ชุมชนจักรยาน เพื่อสุขภาวะ


จึงได้เชิญชวนเครือข่ายมาเป็นคณะทำงานหลายภาคส่วน ทั้ง ท้องที่ ท้องถิ่น ตำรวจ สาธารณสุข ชมรมจักรยาน อสม ชมรมผู้สูงอายุ สภาองค์ชุมชน และกองทุนออมบุญสวัสดิการ ต้องการให้มีคณะทำงานแบบไตรภาคี ทั้งรัฐ ท้องถิ่น และภาคประชาสังคม โดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้งในการทำโครงการ

ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 ซึ่งมี ระเบียบวาระเรื่องการจัดระบบและโครงสร้างเพื่อ

ส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน และได้ติดตามมตินี้มาตลอด คิดอยากเห็นในพื้นที่มีการใช้จักรยาน

ในชีวิตประจำวัน ล่วงเลยมาหลาย พศ ก็ไม่ได้สานต่อความคิดนี้ จนมีการรณรงค์ปั่นเพื่อพ่อ ปั่นเพื่อแม่แม่ เกิดขึ้น เห็น

นักปั่นมากมาย เกิดขึ้น แต่การปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันยังมีน้อยมาก จึงร่วมคิดชวนคุยกับคณะกรรมการ กองทุนออม

บุญสวัสดิการ เพื่อให้มีการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน

จึงได้เขียนโครงการขอสนับสนุนแหล่งงบประมาณ จาก สสส.(สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)

สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม) ของบประมาณ 50000 บาท กองทุนออมบุญสวัสดิการสมทบ 1000

บาท สภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลปากพะยูน สมทบ 1000 บาท เสนอไปยัง สสส โครงการผ่านในหลักการ ทาง

สสส จึงจัดเวทีพัฒนาศักยภาพผู้เสนอโครงการ และชี้แจงการดำเนินงาน เพื่อให้โครงการมีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์

ตามกรอบของการสนับสนุน พร้อมเข้าสู่การกลั่นกรองทางวิชาการจากผู้ทรง ก่อนอนุมัติโครงการ เมื่อวันที่ 16 -18

มิถุนายน 2559 ณ. โรงแรม รามาการ์เด้นท์ กทม.มีโครงการเข้าร่วม 110 โครงการ ภาคใต้ 5 จังหวัด พัทลุง มี 3


โนตบุกเก่า กับคนแก่

โครงการ คือ เทศบาลตำบลปากพะยูน

เทศบาลตำบลบางแก้ว

และเทศบาลตำบลนาท่อม

สามพื้นสามตำบลของพัทลุง


ครงการส่วนใหญ่จะมี ท้องถิ่นเป็นผู้เสนอโครงการ ส่วนเทศบาลปากพะยูน กองทุนออมบุญสวัสดิการเป็นผู้เสนอ

โครงการ ในการพัฒนาศักยภาพและปรับแก้โครงการ สองผู้เฒ่าของปากพะยูน ก็มุ่งมั่นใช้เครื่องมือทาง คอมพิวเตอร์

ทำงาน จนทันการกับ โครงการอื่นๆ

สิ่งคาดหวังจากการทำโครงการนี้

ต้องการให้คนในชุมชน หันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

มีเส้นทางการใช้จักรยาน มีที่จอด จักรยาน

จึงได้เชิญชวนเครือข่ายมาเป็นคณะทำงานหลายภาคส่วน ทั้ง ท้องที่ ท้องถิ่น ตำรวจ สาธารณสุข ชมรมจักรยาน

อสม ชมรมผู้สูงอายุ สภาองค์ชุมชน และกองทุนออมบุญสวัสดิการ ต้องการให้มีคณะทำงานแบบไตรภาคี ทั้งรัฐ ท้องถิ่น

และภาคประชาสังคม โดยยึดพื้นที่เป็นตัวตั้งในการทำโครงการ นี้คือความคาดหวังของผู้เสนอโครงการ .......


สองผู้เฒ่าของปากพะยูน


คนหนุ่มสาว จาก นาท่อม




วิทย์ณเมธา ทองศรีนุ่น เพื่อนรุ่น วปช จาก ทีนิวส์ แวะมาเยี่ยม




หมายเลขบันทึก: 611534เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2016 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2016 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

น้าบังค่ะ น้องคนนี้นามสกุลหอมหวลนะคะ เป็นญาติน้าบังหรือเปล่าค่ะ

https://www.gotoknow.org/posts/611611

เผื่อพบญาติกันโดยบังเอิญค่ะ อิอิ

เห็นด้วยนะครับ

นักปั่นมากมาย

และปั่นกันมากในวาระต่างๆ

แต่ปั่นในชีวิตประจำวันน้อยมาก

ประเด็นนี้เห็นด้วยและท้าทายมาก

...

ผมปั่นจักรยานมาทำงานสองเดือนแล้วครับ.....

ขอบคุณ อาจารย์ แผ่นดิน

สุขภาพ กับการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

เป็นมติของการจัดสมัชชาสุขภาพปี 2555

ซึงคณะทำงานได้ติดตามมตินี้อยู่

จึงอยากให้ ประชาชนชุมชน หันมาปั่นใช้จักรยาน

ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น

ทีมงานเข้มแข็งนะครับบัง

สู้ๆครับ

เมื่อก่อนก็มีจักรยานคู่ใจในการเดินทาง

แต่เดี๋ยวนี้ปั่นไม่ไหวแล้วจ้าาา



เรียนอาจารย์ ขจิต

วันที่ 20 นี้ทำเวที คืนข้อมูลการสำรวจใช้จักรยานให้ ชุมชน

ช่วยกันหาทางการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท