How Old Are You Ready Trip


ผู้สูงอายุกลุ่มที่ช่วยตนเองได้ดีหรือกลุ่มติดสังคม (well elder)

ผู้สูงอายุระหว่าง 60-80 ปี ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ มีสุขภาพดี และอยู่ตามลำพังได้ มีการจัดบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และจรรโลงภาวะสุขภาพดี ให้คงอยู่ได้ตามอายุ โดยอิสระเป็นกลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ดี ดำเนินชีวิตในสังคมได้โดยอิสระ และมักเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมในด้านสุขภาพ สามารถทำกิจวัตรพื้นฐานประจำวัน (activity of daily living : ADL) และกิจวัตรประจำวันต่อเนื่อง (instrumental activity of daily living: IADL) ได้ เป็นผู้ที่มีสุขภาพทั่วไปดี ไม่มีโรคเรื้อรัง หรือเป็นเพียงผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือเป็นผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 1- 2 โรค แต่ควบคุมได้

ในด้านสังคม

กลุ่มนี้จะเป็นผู้สูงอายุที่สามารถและประสงค์เข้าร่วมกิจกรรมในสังคม สามารถช่วยเหลือครอบครัว-ผู้อื่น-สังคมได้ อาจมีปัญหา/ทุกข์ยาก/เดือดร้อนด้วยหรือไม่ก็ได้

เป้าหมายของการจัดบริการ

คือ การคงภาวะสุขภาพและความสามารถในการทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง พัฒนาความสามารถในการใช้ศักยภาพและภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างสูงสุด

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างประสบการณ์และสร้างพัฒนาการใหม่ในการท่องเที่ยวให้แก่ผู้สูงอายุ
  • เพื่อต้องการให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลายกับการใช้ชีวิต
  • เพื่อเป็นการบำบัดอีกทางให้ผู้สูงอายุห่างใกล้โลกเครียด ซึมเศร้า
  • เพื่อให้ผู้สูงอายุมีตัวเลือกในการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับวัยของตน

สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมคือ : การจัดทริปครั้งนี้ต้องการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการเที่ยวแบบ Slow Tourism ไม่รีบร้อน เน้นความสบาย ชมธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่ดี เหมาะแก่การพักผ่อนและะการท่องเที่ยว ต้องการให้ผู้สูงอายุติดสังคมนอกจากการไปพบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูงและสังคมแล้ว ได้เจอกับธรรมชาตินอกสถานที่เพื่อให้ได้มีสุขภาพจิตใจที่แจ่มใสและได้รู้จักกับเพื่อนๆใหม่ๆของผู้สูงอายุ อีกทั้งยังได้สร้างความสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อน ถือเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานที่ผู้สูงอายุสามารถร่วมทำกับเพื่อนๆ สร้างความสุขและความสนุกไม่ให้หดหู่อยู่คนเดียวที่บ้านอีกด้วย

จึงจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบสโลว (Slow Tourism)การท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism คือการท่องเที่ยวที่ไม่เร่งรีบนักท่องเที่ยวใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่ยาวนานขึ้นเพราะผู้คนต่างเบื่อหน่ายสังคมเมืองที่วุ่นวายจึงอยากที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนทั้งด้านร่างกายและจิตใจใช้เวลาทำกิจกรรมอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่ยาวนานขึ้นการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ควรเกิดภายใต้แนวคิด 10 ประการ (10 Slow: 10 S) ประกอบด้วย

  • Slow Activity คือการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งที่ยาวนานขึ้นเน้นการพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติหรือวัฒนธรรม
  • Slow Logistic คือการเดินทางที่ไม่เร่งรีบจนเกินไปมีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากการเดินทาง
  • Slow Food คือการปรุงอาหารที่ประณีตใช้วัตถุดิบที่สดสะอาดและปลอดภัย
  • Slow Stay คือการพักค้างแรมในแหล่งท่องเที่ยวที่ยาวนานขึ้น และมีการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
  • Slow Place/City คือสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นชุมชนหรือเมืองขนาดเล็กที่มีความสงบและปราศจากมลพิษ
  • Slow Money คือการใช้จ่ายที่สมควรจ่ายไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว
  • Slow Development คือการพัฒนาขนาดเล็กเพื่อการรองรับการท่องเที่ยว
  • Slow Accommodation คือสถานที่พักแรมที่มีความสงบสะอาดปลอดภัยและมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
  • Slow Life คือการท่องเที่ยวท่ามกลางความสงบในธรรมชาติและวิถีชีวิตความเป็นชนบท
  • Slow Energy คือการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ประหยัดพลังงาน

ซึ่งถ้าประเทศไทยสามารถพัฒนา Slow Tourism ให้เกิดขึ้นได้ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เพราะ Slow Tourism เป็นกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนเป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในท้องถิ่นอีกด้วย

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ Tacit Knowledge

สัมภาษณ์คุณยายเสริฐ กระสังข์ อายุ76ปี เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคม

  • อาชีพเปิดร้านขายของชำเล็กๆแต่ไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบ เพราะลูกๆของยายโตกันหมดแล้วโดยส่วนตัวยายเป็นคนอารมณ์ดี ชอบพูดชอบคุย

ชอบไปทำบุญที่วัดและนั้นจะเป็นที่พบปะกับเพื่อนๆของยายเพราะทุกวันพระเพื่อนยายจะมาทำบุญและจะมีมุมที่กลุ่มยายนั่งเป็นประจำ ถ้าวันไหนเพื่อนคนไหนไม่มาก็จะมีการถามไถ่หากันอยู่ตลอดว่าเป็นอะไรทำไมไม่มา กลุ่มยายจะไปไหนไปกัน ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่งของญาติใครในกลุ่มก็จะไปกันตลอด ยิ่งวันสำคัญๆที่ทางวัดจะมีไปทำบุญ9วัด กลุ่มยายๆก็จะไปไม่เคยพลาด เพราะยายบอกว่าการเที่ยวเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่งที่ทำให้มีความสุข แถมได้รับมิตรภาพดีๆจากเพื่อนๆที่ด้วยกัน และการที่ยายชอบมาพบปะเพื่อนๆสิ่งที่สำคัญ คือ ได้พูดคุยเล่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นตอนไม่เจอกันว่ามีอะไร

สัมภาษณ์คุณยายเสริฐ กระสังข์ อายุ76ปี เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคม

  • อาชีพเปิดร้านขายของชำเล็กๆแต่ไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบ เพราะลูกๆของยายโตกันหมดแล้วโดยส่วนตัวยายเป็นคนอารมณ์ดี ชอบพูดชอบคุย
  • ชอบไปทำบุญที่วัดและนั้นจะเป็นที่พบปะกับเพื่อนๆของยายเพราะทุกวันพระเพื่อนยายจะมาทำบุญและจะมีมุมที่กลุ่มยายนั่งเป็นประจำ ถ้าวันไหนเพื่อนคนไหนไม่มาก็จะมีการถามไถ่หากันอยู่ตลอดว่าเป็นอะไรทำไมไม่มา กลุ่มยายจะไปไหนไปกัน ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่งของญาติใครในกลุ่มก็จะไปกันตลอด ยิ่งวันสำคัญๆที่ทางวัดจะมีไปทำบุญ9วัด กลุ่มยายๆก็จะไปไม่เคยพลาด เพราะยายบอกว่าการเที่ยวเป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่งที่ทำให้มีความสุข แถมได้รับมิตรภาพดีๆจากเพื่อนๆที่ด้วยกัน และการที่ยายชอบมาพบปะเพื่อนๆสิ่งที่สำคัญ คือ ได้พูดคุยเล่าเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นตอนไม่เจอกันว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และมาแลกเปลี่ยนความคิดความรู้สึกของกันและกันถามไถ่สารทุกข์สุขดิบมันเป็นความรู้สึกที่เป็นห่วงเป็นใยให้แก่กัน
  • สัมภาษณ์คุณลุงเอกชัย อายุ 63 ปีØ อาชีพ พนักงานรักษาความปลอดภัยØ ลุงชอบไปเจอเพื่อนเก่าๆØ ชอบไปเที่ยวผจญภัย ในสถานที่ธรรมชาติ ค่ำไหนนอนนั้น
  • สัมภาษณ์คุณลุง นพพร ตอวิเชียร อายุ 65 ปีØ อาชีพ ข้าราชการเกษียณอายุØ การเข้าสังคม ชอบพบปะเจอเพื่อนใหม่ตามสถานที่ต่างๆØ ชอบไปท่องเที่ยวตามฤดูกาล เช่น ขึ้นดอยตอนฤดูกาล
  • สัมภาษณ์คุณป้าชูพร ตอวิเชียร อายุ 61ปีØ อาชีพ ข้าราชการเกษียณอายุØ ชอบมาออกกำลังกายเจอผู้คนØ เวลาว่างๆชอบไปเดินเล่นซุปเปอร์มาเกตØ สถานที่ท่องเที่ยว ชอบเที่ยวทะเล
  • สัมภาษณ์คุณลุงชัด 60ปีØ อาชีพ ค้าขายØ ชอบพูดคุยรู้จักคนใหม่ๆ เป็นคนร่าเริงแจ่มใส อัธยาศัยดีØ ไม่ค่อยมีเวลาเพราะต้องค้าขายØ ชอบไปเที่ยวน้ำตก

แรงจูงใจการจัดกิจกรรม

เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดสังคม ได้มาพบปะกัน มีสถานที่ที่เหมาะสมแก่การทำกิจกรรม พูดคุยอย่างสร้างสรรค์ ในกิจกรรมครั้งนี้ผู้สูงอายุจะได้พบเพื่อนที่มีอายุรุ่นเดียวกัน เนื่องจากบางครั้งการนัดพบหรือสังสรรค์ของผู้สูงอายุช่วงวัยนี้เป็นไปได้ไม่ง่ายนัก การจัดกิจกรรมนี้จึงทำให้การท่องเที่ยงของผู้สูงอายุเหมาะสมแก่วัย สถานที่ต่างๆและกิจกรรมต่างๆอย่างเหมาะสม มีบุคลากรดูแลอย่างใกล้ชิดและปลอดภัย กิจกรรมในครั้งนี้ยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุที่ติดสังคมสาเหตุหลักๆแล้วคือบางคนไม่ลูกหลาน หรือบางคนก็อยู่คนเดียวจะเหงาบ้าง เลยต้องหาหรือพูดคุยกับคนที่มาอายุใกล้ๆเคียงกันนั่นเอง

เครื่องมือใช้ในการดำเนินงาน

Dialogues (การเสวนา) ใช้การฟังและการสื่อสารระหว่างบุคคล ซึ่งต้องอาศัยการสำรวจประเด็นต่างๆ อย่างอิสระ และสร้างสรรค์ และต้องอาศัยความสามารถในการฟังอย่างครุ่นคิดพิจารณาเวลาที่ผู้อื่นทักท้วงความเห็นของเรา

เครื่องมือที่ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ การเสวนา

สร้างพลวัตการเรียนรู้ : การเสวนา (Dialogue) เมื่อเกลียวความรู้ เริ่มหมุนจาก Tacit สู่ Explicit

จิตมุ่งมั่น ร่วมแบ่งปันสร้างสรรค์กันเต็มที่ คือวิถีจัดการความรู้ Knowledge Management

การถ่ายเทความรู้ : ความรู้ที่ แจ้งชัด >>>>>> ความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน

“HOW OLD ARE YOU READY” TOUR




สรุป

การท่องเที่ยวตลอดการเดินทางเป็นการท่องเที่ยวแบบ Slow Activity คือการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งที่ยาวนานขึ้นเน้นการพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติหรือวัฒนธรรม

เป็นการเดินทางแบบ Slow Logistic คือการเดินทางที่ไม่เร่งรีบจนเกินไปมีความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากการเดินทาง

ที่พักเป็นแบบ Slow Stay คือการพักค้างแรมในแหล่งท่องเที่ยวที่ยาวนานขึ้น และมีการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็น Slow Accommodation คือสถานที่พักแรมที่มีความสงบสะอาดปลอดภัยและมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี และ Slow Place/City คือสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นชุมชนหรือเมืองขนาดเล็กที่มีความสงบและปราศจากมลพิษ

ในทุกๆร้านอาหารที่ได้จัดให้มีการปรุงอาหารที่ประณีตใช้วัตถุดิบที่สดสะอาดและปลอดภัย ซึ่งตรงกับ slow food

การใช้จ่ายของผู้ใช้บริการ เป็นการใช้จ่ายแบบ Slow Money คือใช้จ่ายที่สมควรจ่ายไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว การให้บริการทุกๆขั้นตอนคุ้มค่ากับเงินที่ผู้ใช้บริการจ่ายมาทุกบาททุกสตางค์

การท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวแบบ Slow Life คือการท่องเที่ยวท่ามกลางความสงบในธรรมชาติและวิถีชีวิตความเป็นชนบท อยู่ท่ามกลางธรรมชาติและป่าเขา ให้บรรยากาศที่ร่มรื่น สดชื่น และผ่อนคลาย

ในทุกๆกิจกรรมไม่เร่งรีบ ดำเนินๆทุกๆกิจกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เหนื่อย ไม่หักโหม ไม่บังคับให้ผู้ใช้บริการต้องทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ปีนเขา เดินขึ้นน้ำตก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งตรงกับ Slow Energy คือการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ประหยัดพลังงาน

ข้อดี

ข้อเสีย

1.เป็นการท่องเที่ยวที่ได้สูญอากาศและบรรยากาศที่บริสุทธิ์จากธรรมชาติโดยตรง

1.ควรมีการพาไปไหว้พระในจ.ราชบุรีเพื่อเสริมบุญบารมี

2.เป็นการส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

2.ควรมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทำในแต่ละสถานที่เพื่อสร้างบรรยากาศให้สนุกยิ่งขึ้น

3.มีการบริการที่ครบรสที่พัก อาหาร เครื่องดื่ม

3.ควรมีของที่ระลึกให้แก่คนที่ร่วมทริป เพื่อทำให้เค้าเกิดความประทับใจมากยิ่งขี้น

จากกการศึกษาเรียนรู้

การเรียนรู้ของทัวร์ How old are you ready เริ่มจากการหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเว็ปไซต์ผู้สูงอายุ หนังสือ การท่องเที่ยวและความหมายของผู้สูงอายุ และการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่ติดสังคมจำนวนหนึ่ง ข้อมูลที่เราได้จากการสืบค้นต่างๆนั้นเราได้รวบรวมแล้วคิดวิเคราะห์ หาข้อดีข้อเสีย ดูจุดเด่นจุดด้อย เพื่อนำมาใช้ดัดแปลงให้เข้ากับกิจกรรมที่กลุ่มเราทำและนำไปปรับใช้ให้ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และยังช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต ของผู้สูงอายุที่ติดสังคม

บรรณานุกรม

http://www.เที่ยวราชบุรี.com

http://digital_collect.lib.buu.ac.th/ojs/index.php/search2/article/view/3582

https://www.gotoknow.org/posts/444506

http://www.mushroomtravel.com/tour/domestic/ratchaburi/mush130466-doe0022-tour-suanpeung-ratchaburi-2d-1n


หมายเลขบันทึก: 611388เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2016 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2016 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท