วิพากษ์โครงการประชารัฐด้านการศึกษา


โครงการประชารัฐด้านการศึกษา แตกต่างจากประชารัฐด้านสุขภาพ แบบตรงกันข้าม คือประชารัฐ ด้านสุขภาพเน้นภาครัฐเอาอำนาจรัฐไปหนุนภาคประชาชนให้เป็น actor เพื่อสร้างสุขภาพของผู้คนส่วนประชารัฐด้านการศึกษาภาครัฐเอาอำนาจรัฐไปให้ภาคธุรกิจเป็น actor เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

เป็นความหวังดี เจตนาดี มีเป้าหมายที่ “ประชา” แต่ผลจะออกมาอย่างไร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ผมทำนายว่า ประชารัฐด้านสุขภาพจะก่อผลดีส่วนประชารัฐด้านการศึกษาจะก่อผลร้าย

ทำนายถูกหรือผิดเป็นเรื่องที่ต้องรอดูผลแต่ผมภาวนาให้คำทำนายส่วนหลัง เป็นคำทำนายที่ผิด

ด้วยความเป็นคนไม่ติดตามข่าว ผมจึงค้นข่าวเรื่องโรงเรียนประชารัฐเอามาทำความเข้าใจได้อ่านที่ , , http://www.สานพลังประชารัฐ.com/2016/05/17/เปิดประช... ค้นแล้วผมพบว่า เว็บไซต์สานพลังประชารัฐ ของรัฐบาลอ่อนแออย่างน่าตกใจ

อ่านข่าวเหล่านี้แล้ว ผมตีความว่าวิธีคิดที่ดีและหวังดีเหล่านี้ตกหลุมเดิมของวงการศึกษาไทยคือไปไม่ถึงเด็กหรือผู้เรียนคิดวนอยู่เฉพาะที่กระบวนการ ไม่ถึง Learning Outcome


ผมฟันธง ว่าต้องวัดผลลัพธ์ของโครงการประชารัฐด้านการศึกษาที่

(๑) ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนและ

(๒) กระบวนการเรียนรู้ของครู โดยที่ทั้งสองรายการต้องเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด ไม่ใช่สอนแบบบอกสาระความรู้


ผลลัพธ์อีกอย่างหนึ่งคือ ครูที่ดี ที่เป็น ครูเพื่อศิษย์ และทำหน้าที่ตามแนวทาง ครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ต้องได้รับการเคารพยกย่อง มีการกู้ศักดิ์ศรีของครูไทยผ่านครูดีเหล่านี้

ประชารัฐด้านการศึกษา ที่จะให้ผลดีอย่างยั่งยืนแก่วงการศึกษาไทยต้องไม่ใช่พื้นที่โชว์ตัว โชว์ความหลักแหลม ของผู้ใหญ่ภาครัฐและภาคธุรกิจที่มาร่วมกันทำโครงการนี้ต้องเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้ของครูเพื่อศิษย์และครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เป็นหลักประชารัฐด้านการศึกษาจะประสบความสำเร็จเมื่อ โครงการได้เอื้อให้เกิดการพัฒนาครูเพื่อศิษย์และครูแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เต็มแผ่นดินนักเรียนไทยทั้งหมด (ร้อยเปอร์เซนต์) เกิดการเรียนรู้แบบ mastery learningเรียนแล้วเกิด transformative learning มีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีทั้งด้านความรู้ การพัฒนาลักษณะนิสัย และคุณสมบัติการเป็นพลเมือง (concerned citizen)


วิจารณ์ พานิช

๒๑ มิ.ย. ๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 611401เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2016 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2016 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท