคม

-ด้านร่างกาย ผู้ใช้บริการถูกสามีทำร้ายโดยการตีหัว เดินไม่ค่อยไหว และพบว่ามีดวงตาที่เลือนราง

-ด้านจิตใจ ผู้ใช้บริการเครียด และต้องการกลับบ้าน

-ด้านสังคม ผู้ใช้บริการบอกว่ามีญาติแต่ขาดการติดต่อจำไม่ได้แล้วว่าญาติอยู่ที่ไหน และไม่อยากกลับไปอยู่กับสามีแล้ว เพราะกลัวโดนทำร้ายอีก

เนื่องจากไม่มีญาติมาติดต่อผู้ใช้บริการ และไม่สามารถหาญาติของผู้ใช้บริการได้ สันนิษฐานว่าผู้ใช้บริการถูกญาติทอดทิ้ง

3.วางแผนแนวทางให้ความช่วยเหลือ (Planning for intervention)

นักสังคมสงเคราะห์จะวางแผนให้การช่วยเหลือโดยให้ผู้ใช้บริการได้ทำการรักษาร่างกายเสียก่อน โดยการผ่าตัดตา และทำการรักษาให้ร่างกายแข็งแรงเสียก่อน และตามหาญาติ โดยถามผู้ใช้บริการว่าต้องการกลับไปอยู่กับญาติ หรืออยากอยู่ที่สถานสงเคราะห์ เพราะผู้ใช้บริการไม่มีญาติ โดยให้ผู้ใช้บริการได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งผู้ใช้บริการขอรักษาร่างกายให้แข็งแรงดี ถ้าเจอญาติก็จะไปอยู่ด้วย แต่ถ้าไม่เจอผู้ใช้บริการก็จะหางานทำและอยู่บ้านเช่าเพียงลำพัง แต่ถ้าหมดหนทางผู้ใช้บริการยินดีที่จะอยู่สถานสงเคราะห์

4.ดำเนินการช่วยเหลือ (Intervention)

ดำเนินการช่วยเหลือผู้ใช้บริการ เนื่องจากตามหาญาติผู้ใช้บริการไม่ได้ จึงให้ผู้ใช้บริการผ่าตัดตา และพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนให้ดี แล้วส่งผู้ใช้บริการไปสถานสงเคราะห์

5.ติดตามและประเมินผล (Follow up &Evalution)

เมื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ใช้บริการแล้วก็จะมีการติดตามและประเมินผล เมื่อติดตามและประเมินผลแล้วผลเป็นไปในทิศที่ทางที่ยังไม่ดีก็จะมีการส่งต่อ (Refer) แต่ถ้ามีผลไปในทิศทางที่ดี ก็จะยุติการให้บริการ (Termination) และเนื่องจากผู้ใช้รายนี้ ยังมีร่างกายที่ไม่แข็งแรง และมีจิตใจที่ซึมเศร้า การช่วยเหลือจึงยังไม่ยุติ และยังคงต้องติดตามและประเมินผลการช่วยเหลือของผู้ป่วยต่อไป

หมายเลขบันทึก: 613832เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2016 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2016 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ไอยรัช วงศ์สุพงษ์กุล

1.1 การศึกษาข้อเท็จจริง 1.2 ประเมินและวินิจฉัย 1.3 วางแผนแนวทางให้ความช่วยเหลือ 1.4 ดำเนินการช่วยเหลือ 1.5 ติดตามและประเมินผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท