GotoKnow

ข้อควรระวังด้านสารเคมีในการทำโฟมยาง

รศ.ดร วิไลรัตน์ (ซุ่นสั้น) ชีวะเศรษฐธรรม
เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2559 16:52 น. ()
แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2560 21:53 น. ()

ปัจจุบันนี้การทำหมอนหรือโฟมยางกำลังเป็นกิจการที่มาแรงมากในการจัดการน้ำยางพาราในเมืองไทยเรา ในฐานะที่ทำงานวิจัยด้านสารเคมีในน้ำยางมากว่า 10 ปี ใคร่ขอให้ ผู้ประกอบการ สหกรณ์ หน่วยงานหรือบริษัทฯ ต่าง ๆ ระมัดระวังเรื่องการผสมสารเคมี

1. ควรมีการใส่หน้ากากที่เหมาะสมในระหว่างผสมสารเคมี เคยสังเกตเห็นหน้ากากที่ป้องกันสเปรย์มีจำหน่ายในห้างใหญ่ ๆ ที่จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง หรือปรึกษา อาจารย์เคมีในสถานศึกษาใกล้บ้านท่าน

2. ลดการฟุ้งกระจายให้เหลือน้อยที่สุด

3. ถุงบรรจุสารเคมีอันตราย เช่น ทีเอ็มทีดี (Tetramethyl thiuram disulfide) zinc diethylcarbamate (ZDEC) ควรมีการรวบรวมส่งบริษัทเผาวัตถุอันตรายอย่างถูกวิธี (ค้นเพิ่มเติมด้วย

TMTD + MSDS

Zinc diethylcarbamate + MSDS)

4. ปรับสูตรให้ใช้สารสองตัวนี้ในการทำหมอนยางให้น้อยที่สุด หรือศึกษาหารทดแทน

5. ล้างสารเคมีออกจากโฟมยางให้มากที่สุด

6. ระมัดระวังไม่ให้บริเวณที่ผสมสารเคมี มีน้ำฝนชะลงสู่แม่น้ำลำคลอง

ช่วยกันป้องกันกันนะคะ ดีกว่าเกิดปัญหาแล้วมาตามแก้ไขภายหลังค่ะ




คำสำคัญ (Tags): #โฟม #ยาง #ทำ #หมอน #พารา 
สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

ความเห็น

ไม่ระบุ
เขียนเมื่อ

<p “=”“>May I ask for more information on the “safety issues” (of the chemicals in/and the production process) of rubber pillows? So, we know the symptoms and effects on oersonal health and public health. [I read somewhere that “foam” (rubber and other types) may have higher fire risk in the home.] </p> <p “=”“>what is the health risk of TMTD prolonged exposure?
</p>


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย