วันที่ 25 นิเทศครั้งแรกในชีวิต (27 มิถุนายน 2559)


รู้ว่าวันนี้จะมีการนิเทศไม่ตื่นเต้นเท่าไหร่ แปลกมาก ๆ แต่ความรู้สึกก่อนนิเทศก็ประหม่านิดหน่อย แต่ก่อนนิเทศก็เตรียมตัวค่อนข้างพร้อม
แต่เรื่องที่ต้องสอนเป็นเรื่องนามธรรม การอ่านชื่อมุม การเขียนสัญลักษณ์แทนมุม การนิเทศครั้งนี้
อาจารย์วงเดือน โปธิปัน เป็นผู้นิเทศ เรียกได้ว่าเป็นปรมาจารย์ทางการสอนคณิตศาสตร์เลยก็ว่าได้
ฉันต้องสอนคาบที่สอง คาบแรกอาจารย์ต้องนิเทศเพื่อนอีกคน และอาจารย์ก็มาก่อนเวลา
พอถึงเวลาที่สอนต้องสอนความรู้สึกตอนนั้นคือตื่นเต้นน้อยกว่าสอบสอนหน้าชั้นเรียนแต่ต่างกันที่ทุกอย่างคือของจริง เวลาในการเตรียมการก็น้อยกว่า สถานการณ์จริงไม่ได้มีทุกอย่างพร้อม
9.30 น. ก็ได้เวลาที่ต้องขึ้นสอนป.4/1 ก็หอบของขึ้นสอนพะรุงพะรัง พอเข้าไปในห้องพร้อมกับอาจารย์และครูพี่เลี้ยง เหมือนนักเรียนจะรู้
ไม่ได้เตรียมไว้ก่อนเลยนักเรียนนั่งเรียบร้อยโดยเฉพาะพวกทีร้ายๆ ขณะที่สอนนักเรียนคนที่ตอบก็กระตือรือร้นผิดปกติ คนที่ไม่ตอบก็ไม่ตอบเลย
การสอนเริ่มดำเนินไปด้วยดีแม้บางขั้นตอนจะเป็นการอธิบาย แต่ก็ยอมรับว่ากิจกรรมบางขั้นตอนนักเรียนไม่ได้ตอบทุกคน ทำให้รู้ถึงจุดอ่อนของตัวเอง
พอการสอนดำเนินการาถึงช่วงที่ต้องให้ทำแบบฝึกหัด ลิงก็ยังเป็นลิงค่ะแสดงฤทธิ์กันเลยทีเดียว
ด.ช.ณัฐพงษ์ ท้าทายมากถึงกับพูดว่า “คนนั้นแม่ครูหรอ บอกให้เค้ามาสอนผมหน่อยสิผมอยากรู้ว่าจะเก่งแค่ไหน”โอ้โห ณัฐพงษ์ถ้าอาจารย์ไม่ได้นั่งในนี้เธอคงไม่ได้ล่องลอยแบบนี้แน่ ในส่วนของการสอนวันนี้รู้ตัวดีว่ามันไม่สนุก แต่ด้วยเรื่องที่สอนเป็นเรื่องนามธรรม แต่การสอนก็ผ่านพ้นไปด้วยดี
สอนเสร็จอาจารย์ใจดีพาฉันกับเพื่อนไปทานข้าว เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวขึ้นชื่อของย่านนี้ พร้อมด้วยของหวานแสนอร่อย ระหว่างทานก็พุดคุยกัน
แต่ช่วงเวลาแห่งความสุขก็ผ่านไปเร็วเมื่อต้องมานั่งฟังอาจารย์คอมเม้นทั้งการสอนและแผนใช้เวลาเกือบครึ่งวันกันเลยทีเดียว
เรื่องแผนการสอน
- การเขียนจุดประสงค์ ด้านจิตพิสัย ต้องสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- สาระสำคัญสามารถเขียนเป็นข้อ ๆ ได้
- การจัดกิจกรรมต้องเน้นให้เกได้คิดเอง
- การเขียนเกณฑ์ควรใช้คำว่า ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ถือว่าผ่านเกณฑ์
- แบบบันทึกคะแนนสามารถเขียนรวมกันทั้งK P A ได้ เพื่อให้ง่ายต่อการเขียน
- การเขียนบันทึกหลังสอนควรบันทึกตามจุดประสงค์แต่ละด้าน
- การเขียนปัญหาต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์แต่ละด้าน
ด้านการสอน
- ควรทำกระดานแม่เหล็กเพื่อให้สะดวกต่อการนำเสนอให้นักเรียน
- ในการนำเสนองานควรให้นักเรียนทำเป็นกลุ่ม
- ในขั้นตอนให้เด็กทำแบบฝึกหัดควรจะให้เด็กทำหลังจากที่มีการสรุปบทเรียนแล้วเท่านั้น
- การมอบหมายให้เด็กทำงานครูจะต้องให้เด็กทำทีละขั้นตอนและชี้แจงให้ชัดเจน

ในครั้งต่อไปจะต้องดีขึ้น อาจารย์ได้กล่าวทิ้งท้าย และสิ่งที่ตามมาคือ ปวดหัวค่ะ


“อาจารย์หนูน่ารักค่ะ”^^




หมายเลขบันทึก: 613289เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2016 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2016 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท