จากเลือกปฏิบัติสู่แตกแยก


ไม่อยากให้หวังเรื่องการเรียนพุทธศาสนาในโรงเรียนครับเพราะไม่มีอะไรที่เอามาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมแบบสากล การเรียนรู้ ท่องจำ ช่วยอะไรไม่ได้มากนัก


เมื่อสัก 35-36 ปีที่ผ่านมาตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาอยู่ ผมกับเพื่อนมีโอกาสไปร่วมสังเกตการณ์(แบบไม่ได้รับเชิญ) กิจกรรมของเยาวชนกลุ่มประเทศในอาเซียนเรานี่กิจกรรมหนึ่ง(จำไม่ได้ว่าเป็นอะไร) ตอนนั้นเราได้เห็นพัฒนาการและความแตกต่างของเยาวชนเพื่อนบ้านกับเยาวชนไทยหลายเรื่อง ที่ชัดเจนก็คือเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษและการมีปฏิสัมพันธ์ของคนที่มีความแตกต่างทั้งเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูด



ด้วยทัศนคติแบบไทยๆ(ในตอนนั้น) ผมกับเพื่อนยังเชื่อว่านอกจากสิงคโปร์แล้วประเทศอื่นๆล้วนล้าหลังกว่าเราทั้งสิ้น บ้างก็ยังไม่ฟื้นจากสงคราม บ้างก็มีปัญหาการเมืองภายใน บางประเทศที่เริ่มเป็นคู่แข่งอย่างมาเลเซียก็น่าจะยังห่างไกลเพราะประกอบด้วยหลายเชื้อชาติน่าจะมีความขัดแย้งและไม่เป็นเอกภาพเหมือนบ้านเรา ส่วนเรื่องภาษานั้นเขาอาจจะดีกว่าเราเพราะเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่ง..



หลังจากนั้นไม่นานเมื่อเริ่มทำงานกับบริษัทเอกชนข้ามชาติและรู้จักโลกมากขึ้นก็เริ่มรู้ตัวว่าเราคิดผิด ประเทศที่ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติอย่างมาเลเซียสร้างความเป็นปึกแผ่นได้อย่างกลมกลืน ขณะที่ชาติที่เราภูมิใจนักหนาว่ายูไนต์สุดๆอย่างบ้านเรากลับแตกแยกกันอย่างไม่มีชิ้นดีในรอบทศวรรษที่ผ่านมานี้ ที่สำคัญไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติหากแต่เกิดจากการจงใจของคนบางกลุ่ม และขยายตัวอย่างรวดเร็วจากการไม่ตระหนักและใส่ใจในการให้การศึกษากับเยาวชน



ผมอยากเห็นสังคมของเราพูดถึงเรื่องอคติ (Bias/Prejudice) การเหมารวม (Stereotypes) การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) การเหยียดเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์/ผิว ชนชั้น (Racist) ให้มากขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะชุมชนที่เป็นผู้นำทางวิชาการอย่าง G2K แห่งนี้



ไม่อยากให้หวังเรื่องการเรียนพุทธศาสนาในโรงเรียนครับเพราะไม่มีอะไรที่เอามาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมแบบสากล การเรียนรู้ ท่องจำ ช่วยอะไรไม่ได้มากนัก



เราคาดเดาไม่ได้เลยว่าพรุ่งนี้สังคมเราจะเดินไปทางไหน วันนี้มันไม่ใช่แค่เลือกปฏิบัติ (Discrimination) แต่มันกำลังจะกลายเป็นแตกแยก (Divided) แล้วนะครับ


<p “=”“>ขอบคุณภาพถ่ายจาก wikimedia
</p>

หมายเลขบันทึก: 611921เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2016 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2016 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท