การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)


 

กรมอนามัย ดำเนินการให้มีการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในบริบท ของการเน้นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาว เป็นการให้บริการที่ครอบคลุมด้านสุขภาพ ด้านจิตวิทยาสังคม การดูแลช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน และกิจวัตรประจำวัน และเป็นการดูแลอย่างต่อเนื่อง ตามศักยภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม นั่นก็คือ

ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 1 (เรามีชื่อเล่นว่า กลุ่มติดสังคม) มีสุขภาพดี และอยู่ตามลำพังได้ มีการจัดบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และจรรโลงภาวะสุขภาพดี ให้คงอยู่ได้ตามอายุ โดยอิสระ

ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 2 (มีชื่อเล่นว่า กลุ่มติดบ้าน) ต้องการผู้ช้วยเหลือ หรือผู้ดูแลในชีวิตประจำวัน และการเฝ้าระวังทางสุขภาพ

ผู้สูงอายุกลุ่มที่ 3 (มีชื่อเล่นว่า กลุ่มติดเตียง) ต้องการการดูแลระยะยาวด้านการแพทย์ เวชปฏิบัติ ฟื้นฟู รักษาพยาบาล และสวัสดิการสังคม

วันที่ 16 มิย.54 ที่ ลองบีช ชะอำ เมืองเพชรบุรี ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในห้อง B เรื่อง "การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ... ดูแลอย่างไร ... ผู้สูงอายุไทยสุขภาพดี" ... เป็นเรื่องที่นำมาเล่าสู่กันฟัง โดยพื้นที่ที่มีการทำกิจกรรมในโครงการนี้ น่ารู้ค่ะ

ที่ตำบลบางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี

กิจกรรมที่นี่ เน้นภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทำกิจกรรมใน 3 กลุ่มของผู้สูงอายุ ก็คือ

กลุ่มติดสังคม - มีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ที่ดูแลสสมาชิกประมาณ 500 คน มีกิจกรรมของชมรมฯ ก็คือ การลงไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ นันทนาการ Day care การตรวจสุขภาพ โดย ท้องถิ่น ร่วมกันอนามัย โดยมี อบต. สนับสนุนงบประมาณ

กลุ่มติดบ้าน - มีทีมสหวิชาชีพ ออกเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน ให้การดูแลรักษาที่บ้าน โดยใช้งบประมาณ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล JICA

กลุ่มติดเตียง - มีทีมสหวิชาชีพลงไปเยี่ยมบ้าน แพทย์ พยาบาล ไปด้วยกับพัฒนาชุมชน และชมรมผู้สูงอายุ

ที่ตำบลทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว ชุมพร

กลุ่มติดบ้าน และติดเตียง - มีรับฝากผู้สูงอายุช่วงเวลากลางวัน ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โดยรวมการตรวจสุขภาพ (ด้านการรักษาโรค รวมแพทย์แผนไทย) การดูแลโดย อสม./อผส. การไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน โดยผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ให้การช่วยเหลือด้วยการให้กำลังใจ ส่งเสริมให้ดูแลสุขภาพตนเอง มีของเยี่ยม ปราชญ์ชาวบ้านร่วมอบรม ทำสมาธิ สวดมนต์

กิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันโรค ที่อาจเข้าสู่ร่างกายทางช่องปาก มีกิจกรรม

  • การอบรมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ เรื่อง สุขภาพช่องปาก โดยอบรมให้ ผู้สูงอายุแกนนำ และแกนนำไปให้ความรู้ อผส. ทุกคนในหมู่บ้าน เพื่อให้มีความรู้ไปดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านต่อ
  • การตรวจสุขภาพช่องปาก โดย โรงพยาบาลปะทิว

ด้วย Slogan ของปะทิว ก็คือ "เยี่ยมยามป่วย ช่วยยามเสียชีวิต"

ที่ลำปาง ทำใน 2 พื้นที่ ก็คือ อ.แม่พริก และ อ.ห้างฉัตร

ทำกิจกรรมในลักษณะของภาคีเครือข่าย (ตั้งแต่ชาวบ้าน อสม. ชมรมผู้สูงอายุ กศน. โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีอนามัย วัฒนธรรม และวัด)

... ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ โดย เริ่มจากการสกัดความคิดกลุ่ม ในประเด็น เราจะช่วยดูแลผู้สูงอายุได้อย่างไร เกิดกิจกรรมใน 3 กลุ่ม ก็คือ

กลุ่มติดสังคม - เน้นการส่งเสริมสุขภาพ มีกิจกรรมชมรมทุกเดือน ครอบคลุมในเรื่อง ศาสนา วัฒนธรรม สุขภาพ และทันตกรรม ให้ความรู้เรื่องที่ผู้สูงอายุอยากจะรู้ โดยใช้งบประมาณจาก กองทุน สปสช. มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากผู้ใหญ่ไปสู่เด็ก ในเรื่องของการทำตุง

ที่นี่มีวัดเป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยการอบประคบสมุนไพร และมีการอบรมเรื่อง การนวดแผนไทย โดย ชุมชนได้รับความรู้จาก เจ้าอาวาส และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล มีการสำรวจผู้สูงอายุที่มีปัญหา เรื่องการรับยา หรือ lost follow-up มาขึ้นทะเบียน ให้บริการถึงที่บ้าน

กลุ่มติดเตียง - มีการเยี่ยมทุกคน ได้รับการสนับสนุน Walker / รถเข็น จากท้องถิ่น การอบรมการทำกายภาพบำบัด

กลยุทธ์ที่ลำปางใช้ ก็คือ "การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน"

ที่ตำบลนาแสง อ.ศรีวิไล บึงกาฬ มีกิจกรรมตามกลุ่มผู้สูงอายุ

กลุ่มติดสังคม - ชมรมผู้สูงอายุรำไม้พลอง ประกวดรำไม้พลองปีละ 5 ครั้ง ได้รับงบฯ สนับสนุนจากท้องถิ่น มีภาคีเครือข่าย ตั้งแต่ อบต. / โรงพยาบาล / สถานีอนามัย / พระครู

กลุ่มติดบ้าน และติดเตียง - เยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ

ที่ตำบลทาปลาดุก อ.แม่ทา ลำพูน มีกิจกรรม

กลวิธีการดำเนินงานก็คือ ใช้บ้านเป็นโรงพยาบาล ... โดยมอง อสม. เป็นพยาบาลประจำตัว มี อผส. เป็น หัวหน้าพยาบาล และมีการคุย และรายงานการดำเนินงานทุกเดือน

กำหนดว่า ผู้สูงอายุต้องได้รับบริการ 1 ครั้ง/ปี

ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จะมีพยาบาลเยี่ยม และผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง จะมีแพทย์ เข้าร่วมเยี่ยมด้วย

ที่ตำบลธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย นครราชสีมา มีกิจกรรม

กลุ่มติดสังคม - มีการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกาย การให้ความรู้เรื่องสุขภาพ นวดคลายเครียด ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก

กลุ่มติดบ้าน - เยี่ยมโดย อผส. และเจ้าหน้าที่

กลุ่มติดเตียง - ทีมสหวิชาชีพเยี่ยมที่บ้าน

ที่บางปลาม้า สุพรรณบุรี มีกิจกรรม

การปรับปรุงโรงเรียน ให้เป็นสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ (Day care)

กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุ

  • รำวงย้อนยุค และสัญจรไปตามหมู่บ้าน
  • เปตอง
  • มีการดูแลผู้พิการ
  • อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เช่น กลองยาว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สปสช.

ที่เทศบาลนครรังสิต ปทุมธานี มีกิจกรรม

ทำกายภาพบำบัด ลูกประคบ อาทิตย์ละ 3 ครั้ง

นำร่องติดตั้ง ปุ่มฉุกเฉินไปตามบ้าน โดยความร่วมมือของราชมงคล เพื่อที่จะให้บริการผู้สูงอายุกรณีฉุกเฉิน

ที่ตำบลสุขสำราญ อ.ตากฟ้า นครสวรรค์ มีกิจกรรม

  • กิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ ในเรื่องศิลปวัฒนธรรม สีซอ รำกลองยาว รำวงย้อนยุค
  • ศูนย์สามวัย ให้ผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ เล่านิทาน สานพัด ดอกไม้จันทน์
  • ระบบรองรับ 1669
  • ขยายเรื่องให้บริการผู้พิการ ด้วยการอบรม อสม.
  • ทำพินัยกรรมชีวิต เพื่อดูแลภาวะสุดท้ายของชีวิต

ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นนทบุรี มีกิจกรรม

  • เน้นเรื่องสุขภาพ และความต้องการของผู้สูงอายุ
  • มีการพัฒนาศักยภาพการดูแลต่อเนื่อง
  • กิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุดูแลตนเอง เช่น รำวง คาราโอเกะ ลีลาศ ทัศนศึกษา ให้ความรู้ทุกสัปดาห์ที่ 5 ตรวจคัดกรองสุขภาพ ตรวจสุขภาพประจำปี
  • ผู้สูงอายุจิตอาสา

 

คำสำคัญ (Tags): #long term care
หมายเลขบันทึก: 444506เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2011 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท