หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) (ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำ

ขอต้อนรับลูกศิษย์หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) ทุกท่านอย่างเป็นทางการ

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นผู้จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาผู้นำ ผู้บริหาร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 3 ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 28 กรกฎาคม 2559

Group Assignment & Presentation

Lesson Learned – Share and Care

บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 2)

HBR’s 10 Must Reads Harvard Business Review on Strategy

ร่วมให้คำแนะนำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Strategy

หมายถึงเราไม่ทำบางสิ่งตลอดเวลา เราอาจมี Choice มากขึ้น ให้ใส่สิ่งที่เป็นแก่นของเราให้เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยเรียกว่า Strategy ข้อดีคือ พบว่ามี Keyword ไม่กี่อันและควรขับเคลื่อนความเป็นเลิศในการเปลี่ยนแปลงของเรา

กลุ่มที่ 3 Blue Ocean Strategy บทที่ 5

หลักคิดคือการแบ่งแยก Strategy เป็น 2 ประเภทคือ Red Ocean และ Blue Ocean

1. Red Ocean มองเรื่องการแข่งขันเป็นหลัก

- ได้แนวคิดจากทหาร ที่ต้องออกไปรบ ไปฟาดฟันคู่ต่อสู้ ทำอย่างไรก็ตามให้เขาพ่ายแพ้ออกจากการแข่งขัน

- ต้องการเอาชนะในการแข่งขัน

- ใช้ Demand เดิม

- ต้องลบล้างระหว่างคุณภาพและราคา

2. Blue Ocean มองเรื่องโอกาสในการขยายตลาดที่ไม่เน้นในตลาดที่เต็มอยู่แล้ว

- เป็นการสร้างหรือเปิดธุรกิจในตลาดที่ยังไม่มีหรือการแข่งขันน้อยอยู่ ไม่ได้เน้นเรื่องการแข่งขันเป็นหลัก

- สร้าง Demand ใหม่ขึ้นมา

- สามารถสร้างให้คุณภาพดีราคาถูก

- ระบบของบริษัทต้องสร้างไปในทางเดียวกันคือสร้างความแตกต่างได้และลดต้นทุนได้ด้วย

สรุปคือ Red Ocean จะสู้ในกรอบที่กำหนดไว้แล้ว มีพื้นที่จำกัด สิ่งที่ทำคือเตะคู่ต่อสู้ออกไปจากสนามแข่ง ในมุมมองเศรษฐศาสตร์ มองว่าการละเลยความสามารถของการตลาดบางมุมไป เป็นการต่อสู้ฟาดฟันกันในทะเลสีแดง ส่วน Blue Ocean เน้นการดำเนินธุรกิจสบาย ๆ ไม่มุ่งเน้นการแข่งขัน

หลัก Blue Ocean

  • ไม่ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ แต่เกิดขึ้นมาแล้วคือเป็นการคิดบนฐานเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว เช่น ฟอร์ด คิดจากรถที่มีอยู่แล้วคือ Model King แล้วสร้างตลาดขึ้นมาใหม่ เปลี่ยนวิธีคิด เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก และราคาจับต้องได้ ทำให้สัดส่วนตลาดเพิ่มขึ้นมาก
  • เราต้องสร้างอะไรบางอย่าง Redefine บางอย่างเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางคุณค่า แล้วสิ่งที่คนยึดมั่นอย่างหนึ่งแล้วเปลี่ยนไป แล้วขายได้เป็นต้น เช่นการพัฒนาโรงละครสัตว์ให้สามารถสร้างรายได้มากกว่าตลาดเดิม คือการหาวิธีที่ทำให้ละครสัตว์น่าสนใจคืออะไร การนิยมสัตว์แบบเดิมน้อยลง การใช้ห่วง 3 ห่วงใช้คนจำนวนมาก ตัวตลกเป็นแบบเดิม ได้วิเคราะห์มาว่าปัจจัยสำคัญคือ ตัวตลก ตัวแสดง และการแสดงกายกรรม ซึ่งพบว่าเมื่อไม่มีสัตว์แล้วจะลดต้นทุนได้เยอะมาก มีการนำการแสดงละครมาขมวดเรื่องราวกับละครสัตว์ ทำให้คนสนใจละครสัตว์มากขึ้น

2.จากที่สืบค้นและตรวจสอบจะพบว่าส่วนใหญ่ Blue Ocean สร้างขึ้นมาจาก Red Ocean เช่น IBM หรือ Compact ที่สร้างและพัฒนาจากนวัตกรรมที่เป็น Core Business ของตัวเอง สร้าง Demand ขึ้นมา

3.Blue Ocean ลบความคิดเก่า ๆ เป็นลักษณะ Trade off แต่ก่อนบอกว่าของดีราคาถูกเป็นไม่ได้ แต่ปัจจุบัน Blue Ocean ทำได้โดยการสร้าง Value

สรุปคือหาคำนิยามโรงละครสัตว์แบบใหม่ ภาษากำหนดพฤติกรรม ถ้าเรายอมรับนิยามบางอย่าง พฤติกรรมจะเปลี่ยนไป ดังนั้นการรื้อสร้างสิ่งเหล่านี้จึงมีผลกับการขยายตลาดใหม่ขึ้นมา

การปรับใช้กับ ม.อ.

ตัวอย่างการเจอสภาวการณ์มากขึ้น การเกิดน้อยลง จำนวนนักศึกษาจะน้อยลง ทางม.อ.จะทำอย่างไร

1. สร้างความตลาด มองเรื่องสร้างตลาดและขยายตลาดที่เข้มแข็งอยู่แล้วของ ม.อ. เช่นงานวิจัยอาหารทะเล การเรียน ม.6 อาจไม่พอ มีการเปิดการเรียนการสอนแบบใหม่ การเปิดให้คนทำงานแล้วหรือผู้สูงอายุเรียนได้เป็นการเก็บหน่วยกิต ครบเมื่อไหร่ก็จบเมื่อนั้น

เราต้องมองตลาดแบบแยกส่วน ให้มีการตอบสนองบางส่วน บางส่วนกระจายกันไป

2. Social Enterprise หลักการคือทำธุรกิจด้วยและทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคมด้วย ตัวอย่างที่นึกถึงคือโรงพยาบาลปิยมหาราชการุณ คือมีหมอเก่ง มีคนที่รวยมาก ๆ ที่จะจ่ายเพื่อสุขภาพ เก็บเงินจากคนรวยและให้บริการแบบเอกชน เอาเงินมาสนับสนุนผู้ด้อยโอกาส ทำเป็น Charity Project เอารายได้มาให้ความช่วยเหลือผู้ไม่สามารถทำงานได้

3. มหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัย ตัวอย่างใน Stanford University ให้นิยามใหม่กับมหาวิทยาลัย อย่าง ม.อ. พร้อมที่จะนิยามตัวเองใหม่หรือยัง

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 4

คือมองเห็น Blue Ocean ในพื้นที่ภาคใต้มีโอกาสเยอะมากโดยไม่ต้องแข่งขันกับใคร เช่น อาหารฮาลาล ยางพารา ฯลฯ ดังนั้นในเรื่องรูปแบบคือน่ามีการปรับรูปแบบให้เหมาะกับผู้ที่มาเรียนเช่นผู้สูงอายุเป็นต้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อยากให้ประเด็นที่นำเสนอมาในห้องได้นำไปใช้ได้จริง ประเด็นที่ดีมากแต่ถูกลืมไป อยากฝากไว้

ตัวอย่างที่ยกคือละครสัตว์คณะหนึ่งที่บวกความเป็นละครสัตว์กับกายกรรมแล้วสร้างเป็น Story เรื่องหนึ่ง บัตรครั้งละ 4,000 – 5,000 บาท เวลาดูทำให้ลืมละครสัตว์แบบเดิมไปได้เลย

การปรับ ให้เอาแก่นที่เรามีอยู่คือเรื่องที่เราเข้าใจอยู่แล้ว ที่เป็นคุณค่าที่มหาวิทยาลัยสะสมมานาน

Blue Ocean ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ตัวอย่างเช่น Redbull ไม่ใช่เป็นแค่เครื่องดื่มชูกำลัง สามารถไปเพิ่ม line product ได้

Blue Ocean ที่เกิดของภาคใต้ได้เลยคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่าให้ Blue Ocean ของเราเป็น Blue Ocean คนอื่น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่อง Blue Ocean ที่ ม.อ. น่าจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ อะไรที่เป็น Red Ocean สามารถทำให้ได้ดีที่สุด และต่อมาเมื่อเป็น Blue Ocean วันหนึ่งจะเป็น Red Ocean ดังนั้นต้องสามารถนำมาใช้กับ Core ของเราให้ได้

ความสำเร็จลูกค้าในอนาคตจะมี Target อันไหนบ้าง ที่แน่ ๆ คือ คนที่จบไปแล้ว ทำงานมีรายได้ แต่ความรู้ล้าสมัย

Blue Ocean ไม่ใช่ Demand Side แต่เป็นการนำเอาอนาคตกับมาร์เก็ตติ้งมารวมกัน

สรุปคือคุณ Tony Buzan เขียนเรื่อง Mind Map ครึ่งหนึ่งเป็น Science อีกครึ่งเป็น Social Science เขาเรียน 6 วิชา เรียน เช่นเรียนเรื่อง Nauru Science ประสาทวิทยาด้วย

กลุ่มที่ 1 What is Strategy บทความของ Michael E. Porter

ประสิทธิผลในการปฏิบัติการ ฯ ได้ยกตัวอย่างเรื่องการประกันคุณภาพต้องมีการกำหนดจุดยืนก่อน แต่ในปัจจุบัน การกำหนดจุดยืนมีการกำหนดจุดยืนของมหาวิทยาลัยเหมือนกัน คู่แข่งสามารถเลียนแบบได้ จะทำให้องค์กรไม่สามารถสร้างให้เกิดความแตกต่าง เช่นใช้ TQM ทำให้เครื่องมือดีขึ้น ใช้การวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น

OE ทำกิจกรรมเหมือนกัน แต่ว่าทำได้ดีกว่าคู่แข่งเท่านั้น ให้มีการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ใช่กลยุทธ์

กลยุทธ์คือการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างจากคู่แข่งหรือคล้ายกันและวิถีทางต่างกัน ต้องอยู่บนความเป็นเอกลักษณ์ สิ่งที่ทำคืออะไร และเมื่อเราเลือกแล้วคืออะไร สิ่งที่เรามอบให้กับลูกค้าดีแล้วหรือยัง และมีคามแตกต่างหรือไม่

การกำหนดจุดยืนของกลยุทธ์ ต้องใช้การ Trade off คือ ได้อย่างเสียอย่าง องค์กรจะเร่งเวลาไหน ให้เลือกกิจกรรมที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น Air Asean ใช้ราคาต่ำ ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นเลือกทำสิ่งที่ Trade off ได้ดีที่สุด แต่การบินไทยทำไม่ได้เพราะเลือกจุ

องค์กรจำเป็นว่าต้องเลือกทำแบบไหน ขึ้นกับความเสี่ยง มีข้อจำกัด ปัญหาเป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับผู้บริหารยุคใหม่

กลยุทธ์สำคัญมาก ถึงจะมา Trade off

แก่นคือเราจะไม่ทำอะไร

ความสอดคล้องจะช่วยผลักดันในการแข่งขันและความยั่งยืน ช่วยให้คนเลียนแบบสิ่งที่เราทำไม่ได้ ความมีกลยุทธ์จะช่วยให้เกิดความสอดคล้องต่อกิจกรรมนั้น ความสำเร็จคือการบูรณาการการทำงานมีการทำ Cross function ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความได้เปรียบที่ไม่เหมือนใครและไม่สามารถมีใครชนะได้ เราต้องมีการสื่อสารให้องค์กรรับรู้ และให้เกิดการ Trade off

การปรับใช้กับ ม.อ.

ต้องมาดูข้อเท็จจริงขององค์กรแล้วกำหนดทิศทางว่าไปทางไหน ใช้ 8K’s 5K’s ในการช่วยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เราคิด เราจะมองกลยุทธ์อย่างไร สร้างกลยุทธ์อย่างไรแล้วมาวิเคราะห์ร่วมกั้น

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 2

สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ Strategy ต้องระบุว่าอันไหนควรทำ อันไหนไม่ควรทำ แต่เป็นประเด็นปัญหาคือบางทีคิดอย่างหนึ่งแต่คนที่ตามจะคิดตามหรือไม่ เราจะพัฒนา Strategy ให้ดีกับมหาวิทยาลัยได้อย่างไร อยากให้เลือกที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยว่าสามารถเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ทุกคนจะไปกับเราด้วยหรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสริมว่าใคร ๆ ก็อยากเป็นมหาวิทยาลัย แต่ต้องเลือกว่าจะมุ่งไปทางไหนให้เอาประเด็น Reality กับ Relevance มาจับ ต้องวิเคราะห์ให้รอบคอบ ว่าหลังจากออกนอกระบบแล้ว ระบบ Incentive การดูแลทรัพยากรมนุษย์ การดูแลทรัพยากรก็ดี จะทำอย่างไร ไม่เช่นนั้นเราจะเองไปที่งานวิจัยอย่างเดียว เราต้องการคนที่มีวิชาการ มี Contribute ให้สังคม สร้าง Brand และลงทุนให้มหาวิทยาลัย การเปลี่ยนระบบทันทีด้วยกฎหมายฉบับเดียวเปลี่ยนไม่ได้

รุ่น 2 อาจมีเรื่องหรือ 2 เรื่องที่สามารถทิ้งเป็นมรดก (Legacy) ได้

การมีเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ อย่าให้เป็นเป้าหมายกำกวมเช่นการเป็น World Class น่าจะมี Sub Goal ที่สามารถวัดได้ มี Timeframe เป็น Maturable Objective

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ยุทธศาสตร์รอง ๆ สามารถเกิดขึ้นมาได้ เรื่องการบินไทยไม่ได้ขาดทุนเพราะการบริหารจัดการอย่างเดียวแต่มีด้านอื่นด้วย

ยุทธศาสตร์การบินไทยเป็นยุทธศาสตร์การบินของประเทศ ปัจจุบันกลับมาได้รางวัลการบริการยอดเยี่ยมอีกครั้ง

เราสามารถสร้าง Blue Ocean ในมหาวิทยาลัยได้

Entrepreneurship คือผู้ประกอบการแบบใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ใช้แก่นแท้ของเดิมมาคิดใหม่ทำใหม่

กลุ่มที่ 2 Building your company’s vision

Vision คือวิสัยทัศน์ สามารถช่วยขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยได้อย่างไร

Articulating a Vision

หยินหยาง เป็นเรื่องธรรมชาติ ปรัชญา มีมืดมีสว่าง มีหญิงมีชาย

Vision ที่ดีต้องมี 2 ส่วนคือการนำมารวมกัน

หยินคือสีดำเปรียบได้กับดวงจันทร์พลังด้านลบ

หยางคือสีขาวเปรียบได้กับผู้ชายเป็นพลังด้านบวก

สรุปคือต้องนำสองอย่างมารวมกัน

หยาง

1. Core Ideology เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่ทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ ถ้ามีสิ่งนี้จะเป็นเหตุผลให้มีชีวิตอยู่ในโลกใบนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรอยู่อย่างคงทน

2.Core Value ค่านิยมหลัก ต้องหาให้ชัดให้ได้ ในหนังสือบอกว่าต้องไม่ตายไปกับกาลเวลา ต้องอยู่คงทนถาวร เป็นอมตะ จะมีคุณค่าจากภายในที่เปล่งมาภายนอก และมีความสำคัญกับทุกองค์กรและมหาวิทยาลัย

3. Core Purpose คือทำไมเราถืงต้องคงอยู่ในโลกใบนี้ ให้ลองถามต้วเองว่าไม่ว่าจะอยู่องค์กรไหนว่า ทำไมเราถึงสำคัญ ถามย้ำ 5 ครั้ง ว่าทำไมเราถึงต้องอยู่ต่อ และเหตุผลเหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ทุกคนอยากอยู่ในองค์กรต่อไป มาจาก Soul

หยิน

Envisioned Future

- Vision level BHAG คิด Vision ต้องยิ่งใหญ่ ต้องมีความเสี่ยง อันตราย กล้าหาญท้าทาย

ตัวอย่างเช่นการตั้งเป้าหมายต้องการเพิ่มลูกค้าเท่านี้ในเวลากี่ปี หรืออาจตั้งเป็น Role Model ขึ้นมา มีการทำ Internal Transformation ต้องมีการปรับองค์กรในทุก 3 ส่วน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะวาง Set แบบใด

- Vision Description ต้องสามารถมองมาเป็นภาพที่จับต้องได้ ต้องสามารถแปลงภาพออกมาเป็นรูปภาพในหัวได้ สามารถหลับตาและมอง Vision ที่ Translate เป็นภาพของเราเหมือนภาพคนอื่นหรือไม่จะเป็น Vision จริงในการขับเคลื่อนองค์กร

สิ่งที่ต้องระวังคือ เมื่อคนทำได้ถึงระดับหนึ่งจะหยุดการพัฒนา และเมื่อหยุด องค์กรจะหยุดขับเคลื่อนเช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง ดิสนีย์แลนด์ให้อะไรเรา ตอบคือ ให้ความสุข หรือเครื่องสำอาง ให้ความมั่นใจของผู้หญิงเป็นต้น

การปรับใช้กับ ม.อ.

ได้ยกตัวอย่างวิสัยทัศน์ ม.อ. แต่เราต้องเริ่มปรับด้วยภาพ ทุกที่ทำได้แต่ปัจจุบันต้องมองข้ามสเตปคือนำ Blue Ocean เพิ่มจิตวิญญาณเราเพิ่มเติมเข้าไป

สรุปคือเราต้องมีการปรับเปลี่ยน เราจะมอง Vision เป็นอย่างไร ต้องเพิ่มชีวิตชีวา ความเปล่งประกายให้กว้างไกลไป

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 3

กระบวนท่าที่ดีจะนำไปสู่การใช้กระบวนท่า

เชื่อในสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยไป เช่นการพัฒนานักศึกษาให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศ แล้วให้ Define อาจตั้งมาตรฐานให้นักศึกษาเป็นคนดี และมีมาตรฐานทางด้านวิชาการให้ได้ก่อน แล้วค่อยมองที่การสร้างวิสัยทัศน์ และ Strategy

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชื่นชมที่มองเริ่มต้นจากแก่นก่อน เป็นแนวคิดแบบ Reverse คือ เรื่องคุณธรรม จริยธรรม แล้วค่อยมาพัฒนาด้านอื่นต่อ ถ้าเก่งและดูแลสังคมดีที่เหลือจะมาได้

ประเทศไทยใช้ Professionalism ไม่ค่อยเก่ง เราต้องมีคุณธรรม จริยธรรมก่อน ค่อยพัฒนาเป็นมืออาชีพ

Core Value และ Core Purpose เป็น Intangible แล้วไม่มีใครรู้มากกว่าคุณ

การทำต้องทำในสิ่งที่ปรารถนา ทำให้ Jab and Career ต่างจาก Passion of Work

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อยากให้รุ่น 2 รวมตัวกันได้ ปัญหาในการทำคือ ผู้บริหารระดับกลางอาจไม่ค่อยได้รับโอกาสและไม่ค่อยได้รับโอกาส ส่งผ่านไม่ตรง ไม่คมชัด หรือไม่ปรับตัวเองที่จะขึ้นไปรับหรือไม่

การมองย้อนกลับไปในที่มาของเราคือ Core Ideology ในขณะเดียวกัน คือ ม.อ. มีความเป็นลูกพระบิดา เป็น Blue Ocean อย่างหนึ่ง ใคร ๆ ก็อยากร่วมมือด้วย ที่มาของ ม.อ.ใช้งานวิจัยเป็นฐาน ความจริงแล้ววิจัยอยู่ได้ในทุกงาน เช่นถั่วอบกรอบชาวบ้านยังต้องดูว่าจะใส่อะไรเท่าไหร่

ม.อ.เป็นตัวตนที่เด่น มีวิธีการตนอยู่ ตัวอย่างพระบิดาเห็นความสำคัญของแพทย์จึงเรียนแพทย์ มีความจริงที่เราจะเดินไปข้างหน้า

ฝากเรื่องการมีชีวิตชีวา และพลังที่ควรจะเป็น เพราะม.อ.มีตัวตนของตัวเองและมีความเป็นลูกพระบิดา

กลุ่มที่ 4 The secret to successful strategy execution

ทำอย่างไรให้การดำเนินกลยุทธ์ในองค์กรประสบความสำเร็จได้ องค์กรต่าง ๆ มีกลยุทธ์ที่ดีที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว กลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยมต้องดำเนินงานต่อเนื่องในองค์กรถึงทำให้องค์กรอยู่ยืนยาวถึงปัจจุบัน

ปัญหาคือการยึดติดกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง การปรับโครงสร้างองค์กรไม่ใช่เรื่องสำคัญ มีปัจจัยอื่นที่สำคัญในช่วงต้น ๆ ที่ทำให้องค์กรสำเร็จหรือไม่

การนำกลยุทธ์ไปใช้ควรมองนอกจากการเปลี่ยนโครงสร้างเท่านั้น องค์กรต้องให้สิทธิการตัดสินใจ และจัดการข้อมูลให้ถึงส่วนงานที่ต้องการใช้ การจัดการเรื่องการให้สิทธิ์ให้อำนาจการตัดสินใจเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอันดับแรก การปรับเปลี่ยนเรื่องแรงจูงใจและรางวัลจะทำให้องค์กรเดินไปได้อย่างมั่นคง

การจะทำให้องค์กรสำเร็จได้ต้องให้สิทธิ์ในการตัดสินใจและ ให้ข้อมูล

การตัดสินใจ

1. เรื่องการตัดสินใจ คือพนักงานต้องทราบว่าการตัดสินใจอะไรบ้างที่ตัวเองต้องเป็นคนรับผิดชอบ

2. ต้องพยายามกระตุ้นให้หัวหน้างานระดับสูงกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ผู้บริหารส่วนกลางด้วย

การไหลเวียนข้อมูล

1. ข้อมูลที่สำคัญต้องถูกส่งไปที่สำนักงานใหญ่อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่วางแผนเชิงนโยบายทำให้ประกาศใช้ได้อย่างทันท่วงที

2. อำนวยความสะดวกให้หน่วยงานต่าง ๆ มีข้อมูลผ่านไปทุกองค์กร การที่พนักงานระดับล่างไม่ได้มองรอบด้านจะเป็นส่วนสำคัญ ทุกการปฎิบัติงานมีผลกระทบต่อองค์กรทั้งสิ้น

จากงานวิจัยได้ขยายความได้ว่าองค์ประกอบที่ทำให้หน่วยงานดำเนินงานได้แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพได้มี 17 ประการ และมี 5 ประการแรกที่สำคัญที่สุดมาจากงานวิจัยที่รวบรวมมาจากพนักงานองค์กรที่เป็นผู้บริหาร 25 % กว่า 1,000 คน มาจากภาครัฐและเอกชนกว่า 50 ประเทศ

1. พนักงานควรมีแนวคิดในการตัดสินใจที่ดี รวมทั้งปฏิบัติงานที่ดีในส่วนที่รับผิดชอบ องค์กรจะไม่มีประสิทธิภาพถ้าพนักงานตัดสินใจไม่ถูกและไม่ดี

2. การเป็นองค์กรที่เป็นองค์กรที่ดีและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลต้องส่งถึงสำนักงานใหญ่อย่างรวดเร็ว สำนักงานใหญ่เป็นหน่วยงานหลักที่ส่งให้สำนักงานส่วนย่อยดำเนินการ ช่วยทำให้แนวนโยบายต่าง ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องและทันสถานการณ์

3. เมื่อตัดสินใจแล้วการตัดสินใจต้องไม่คาดเดาอีก ต้องมีข้อมูลที่พร้อมไม่ใช่คาดเดา

4. ข้อมูลส่งผ่านได้ทั่วถึงขอบเขตในองค์กร ไม่ว่ามีนโยบายอะไรเกิดขึ้นต้องให้หน่วยงานรับรู้ รับทราบให้องค์กรประสบความสำเร็จ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน

5. พนักงานหรือคนปฏิบัติงานระดับล่าง ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เขาทำหรือไม่ทำมีผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กรอย่างไร

ปัจจัยและเทคนิคในการขับเคลื่อนกลยุทธ์จากผู้บริหารสู่การปฏิบัติได้จริง

1. การตัดสินใจถูกต้อง

2. ข้อมูล

3. โครงสร้างองค์กร

4. แรงจูงใจในการทำงาน

องค์กรต้องคำนึงถึง 4 ปัจจัยนี้และให้ทำควบคู่กันไป ถ้าข้อมูลผิดพลาดไม่ชัดเจน ทำให้ข้อมูลของผู้บริหารมีการผิดพลาดเช่นเดียวกัน วิธีการคือ

1. แต่ละองค์กรมีพื้นฐานภายในแตกต่างกัน องค์กรต้องรู้ตัวตนของเราเอง คือรู้ว่าเราเป็นใคร เราจะทำอะไร เรามีปัญหาอะไร ผู้บริหารจะได้หาทางแก้คือ ให้มองความจริง และมองตรงประเด็น

2. เมื่อมีจุดอ่อนแล้วให้นำเทคนิค 6 เรื่องไปใช้

- ให้ความสำคัญและสนับสนุนความคิดของพนักงานที่ดี จะช่วยในการขับเคลื่อนการตัดสินใจ จะทำให้การตัดสินใจมีข้อผิดพลาดได้น้อย ในทางกลับกันเมื่อพนักงานมีความคิดดี ได้การสนับสนุนที่ดีจะมีแรงจูงใจในการทำงานและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

- การตัดสินใจต้องชัดเจนและทั่วถึงในองค์กร หลายครั้งการถ่ายทอดนโยบายลงไม่ถึงผู้ปฏิบัติ จะทำให้การทำงานองค์กรไม่เป็นตามที่วางไว้

- มี 5 วิทยาเขต ผู้บริหารระดับสูงวางนโยบายไว้ ทั้ง 5 วิทยาเขตต้องดำเนินตาม แต่สามารถเพิ่มเติมได้ เพื่อให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน

- การสร้างระบบการทำงานที่ข้ามสาย มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันการทำงานเป็น Silo การเชื่อมต่อหน่วยงานทั้งในและนอกองค์กร ต้องมีการเชื่อมต่อทั้งภายในและนอกหน่วยงาน เพื่อลดส่วนของการเชื่อมโยงข้อมูลที่ไม่ถึง ให้สร้างระบบการเชื่อมต่อสายงาน ให้มีประสิทธิภาพการตัดสินใจมากขึ้น

- 5 วิทยาเขตนี้ถ้าไม่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลในการดึงนำมาใช้ด้วย ทำอย่างไรให้ ม.อ.กระจายข้อมูลใน 5 วิทยาเขต และมีพื้นฐานข้อมูลเดียวกัน

- ลดโครงสร้างผู้บังคับบัญชาลงเนื่องจากใช้เวลานาน การออกมาเป็นม.ในกำกับของรัฐเพื่อให้มีความคล่องตัวในการทำงานที่มากขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการในหลายขั้นตอน ข้างบนสามารถมอบนโยบายถึงข้างล่างโดยตรงจะทำให้ขับเคลื่อนในภาคปฏิบัติได้ง่ายขึ้น

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 5

ลักษณะของ ม.อ. มีกระบวนการทั้ง 4 แต่ยังขาดการเชื่อมโยงคือสื่อสารยังไม่ครบ กำลังมองหาช่องทางในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอยู่ ในเรื่องการลดขั้นตอนก็น่าสนใจเนื่องจาก ม.อ.มีระบบ Hierarchy เยอะมาก ถ้าตัดได้จะทำให้การสื่อสารเป็นไปได้จริง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตรงกับที่ ดร.จีระ พูดตลอดคือ Where are we? Where do we want to go? How to get there? และ How to do it successfully? (Execution)

ยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธีที่ ม.อ.มียุทธศาสตร์ใหญ่และยุทธศาสตร์เล็ก

ที่ Jack Wealth พูดเรื่องทุนมนุษย์ว่าถ้าองค์กรไหนก็ตาม มีทุนมนุษย์ที่มีมาตรฐาน ไม่ชุ่ย ต้องให้มาตรฐานของคนในองค์กรมีคุณธรรม จริยธรรม และมืออาชีพ เพราะ Execution ไม่สามารถมีใครควบคุมได้

1. ให้เขามีประสบการณ์ในการเผชิญปัญหาและอุปสรรค ให้รู้ว่าแก่นของเขาคืออะไร ต้อง Empower ให้มี Standard มีความรู้ ที่เหลือคือระบบ มี Motivation และมี System จะสำคัญมาก ถ้ามีความดี มีความรู้ความสามารถ ทำงานในองค์กรแล้วได้อะไร ต้องดูให้ดี ตัวอย่างอาจารย์ในเมืองนอกได้เงินจากวิจัยฯ เราต้อง Return ต้องคิดเรื่องเหล่านี้ให้คนกล้าที่จะ Rest fund เพื่อให้ได้ประโยชน์ อยากให้คนมี Performance สูงได้รับ Return on investment

2. ต้องฝึกเรื่องการบริหารจัดการเขา ตัวอย่างเช่นการอ่านหนังสือ ทุกอย่างง่ายหมด

สรุปคือ Paper ดีทุกอย่างแต่เป็นการมอง Strategy ใหญ่ ๆ แต่ ม.อ.มี Strategy ในระดับคณะ สถาบัน ต้องเน้นเรื่องคุณภาพ มี Deadline และ Incentive ที่ดี ต้องมีคนเป็นกลางที่ Monitor เหล่านั้น ภาวะผู้นำของม.อ.ต้อง Honor คนในองค์กรที่มี Role ที่แตกต่างกันและยกย่องเขาขึ้นมา ใน Paper นี้เป็นตัวอย่างของบริษัทใหญ่ แต่ในม.อ.มองใหญ่ไม่พอต้องมองที่ Project เล็ก ๆ ที่จะขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นเลิศ ที่มีความจำเป็นการทำ Teamwork อยู่แล้ว ที่บางครั้งอาจขาดการทำงานไปสู่ความสำเร็จ

นักเรียน Graduate School ควรให้เป็นมันสมองของเขาด้วย สร้างให้เกิด Demand ในการให้เด็กเข้ามาเรียนด้วย นอกจากได้ทุนแล้ว เราควรเสนออะไรที่สามารถเอาไปทำได้ด้วย และเห็นด้วยที่เงินเข้ามาเป็นค่าดูแล Consultant ส่วนหนึ่งเป็น Incentive ให้เขา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เสนอให้ดูเรื่องงานวิจัย จะทำวิจัยเรื่องอะไรให้ลงไปศึกษาอย่างแท้จริงในนั้น มีกรณีศึกษาเล็ก ๆ ในรุ่น 1 ดร.พงศ์ชัย พูดเรื่องงานวิจัยเรื่องหนึ่ง มีอุดมการณ์ของท่านคือหางานวิจัยเข้าพระจอมเกล้าธนบุรีฯ สูงเป็นอันดับต้น ๆ ได้งบประมาณของ ม.อ. ที่ออกแบบไม่ให้รถติดไป วิธีการคือ มองรัฐบาลก่อนว่าจะทำอะไร แล้วให้ทำล่วงหน้าแบบ Blue Ocean สิ่งที่ได้งานจากการทำงานวิจัยในเรื่องคุณธรรมคือ มีเงินเข้าคณะ เข้ามหาวิทยาลัย เข้าเป็นเงินเดือนอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษา เป็นเงินเดือนลูกศิษย์ ลูกศิษย์ได้เงินเดือนเดือนละ 15,000 บาท เสมือนสร้าง Entrepreneur ตั้งแต่เป็นนักศึกษา

งานวิจัยเพื่อให้ไม่อยู่บนหิ้ง ต้องนำข้อมูลไปต่อยอด อยากให้อาจารย์ทำอะไรแล้วคิดเรื่อง Theme และ Connection ต้องมีมาตรฐานที่ดี ทำให้เป็น Master mind มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ต้องเน้นเรื่องการสื่อสารองค์กร ต้องสามารถส่งผ่านไปยังผู้บริหารระดับกลาง อาจารย์ทั้งหลาย และคนที่ทำงานสนับสนุน

กลุ่มที่ 5 Using the Balance Scorecard

Key word คือ Balance ทุกอย่างต้องสมดุล ไม่ใช่เทไปอันใดอันหนึ่ง อะไรทำให้ Short term

1. Translating the Vision

Vision ค่อนข้างเปลี่ยนเรื่อย ๆ ทั้ง Blue Ocean และ Trade off แล้ว ม.อ. จะยังกำหนดวิสัยทัศน์เช่นเดิมอีกหรือไม่ เพราะทุกมหาวิทยาลัยมีพันธกิจในการดำเนินตามวิสัยทัศน์เช่นที่ ม.อ.ตั้งไว้เหมือนกัน Motivation ในการทำงานมีหรือไม่ เราจะมุ่งผลิตบัณฑิตขนาดไหน เราจะ Define เป็นบัณฑิตขนาดไหนเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่นได้หรือไม่ Vision เป็น Abstract หรือเป็น Concrete Vision เราทำได้หมดทุกข้อหรือไม่ และควรมีคนร่วมทำด้วยหรือไม่ แล้ว Core Value ที่แท้จริงคืออะไร

2. Communicating and Linking

- Communication and Educating เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น การเป็นม.ในกำกับของรัฐ ถูกมองว่าค่าเรียนแพง จะตอบว่าขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเท่านั้น ทำให้คนภายนอกไม่เข้าใจ ดังนั้นเมื่อประกาศไปแล้วจะทำให้เข้าใจได้อย่างไร ดังนั้นการสื่อสารต้องเชื่อมโยงให้รับรู้ได้ด้วย

- Setting Goal การตั้งเป้าหมาย ต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างตั้ง

- Linking rewards to performance measures เรื่องการให้รางวัล ผลตอบแทนแรงจูงใจ

3. Business Planning

การวางแผนต้องกำหนด Short term หรือ Long term ด้วย เป็น 4 กระบวนการหลัก ทำอย่างไรถึงไปสู่เป้าหมาย 4 กระบวนการได้

- Clarify and update strategy ต้อง Identify ให้ได้

- Communicate strategy throughout the organization ต้องสื่อสารให้คนรับรู้

- ทำอย่างไรให้ Goal ทั้งหน่วยงานสอดคล้องและไปด้วยกัน

- การเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมาย

- ทำอย่างไรต้องมีการกำหนดออกมาและทำให้สอดคล้องกันไปได้

- การทบทวน ถ้าในเรื่องประกันคุณภาพจะได้ยินคำว่า PDCA ทางม.อ.ได้ทำตามนี้หรือไม่

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 1

ในส่วนของ ม.อ.มีวิทยาเขตต่าง ๆ ครอบคลุมอยู่แล้วจะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุลในเชิงวิชาการ มีการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกให้รับทราบ คือเรามีส่วนดีอยู่มากแต่ไม่ทั่วถึง ถ้าออกนอกระบบจะทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนได้อย่างไร ในส่วนนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยทำอยู่ องคาพยพเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง อย่างเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้รู้อยู่ เราจะดึงเด็กที่มีความรู้ มีการบริหารกีฬาที่เด่น เข้ามาใน ม.อ. จะทำให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น สามารถเสริมซึ่งกันและกัน และมหาวิทยาลัยยังสามารถมีส่วนที่สนับสนุนจังหวัดได้ เช่นมีศูนย์กีฬาที่สมบูรณ์ สามารถส่งเสริมด้านกีฬาในระดับประเทศ และนานาชาติ ได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีองค์ความรู้ และมีเนื้อที่ที่จะสามารถพัฒนาได้ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรสื่อสารให้คนภายนอก อย่างจังหวัดรับทราบในเบื้องต้น จะช่วยในการพัฒนาภาพรวม และจังหวัดในภาคใต้ ส่วนที่เป็นสหวิชาอยู่แล้วจะเกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยในอนาคตด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

KPI ในอดีตเป็น Financial KPI ควรมีการทำทั้ง Short term ไปสู่ Long term มีเรื่องระบบการบริหารจัดการภายใน และการดูเรื่อง Growth และคน ดังนั้น Balance Scorecard + Customer + Learning + Growth + Internal Process คือทำให้ Strategy ในด้านต่าง ๆ ในอนาคตประสบความสำเร็จ Paper ดีคือสามารถช่วยในด้าน Short term

การบริหารจัดการภายในต้องเข้มแข็ง ต้องดูแลเรื่อง Customer และ Invest เรื่องคน แต่หลัก ๆ รุ่น 1 รุ่น 2 มีตัวแทนอยู่แล้ว ในอนาคตข้างหน้า Process ในการเรียนหนังสือสามารถ Copy ได้ เลียนแบบได้ ถ้าเราสามารถ Execute ได้ดี Human Capital ต้องดี ทำอะไรอย่าชุ่ย ต้องเป็นมืออาชีพ ต้องทำสิ่งเหล่านี้ให้อยู่ในสายเลือดครูอาจารย์และนักเรียนทุกคน

ดังนั้น Balance Scorecard คือถ้าจะทำให้ ม.อ.อยู่รอดในระยะยาว เงินต้องอยู่ในการบริหารจัดการลูกค้า และบริหารจัดการภายใน ที่เมืองไทยอ่อนแอ เพราะไทยไม่มีเทคโนโลยีของเราเอง ส่วนใหญ่ชอบ Copy แต่ทำเองไม่เป็น ที่ชอบในเรื่อง Balance Scorecard คือสนใจเรื่องคน ต้องสร้าง ม.อ.ให้เป็น Long term sustainability เราจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้อย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การเรียนรู้ในตัวคนสร้างยาก แต่สร้างได้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องเรียนรู้ทั้งปัญหา อุปสรรค และโอกาส มียุทธวิธีในการนำยุทธศาสตร์กับ OE : Operational Effective มาใช้ มาตรฐานของคนมีแค่ไหน มาตรฐานต้องปรับด้วย เรื่อง LO จะสามารถนำมาใช้ได้จริง มีเรื่อง Translating the vision ต้องมี Core Value การเรียนรู้ต้องมียุทธวิธี อย่าทำเฉพาะ ม.อ. ถ้าภาครัฐมาคุยกับม.อ.แต่ต้นจะได้ไม่ต้องเหนื่อยและทำที่หลัง

การทำ Balance Scorecard เราไปดูว่า ม.อ. ขาดอะไร และไปดูสามวงกลม ดูศักยภาพของตนเอง ของอาจารย์ และทีมงาน สร้างให้เป็นมืออาชีพ มีกระบวนการที่ทำให้สำเร็จ แล้วต้องมี Change Agent ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต้องมี HRDS คือมีความสุข มีการได้รับเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความยั่งยืน ทำอย่างไรเมื่อ ม.อ.เป็น ม.ในกำกับของรัฐ จะมีความยั่งยืนได้ เช่นเรื่องกองทุนเป็นต้น

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ในเรื่อง Balance Scorecard เป็นความสมดุลใน 4 มิติคือ Financial Effective คือทำงานแล้วต้องอยู่ได้แต่ ม.อ.จะเป็นเรื่อง Value for Customer

ในเรื่อง BC ต้อง Define ว่า

1.Who are your customer ? ลูกค้าคือใคร

2. How they perceive PSU at the moment ?ลูกค้าแต่ละกลุ่มมอง ม.อ.อย่างไร

3. How do you want them to perceive PSU ? อยากให้ลูกค้ามอง ม.อ.อย่างไร

4. What you have to do? เราจะต้องทำอะไรเพิ่ม ทำอะไรที่แตกต่างเป็น Key initiative และจะไปเป็น Key หลักของ ม.อ. และจะกลับไปสู่ Internal Process และนำไปสู่ Learning and Growth เช่นทำอย่างไรให้นักศึกษามาลงทะเบียนมาก ๆ เราอาจต้องไปปรับหลักสูตร

แต่ก่อน เราจะมองที่ Who we are? How good it is? What we sell? แต่อยากให้มองย้อนกลับกันคือ What we sell? How good it is? Who we are?

เวลาตั้งเป้าหมาย เราไม่ได้ตั้งในสิ่งที่เราต้องการแต่เป็นการตั้งในสิ่งที่เราหวาดกลัวในอนาคต

ดร.จีระเสนอว่า 1.การที่เราจะได้ลูกค้า ให้ไปหา Top ในระดับ ม.5 และ ม.6 ที่โรงเรียนเลย และ 2. ให้อาจารย์และลูกศิษย์ Interact กัน อยากให้ทุกคนในห้องนี้ทำการบ้านเพื่อหา Internal Process ถ้าเรามีสมองเราต้องใส่การเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดกิจกรรมกีฬาเยอะ ๆ ต้อง Empower ตัวเอง ระวัง Danger และอย่ากลัว Job Security

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

หนังสือที่เราอ่านวันนี้เป็นเรื่องที่ฝรั่งเขียนมา จะเป็นมุมมองฝรั่ง จึงอยากให้มองในมุมมองของเอเชียด้วย ได้ยกตัวอย่าง K ของ ดร.จีระ ในเรื่อง Emotional คือความกลัว เพราะถ้ายิ่งกลัว ยิ่งกระจายอำนาจออก กลัวว่าคนอื่นคิดเก่งกว่าเรา แล้วเราก็เขียนเต็มกระดาน ดังนั้นใครมาพูดอย่างอื่นจะไม่ยอม

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เราต้องมองตัวเราในอนาคตว่าเราควรไปในทิศทางใด Vision ที่มีอยู่ในขณะนี้เป็น Vision ขององค์กรที่มีในตัวเราหรือไม่

2. ต้องกลับมาคิดในเรื่อง Investment ของเราว่าเราลงทุนด้านทุนมนุษย์มากน้อยแค่ไหน และเมื่อลงทุนแล้วจะทำองค์กร ม.อ. เป็น Learning Organization ได้อย่างไร

3. เราเรียนรู้เรื่อง Strategy มาก สิ่งที่ได้เป็นกระจกสะท้อนความคิดว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหนกันแน่ เจออาจารย์ก็บ่นต่าง ๆ แต่เราได้สะท้อนแท้จริงหรือไม่ว่าเราอยู่ตรงไหนกันแน่ เราต้อง Shift แบบก้าวกระโดด เรา Shift บางอย่างของ ม.อ.เอง ให้ดูว่า ม.อ. Key คืออะไร แล้วมุ่งไปตรงนั้น


วันที่ 28 กรกฎาคม 2559

Effective Teamwork and Value Creation of PSU

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

ตั้งคำถามคนในห้องเรียน ว่าเกิดมาทำไม ?

ตอบ - เกิดมาเรียนรู้

- เกิดมาเพื่อทำงานสังคม

- ไม่รู้

- เพื่อสืบพันธุ์

- เกิดมาเพื่อมีความสุข

จริง ๆ เคยมีคำถามแบบนี้หรือไม่

- การเป็นนางฟ้า เทวดา ไม่ยาก ให้ลองนึกถึงสิ่งใดจะได้สิ่งนั้น ถ้านึกถึงสิ่งที่ดีจะได้สิ่งที่ดี แต่ถ้านึกถึงสิ่งไม่ดี จะหงุดหงิดตลอด และเมื่อเกิดความทุกข์จะเริ่มระเบิดขึ้นเรื่อย ๆ

- การคิดบวกบางครั้งหลอกตัวเอง อยากให้เข้าใจความเป็นไปของโลกคือในโลกมีทั้งสิ่งดีและไม่ดี

- คนทุกคนมีทั้งสิ่งดีและไม่ดี

สรุปคือ ทุกอย่างเป็นเรื่องมุมมองของชีวิต เช่น ขี้อยู่ใกล้ตัวดีหรือไม่ ขี้อยู่ในสวนดีหรือไม่ คำตอบคือทุกอย่างจะสุขหรือทุกข์ ดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับตัวเรา

กิจกรรม 1 : จับคู่เล่นลมเพลมพัด

ช่วงที่ 1

1. แจกการ์ด

2. ร้องเพลงลมเพลมพัด แล้วสลับที่ให้ไปจับคู่แล้วดูการ์ดว่า การ์ดของทั้งสองคนสามารถจับคู่กันได้อย่างไร

3. ให้อธิบายว่าการ์ดสองใบสามารถคู่กันได้อย่างไร

ช่วงที่ 2

4. ให้จับกลุ่มแล้วเอาการ์ดของทุกคนมารวมกันแต่งเป็นเรื่องว่าการ์ดทุกใบรวมกันแล้วสามารถสร้างความสุขได้อย่างไร

ช่วงที่ 3

5. เมื่อการ์ดของทุกกลุ่มรวมกันมีความสุขแล้วทำอย่างไรให้เกิดความร่ำรวย

กิจกรรม 2 : วิเคราะห์มนุษย์

คำถาม คือ อะไรเล็กที่สุดในร่างกาย

คำตอบ คือ DNA

คำถาม คือ มนุษย์กับลิงมี DNA ต่างกันกี่เปอร์เซ็นต์

คำตอบ คือ ต่างกันไม่ถึง 3 %

คำถาม คือ ทำไมมนุษย์มีความสามารถแตกต่างกันมากมาย

คำตอบ คือ การเรียนรู้

สรุป คือ มนุษย์สร้างได้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหมายความว่า คนที่เป็นเพื่อนร่วมงานเรา เพื่อนเรา คนในครอบครัวเรา ก็สร้างได้เช่นกัน

กรอบความคิด

ตัวอย่างตอนอายุน้อย ๆ ในการเลือกแฟน มีการตั้งกรอบความคิดอย่างหนึ่ง แต่พออายุมากขึ้น กรอบความคิดจะเริ่มเปลี่ยนแปลง

ให้ตั้งต้นว่าโลกนี้มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ให้ตั้งต้นว่าเราทำได้ ถ้าสมองคิดว่าเราทำได้ สมองจะหาวิธี และเมื่อ Mindset เปลี่ยนแปลง เราจะเพาะเรื่องการคิดอย่างมีเหตุมีผล (Logic Thinking) แล้วเกิดการทำซ้ำเรื่อย ๆ จะเปลี่ยนนิสัยใหม่ และทำซ้ำเรื่อย ๆ จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมเรา เส้นทางสายปัญญา ถ้าคนที่คิดอะไรไม่ได้ ให้ลองปฏิบัติ ให้ลองดูคนในองค์กรว่าเป็นนักคิด หรือเป็นคนที่ศรัทธา เชื่อ แล้วถึงทำ

ตัวอย่าง 1. ปลาทองที่ไม่รู้ว่าโหลรั่ว ยังคงไม่สนใจ ทำตัวดี้ด้า แต่ในที่สุดก็ตาย

2. ปลาทองที่รู้ว่าโหลรั่ว แต่พยายามไปโหลใหม่แล้วยังไปไม่ได้ ก็อาจตกโหลได้ วิธีการคือต้องพยายามพัฒนาตัวเองเพื่อก้าวข้ามสู่โหลใหม่

3. ปลาทองที่รู้ว่าโหลรั่ว แล้วสามารถพัฒนาตัวเองโดดไปอีกโหลได้ รอดแล้ว

สรุปคือ มนุษย์ ถ้าไม่ยอมรับความจริง จะเปลี่ยนหรือไม่ มนุษย์ทุกคนมีเหตุผล แต่ไม่ใช่ว่าเหตุผลจะถูกเสมอไป

วิธีการคือ 1. ต้องทำให้ยอมรับก่อน ให้นึกถึงตัวอย่างปลาทอง

กิจกรรม 3 : รู้จักตัวเอง

1. แจกกระดาษ A 4 เขียนชื่อตัวเอง และเขียนว่าตัวเองมีความเก่ง ความดีอะไรบ้าง

2. ไปหาเพื่อน 3 คน แล้วให้เขาช่วยเขียนว่าเราเก่งอะไร

ข้อสังเกต : ทำไมเราเขียนคนอื่นได้มากกว่าตัวเอง ให้ลองนึกดูว่า ระหว่างตัวเอง และแฟนตัวเองใครเห็นตัวเรามากกว่ากัน

เพราะเหตุใดเราเขียนคนอื่นได้ดีกว่าเรา เพราะคนอื่นมองเรารอบด้าน แต่เรามองที่ตัวเราด้านเดียว คือ มีฉันมีเธอ มีเขามีเรา มีคณะนี้มีคณะอื่น แสดงถึงตัวกูหรืออัตตา

4. ให้ลองติ๊กเครื่องหมายว่าสิ่งไหนที่เราเขียน และเพื่อนเขียน

- สิ่งไหนที่เราเขียนและเพื่อนไม่ได้เขียน แสดงว่า เราคิดไปเอง หรืออยากเป็นแต่ยังไม่ได้เป็น

- สิ่งไหนที่เราไม่เขียน และเพื่อนเขียน แสดงว่า เราลืมตัวหรือขาดสติ

- สิ่งไหนที่เราเขียน และเพื่อนเขียน คือ นิสัย และคุณค่าของเราจริง ๆ

สรุปคือ มนุษย์จะเลือกเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน เพราะเขาจะเอาคุณค่าเป็นตัวตั้ง มนุษย์จริง ๆ รักตัวเองมากที่สุด ดังนั้นการนำพาคณะไปต้องให้เขาเห็นคุณค่าหรือได้รับประโยชน์ ให้เราดูว่าเขาอยากมีคุณค่าแบบไหนแล้วผลักดันให้เขาไปคุณค่าที่เขาชอบ เพราะเมื่อคนมีคุณค่า แรงบันดาลใจ แรงจูงใจจะเกิด เพราะโลกนี้อยู่ด้วยความหวัง ควรให้จินตนาการร่วมกันว่าจะพาคณะไปอย่างไร วิธีการคือการซอยเป้าย่อย เพื่อไปถึงเป้าใหญ่ สร้างความสามารถคนในองค์กรเรา เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน

เรายุติธรรมหรือไม่ ก่อนที่จะให้สังคมยุติธรรม

กิจกรรม 4 : รู้จักอดีต ปัจจุบัน อนาคต

1. เลือกคนมา 3 คน เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

2. ให้คนที่เป็นปัจจุบันนั่งเก้าอี้ คนที่เป็นอดีตนั่งทับปัจจุบัน แล้วขย่ม และให้คนที่เป็นอนาคตนั่งทับอดีตและปัจจุบันแล้วขย่มอีกที

สรุปคือ การที่เราอยู่กับอดีตและอนาคต ชีวิตจะเป็นทุกข์ วิธีการแก้ไขคือการกลับมาสู่ปัจจุบัน ให้ทำดีที่สุด ณ วินาทีนั้น แต่ผลจะดีที่สุดหรือไม่แล้วแต่ แต่เราจะเก็บเกี่ยวทุกวินาทีในปัจจุบันได้

มนุษย์ชอบอยู่กับความหวัง การเลือกอยู่กับความหวังถ้าไม่ได้จะเป็นทุกข์ ดังนั้นอยากมีความสุขกับชีวิตให้ทำดีที่สุด และกลับมาอยู่กับตัวเองทุกวินาที

ทำไมทำกรรมดีแล้วไม่ได้ดี

1. ต้องถูกคน ถูกสถานที่ ถูกเวลา เพราะถ้าไม่ถูกจะได้ผลร้ายกลับไป

2. การจะได้ดีหรือไม่ได้ดีขึ้นอยู่กับความพอใจ ซึ่งความพอใจไม่ได้อยู่ที่ค่าเงิน เช่น พ่อแม่ทำกับข้าวให้ลูก ลูกกินอย่างมีความสุข สรุปคือได้รับความพอใจทั้งคู่แต่ลงทุนไม่เท่ากัน

3. ความยุติธรรมและเท่าเทียมขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีความพอใจอย่างไร ไม่จำเป็นต้องแบ่งเท่ากันทุกคน

สรุป อย่าทิ้งความเป็นเล็ก ๆ น้อย ๆ มิฉะนั้นจะกลายเป็นแผลใหญ่ในอนาคต

สมองมนุษย์

1. เป็นสมองดึกดำบรรพ์ มีอยู่ในสัตว์เลื้อยคลาน และตัวเงินตัวทอง

2. สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อายาตนะ

3. สมองในการสร้างรอยหยัก และความละเอียด

สมองมนุษย์ มี IQ EQ MQ SQ

EQ เป็นตัวที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จที่สุด ความเชื่อทำให้เกิดโอกาส และความเชื่อทำให้เกิดการประสบความสำเร็จ

IQ สร้างโอกาส EQ ทำให้ประสบความสำเร็จ MQ ทุกคนต้องมี SQ สัญชาติญาในการอยู่รอด

บุคลิกภาพของคน

วิเคราะห์ดูตอนว่าตอนไหนเราตบะแตกดูได้ง่ายที่สุด

I นักกิจกรรม (SQ EQ)

  • ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนใจเรื่องเวลา
  • ตัวอย่างเช่นคุณบรรหาร ศิลปอาชา

S นักปฏิบัติ (MQ EQ)

  • สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง
  • ตัวอย่างเช่นคุณชวน หลีกภัย

C นักทฤษฎี (MQ IQ)

  • ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการมีหลักการ ยึดติดกับรายละเอียด ไม่ชอบเสี่ยง
  • ตัวอย่างเช่น คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

D นักผจญภัย (IQ SQ)

  • กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ
  • ตัวอย่างเช่น คุณทักษิณ ชินวัตร

สรุปการเป็นนักบริหารต้องเป็นได้ทุกอย่าง ทุกคนเป็นผู้นำได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

ถ้าชาติวุ่นวายมากต้องผู้นำ D ถ้าคิดอย่างมีเหตุมีผลต้อง C ถ้ามีงานเลี้ยงสังสรรค์ต้อง I และถ้าต้องสงบต้อง S

กระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพของคน

จะเริ่มจากตัว I มาตัว S มาตัว C และมาตัว D

เขาจะเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความเก่งออกมา แล้วมนุษย์จะมีความภูมิใจ ดึงตัวเองออกมา ใช้ความภูมิใจเป็นตัวหล่อเลี้ยงในชีวิต

บางคนหาคุณค่าตัวเองไม่เจอก็จะไปอิงกับคุณค่าสังคม เช่น ถือกระเป๋าหลุยส์ ขับรถเบนซ์

ให้กลับไปหาให้เจอว่าคุณค่าของเราคืออะไร แล้วไปตามคุณค่านั้น เช่นคุณค่านักวิชาการให้หาความเก่งให้เจอ แล้วอาจไม่มีความจำเป็นในการเติมเต็มคุณค่าด้านอื่น ๆ

ตัวอย่าง เช่นถ้าเราเป็นตัว D แล้วจะบริหารตัว S ให้หาเพื่อนตัว C หรือตัว I ที่จะไปเป็นตัวเชื่อมกับตัว S จะเป็นวิธีในการบริหารเพื่อนให้อยู่ร่วมกับเราได้

เวลาการประชุมคนที่มีปัญหามากที่สุดคือคนตัว S เพราะคนตัว S จะดื้อเงียบ ไม่พูดในที่ประชุมแต่จะไปพูดประชุมที่หลัง ดังนั้น ถ้าจะ Lobby ต้อง Lobby คนตัว S ให้ได้คือ ต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจึง Lobby ได้

การพยายามเปลี่ยนคนให้ได้อย่างใจเป็นเรื่องที่ยากมาก แล้วจะยิ่งทำให้เกิดเหมือนโอเลี้ยงหรือ น้ำเน่า ทางที่ดีคือต้องให้เขาเป็นและสวยงามในสิ่งที่เขาเป็นจะดีกว่า คนที่เป็นหัวหน้าจะต้องลดอัตตาให้เหลือน้อยที่สุดและมีหน้าที่จัดวางให้เขาเหมาะสมกับบุคลิกภาพเขา เหมาะกับความพอใจเขา ให้เข้าใจว่าทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย เป็นเรื่องผลของกรรม จะช่วยทำให้ทุกคนมีชีวิตอย่างมีความสุขได้

กิจกรรม 5 : พิจารณาตัวเองว่ามีบุคลิกภาพผู้นำกี่ข้อ

ความชัดเจนในความคิด การประสานงานกายและใจ กิริยาอ่อนน้อม ความคิดเชิงบวก การตัดสินใจ สบายใจ มีสมาธิและการจดจ่อ มีวินัย มีความสุขกับชีวิต มีพลังชีวิต ความแข็งแกร่งของร่างกาย มีความสามารถสื่อสาร ความยืดหยุ่นทางใจ ประสิทธิภาพในการมีชีวิต เชื่อมั่นในตนเอง มุ่งมั่น สุขภาพแข็งแรง มีมนุษย์สัมพันธ์ดีเข้าใจผู้อื่น จิตใจมั่นคง มีกำลังใจ มีความกล้า มีเป้าหมายชัดเจน ขยัน หลับสนิท มีจินตนาการ ช่างเรียนรู้ เรียนรู้เร็ว มีสติไม่วิตก ละเอียด มีความอดทนทางกายและใจ มีความปรารถนาดีงาม ตื่นตัว เป็นผู้ให้ มีทักษะและความถนัด มีความจำดี ยอมรับในความแตกต่าง

สรุปถ้ามีเกิน 15 ข้อถือว่าเป็นคนที่มีบุคลิกภาพผู้นำดี

วิธีการสร้างบุคลิกภาพผู้นำ

เมื่อเรารู้ว่าเราเป็นคนกลุ่มไหน ต้องใช้สติในการฝึกตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

กิจกรรม 6 : การตัดสินใจ

วิธีการตัดสินใจที่ถูกต้อง

1. คนเองต้องรอด

2. คนอื่นต้องรอด

3. ถูกคุณธรรม

สมมุติว่าถ้าเรามีพ่อที่กำลังป่วยอยู่ต้องการใช้เงินด่วนแล้วเผอิญเก็บเงินได้ 50,000 บาท วิธีการที่ถูกต้องจะทำอย่างไร

ตอบ คือประกาศออกทีวีลูกกตัญญูเก็บเงินได้ ประกาศหาเจ้าของ และบอกว่าพ่อป่วยอยู่ สรุปคือทุกคนรอด

หลักการตัดสินใจแบบเศรษฐกิจพอเพียง

เรารู้หรือไม่ว่าตัวอนาคตเป็นตัวทำให้คอรัปชั่น เพราะกลัวอนาคต จึงต้องโกย ทั้ง ๆ ที่ เราไม่สามารถรู้ว่าอนาคตเป็นจริงหรือไม่ ไม่รู้ได้ อดีตจบไปแล้ว ดังนั้นจึงควรใช้ปัจจุบันอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีภูมิคุ้มกันและพอประมาณ

คำถามคือ การซื้อเสื้อผ้าเยอะ ๆ ตอบคุณค่าตัวเอง หรือตอบคุณค่าสังคม เช่นการซื้อเสื้อผ้าใหม่ ตอนไปงานแต่งงานเพื่อตอบคุณค่าทางสังคม หรือแต่งตัวไปงานเลี้ยงรุ่นก็จะเป็นวันที่เฉือดเฉือนเต็มที่ เพราะจะคิดว่าฉันสวยน้อยหรือแก่กว่าเพื่อนไม่ได้

สรุปหลักการตัดสินใจแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันคือเหตุและผล อดีตคือพอประมาณ อนาคตคือคุณธรรมจริยธรรม

การสร้างคุณค่าในทีม

มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า คุณค่าที่แท้จริงจะจบที่คุณธรรม จริยธรรม และเมื่อมีคุณค่าจะให้ฝึกมองแบบกลาง ๆ คือมีทั้งมุมบวกและลบ และให้หมุนมุมลบเป็นมุมบวก

เมื่อเราเห็นคุณค่าที่ชัดเจน เราต้องทำสิ่งที่เรารัก เช่นฉันทะ แต่ฉันทะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป

การทำในสิ่งที่รัก ต้องเลือกทีมเป็นคนที่รักด้วย แต่ถ้าทำสิ่งที่รัก มีคนที่ไม่รักอยู่ในทีมด้วย เรื่องที่สดใสจะทำให้หม่นหมองไปด้วย ดังนั้นการเลือกทีมคือให้ทำสิ่งที่รักกับคนที่เรารัก

เราต้องให้โอกาสคน ทุกคนต้องการพื้นที่ในการปรับตัว ให้ทำสิ่งที่ดีที่สุดร่วมกัน จะสามารถเปลี่ยนคนไม่ดีเป็นคนดีได้ ยิ่งเบียดคนไม่ดีให้ไม่มีที่ยืน คนไม่ดีจะยิ่งดิ้นรน แต่ถ้าสร้างให้เขาได้มีที่ยืน เขาจะปรับเป็นคนดีได้ เพราะพื้นฐานมนุษย์ทุกคนมีจิตประภัสสร

คำถามเรื่องเป้าหมาย ถามคนในห้องว่าในห้องนี้ใครรู้สึกว่างานยุ่ง งานเยอะให้ยกมือขึ้น ถ้ามีใครยกมือ แสดงว่าเป้าหมายที่ตัวเองมีเริ่มใหญ่เกินไปจึงรู้สึกเหนื่อย ดังนั้นจึงควรไปปรับเป้าหมาย เพราะ บางอย่างเราทำในสิ่งที่ไม่เก่ง จะเหนื่อยและเสร็จช้ามาก ให้ผลักไปให้คนที่ทำเก่งจะดีกว่าเพราะเขาจะทำได้เร็วกว่าและเป็นการสร้างคุณค่าคนอื่นด้วย การที่เราเป็นเป็ดจะเหนื่อย ให้หาคนที่เขามีความสามารถทำเขาจะมาช่วย และคนนั้นจะเติบโต ส่วนเราจะไปเติบโตในสิ่งที่เราเป็น ให้เราทำให้ดีในทุกวินาที เรื่องปัจจุบัน เป็นเรื่องกรรมอยู่อย่างเหตุและผล ถ้าทำดีผลจะต้องดี ถ้าถ้ามีกรรมเก่าอยู่เยอะ เราต้องทำกรรมใหม่เทสิ่งที่ดีไปในกรรมเก่าเพื่อให้น้ำใสขึ้นเรื่อย ๆ สรุปคือทำให้ดีที่สุด และทำให้ดีกว่า ดีกว่า ดีกว่า แล้วผลดีจะมาหา Innovation จะทำให้เราได้อะไรที่คนยังมาไม่ถึง เช่น ถ้ามีที่ว่าง เรายังสามารถได้จับจอง ถ้าเขามีแฟนแล้วเราจะได้เขาไหม ถ้าตำแหน่งงานไม่ว่างจะได้งานไหม ถ้าไม่มีที่ว่างขายของแล้วจะได้ที่ขายของไหม ประเด็นคือให้มองหาที่ว่างให้เจอ ความใหม่จะทำให้มีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่าง ถ้าบ้านเรารวยอยู่บ้านเดียว แล้วบ้านอื่นจนจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง คำตอบคือ โจรปล้นบ้าน ดังนั้นวิธีการคือเมื่อเรามีแล้วจึงควรแบ่งปันด้วย

มนุษย์อยู่ด้วยคุณค่า ความสมบูรณ์จะทำให้เห็นคุณค่านั้น ๆ

ดังนั้นถ้าทำผิดอะไรให้กลับมาที่ความจริง เพราะถ้าเราทำผิด แล้วเราจะสร้างสิ่งปกปิดไปเรื่อย ๆ เมื่อคนกล้าขอโทษ เราต้องพร้อมที่จะให้อภัย ทุกคนที่มีชีวิตอยู่ต้องการโอกาสในชีวิต แต่ต้องให้เขายอมรับความจริงก่อนถึงให้โอกาส เพราะถ้าให้โอกาสโดยไม่ยอมรับความจริงจะเป็นการสร้างนิสัยเสีย แต่วิธีการต้องดูว่าเขาเป็นคนบุคลิกภาพแบบไหนแล้วหาคนช่วยตล่อม

การให้ ให้อย่างถูกที่ ถูกเวลา ถูกคน

สมมุติ ถ้าเราเป็นหัวหน้า เป็นตัวใหญ่ทำตัว D จะทำให้ลูกน้องยิ่งทำตัวเล็ก และอาจหลุดวงโคจร ดังนั้นยิ่งเป็นหัวหน้าต้องทำให้ตัวเล็กลงเท่านั้น แล้วจะทำให้คนมีส่วนร่วมมากขึ้น ยิ่งทำใจกว้างมากเท่าไหร่ ตัวตนหายไปเท่าไหร่ ตัวกูหายไปเมื่อไหร่จะสร้างแนวร่วมมากขึ้น ให้ใช้การสื่อสารที่ไปกระแทกใจ

การมองภาพที่เห็นแตกต่างกันเพราะพื้นฐานแตกต่างกันจึงต้องสร้างความเข้าใจให้เหมือนกัน

ความสำเร็จของทีม

ต้องดูที่ประสิทธิผล ก่อนประสิทธิภาพ ให้หยิบเป้าที่ใช้มาเป็นตัวทำ อย่าไปยึดติดที่กระบวนการสังคม ให้สร้างสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เป้าหมายชัด มีการสื่อสารร่วมกัน

เป้าหมายใหญ่ ให้ซอยเป้าย่อยลง ทำให้สำเร็จเป็นรายเดือน และรายวัน ถ้ามีคนเก่งให้เขามาช่วยเรา เช่นการปลูกต้นไม้ฤดูฝน การรู้จักภูมิศาสตร์ ภูมิสังคมจะเป็นตัวช่วย รู้ฟ้า รู้ดิน รู้เขา รู้เรา


วันที่ 28 กรกฎาคม 2559

Managing Self - Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

การทำงานต้องเข้าถึงตนเองเป็นหลัก เพราะการทำงานตาม Passion ตนเองจะมีความสุขมาก การทำหลากหลายจะเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจคนใน Gen ต่าง ๆ ได้มากขึ้น ตัวอย่าง หนังสือเรื่อง 7 Habits การชนะใจตนเองได้จะชนะใจคนอื่นได้ การรู้จักมนุษย์ได้มากขึ้นต้องเป็นคนที่รู้จักเข้าใจตัวเองมากขึ้น

เด็กสมัยนี้มีข้อมูลความคิดเยอะมาก ดังนั้นการเข้าถึงในการศึกษากับคนที่สนใจพัฒนาจะช่วยได้เยอะมาก

Mentor จะมีความสำคัญมาก ๆ การเป็น Mentor ต้องมีประสบการณ์ และต้องไม่เอาความคิดเราไปใส่เขา แต่ต้องให้เขาตระหนักรู้ด้วยตนเอง จะเรียกว่า Life Coach

การตั้งคำถาม

การตั้งคำถามดี ๆ จะทำให้มีคำถามดี ๆ ในการตอบคำถามกับตัวเองได้ การสื่อสารกับตัวเองจะทำให้สื่อสารกับตัวเองได้อย่างดีและเข้าใจคนอื่นได้ง่ายมากขึ้น จะทำให้คนที่เปิดโลกทัศน์ สามารถไปช่วยให้คนอื่นได้เยอะมาก

เราสามารถ นำเรื่อง Being ปลูกเข้าไปในตัวตน และสร้างในคุณธรรมได้เลย ตัวอย่างเช่น การชมลูกน้อง ให้ชมไปที่คุณสมบัติของเขาว่าเป็นอย่างไร เช่น มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ และมีความคิดสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการบอกตัวตนที่แท้จริงว่าคุณคือใคร เราต้องเข้าใจว่าคนเป็นตัวผลักดันขององค์กร เข้าใจพฤติกรรมแบบไหนหรือคุณค่าแบบไหนที่เป็นค่านิยมที่องค์กรต้องการ เช่น Proactive เป็นคนที่คิดเชิงรุก ไม่ใช่คิดเชิงรับ อาจให้มีการนำนักศึกษามาคุย และให้ตั้งคำถามดี ๆ

Competency

Competency เป็นเรื่องของ Knowledge ขอให้เรียนเพราะอย่างไรคุณจะเป็นคนที่มีความรู้ อยากทำอะไรต้องมีความรู้ ต้องนำความรู้มาปฏิบัติให้ได้ เราต้องสังเกตว่าเขามีคุณลักษณะหรือ Attribute อย่างไร คนที่จะพัฒนาดี ๆ อยู่ที่คุณลักษณะที่บ่มเพาะหรือสังเกต เด็กรุ่นใหม่มีลักษณะกล้าแสดงออก ถ้ามีหัวหน้างานให้โอกาส ตัวอย่างเช่น เด็กชอบพูดว่าทำไม ? ทำไม? ดังนั้นวิธีการคือเราต้องถามตอบกลับว่าแล้วทำไม? แม้ว่าจะได้คำตอบแบบเด็ก ๆ คิดก็ไม่เป็นไร คำถามนั้น Powerfulมาก โดยเฉพาะการตั้งคำถามแบบปลายเปิดที่มีผลต่อการช่วยให้ค้นหาคุณลักษณะ

ดังนั้นเมื่อคนถูกถาม จะมี Self Concept แต่ถ้าเด็กถูกบล็อกจะไม่มี Self Concept ทุกอย่างจะเหมือนกันหมดเลย

ความตื้น-ลึกของ Competencies

การทำความเข้าใจระหว่างคน

ต้องสื่อสารให้เคลียร์ เพราะภาพของสองคนที่สื่อสารเข้าใจไม่ตรงกัน

โมเดลน้ำแข็งลอยน้ำ

1. คุณลักษณะที่มองเห็น (Visible)

ความรู้และทักษะ (Knowledge & Skills)

2. คุณลักษณะที่มองไม่เห็น (Hidden)

สิ่งที่อยู่ข้างในเป็นคุณลักษณะ

ความเข้าใจตนเอง ทัศนคติ ค่านิยม/คุณค่า การมองตนเอง บุคลิกภาพและแรงจูงใจ ความเชื่อ ความต้องการ

ตัวอย่าง 1 จะทำอย่างไรให้คนมุ่งมั่นในความสำเร็จ คำตอบคือ ให้ใส่ใจในรายละเอียด อาจยิงคำถามให้เขาเข้าใจ ให้ดูว่า Behavior อย่างไรที่ผู้บริหารต้องการ การมี Competencies จะช่วยสร้างสถานการณ์ได้

ตัวอย่าง 2 เพราะเหตุใดคนไม่ชอบสื่อสารในที่ประชุม แล้วไปพูดลับหลัง

โดยทั่วไปจะพูดว่า ปัญหาคือการสื่อสาร คนไม่ค่อยสื่อสารในที่ประชุมแต่ชอบไปสื่อสารลับหลังมันเป็นปัญหา Common เลย

แต่คนที่เป็นโค้ชจะถามว่า แล้วอยากให้มันเป็นอย่างไร ต้องไม่ Associate

การ Feedback

1. ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นให้ถามก่อนว่าเหตุการณ์คืออะไรให้ถามก่อน ให้ Acknowledge

ควรมีการพูดคุยอย่างเปิดเผย สร้างสรรค์ และให้โยนไอเดียได้

คนพูดปัญหาขึ้นมา อย่ามองว่าเขาคิดเรา เพียงแค่ให้ Acknowledge ว่าปัญหาเป็นอย่างนี้แล้วให้เติมว่าเป็นอย่างไร ทำอย่างไรที่จะพูดบนโต๊ะ แชร์อย่างสร้างสรรค์ ให้มีความปลอดภัยและได้ผลลัพธ์ ถ้ารู้ปัญหาแล้วต้องฟัง อย่าบอกว่าคิดลบ แล้วเขาจะไม่รับฟัง ประเด็นคือ ให้ Acknowledge ในสิ่งที่ลูกค้า Complain และรับฟัง แต่ไม่ใช่ยอมรับ

ในที่ประชุมถ้าถูก Attack ให้รับรู้ก่อน โดยการย้อนคำถามตอบไปว่าที่พูดมาหมายถึงอย่างนี้ใช่หรือไม่

คนจะแก้สถานการณ์ได้ต้องมีสูตร

2. E+R = O (เหตุการณ์ +ตอบสนอง = ผลลัพธ์)

ในโลกนี้ไม่มีคำว่าล้มเหลว เพียงแค่ยังไม่เจออะไรบางอย่างที่ยังไม่ทำ ชีวิตไม่มีคำว่าล้มเหลวเพียงแค่ยังไม่ได้ทำหรือทำยังไม่ดีพอ

คุณเลือกที่จะเป็นเหยื่อของสถานการณ์คนอื่นหรือเป็นความสำเร็จที่เลือกได้

Cause > Effect

เราสามารถสร้างให้เป็น Cause ของความสำเร็จได้ ต้องให้ Feedback ดี ๆ และถามลูกน้อง ต้อง Empowerment

3. การเข้าใจให้ชัดก่อนว่าทำไมคุณต้องอยู่ตรงนี้ ให้เข้าใจว่าคุณคือใคร และอะไรอยู่เบื้องหลังที่คุณทำ

ตัวอย่างวีดิโอการเผชิญกับความกลัว

แต่ก่อนเป็นคนที่อายและกลัวที่ต้องอยู่กับคนอื่น อายที่เป็นคนลาว คนอีสาน แต่ได้ค้นพบว่าความกลัวเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญ ดังนั้นสิ่งที่ทำคือต้องเผชิญกับความอาย และความกลัว วิธีการคือปรับตัวเองโดยลองใส่เสื้อผ้าเก่า ๆ เพื่อเผชิญกับการดูถูกเหยียดหยาม และคนไม่ค่อยไว้วางใจ สิ่งที่พบคือจะเห็นว่าคนอื่นก็กลัวเหมือนกัน เห็นว่าคนอื่นกลัวยิ่งกว่า คือคนทั่วไปจะกลัวคนที่ไม่มีอะไรเลย และเมื่อตนเองได้อยู่กับการดูถูกเหยียดหยามนาน ๆ เข้าจะเคย แล้วจะทำให้เขาสามารถอยู่กับตัวเองมากขึ้น ประเด็นคือฝึกที่จะฝืน ฝึกที่จะเผชิญกับความไม่ชอบ กับความเกลียด โดยให้ฝึกว่าสิ่งไหนที่ชอบจะไม่เอา สิ่งไหนที่เกลียดจะเผชิญ เมื่ออยู่ได้ จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาแล้วจะไม่รู้สึกอาย หรือรู้สึกเขิน สิ่งนี้เป็นเพียงการฝึกเพื่อหนี เพราะมนุษย์จะวิ่งตามอารมณ์แล้วอาจทำให้คนหลงทางในชีวิต วิธีการแก้คือเผชิญกับอารมณ์ความอาย จะเกิดความสว่างขึ้นมา แล้วเราจะรู้สึกว่าเราไม่ใช่คนที่ทำอะไรที่ต้องอาย เราไม่ได้ทำอะไรที่ไม่มีเหตุผล จึงกลายเป็นความสว่างที่ทำให้ตื่นเต้นในการเผชิญชีวิตต่อไป แล้วจะรู้สึกว่าตนเองไม่มีปัญหา ไม่กลัวคนอื่น ไม่กลัวการดูถูกเหมือนในช่วงแรก ทำให้เป็นคนมีความเชื่อมั่นตัวเองมากขึ้น เขาเชื่อว่าทุกคนมีเสรีภาพของตัวเอง ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือก

สรุปคือ Everybody has story ซึ่งเราจะไม่รู้ว่า Story ของเราสร้างแรงบันดาลใจอะไรได้บ้าง เราเป็นคนรับผิดชอบตัวเราเอง 100 %

ดังนั้นเวลาเราคุย ไม่ว่าหนังหรือเรื่องต่าง ๆ คือจะมี Dialogue

ใครเป็นคนที่ดำรงอยู่เพื่อคุณ และคนนี้จะเป็นคนที่ Associate แล้วลองนึกว่าคุณดำรงอยู่เพื่อใครหรือไม่ แล้วจะเกิด Feeling ส่วนคนที่เป็น โค้ชอย่าเข้าไป Associate แต่ให้ถามว่าดูแล้วจะกลับไปทำอะไรบ้าง

ทุกคนมี Defining Moment เพียงแต่ว่าจะเป็นในทางบวกหรือลบ แต่พวกที่เป็น Life Coach จะเป็นการดึง Defining ด้านบวกมา ต้องดูว่าอะไรเป็น Hitting Point

สรุปคือ การให้ Feed Back ให้ Feed Back one on one แต่การชมให้ชมเป็นหมู่คณะ ดังนั้นการใช้ภาษาหมาป่าไม่ใช่ดีเสมอไป

ในชีวิตมี 3 Verb คือ Be , Do , Have

อะไรเป็นตัวสำคัญที่จะพาองค์กรไปข้างหน้า องค์กรต้องมี Vision ต้องมี Alignment เราต้องปรับทั้งหมดโดยการ Share Vision แล้วให้ Align

สิ่งสำคัญที่สุดคือ Be คือ Value สิ่งที่ใหญ่มากคือ Being เช่นเรื่องการข้ามภพข้ามชาติ อาจมีอะไรที่เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เรื่อง Being เป็นเรื่องที่มีมากกว่า เช่นทางพุทธ ถือเรื่องปรัชญา บุญบารมีที่ติดมา

สิ่งที่ถามคือเราทุกคนนั้นอยู่ใน Being ของเราหรือไม่

Being เป็นของดี

คือเป็น ธาตุแท้ เป็นคุณสมบัติที่ไม่เจอปน

กิจกรรม : Bug Youแบ่งเป็น 4 ช่อง

ช่องที่ 1 เหตุผลของคนที่เราไม่ชอบคิด

ช่องที่ 2 คนประเภทไหนที่ไม่ชอบ

ช่องที่ 3 คนแบบไหนที่เราชอบ (ตรงข้ามกับช่อง 2)

ช่องที่ 4 เหตุผลของคนที่เราไม่ชอบในช่องที่ 2 มองในสิ่งที่เราชอบในช่องที่ 3

สรุป การไม่ชอบคน

บางครั้งอาจเนื่องจากมีอะไรบางอย่างที่ Associate กับตนเอง

เราไม่ได้บอกว่าเราไม่ชอบคน แต่เรามีเหตุผล เราใช้เกินสัดส่วน หรือด้อยกว่าสัดส่วน เราจะสามารถฟังในสิ่งที่เขาไม่ได้พูดแต่เป็นสิ่งที่เราได้ยิน

Positive Psychology คือการ Find a problem เด็กที่ให้ชื่อได้จะค้นหาพฤติกรรมได้

การหยุดความกลัว ต้องหยุดความคิดก่อน ความรู้สึกจะมาหลังความคิด เมื่อกลัวให้หยุดความคิดก่อน

ตัวอย่างสิ่งที่ผลักดันพฤติกรรมมนุษย์

1. กลัวไม่ดีพอ

ด้านดีคือการพัฒนาตนเอง

ด้านไม่ดีคือการเลื่อนขาเก้าอี้

2. กลัวคนไม่รัก

ด้านดีคือ รู้วิธีการทำให้คนรัก

ด้านร้ายคือการทำตัวเป็นจิ้งจก

3. กลัวไม่ได้รับเข้าพวก

ด้านดีคือ ปรับตัว

ด้านไม่ดีคือ เสแสร้ง

6 Core Needs

Personality Needs

1. ความแน่นอน (Certainty) /ความมั่นคงปลอดภัย (Security) /ความสะดวกสบาย (Comfort)

2. ความไม่แน่นอน (Uncertainty)/ความหลากหลาย (Variety) /ความสมบุกสมบัน (Adventure)

3. ความเชื่อมโยงและความรัก (Love and Connection)

4. ความเป็นคนสำคัญ /ได้ความสำคัญ (Significant)

Spirit Needs

1. การเจริญเติบโต (Growth)

2. การช่วยเหลือแบ่งปัน (Contribution)

วิธีการลองไล่คำถามเพื่อหาตัวที่เป็นสิ่งผลักดัน (Driver) ของชีวิต 2 สิ่ง เริ่มจากเลือกข้อ 1 มา 1 อัน เลือกข้อ 2 มา 1 อัน แล้วมาดูข้อ 1 กับ ข้อ 2 ที่เลือกจะเลือกอะไร แล้วไปเลือกกับ 3 และ 4 เพื่อหาสิ่งที่เป็นตัวผลักดันอันดับแรก 2 ตัว

การบริหารเข็มทิศและนาฬิกาชีวิต

  • อะไรสำคัญกับฉันมากที่สุด (Effectiveness)
  • ฉันใช้เวลาของฉันอย่างไร (Efficiency)

สรุปคือ คนที่จะทำงานอาชีพที่หลากหลายจริง ๆ ต้องเลี้ยงตัวได้ โลกต้องการอะไร ต้องการความช่วยเหลือ ต้องการความสามารถ ความมีจิตเมตตา คนที่มี Creativity จะคิดอะไรใหม่ ๆ ต้องมี Service mind ถ้าเลือกได้ว่าอะไรเป็นตัวผลักดันจะมีประโยชน์ การมีเป้าหมายของชีวิตจะกำหนดเป้าหมายของงาน


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และ

เศรษฐกิจไทย...ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของ ม.อ.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

เกริ่นนำ

ถามคำถามว่า ดร.สมชายจะบรรยาย แบบไหน บรรยายอดีต บรรยายอดีต ปัจจุบัน บรรยายอดีต ปัจจุบัน อนาคต

คำตอบ คือ บรรยายต่อเนื่อง เรื่องหนึ่งจะบรรยายอดีต ปัจจุบันและอนาคต เป็นลักษณะ Present Perfect Continuous tense

สิ่งที่ยังไม่เกิดเป็นเรื่องอนาคตทั้งนั้น การอ่านหนังสือบางคนอ่าน 100 เล่มไม่เท่าคนอ่านเล่มเดียวเพราะอะไร

รูปแบบการบรรยาย

1. เป็นอนาคตที่เกิดจากปัจจุบัน เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลง

2. เป็นอนาคตที่ไม่เคยเกิดในอดีตเลย เช่น การเกิดเหตุ 11 ก.ย.

การบรรยายมาจากวิธีคิดของ Game Theory มาจากการปรับของ Decision

ทางเลือก 1 ทางเลือก 2 ทางเลือก 3 ทางเลือก 4 จะใช้ทางเลือกไหน

คนที่ 1 หล่อ

คนที่ 2 รวย

คนที่ 3 ดี

คนที่ 4 หล่อ รวย ดี

การตัดสินใจ

1. Mechanic Three เป็นลักษณะ Reactive Thinking จะเลือกแบบที่ 4 คือ หล่อ รวย ดี

- หล่อในวันนี้อนาคตอาจไม่หล่อได้

- รวยในวันนี้อนาคตอาจไม่รวยได้

- ดีในวันนี้อนาคตอาจไม่ดีได้

คนดีจริง ๆ คือคนที่มีโอกาสโกงแต่ไม่โกง

ตัวอย่าง : มีคน 3 คนที่มาเป็นนักการเมือง

จากการวิเคราะห์ในอดีต พบว่า คนเป็นตำรวจที่เข้ามาเป็นนักการเมืองจะเป็นอย่างไร ที่พบส่วนใหญ่จะเห็นแก่ผลประโยชน์ ใช้อำนาจ ใช้ทั้งสว่างและมืด

สิ่งที่น่าสนใจคือ จะเกิดอะไรขึ้น เนื่องจากการปลูกฝังจากประสบการณ์ในอดีต

สิ่งที่พูดถึงในวันนี้คือถ้าเรารู้เมล็ดพันธุ์จะสามารถทายอนาคต ลำต้น และกิ่งได้

เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านของรูปแบบของดุลยอำนาจทางเศรษฐกิจโลก

ใครเห็นด้วยว่าในประเทศไทยอยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงหลายมิติ ?

- สมัยก่อนคนไทย กินอาหารไทย แต่ปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกินอาหารมากขึ้น

- สิ่งเหล่านี้มาจากเมล็ดพันธุ์ (Seed of Change)

เมล็ดพันธุ์ของมนุษย์เกิดเมื่อ 10,000 ปี มี 3 ตัว

1. เมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว เรียกว่า สังคมเกษตร

มนุษย์เริ่มปลูกผัก มนุษย์ค้นพบเครื่องมือทางเกษตร

มนุษย์มีความเป็นสัตว์อยู่ในตัวเรียกว่าสัตว์ประเสริฐ มี DNA ชนกับลิงชิมแปนซี 98%

- มนุษย์มีความเป็นสัตว์มากกว่าเนื่องจากสัตว์เป็นคำนาม ประเสริฐเป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนาม

- มนุษย์พัฒนามาจากลิง แต่เป็นลิงที่เปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาคือโลกร้อนขึ้น และเนื่องด้วยมนุษย์ยังมีความเป็นสัตว์ที่มากอยู่

ยุคเกษตร ด้วยความปัจจัยในการแข่งขัน เรื่องการเป็นเจ้าของที่ดิน ต้องการที่ดินเยอะ ๆ ในสมัยก่อนใช้วิธีการจับจอง เกิดการขยายตัวของจักรวรรดิโรมัน เอเธนส์ เจงกีสข่าน ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลง ทุกอย่างอธิบายด้วยระบบทาส เอาทาสมาทำเกษตร เอาทาสมาเล่นกีฬา

2. เกิดเมื่อ 200 ปีที่ที่ผ่านมา เรียกว่า สังคมอุตสาหกรรม

จากยุคศักดินา เมื่อมีการจับจองที่ดินมาก ๆ เกิดเป็นระบบกษัตริย์ ในยุคเรเนสซอง คนกลุ่มนี้สามารถอธิบายโลกภายนอก ได้แรงบันดาลใจ มนุษย์มีความฉลาดมากขึ้น คิดอะไรโดนประหารชีวิต โป๊ปโกรธ มนุษย์มีเสรีภาพในการคบพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านโป๊ป เกิดมีการแยกศาสนาเป็นคริสเตียน และคริสตัง คนกลุ่มนี้เน้นเสรีภาพในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และการทำกิจกรรมต่าง ๆ เจ้าของแนวคิดคืออดัม สมิทธิ์ เป็นต้นกำเนิดเศรษฐศาสตร์ และต่อมาเป็น AEC

เป็นเทคโนโลยีทุนนิยม เมื่อมนุษย์ฉลาดมากขึ้น ได้นำไปสู่การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นอันจบด้านเกษตร คนกลุ่มนี้จึงได้สร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ คือ การปฏิวัติ เมื่อมนุษย์ค้นพบเครื่องจักร มนุษย์ค้นพบ Engine และ Electricity เมื่อ 2 ตัวนี้รวมกัน นำไปสู่การล่าอาณานิคม เกิดรถไฟ เรือ คนฉลาดครอบงำทั่วโลกเกิดการล่าอาณานิคม ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ

Zeed ของคนเป็นเมล็ดพันธุ์น่ากลัวมาก ๆ

3. เกิดเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา เรียกว่า Information Technology

เป็นต้นกำเนิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด คอมพิวเตอร์ + เทเลคอม เป็นต้นกำเนิด 3.5

คนที่รวยที่สุดในวันนี้ต้องเป็น Knowledge Management ได้แก่ Bill Gate, Mark Zuckerberg คนที่ฉลาดจะบริหารความจุ Economy of Scope และมีผลกระทบต่อธุรกิจร้านหนังสือ

การเปลี่ยนแปลงเกิดจากความเร็ว สิ่งสำคัญต้องรู้ภาษาต่างประเทศด้วย เพราะโลกเข้าสู่โลกาภิวัตน์ AEC มหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัวให้ได้

ความเร็วไม่ใช่แค่ภาษา แต่เป็นสิ่งต่าง ๆ ทั่วโลก

Multimedia สามารถเห็นภาพได้

เทเลคอมสร้างมิติความกว้างแบบ Extranet Intranet สามารถดูแลสินค้าคงคลังในร้าน ตัวสำคัญที่สุดคือ Internet มีการให้ Empowerment การแข่งขันต้องเอาใจลูกค้าสุด ๆ นำไปสู่โลกาภิวัตน์ ธุรกิจของโลก ตัวอย่าง ดร.สมชาย มี 2 มิติคือ เป็นลูกค้า และเป็น Citizen โลกเปลี่ยน Social Media สามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมากด้วย

แต่สิ่งที่จะอันตรายกว่า 3.5 คือกำลังไป 4

4. 4 คือการที่ IT รวมกับ Nano + Biotech เกิดการบริหารแบบแนวตั้ง เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบ Digital Banking มีโปรแกรมมาทดแทนที่ปรึกษาทางการเงิน เกิดมนุษย์พันธุ์ใหม่ Mindset ต้องเปลี่ยน คนที่อยู่ได้ต้องเป็นลักษณะ

1. IT Literacy

2. Global Mindset ต้องรู้เกี่ยวกับทั่วโลก

3. คนต้องการนวัตกรรม ตัวอย่างพลังงานไฟฟ้าในอนาคตอาจเปลี่ยนเป็นพลังแสงแดด อีกไม่นานปั๊มจะใช้ไฟฟ้า กลุ่มประเทศตะวันออกกลางจะเสียหายมาก ซาอุดิอาระเบีย คูเวต การ์ตา อาจเกิดปัญหาทางการเมืองตามมา เกิด Robot เช่นใช้ Uber หมอแทนที่จะรักษาโรค เปลี่ยนเป็นป้องกันโรค

ผลกระทบกับมหาวิทยาลัย

1. คณะเกิดการปรับตัว ทุกคณะต้องมี IT ด้วย

2. ช่องว่างระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติน้อยลง รูปแบบการเรียนการเงินจะเปลี่ยนไป

รูปแบบ 3.5 และ 4

1. โลกาภิวัตน์มาจาก IT ด้านข้อมูล ข้อมูลชัด มีการเปรียบเทียบง่าย

2. คอมมิวนิสต์ล่มสลาย ผลของโลกาภิวัตน์เป็นผลจากคอมมิวนิสต์ คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักคอมมิวนิสต์แล้ว เปลี่ยนเป็นระบบทุนนิยม (แต่มีเหตุการณ์ของไทยที่เลือกเผด็จการทหาร แทนเผด็จการการเมือง) เกิดประเทศเกิดใหม่จำนวนมาก นับเป็น 10 กว่าแห่ง ประเทศไทยยังผลิตสินค้าเหมือนประเทศเปิดใหม่ ไทยไม่มองข้างหน้าจึงอาจปรับตัวไม่ทัน เศรษฐกิจปรับตัวไม่ทัน ในช่วงนั้น ประเทศไทย มี 1929 ทำให้เราเกิดการเปลี่ยนแปลง

3. โลกาภิวัตน์ที่เกิดมี โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

- โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ เช่น มีคนลงทุนต่างประเทศมากขึ้น มีคนรวยรุ่นใหม่เยอะมาก เช่น ศุภาลัย แลนด์แอนด์เฮ้าส์ มีอาหารนานาชาติมากขึ้น มีร้าน Greyhound Coffee Bean After You เป็นต้น ในการปรับตัวของ ม.อ.อาจมีคณะใหม่ ๆ และเน้นอาหารสุขภาพด้วย

- โลกาภิวัตน์ทางการเมือง เช่น แผ่ค่านิยมและอำนาจ มีการตั้งศูนย์สันติภาพและศูนย์สิทธิมนุษย์ชน

มีโลกาภิวัตน์ ตามมาด้วยการเปิดเสรี

1. เปิดเสรีของสินค้า

2. เงินทุน

3. บริการ

3. แรงงาน

การเปิดเสรีทางการค้าหมายถึงการลดอุปสรรค สินค้าจากต่างประเทศเข้าในประเทศขายไม่ออก เรื่องโครงสร้าง มาตรฐานสินค้า มาตรฐานสุขอนามัย ขยายโควต้า และเมื่อไหร่ที่การเปิดเสรีลดกำแพงภาษีเท่ากับ 0 จะเรียกว่า FTA

เปิดเสรี เงินทุน บริการ และแรงงานหมายถึงแก้ไขกฎระเบียบให้ต่างชาติมาลงทุนได้มากขึ้น

ขั้นตอนที่ 1 เปิดเสรีทางการค้า

ขั้นตอนที่ 2 เปิดเสรีดุลบัญชีเดินสะพัด เช่น ไปเล่นหุ้น ไปเดินทางต่างประเทศได้

ขั้นตอนที่ 3 เปิดเสรีทางการเงิน

ขั้นตอนที่ 4 เปิดเสรีทางบริการ

ขั้นตอนที่ 5 เปิดเสรีแรงงาน

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ มีการเปิดเสรีทางบริการ ดูกิจการเปิดเสรีมากกว่าเดิม ใช้วิธี Win-Win อนุญาตให้เปิดเสรีทางเกษตรแลกกับเปิดเสรีบริการและการเงิน ในปี 1993

การทำนายอนาคต

1. สอนวิธีคิด เป็นคนดูลึก ดูล่วงหน้าทั้งหมด ดู Logic เช่น เปิดเสรี Banking Finance สุขภาพ ท่องเที่ยว IT

2. โลกกำลังได้รับการครอบงำใหม่ มีการแข่งขันทางการค้า

3. การรวมกลุ่มต่าง ๆ อาทิ EU APEC ASEAN+6 TPP NAFTA RCEP EEA BRICS SCO G20 CSTO

การรวมกลุ่ม

การรวมกลุ่มในภูมิภาค อนุภูมิภาค ก็สามารถกระทบไทยเยอะมาก

อนุภูมิภาค ITPP เช่น 4เหลี่ยมเศรษฐกิจ (อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง)

- AEC 2015 วิธีคิดคือ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่มาจากยุโรป ดังนั้นเวลารอดจะเป็นอย่างไร AFTA เป็นจุดเริ่มต้นของ AEC หมายถึงจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มทางสินค้า เงินทุน บริการ และแรงงาน

- หน่วยงานยุทธศาสตร์มีการจัด Learning ใหม่ พบว่าหลังเปิดตัว AFTA ประเทศไทยแย่ที่สุดใน ASEAN

- AEC ยังไม่จบเพราะเป็นการเปิดสินค้ายังไม่ทั้งหมด

- ทุกแห่งที่มีการเปิดการค้าเสรีทำลายได้ด้วยตัว Logics

- การเชื่อมโยงเส้นทางช่วยลดต้นทุนทาง Logistics ประเทศไทยสามารถเป็นรอยต่อ ASEAN+3 ASEAN+6

Global Paradox (ปรากฏการณ์ต่อต้านโลกาภิวัตน์)

1. การต่อต้านโลกาภิวัตน์นำไปสู่การก่อการร้าย

2. โลกาภิวัตน์นำมาสู่การแผ่ค่านิยมประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ สังคมสันติสุข สังคมมุสลิม

- สังคมมุสลิมเป็นสังคมที่เข้มแข็ง

- พุทธอ่อนแอที่สุดเพราะเป็นแค่ปรัชญา

- คนเข้าคริสต์น้อยลง เพราะเข้าโบสถ์น้อยลง แต่คนนับถืออิสลามเพิ่มขึ้นเนื่องจากอยู่ในวัฒนธรรมที่เคร่ง

- 11 ก.ย. เป็นจุดเริ่มต้นสายพันธุ์ใหม่

- การก่อตั้ง ไอซิส

- การเกิดสงคราม การทำลายค่านิยมประชาธิปไตย

3. การต่อต้านโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดการขยายตัวทางสังคม เกิดปรากฎการณ์โลกาภิวัตน์ในแง่ทุนนิยมสามาลย์ หากำไร กดขี่ข่มเหงผู้หญิง มีองค์การสิทธิมนุษย์ชน สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม เกิดการต่อต้านและกีดกันทางการค้า สังคมเปลี่ยนทำให้คนเปลี่ยน

4. การต่อต้านโลกาภิวัตน์ ที่นำมาสู่การหาเงินด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วยการโกง ไม่โปร่งใส เรียกร้องให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาล เกิดการต่อต้านคอรัปชั่น

จริยธรรม กับความดีกำหนดได้อย่างไร

- ความดีหรือธรรมาภิบาลหมายถึงทำกับคนอื่นเหมือนกับที่อยากให้คนอื่นทำกับเรา

- สังคมยิ่งขยายใหญ่ จริยธรรมต้องสูงมาก

- ประเด็นอยู่ที่ให้นึกถึงคนอื่นด้วย

- จริยธรรมไม่ใช่ทำตามที่คนอื่นบอกหรือกำหนดหรือตามกฎหมาย แต่อยู่ที่จิตใจ

5. โลกาภิวัตน์นำมาด้วยความทันสมัย แต่ในอีกมุมหนึ่งจะเกิดกระแสต่อต้านจากคนโบราณมากขึ้น

6. เกิดการขยายตัวของชาตินิยม เกิดการผสมทางด้านวัฒนธรรมระหว่างชาติ เช่น อาหารนานาชาติ หนังที่แสดงวัฒนธรรมระหว่างประเทศ

7. การต่อต้านเพื่อสิทธิมนุษยชน

8. การนำมาสู่ Climate Change นับวันโลกยิ่งร้อนขึ้นเรื่อย ๆ คาร์บอนไดออกไซด์ และ Greenhouse เกิด จึงมีการจัดการประชุมร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน

9. เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน Geo Politic คนรวยอยู่ข้างบน คนจนอยู่ข้างล่าง จะเกิดปัญหาตามมาหลายด้านเช่นปัญหาชีอะห์

- ประชาธิปไตยไม่ได้ใช้ความชอบธรรมเป็นจุดเริ่มต้น

- ประเทศที่เจริญผู้นำทางการเมืองจะสร้าง Inclusive แต่ประเทศที่ไม่เจริญผู้นำทางการเมืองจะสร้าง Attractive

Workshop

ม.อ. จะปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

1. ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา

2. หลักสูตร

3. วิธีการ /กระบวนการการเรียนการสอน

4. การวิจัย

5. การบริหารทางวิชาการ / รับใช้สังคม

กลุ่มที่ 3

ก่อนอื่นต้องดูว่ามหาวิทยาลัยที่ใช้พร้อมที่จะรับนักศึกษาหรือไม่

เรื่องหลักสูตร แบ่งเป็น 3 กลุ่มและอาจนำมารวมกัน นักศึกษาที่รับเข้ามาจะมีการคุยเรื่อง Passion ของนักศึกษาเป็นหลัก มีการแบ่งสัดส่วน และให้มี Advisor ช่วยแนะนำ

ใน 3 หมวดวิชา ไม่ใช่เฉพาะของมหาวิทยาลัยไทย ทั่วโลกก็มี ให้นักศึกษาจะเรียนรู้ได้อย่างไร ให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนที่เรา และเรียนที่อื่นก็ได้ด้วย

ให้นักศึกษาสามารถเลือก Shop ได้

ส่วนเรื่อง Campus ก็อยากให้มีความชัดเจนมากกว่านี้

การเรียนการสอน อยากให้มีการส่งเสริมภาษาอังกฤษ และภาษาที่ 3,4,5 ได้แล้ว

ต้องทำสิ่งที่มากกว่ามหาวิทยาลัย เช่นทำห้าง หรือเช่า แล้วให้ทำในลักษณะเชื่อมโยงกับงานวิจัย

ส่งเสริมให้มี Cross function ,เปลี่ยน Mindset แล้วใช้ External Staff

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่อยากเห็นคือเรื่องนักศึกษา ได้สนใจที่ไปพบนักศึกษาของเรา อย่างที่คณะแพทยศาสตร์ได้เคยไปพูดกับนักศึกษาของเรา นักศึกษาไม่รู้เป้าหมายของตัวเอง Trend ของ Student ใช้คำว่า 1. Student Journey 2. Student Entrepreneurship ทำตัวให้มีจิตวิญญาณ มี Networking มี Start up ขึ้นมา

เราต้องไปหานักเรียนเก่ง ๆ เด็กต้องเล่นกีฬา เราต้อง Balance เรื่อง Health กีฬา และรายได้ให้มากขึ้น ต้องทำให้ Student มี Long term growth , Long term planning

กลุ่มที่ 1

หลักสูตร เน้นสร้างหลักสูตรที่ให้บัณฑิตมีคุณภาพ มีการบูรณาการ ส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการ เรียนรู้การศึกษาจริง มีเรื่อง Life long learning มีการเสริมสร้างความแข็งแรงทางด้านภาษา ในอาเซียนคิดว่าภาษาบาฮาซาน่าจะมีส่วนสำคัญ ควรมีการตอบสนองต่อสังคม ต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไป มีการลดความซ้ำซ้อนระหว่างคณะและวิชา ไม่ใช่ซ้ำซ้อนของรายวิชาที่เปิดซ้ำกัน ให้นักศึกษาเลือกเรียนได้มากขึ้น มีความเชื่อมโยงกับท้องถิ่น จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น เปิดโอกาสเข้าถึงได้ง่าย มีการใช้เทคโนโลยี และส่งเสริมให้เกิดจากสถานที่จริง มีการวิจัยด้าน Demand side research เพื่อตอบโจทย์ มีการทำงานนวัตกรรม เพื่อสร้างงาน Trading สร้างระบบรองรับต่าง ๆ เช่น Aging , Climate Change, etc. มีการสร้างงานวิจัยที่ตอบสนองโลก

ม.อ.ควรมีการบริการทางวิชาการที่ตอบโจทย์สังคม และให้มีการจัด one stop service มีการให้รับฟังชุมชนมากขึ้น ควรมีการ Recruit ระบบบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ในส่วนนักศึกษาควรมีการ Recruit นักศึกษาที่มีความสามารถในมหาวิทยาลัย นอกจากมีระบบรับนักศึกษาควรมีระบบในการรักษานักศึกษามีกระบวนการ Reward ต่าง ๆ สร้างนักศึกษาให้เป็นบุคลากรทำงานกับเรา สร้างอัตลักษณ์ให้คณะและบุคลากรเพื่อทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยได้

กลุ่มที่ 2

หลักสูตรควรออกแบบให้สั้น กระชับทันสมัยและตอบสนองต่อคนที่มาเรียน ในเรื่อง Adult Education ควรมีความสนใจมากขึ้น และพบว่าผู้ใหญ่ก็อยากมาเรียนมากขึ้น ให้คิดหลักสูตรที่ลงทุนไม่นานและได้ผลกลับมาเร็ว

คิดเรื่องการเรียนการสอนให้น้อยลง แต่ได้ผลมากขึ้น ในเรื่องการสอนข้ามศาสตร์ถ้าไม่รู้จริงให้เชิญคณะอื่นมาช่วยเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ควรมีการสอนเรื่องการใช้ชีวิต Soft skill และเรื่องการใช้ IT การสื่อสารจาก Ipad ต่าง ๆ มีเรื่องอากาศ Climate Change ให้รู้ว่ามือถือ Ipad ไม่ใช่ของที่เอาไว้ Shat เราต้องมี Source ที่ดี ใช้มือถือให้มากขึ้น มีการ Check คนที่มาเรียนจริง ๆ ให้เหมาะสม มีการ Integrate ในการเรียนการสอน และสอนให้ปฏิบัติจริง

ด้านงานวิจัย และการบริการทางวิชาการ ควรรับใช้สังคม และควรมองงานวิจัยเป็นแบบ Inter discipline อาจรวมกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศให้มากขึ้น มีการข้ามไลน์สาย ม.อ.

บุคลากรควรมีการพัฒนาเรื่องภาษา การใช้เทคโนโลยี และการทำให้สอดคล้องกับยุคสมัย ต้องให้ Empowerment ให้อำนาจและกระจายงานไป ให้ดูวิธีการบริหาร

กลุ่มที่ 4

เรื่องหลักสูตรอยากปรับให้หลักสูตรเป็น Internalism และสร้างวิธีคิดให้กับเด็ก และเด็กไม่ควรมองแบบแยกส่วนแล้ว สร้างให้ตัวเขามีความลุ่มลึก และมองเห็นความกว้าง ให้หลักสูตรสอนกับเด็กให้วิชา มีการแยกส่วนกับทฤษฎีไปใช้ โดยเฉพาะเรื่องการประเมินนักศึกษา อาจไม่ได้นำไปใช้ในชีวิตจริง จึงอาจให้ปรับเนื้อหาในหลักสูตร

เนื้อหา ใช้วิธีเดียวกัน การเรียนการสอนนำสู่การปฏิบัติ อาจารย์ผู้บริหาร หรือฝ่ายสนับสนุนต้องสนับสนุนแนวคิดและสร้าง Teamwork ดูว่าเด็กจะทำอย่างไรที่จะนำไปใช้ในชีวิตจริง

การสร้างให้คนมีอำนาจในการตัดสินใจในการบริหารชีวิตและบริหารตนเองให้ได้ด้วย ต้องมีเด็กบางกลุ่มเข้าไม่ถึง ต้องพัฒนาให้เด็กเข้าถึงทัน และพร้อมก้าวเดินไปพร้อมคนอื่นให้ได้

งานวิจัย ม.อ.ต้องวิจัยในเรื่องนำไปสู่นวัตกรรม ต้องเข้มแข็งในเชิงบูรณาการ ต้องมีองค์กรหรือผู้ที่มีหน้าที่นำนวัตกรรมไปทำธุรกิจ คืออาจารย์ควรคิดนวัตกรรม แล้วส่งผ่านไปด้านนอก

การบริการวิชาการต้องสร้างชุมชนหรือกลุ่มเป้าหมาย อาจเจอชุมชนหรือพื้นที่เข้มแข็ง ให้ชุมชนยั่งยืนให้ตัวเขาเอง แต่เราคอยเป็นพี่เลี้ยง หลายสิ่งด้านงานบริการวิชาการส่วนใหญ่จะมาจากชุมชน การลงกลุ่มใดให้ลงทุกมิติ

งานวิจัยและบริการวิชาการ ต้องทำให้เขานึกถึงว่าถ้าเกิดปัญหานี้ต้องนึกถึงม.อ. ถ้าจะใช้บริการด้านนี้ให้นึกถึง ม.อ.

กลุ่มที่ 5

หลักสูตร ถ้าเป็นหลักสูตรในปัจจุบันต้องเป็นกระบวนการที่เรียกว่าเป็น Inter Discipline สามารถทำให้ลักษณะ Inter นำความรู้ไปสู่ DNA และกลับมาให้ความรู้ใหม่ ความต้องการตลาดเป็นเรื่องอนาคต เราจะเข้ากับอนาคตได้หรือไม่ สร้างผู้ประสานงาน มีหลายสาขา หลายขั้นตอนที่ทำ มีการนำสาขาวิชามารวมกันและให้ 2 ปริญญา เช่น เภสัชศาสตร์ กับเศรษฐศาสตร์ และถ้าต้องการหลายวิชาจริง ๆ ให้มี Inspector หรืออาจมีการเปิดหลักสูตรเป็น Cause Online หรือไม่

กระบวนการเรียนการสอน จะเรียนเท่าไหร่ก็ได้ และเมื่อครบ Module จะจบไป สิ่งนี้เชื่อมโยงกับ Active learning ให้กระบวนการมีสีสันร่วมกัน สร้างให้นักศึกษามีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการให้มีคุณธรรม มีวินัย และสามารถปรับตัวได้ในอนาคต

การเชื่อมโยงด้านงานวิจัย เรื่องนวัตกรรมเห็นด้วย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ อาจมีการวิจัยที่สามารถรับใช้สังคม และดึงนักศึกษาเข้ามาอีกที

ด้านบุคลากรควรมีการปรับ Mindset และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ควรมีทางออกเพื่อสนับสนุนการพัฒนา

เรื่องนักศึกษา มีเรื่องกระบวนการพัฒนาทางปัญญา ในกรณีนี้สามารถทำให้เป็นไปได้หรือไม่ การฝึกความคิด Mindset และเรื่องการตัดสินใจ ให้มีการพัฒนาทางปัญญาตามนายแพทย์จรัส สรุปไว้ แล้วสู่การนำไปปฏิบัติเพื่อทดสอบตามจริงได้หรือไม่ อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา เน้นการส่งเสริมและกระตุ้นแบบ Active Learning

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

คำถามคือ เริ่มต้นจากระบบคิด ใน 5 ข้อนี้ ส่วนไหนคือเมล็ดพันธุ์

คำตอบคือ คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียน คนที่เราไปช่วยพัฒนา และเรา

ความเก่ง เก่งแบบไหน 1. มองอนาคตให้เป็น

วิชา Core ต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกี่ยวข้องกับพัฒนาการให้ได้ ไม่มีมนุษย์คนไหนเก่งทุกเรื่อง ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนเก่งทุกเรื่อง สิ่งที่ทำคือเอาอนาคตมา โลกเกิดนาโน และไอทีมากขึ้น การแข่งขันไม่มีพรมแดน ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องพัฒนาคือ Mindset ของคนต้องเป็นลักษณะเป็น Rational Global มี Proactive forward Thinking มีกระบวนการที่รู้จริง เราต้องมีการ Benchmark

Knowledge Creation

1. รู้

2. Sharing

3. ตระหนัก

4. ซึมซับ (Perceptive)

5. นำมาใช้กับทุกเรื่องได้

สรุปคือการเรียนการสอนเป็นเรื่อง ตรรกะ และระบบคิด เด็กที่เข้ามาต้องให้โลกเปลี่ยนแปลง เช่น ดร.จีระ มองเรื่อง HR ดร.สมชายมองเรื่อง Global เป็นต้น และนักเรียนจะต้องฉลาดกว่าครูเพราะความรู้จะพุ่งมาตลอด ให้นักเรียนตระหนักในตัวเองตลอดเพื่อให้เรียนรู้ตลอดชีวิต สิ่งนี้สำคัญมากในการสร้างให้เป็นรูปธรรม

การเรียนการสอนเราต้องเป็นหนึ่ง แล้วเราต้องเชื่อมในส่วนที่เราเกี่ยวข้องในโลก ที่สำคัญเรายังไม่ได้สร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเลย เราต้องปรับที่ตัวเองก่อนนักเรียนให้ตั้งไปเลยว่าเราจะเก่งอะไรและเพราะอะไร และให้เราปรับสิ่งนี้ขึ้นมาได้ สิ่งที่ตามมาคืองานวิจัย อย่างเรื่องท่องเที่ยวก็สามารถทำให้เป็น World Class ให้ผสมผสานกับเรื่องสุขภาพก็จะได้ด้วย

งานวิจัยเราต้องดูว่า Subject จะไปทางไหน เราเชี่ยวชาญด้านไหน อาจารย์ค่อยร่วมวางแผนกับเราจะทำให้เกิดความลุ่มลึก และมี Passion มากขึ้น

การเรียนในอนาคต แต่ละคนจะจบออกมาไม่เหมือนกัน แต่ละคนที่เข้ามาต้องมี Roadmap ว่าจากนี้จะไปไหน

ข้อแรกคือจับให้แม่นว่าเราเชี่ยวชาญด้านไหน อย่างที่สองหลักสูตร Discipline กับสิ่งที่เราเรียน อย่างที่สามเน้นการเชื่อมโยง และมุ่งสู่ world class ดังนั้นการเชื่อมโยงต้องทำเป็น Case ให้มากที่สุด ให้อ่าน อ่าน อ่าน ต้องรู้ว่าเราเก่งอะไร ชอบอะไร

ตัวอย่างคนสามคนชอบเคี้ยงเอ็มไพด์ คนจบปริญญาเอกไม่เห็นอะไร คนที่จบปริญญาโทพยายามเชื่อมโยงไปสู่มูลค่าเพิ่ม เป็นลักษณะรู้เข้าใจ แต่ไม่ตระหนัก ส่วนคนที่สาม ใช้กลยุทธ์ของเคี้ยงเอ็มไพด์มาใช้กับแบงค์เปิดในห้าง กลางวันกลางคืนให้บริการ คนที่สี่ ประชาชนและลูกค้าต้องการ One stop service ดังนั้นการทำปั๊มน้ำมันต้องทำแบบ Jet หรือการทำโรงหนังให้รอดต้องทำแบบ Entertainment Complex ขยายผลต่อเป็นการทำบุฟเฟ่ห์ คืออยู่ที่เดียวกันกินได้หลายอย่าง สรุปคือสิ่งนี้คือการเรียนการสอน การใช้ Social Media สร้างอำนาจ สร้างพลังให้คนสนใจ

สรุปเมล็ดพันธุ์คือคนตัวเดียว และเกิดเมื่อ 23 ปีผ่านมา ความรู้ต้องเกี่ยวข้องกับการมองทิศทางให้ออก

ขอให้ทุกคนคิดว่าทุกอย่างให้เริ่มที่ตัวเอง เพราะตัวเองจะเป็นคนที่กำหนดว่าจะทำได้หรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้เห็นตัวอย่างของบุคคลที่เอาใจใส่ความรู้ และหายครั้งที่อาจารย์สมชายเป็นแก่น ภาพนี้ อาจารย์สมชายทำให้ชัด สามารถนำอุปสรรคพาไปสู่ความเป็นเลิศ อยากให้เดินไปข้างหน้าโดยมุ่งไปที่แนวคิดของ ดร.สมชาย ซึ่งก็ไม่แตกต่างจาก ดร.จีระ และแก่นที่แท้จริง อยากให้ดูภารกิจของเราที่ชัดเจน อยากให้ดูว่าทำได้หรือไม่ ปัญหาเก่า ๆ ที่ขัดแย้งกันยังมีอยู่ คนที่เข้ามาสู่ในมหาวิทยาลัยของเรา Recruitment ต้องเปลี่ยน ความจริงคนที่จบ ม.อ. ถ้ามีโอกาสจะช่วยได้มาก ถ้าคนที่ในห้องนี้ลูกน้องเก่ง อาจเอาคนที่เกษียณมาแล้วมาทำงานก็อาจจะช่วยได้มาก

อยากได้คนคิดเหมือนกัน มหาวิทยาลัยต้องมีอิสระ ต้องมี Autonomy มากขึ้น อย่ามองแยกส่วน บางเรื่องที่ทำที่ชุมชน ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้าน Demand side จะมีส่วนอย่างมาก ถ้าอยากเป็น University เราต้อง Balance Scorecard ทั้ง 4 เรื่องได้เลย แต่ถ้ามีคน ๆ หนึ่งเขาจะยอมรับคนจากงานวิจัย สังคมและรายได้อย่างไร

Intelligence ในอนาคตต้องทั้งกว้างและลึก ให้ Honor คนที่มาจาก Social Science ต้อง Balance ให้ดีระหว่าง Real Science และ Social Science


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 30 กรกฎาคม 2559

กิจกรรมรักษ์ใจ : ศิลปะ...สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

และทีมงาน

อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

เก่งคน เก่งงาน เก่งคิด การนำศาสตร์มาใช้ให้เป็นระบบ

การเรียนศิลปะในวันนี้จะเน้นเรื่องการอยู่กับตัวเอง สร้างความมั่นใจ และเชื่อว่าทำได้จะทำได้แน่นอน

กิจกรรมการบริหารนิ้วแก้ออฟฟิศซินโดรม

การบริหารนิ้ว (ทำสองมือพร้อมกัน)

1. หายใจเข้าท้องป่องหายใจออกท้องลด อกไม่ยก ไหล่ไม่กระเพื่อม

2. กางแขนทั้งสองข้างและแบนิ้วทั้งหมด

3. หายใจเข้าบีบนิ้ว การบีบนิ้วโป้งกับนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย หายใจออกปล่อยนิ้ว

4. หายใจเข้าบีบนิ้ว การบีบนิ้วโป้งกับนิ้วนาง นิ้วก้อย นิ้วกลาง หายใจออกปล่อยนิ้ว

5. ทำทั้งหมด 4 ครั้ง

เทคนิคและวิธีการระบายสีน้ำ

1.เทคนิคเปียกบนเปียก

- น้ำไหลซึมมาก

2. เทคนิคเปียกปนแห้ง

- น้ำไหลซึมไม่มาก ต้องใช้การจุ่มน้ำให้สีฉ่ำ ๆ เพื่อระบายได้คล่องขึ้น สามารถเองกระดาษได้

3. เทคนิคแห้งบนแห้ง

- ต้องมีฝีมือมาก ส่วนใหญ่เป็นคนจีน ใช้การจุ่มน้ำนิดเดียว

ศิลปะ

เป็นเรื่องรสนิยมของแต่ละบุคคล แต่รสนิยมสามารถเปลี่ยนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้จากประสบการณ์ ศิลปะ เป็นการมองแบบว่าชอบแบบไหนเอาแบบนั้น

สรุปคือเรื่องความรู้สึกเป็นเรื่องสำคัญ

การมองศิลปะ ให้มองที่ว่าเรารู้สึกอย่างไรก่อน แล้วค่อยมาดู Detail อีกที

ประสบการณ์ช่วยให้เกิดรสนิยม การมีประสบการณ์จะสะท้อนสิ่งที่เรามอง ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

อุปกรณ์ที่ใช้

1. ถังพร้อมน้ำ

2. ถาดพร้อมสี

3. พู่กัน 3 ด้าม (พู่กันกลม พู่กันปลายแหลม(ทู่) ปกติ)

4. แปรง

5. กระดาษ

6. ผ้าขนหนู

7. กระดาษกาวน้ำ

ขั้นตอนระบายสีน้ำ

1. จุ่มพู่กันในถังน้ำ

2. วัดขนาดกระดาษทั้ง 4 ด้านขึงตรึง ติดด้วยกระดาษกาวน้ำ

3. กระดาษที่ได้ ให้ใช้ด้านหยาบขึ้น หรือให้ดูมุมตัวหนังสือเล็ก ๆ ด้านบนขึ้น

การทดลองระบายสีน้ำ

1. เทคนิคเปียกบนแห้ง

การฝึกไล่สี

- ถ้าต้องการสีอ่อนจุ่มน้ำเยอะ สีเข้มจุ่มน้ำน้อย

- นำสีจุ่มพู่กันจุ่มน้ำระบายสีไล่จากอ่อนไปเข้ม

- ระบายสีเข้มไปอ่อน

- ลองผสมสี โดยดูความเปลี่ยนแปลงของสีที่ผสมเป็นอย่างไร

2. เทคนิคเปียกบนเปียก

- ระบายน้ำที่กระดาษก่อน

- ใช้พู่กันจุ่มสี จุ่มน้ำ ระบายบนน้ำที่กระดาษ สีจะไหลตามน้ำ

3. เทคนิคแห้งบนแห้ง

- พู่กันจุ่มสีจุ่มน้ำน้อยมาก ๆ ระบายปัดลง

4. เทคนิคพิเศษ

- สามารถใช้เกลือทำเป็นจุดขาว ๆ

- สามารถใช้นามบัตรหรือบัตรเครดิตเป็นเส้นขาว ๆ


ช่ช่วงที่ 1 การทดลองระบายสีน้ำภาพแรก



เทคนิคการระบายท้องฟ้า

ใช้เทคนิคเปียกบนเปียก

1. แบ่งกระดาษเป็น 2/3 ส่วนบน เพื่อระบายท้องฟ้าใช้ดินสอจาง ๆ หรือพู่กันเขียนแบ่งเส้น

2. ใช้พู่กันจุ่มน้ำระบายกระดาษในพื้นที่ในส่วน 2/3 ข้างบน

- เลือกสีที่เป็นท้องฟ้าเช่น สีเหลือง สีส้ม สีชมพู สีฟ้า สีม่วง แล้วแต่ชอบ

- เริ่มจากระบายสีอ่อนก่อนแล้วค่อยระบายสีเข้มทับ

- เอียงกระดาษประมาณ 5-10 องศา แล้วมีการเอียงกระดาษไปมาเพื่อดูปฏิกิริยาการเคลื่อนของสีน้ำ

- ทิ้งภาพให้แห้งโดยวางกระดาษเอียง ๆ

หมายเหตุ : 1. ถ้าน้ำยังมีอยู่สามารถระบายทับต่อได้ แต่ถ้ากระดาษหมาด ๆ อย่าระบายทับ ต้องรีบทำให้ทัน

2. การระบายฟ้าที่ดีให้สังเกตท้องฟ้าว่ามีช่องว่าง มีเมฆ มีแสงเงาอย่างไรแล้วลองทำตาม

เทคนิคการระบายสีท้องน้ำและหาดทราย

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

- ใช้พื้นที่ตรงส่วน 1/3 ด้านล่างของกระดาษ

- ใช้ดินสอเขียนแบ่งตรงส่วนเป็นทะเลและหาดทราย

- จุ่มสีฟ้าหรือสีน้ำเงินที่เพื่อระบายส่วนที่เป็นทะเล โดยการต่อสีต้องรีบต่อเพื่อไม่ให้สีเป็นขอบ เน้นความ Soft (การลงขั้นแรกให้ใช้สีฉ่ำ ๆ)

- จุ่มสีส้มหรือเหลืองระบายตรงส่วนที่เป็นหาดทราย

- ทำคลื่นโดยใช้กระดาษทิชชู่ซับสีตรงส่วนที่เป็นหมาด ๆ ทำเงาใต้คลื่นเป็นสีเข้มขึ้นได้ หรือทำเงาสะท้อนจากพื้นฟ้าตรงส่วนที่ตัดกับพื้นฟ้าได้

เทคนิคระบายภูเขาไกล ๆ

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

- เลือกสีเข้ม ๆ เช่นสีม่วงหรือสีเทาเพื่อระบายภูเขา

- ถ้าสีแห้งเกินให้ใช้สีเข้มขึ้นเพื่อระบายทับเป็นเงาแก้ปัญหาสีเป็นขอบได้

เทคนิคระบายก้อนหิน

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

- ใช้เทคนิคระบายก้อนหินตามแสง เงา เงาเข้ม

- เลือกสีระบายก้อนหินอาจใช้สีน้ำตาลหรือน้ำเงินผสมตามสัดส่วน

- การระบายเปียกบนแห้งให้ใช้สีจุ่มน้ำฉ่ำ ๆ ให้สีเข้มขึ้นทับตรงส่วนที่อ่อนและอยากให้เป็นเงา

- ส่วนบนของหินสีจะดูสว่างกว่าส่วนล่างของหิน

- การระบายข้น ๆ จะใช้ตรงส่วนที่เป็นเงาเท่านั้น

- ใช้บัตรเครดิตขีดเป็นเส้นสีขาว ๆ ที่หิน

หมายเหตุ : การลงขั้นแรกให้ใช้สีฉ่ำ ๆ การลงทับให้ใช้สีเข้มและข้นขึ้น การลงเงาให้ใช้สีข้นและเข้ม

เทคนิคการวาดต้นมะพร้าว

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

- พู่กันจุ่มสีเขียวกับน้ำน้อย ๆ

- กำหนดจุดวาดต้นมะพร้าว

- วาดใบมะพร้าวจากจุดศูนย์กลางแล้วลากขึ้น ลางลง ลากเฉียงแบบกดแล้วปล่อยพู่กันขึ้นไปตามมุมต่าง ๆ หลาย ๆ แฉก สีมีอ่อนมีแก่ตามแสงเงา

เทคนิคการวาดบ้านระยะไกล

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

- ร่างส่วนที่เป็นบ้านหรือต้นไม้ระยะไกล

- ระบายเป็นเงาคล่อมบ้าน (ให้ลองสังเกตว่าเวลาเห็นบ้านหรือตึกระยะไกลจะเป็นสีขาว)

เทคนิคการวาดเรือระยะไกล

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

- วาดเรือที่อยู่ในทะเลเป็นเงา ๆ ใช้สีม่วงอยู่ตรงทะเล

เทคนิคการวาดภาพโฟร์กราว

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

- ในกรณีที่ดูว่าภาพขาดอะไรหรือโล่ง ๆ แต่ถ้าภาพดีอยู่แล้วไม่ต้องไปเพิ่ม

- วาดใบไม้โดยใช้เทคนิคกดแล้วปล่อย

ช่วงที่ 2 การวาดภาพดอกศรีตรัง




เทคนิคการวาดภาพเปียกบนเปียก

1. ระบายน้ำบนกระดาษให้เปียก

2. ขึงกระดาษลงบนกระดานโดยใช้กระดาษกาวน้ำขึง

3. รอจนกระดาษแห้ง กระดาษจะไม่โป่ง

4. แบ่งกระดาษ 1/3 ให้ส่วนที่เป็น 2/3 อยู่ข้างบน

การวางภาพท้องฟ้า

1. ทาน้ำบนกระดาษในส่วน 2/3

2.เลือกสีระบายท้องฟ้า เช่น เหลือง ฟ้า ชมพู โดยใช้พู่กันจุ่มน้ำเพื่อระบายท้องฟ้า

3. โครงเครงให้สีไหลกระจายตามแบบที่เราชอบ

หมายเหตุ : ให้ใช้สีอ่อนๆ อย่าใช้สีเข้ม

การวาดภาพภูเขา

1. เลือกใช้สีเทาอ่อน

2. ร่างภูเขาตรงส่วนระหว่างทะเลกับภูเขา

3. วาดต้นสนตรงภูเขา วิธีการคือให้ใช้พู่กันจุดที่วางกดพู่กันไปครึ่งนึงแล้วปล่อยขึ้นจะได้ต้นสน

การวาดส่วนพื้นหญ้ากับพื้นน้ำสะท้อน

1. ตรงช่วงรอยต่อภูเขาให้วาดต้นไม้สีเขียวโดยใช้เทคนิคเปียกบนแห้งต่อ ๆ กัน

2. ใช้ดินสอวาดพื้นน้ำ

3. วาดพื้นน้ำสะท้อนใช้เทคนิคเปียกบนเปียก สีสะท้อนดูจากภาพต้นไม้ที่สะท้อน

การวาดแปลงดอกไม้

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

1. ใช้ดินสอร่างแปลงดอกไม้ไม่ต้องเท่ากันทำแบบดูมีมิติ

2. ขยี้แปลงให้แตก ๆ แล้วจุ่มสีทำดอกไม้ ให้สีอ่อนอยู่บนแปลง สีกลางเป็นเงาอยู่กลางแปลง และสีเข้มเป็นเงาที่เข้มขึ้นอยู่ข้างล่าง

การวางต้นศรีตรัง

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

1. ร่างกิ่งศรีตรัง

2. ทำปลายแปรงพู่กันให้แตก

3. ทำต้นศรีตรังจุ่มสีม่วงแบบสีอ่อน กลาง เข้ม สลับกันไป

หมายเหตุ : พุ่มต้นใหญ่กิ่งใหญ่ พุ่มต้นเล็กกิ่งเล็ก

การวาดต้นหญ้า

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

1. ทำต้นหญ้าริมบึง

2. ทำต้นหญ้าคล้ายต้นสนคือลากจากล่างขึ้นบนใช้สีเขียว

3. ต้นหญ้ามีเขียวหลายสี และมีดอกไม้

การตกแต่งเพิ่มเติม

1. วาดบ้านอยู่ไกล ๆ ใช้วิธีทำเป็นเงารอบบ้านให้เห็นบ้านสีขาว

2. มีพุ่มไม้อยู่โดยรอบ

หมายเลขบันทึก: 611339เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2016 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2016 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ประเด็นที่จะนำมาแชร์ในช่วงที่3นี้ คือ

บทบาท/การรับมือ และการปรับตัวของม.อ. ต่อผลกระทบที่เกิดจากความเป็นไปของโลกในทุกมิติ

เมื่อฟังแล้วทำให้คิดว่า ม.อ. กำลังอยู่ในช่วงที่มีความท้าทายที่จะก้าวข้ามหรือไม่ให้เกิดปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงเอเธนส์ สมัยที่มีโซฟิสต์ เข้ามาขายความรู้ แต่คนส่วนใหญ่ละเลยการสร้างปัญญา มหาวิทยาลัยซึ่งมีบทบาทหลักในการสร้างปัญญาให้แก่ทุนมนุษย์ของประเทศ จะมียุทธศาสตร์อย่างไรที่จะไม่หลงทาง ผลิตซ้ำการขายความรู้จนลดการให้ความสำคัญกับบทบาทหลักในการพัฒนามนุษย์ให้มีปัญญา

มนุษย์ที่จะต้องเจอสภาพการณ์ในอนาคตนั้น จำเป็นต้องเป็นผู้ที่เข้าใจถึงแก่นของสิ่งต่างๆ รู้ทั้งลึก กว้าง และคาดการณ์/ทำนายอนาคตได้ เพื่อสามารถป้องกันปัญหา ไม่เพียงรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น และจะต้องทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้จากบทเรียนที่เกิดขึ้นทั้งจากเหตุการณ์ต่างๆในโลกและประวัติศาสตร์ไทย ไม่เป็นผู้ผลิตซ้ำปัญหาเดิมๆในมิติต่างๆ ให้แก่ประเทศชาติ

หลักการคือทำให้นักศึกษา รู้เท่าทันโลก รู้จักตนเอง มีความลุ่มลึกในการดำเนินชีวิต เนื่องจากอดีต ส่งผลถึงปัจจุบันและเชื่อมโยงถึงอนาคต ทุกสิ่งที่ทุกคนทำนั้นมีผลกระทบและเชื่อมโยงกันทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สิ่งที่มนุษยชาติต้องเผชิญร่วมกัน คือ ปัญหาที่ท้าทายที่เกิดในอนาคต ทั้งความเหลื่อมล้ำ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาดฯลฯ ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมองภาพเป็นองค์รวม จึงมีความสำคัญ เพราะนี่คือบทบาทหลักที่สำคัญที่สุดที่มหาวิทยาลัยจะต้องตระหนัก

กิจกรรมรักษ์ใจ โดยใช้ศิลปะสร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่สร้างความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ผ่อนคลายมีสติ และทำให้เกิดสมาธิแล้ว ยังสามารถทำให้ขมวดความรู้ทั้งหมดที่ได้อบรมมาในคอร์สนี้ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ให้เข้าใจเป็นรูปธรรมผ่านการทำงานศิลปะ ว่าผู้นำหรือนักบริหารก็เปรียบเหมือนศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อให้ภาพนั้นออกมาสวยงามและเป็นที่พอใจของผู้พบเห็น

ช่วงที่หนึ่ง ก่อนวาด การวาดภาพต้องเริมตั้งแต่การจินตนาการให้ชัดตั้งแต่ก่อนทำงานว่า เราต้องการภาพสุดท้ายหรือเป้าหมายอย่างไร แล้วจึงวางแผน การวางแผนในการเขียนภาพก็เหมือนการวางแผนการทำงาน อุปกรณ์ต่างๆก็เหมือนเครื่องมือที่เราจะนำมาใช้บริหาร หากได้เครื่องมือหรือกระดาษ สี ที่ดี ก็จะช่วยให้ภาพที่เราวาดออกมาสวยมากขึ้น ทำให้เราทำงานง่ายขึ้น และหลักการทำงานหรือการวาดภาพคือ ควรใช้หลักการป้องกันปัญหา เพราะการแก้ไข แม้จะทำได้ แต่ทำได้ยากกว่า อย่างไรก็ตาม หากเจอปัญหาระหว่างทำงานหรือการวาด เราก็ต้องรู้จักแก้ไขได้ด้วยเช่นกัน โดยวิธีการแก้ไขนั้น ต้องใช้ทั้งสิ่งที่เรียนมา หรือทั้งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ คล้ายกับให้ทันกับกระดาษที่จะแห้งก่อนลงสี

ช่วงที่สอง ระหว่างวาด ระหว่างการทำงานหรือเขียนภาพ ก็ต้องใช้ทั้งการตัดสินใจ การรอจังหวะ การพลิกแพลงใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้เกิดภาพที่สวยงามตามลำดับ ซึ่งสไตล์การวาด หรือการทำงานของศิลปินแต่ละคนก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด การปลูกฝังหรือ ความชอบ การวาดภาพสีน้ำทำให้เห็นภาพของการผสมผสานสีแต่ละสีให้กลมกลืนเกิดสีใหม่ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ตามหลักการ dialectic ที่นักปรัชญานามโสเครตีส ได้ให้วิธีการแสวงหาความรู้นี้กับมนุษยชาติตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ จนกระทั่งมาร์ก นำมาถ่ายทอดเป็นทฤษฎีdialecticที่ใช้thesis ,antithesis และsynthesis เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีและเจริญก้าวหน้ามากกว่าเดิม นอกจากนี้ การแต่งเติมภาพในแต่ละช่วงทั้งพื้นหลัง องค์ประกอบภาพ หรือรายละเอียดภาพ รวมถึงสีแสง เงา ก็ต้องมีความกลมกลืน และไม่เป็นระเบียบแบบแผนจนเกิดไป แต่ต้องให้มีความนุ่มนวม เป็นธรรมชาติ การมองภาพรวม เหมือนการบริหารซึ่งต้องมององค์รวมทั้งหมด แต่ไม่ลืมรายละเอียด ที่จะต้องใส่ใจ เพื่อให้ทั้งภาพที่วาดมีความเป็นเอกภาพ ซึ่งการมององค์รวมนี้ วิทยากรได้มุ่งเน้นตั้งแต่ช่วงแรกว่าเราต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต สังเกตธรรมชาติ รายละเอียดและภาพรวมของสิ่งต่างๆ ที่เราพบเห็น ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับการเป็นผู้บริหาร เนื่องจาก ผู้บริหารจะต้องเห็นสัญญานหรือพบความผิดปกติก่อนผู้อื่น เพือที่จะไม่ต้องคอยแก้ปัญหา แต่เป็นผู้ป้องกันปัญหา หรือไม่ให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตจนยากจะแก้

ช่วงที่สาม เมื่อภาพวาดเสร็จแล้ว ภาพที่วิทยากรนำมาใช้เป็นแบบ คือภาพทุ่งดอกไม้หลากสี มีวิธีคิดที่แฝงอยู่คือ หากเราพัฒนาให้ทุกคนที่มีความแตกต่างที่สวยงามเฉพาะตัวของแต่ละคน เหมือนดอกไม้แต่ละสี ได้เติบโต ผู้บริหารก็เป็นเพียงผู้ส่งเสริม จัดวางตำแหน่งให้ถูกที่ ให้เหมาะกับสภาพที่บุคคลนั้นๆ จะเติบโตได้ เมื่อเราบริหารได้ดี เราก็จะได้เห็นทุ่งดอกไม้ หรือภูเขาดอกไม้ที่เบ่งบานอย่างสวยงาม ไม่ใช่การดัดหรือแต่งจนผิดรูป หรือผิดธรรมชาติของต้นไม้ แต่ละชนิด การที่ภาพมีเพียงดอกไม้เพียงชนิดเดียวที่เหมือนกันทั้งหมด นอกจากเรากำลังทำให้ผิดธรรมชาติแล้ว เรายังไม่เห็นความสวยงามของความหลากหลายอีกด้วย ส่วนภาพจะสวยหรือไม่ ก็อยู่กับความพอใจ ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้สึก การทำงานกับคนก็จำเป็นต้องใส่ใจถึงความรู้สึกด้วย ไม่เพียงแต่มุ่งเป้าคือ ผลงานเท่านั้น การใช้สีน้ำในการวาดเปรียบเหมือนการใช้น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำให้เกิดสี และภาพ เช่นเดียวกับการบริหาร/การทำงานที่ต้องมีน้ำใจหรือกำลังใจเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงทีม หรือให้เกิดพลังในการทำงานสร้างสรรค์สิ่งทีดีและใหม่ขึ้นมา

เมื่อนำหลักการการวาดภาพสีน้ำมาประยุกต์กับหลักการทำงานทำให้เกิดความประทับใจกับการWorkshop ครั้งนี้เป็นอย่างมาก และส่วนตัวคิดว่า การอบรมนี้จะไม่สมบูรณ์หากไม่มีคลาส รักษ์ใจ ด้วยการสร้างงานศิลปะ

ขอบคุณค่ะ

สุริยงค์ ลิ้มสังกาศ

วันที่ 28 กรกฎาคม 2559

1. Group Assignment & Presentation: Lesson Learned – Share and Care บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 2) HBR’s 10 Must Reads Harvard Business Review on Strategy

- กลยุทธ์ Blue Ocean คือ การมองเรื่องโอกาสในการขยายตลาดที่ไม่เน้นในตลาดที่เต็มอยู่แล้ว ในพื้นที่ภาคใต้พบว่า มีโอกาสเยอะมากที่ไม่ต้องแข่งขันกับใคร เช่น อาหารฮาลาล หรือ ยางพารา การปรับรูปแบบให้เหมาะกับผู้ที่มาเรียนกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้สูงอายุ ด้วย

- กลยุทธ์คือการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างจากคู่แข่งหรือคล้ายกันและวิถีทางต่างกัน โดยองค์กรจะต้องมีเอกลักษณ์ และตระหนักถึงคุณภาพสิ่งที่มอบให้กับลูกค้า พร้อมทั้งพิจารณาว่ามีความแตกต่างหรือไม่

2. Effective Teamwork and Value Creation of PSU

- DNA ของมนุษย์ มีความต่างไม่ถึง 3% แต่เราแตกต่างกันเพราะ การเรียนรู้และสภาพแวดล้อม ดังนั้น มนุษย์สามารถสร้างได้ เปลี่ยนแปลงได้

- คนเราทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เมื่อการมองข้อเสียไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นก็ควรมองข้อดี และหาทางดึงศักยภาพของเขามาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถูกที่ ถูกเวลา เพื่อให้เกิดความพอใจ ทั้งเขาและเรา

- มนุษย์จะเลือกเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนขึ้นอยู่กับคุณค่า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง องค์กรจะต้องทำให้บุคลากรเห็นคุณค่า และได้รับประโยชน์ สิ่งที่คนเราให้คุณค่านั้นไม่เหมือนกัน องค์กรจะต้องตอบโจทยืนี้ เพื่อให้บุคลากรเกิดแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลง

- อยู่กับปัจจุบัน มีเป้าหมาย ทำให้ดีที่สุด และเก็บเกี่ยวความสุขในทุกวินาที

- ทุกคนต้องการพื้นที่ในการปรับตัว แต่จะต้องยอมรับความจริง จึงจะสามารถพัฒนาได้

- ลุคลิกของผู้นำนั้นสร้างได้ โดยเริ่มจากการพิจารณาตนเองว่าอยู่ในกลุ่มใดของ D.I.S.C และพัฒนาส่วนที่ขาด เช่น คนประเภท I เป็นคนที่มี SQ และ EQ จะต้องพัฒนา MQ และ IQ

3. Managing Self – Performance

- Competency ประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ความรู้และทักษะเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้ได้ ฝึกเองได้ ในขณะที่ คุณลักษณะ เป็นสิ่งที่ทุกคนมีต่างกัน จะค้นพบได้จากการสังเกต หรือ การตั้งคำถามเพื่อใช้ช่วยหาคุณลักษณะของแต่ละคน

- หนึ่งในวิธีที่จะทำให้เราข้ามไปสู่จุดที่ต้องการได้ คือ การเลิกโทษคนอื่น แล้วมาแก้ที่ตัวเอง ในเมื่อเหตุการณ์และการตอบสนองก่อให้เกิดผลลัพธ์ ก็ให้พิจารณาผลที่ต้องการแล้วพยายามแก้ที่การตอบสนองของเรา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า

- เพื่อให้เกิดการพัฒนา เราควรมองว่า ไม่มีความล้มเหลวในโลกใบนี้ มีแต่ผลป้อนกลับเพื่อใช้ในการพัฒนาตนเอง

วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของ ม.อ.

- หลักของการเลือก ไม่ใช่การวิเคราะห์จากปัจจุบันแล้วเลือกสิ่งที่เราเห็นว่าดีที่สุด (Reactive Thinking) แต่เป็นการมองดูอดีตที่ส่งผลต่อปัจจุบัน เพื่อที่นะสามารถทำนายอนาคตได้

- การเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้ เกิดจากเมล็ดพันธุ์แห่งการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคที่ 3.5 ซึ่งเป็นยุคของ Information Technology ซึ่งเป็นยุคที่ผู้ได้เปรียบคือผู้ที่มีความรู้ ต่างจากยุคเกษตรและยุคอุตสาหกรรมที่ผู้ได้เปรียบคือ ผู้ที่มีที่ดินและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยควรตระหนักเมล็ดพันธุ์แห่งการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคเพื่อปรับตัว และสามารถตอบสนองความต้องการของคนในยุคนั้นๆได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกเข้าสู่ ยุคที่ 4 ที่ทึ่งจะเกิดการรวมเป็นกลุ่มก้อนของประชากรโลก มหาวิทยาลัยจะต้องหาทางตอบโจทย์มนุษย์ยุคใหม่ให้มีความรู้ทางดานเทคโนโลยี มี global mindset รู้หลายภาษา รู้จักธรรมชาติมนุษย์ และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ แนวทางของสิ่งที่ควรสอนในอนาคตได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับอาหาร บริการ สุขภาพ เน้นสารสนเทศในทุกศาสตร์ เน้นการมีส่วนร่วม และลดช่องงว่างระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ

- นอกเหนือจากกระแสแห้งการเปลี่ยนแปลงที่มหาวิทยาลัยพึงระวังแล้ว ประเด็นแนวคิด Anti-globalization ก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงด้วย จริยธรรมเป็นสิ่งที่หนึ่งที่เราควรปลูกฝัง เพื่อลดปัญหาด้านการคอรัปชั่นในระบบทุนนิยมได้

- สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรจะมีให้แก่นักศึกษาคือ 1. Student Journey เพื่อให้นักศึกษาสามารถวางแผนชีวิตตนเอง และ 2. Student Entrepreneur เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานเป็นเครือข่าย และเริ่มธุรกิจของตัวเองได้

วันที่ 30 กรกฎาคม 2559

กิจกรรมรักษ์ใจ : ศิลปะ...สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

- ในการใช้สีน้ำ ผู้วาดจะต้องไปฝืนธรรมชาติของน้ำจนเกิดเป็นรอยด่าง จะต้องสังเกตธรรมชาติของการระบายว่าเป็นแบบเปียกบนเปียกหรือเปียกแห้งเนื่องจากมีวิธีการและใช้เวลาต่างกัน ภาพที่ได้จะต่างกันด้วย เช่นเดียวกับคนในองค์กรที่ผู้บริหารจะต้องรู้จักธรรมชาติขององค์กรและบุคลากร

- ประสบการณ์เสริมสร้างนิยม หากเรารู้จักผู้เรียน เราก็จะเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการ

- ความหลากหลายของรูปทรงคือความงาม เป็นธรรมชาติ เราจะไปบังคับอย่างเข้มงวดให้ทุกอย่างเท่ากัน เหมือนกันหมดไม่ได้ การบริหารก็เช่นกัน

ยุพดี ชัยสุขสันต์ (ม.อ. ปัตตานี)

ส่งงาน Homework ของช่วงที่ 3 : 28-29-30 July 2016

Homework 28 July 2016

Lesson learned – Share and Care : บทเรียนจากหนังสือ(เล่มที่ 2) - HBR’s 10 Must Reads on Strategy

- ม.อ. ต้องพัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมก่อน ค่อยพัฒนาเป็นมืออาชีพ

- ต้องมีการพัฒนาและดูแลผู้บริหาร/บุคลากรของ ม.อ. เป็นอย่างดี เน้นคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ มอบอำนาจในการตัดสินใจ การบริหารจัดการภายในที่เข้มแข็ง และเพิ่ม incentive ในการร่วมมือร่วมพลังในการขับเคลื่อน ม.อ. ให้เป็นไปตาม vision, strategy และ goal ที่วางไว้ในทิศทางเดียวกันทั้ง 5 วิทยาเขต

Effective Teamwork and Value Creation of PSU

- มนุษย์สร้างได้และเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น เราสามารถสร้างเพื่อนร่วมงานที่ดีตามที่มุ่งหวังได้

- ผู้บริหารต้องเป็นได้ทุกอย่าง ทุกคนเป็นผู้นำได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

- เราต้องอยู่กับปัจจุบัน ทำให้ดีที่สุดทุกวินาทีด้วยเหตุผล และแบ่งปันสิ่งที่เรามีให้กับผู้อื่น

- ในการบริหารหน่วยงาน ผู้บริหารต้องทำให้ดีที่สุด ทำให้ดีกว่าเดิม และทำให้เกิดสิ่งใหม่ (innovation) ที่ดี มีมูลค่าเพิ่ม

- การสร้างคุณค่าในทีม ต้องเป็นผู้ให้ที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคน มีกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างโปร่งใสยุติธรรม และต้องปล่อยวางตัวตน เน้นที่ผลงานและประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์

Managing Self – Performance

- ผู้บริหารต้องรู้จักเข้าใจถึงตัวตนของตัวเองเป็นอย่างดี คิดเชิงรุก (proactive) จึงจะสามารถบริหารผู้อื่นและนำพาองค์กรไปได้อย่างมีประสิทธิผล

- การสื่อสารที่ดี คือการรับฟังคนอื่นพูดและรับรู้สิ่งที่ผู้นั้นพูด แล้ว acknowledge สิ่งที่ผู้นั้นพูดก่อนที่จะตั้งคำถามเชิงบวกและสร้างสรรค์

- การมีเป้าหมายในชีวิตจะทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายของงานได้

Homework 29 July 2016

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และ เศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของม.อ. Workshop -แผนพร้อมรับมือด้านเศรษฐกิจและสังคม

- โลกาภิวัตน์ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้ง เศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม วัฒนธรรมและ IT กำลังเข้าสู่ยุค 4.0 แต่ระบบโลกาภิวัตน์ก็ได้ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ต่อต้านโลกาภิวัตน์ (Global paradox) ในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายรูปแบบและหลายมิติ ทั้งด้านการก่อการร้าย การขยายตัวทางสังคม การต่อต้านคอรัปชั่น การเรียกร้องให้เกิดธรรมาภิบาล จริยธรรม ความดี การต่อต้านสิทธิมนุษยชน การผสมทางด้านวัฒนธรรมระหว่างชาติ การทำลายสิ่งแวดล้อม (การเกิด climage change) การเกิด geopolitics ประชาสังคมไม่เข้มแข็งหากประชาธิปไตยไม่ได้ใช้ความชอบธรรม

- การเปลี่ยนแปลงระดับโลก และการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาค - การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และระดับประเทศ - การเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ล้วนมีผลกระทบต่อ ม.อ. ที่จะต้องมีการปรับตัว ปรับยุทธศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

- ม.อ. ต้องพัฒนาคน (นักศึกษา) ให้เก่งแบบมองอนาคตได้เก่ง โดยต้องปรับ mind set ของคนทั้งนักศึกษาและบุคลากร จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เป็นแบบกระบวนการรู้จริง ทั้ง regional และ global ให้มีลักษณะเป็น proactive มี forward thinking ปรับระบบคิดให้มีการสอนจัดการเรียนการสอนหลาย ๆ แบบ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ 5 ขั้น คือ 1) รู้2) เข้าใจสามารถแลกเปลี่ยนได้ 3) ตระหนัก 4) ซึมซับ และ 5) สามารถนำมาใช้กับทุกเรื่องได้ โดยสิ่งสำคัญคือต้องเน้นการมีจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งจะทำให้นักศึกษามี long term growth และ long term planning สามารถอยู่รอดในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการเหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานทั้งด้านบริหาร และการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรที่รับผิดชอบได้

Homework 30 July 2016

กิจกรรมรักษ์ใจ โดยใช้ศิลปะสร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

ศิลปะที่ได้เรียนรู้คือการระบายสีน้ำ อาจารย์สาโรจน์สอนไปทีละขั้นตอน สอนคนที่ไม่มีความรู้ด้านศิลปะให้ทำงานศิลปะขึ้นมาได้ นับว่าเยี่ยม การทำงานศิลปะเป็นการฝึกสมาธิที่ดีมาก เพราะในขณะระบายสี จิตใจสงบ จดจ่อกับงานตรงหน้า ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง เวลาผ่านไปไม่รู้ตัว นอกจากนี้งานศิลปะยังทำให้เกิดการเรียนรู้ถึงการมองภาพรวม การวางองค์ประกอบของภาพที่ต้องสมดุลกัน การแสดงรายละเอียดในแต่ละส่วนของภาพ การให้สีสันที่ต้องมีอ่อนแก่ การแก้ไขภาพที่ระบายเสียไปบางส่วนให้ออกมาดูดีขึ้น ล้วนสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการคนในองค์กรทั้งสิ้น ตั้งแต่การต้องสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่มีความแตกต่างกันมากน้อยไม่เหมือนกัน เพื่อนำมาสู่การบริหารจัดการคนในองค์กรที่มีความต่างกัน ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ใช้คนให้เหมาะสมกับงานที่เขาถนัด จัดการงานให้สมดุลกันกับตำแหน่งหน้าที่ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความยุติธรรม มีธรรมาภิบาล ไม่เอาอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวมาเป็นใหญ่ นั่นคือการทำงานกับคนต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ซึ่งต้องไปด้วยกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ๋งไม่ได้

พนิดา สุขศรีเมือง

วันที่ 28-30 กรกฎาคม 2559

Group Assignment & Presentation: Lesson Learned – Share and Care บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 2)

HBR’s 10 Must Reads Harvard Business Review on Strategy

Ocean : red ocean ตลาดที่มีการแข่งขันสูงสุด blue ocean เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ ที่มีการแข่งขันน้อย ม.อ. ควรจะต้องมองตลาด blue ocean เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร

กลยุทธ์ ควรจะต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ เมื่อกำหนดกลยุทธ์ได้แล้วควรจะต้องมีการ trade-offs เลือกทำบางอย่าง ไม่สามารถที่จะทำได้ทุกกิจกรรม เมื่อเลือกกิจกรรมแล้ว ทำให้กิจกรรมเหล่านั้นสอดคล้องกัน มีการบูรณาการ และ cross function งานที่ทำ เมื่อเลือกกลยุทธ์แล้ว ควรสื่อสารให้คนในองค์กรทราบ และร่วมกันกำหนดทิศทาง และทำงานสู่ความสำเร็จ

วิสัยทัศน์ จะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ที่สามารถปฎิบัติได้ ชัดเจน และสื่อสารให้คนในองค์กรรับทราบ จะต้องเป็นวิสัยทัศน์ที่มีชีวิตชีวา และเป็นวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

ปัจจัยและเทคนิคในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ มีสี่ปัจจัย คือ การตัดสินใจที่ถูกต้อง ข้อมูล โครงสร้างองค์กร และแรงจูงใจในการทำงาน

ยุทธศาสตร์ของม.อ. ยุทธศาสตร์ใหญ่มีความจำเป็น ส่วนยุทธศาสตร์ย่อย ซึ่งรับผิดชอบโดยคณะ และภาควิชา เป็นการ execute ยุทธศาสตร์ ต้องทำให้ทันสมัย เน้นเรื่องทุนมนุษย์ และความมุ่งมั่นของคน และมีมาตรฐาน หากทำได้อย่างนี้องค์กรจะมีความได้เปรียบ สิ่งที่สำคัญคือมาตรฐานของคนในองค์กรต้องเท่ากัน องค์กรจะต้อง invest ใน Human Capital และ empower คนให้มีมาตรฐาน มีระบบ และมีแรงจูงใจ ดังนั้น คนควรได้รับการฝึกเรื่องการบริหารจัดการ, teamwork and networking มีกลยุทธ์ มีผู้นำที่ดี มี incentive และ motivation สิ่งเหล่านี้จะนำองค์กรสู่ความสำเร็จ

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้อง honor คนในองค์กร และให้ความสำคัญ

Balanced score card สิ่งสำคัญคือ customers, internal process ระบบบริหารภายใน และ growth and learning

สิ่งที่ม.อ. ต้องทำคือ ต้องระบุให้ได้ว่า

1. customers> who are your customers?

2. ตอนนี้ customers แต่ละกลุ่มมองม.อ. อย่างไร how do they perceive us (ม.อ.) ? 3. What we want them to perceive 4. Key initiatives เมื่อได้แล้วจะต้องโยงไปที่ internal process

3. learning and growth

Effective Teamwork and Value Creation of PSU

กระบวนการพัฒนาคน หลักในการตัดสินใจใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง การสร้างคุณค่าในทีม บุคลิกภาพของผู้นำ สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ทีมwork มีประสิทธิภาพ

Managing Self-Performance

การทำงาน based on ตนเองเป็นหลัก เนื่องจากการทำงานตามความต้องการของตนเอง จะเป็นสิ่งที่มีความสุขที่สุด

Competency เป็นเรื่องของความรู้ แต่ลักษณะเป็นสิ่งที่มีอยู่กับตัวคน (attribute)

being คือ เป็น ธาตุแท้ที่ไม่มีสิ่งเจือปน

หกความต้องการที่สำคัญคือ 1. Personality needs

1.1. ความแน่นอน (Certainty) /ความมั่นคงปลอดภัย (Security) /ความสะดวกสบาย (Comfort)

1.2. ความไม่แน่นอน (Uncertainty)/ความหลากหลาย (Variety) /ความสมบุกสมบัน (Adventure)

1.3. ความเชื่อมโยงและความรัก (Love and Connection)

1.4. ความเป็นคนสำคัญ /ได้ความสำคัญ (Significant)

2. Spirit needs

2.1 การเจริญเติบโต (Growth) 2.2 การช่วยเหลือ แบ่งปัน (contribution)

คนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องมี 2 E คือ effectiveness and efficiency ต้องมีความเมตตา และมี service mind

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และ เศรษฐกิจไทย...ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของ ม.อ.

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลดี และผลร้าย สิ่งที่คนควรจะต้องเตรียมตัวคือ จะต้องสอนให้คนคิดเป็น วิเคราะห์อนาคต ดูตลาดล่วงหน้า โลกมีการแข่งขันทางการค้าใหม่ และมีการรวมตัวของกลุ่มต่างๆมากขึ้น มหาวิทยาลัยต้องกำหนดบทบาท ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

ศิลปะ สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

การสอนศิลปะใช้วิธีการสอนแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่ทำผู้เข้าอบรมที่ไม่มีพื้นฐานศิลปะมาก่อนสามารถวาดภาพวิว ได้อย่างสวยงาม โดยใช้เทคนิดเปียกบนแห้ง เทคนิคเปียกบนเปียก เทคนิคแห้งบนแห้ง และเทคนิคพิเศษ เช่นใช้เกลือ หรือกระดาษทิชชู หรือ บัตรเครดิต

สิ่งที่ได้จากการวาดภาพ คือ หากเราวางตำแหน่งของสิ่งของในที่ที่เหมาะสม จะทำให้ภาพออกมาสวย ภาพบางภาพไม่ต้องการรายละเอียดมาก แต่ให้คำนึงถึงความจริงเรื่องการหักเหของแสง เช่นเดียวกับการบริหาร การกำหนด positioning สำคัญมาก หากเราสามารถกำหนดตำแหน่งได้แล้ว เราสามารถบริหารจัดการคน และกิจกรรมได้ โดยจะต้องคำนึงถึงความจริง (reality) ขององค์กร

ประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้และประทับใจ

วันที่ 28 กรกฎาคม 2559

Effective Teamwork and Value Creation of PSU โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

Innovation on High value culture ประกอบด้วย การเพาะใจ การเพาะสมอง การเพาะกาย และการเพาะวัฒนธรรม การนำองค์กรไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ คือการให้เขาเห็นคุณค่าหรือได้รับประโยชน์ ให้เราดูว่าเขาอยากมีคุณค่าแบบไหนแล้วผลักดันให้เขาไปคุณค่าที่เขาชอบ เพราะเมื่อคนมีคุณค่า แรงบันดาลใจ แรงจูงใจจะเกิด การซอยเป้าย่อย เพื่อไปถึงเป้าใหญ่ สร้างความสามารถคนในองค์กรเรา เพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ซึ่งหลักการอยู่กันเป็นกลุ่ม ไม่ใช่ใช้ความเท่ากัน แต่ต้องขึ้นกับความพอใจเท่ากัน

EQ เป็นตัวที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จที่สุด ความเชื่อทำให้เกิดโอกาส และความเชื่อทำให้เกิดการประสบความสำเร็จ IQ สร้างโอกาส EQ ทำให้ประสบความสำเร็จ MQ ทุกคนต้องมี SQ สัญชาติญาณในการอยู่รอด

การสร้างคุณค่าในทีม มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า คุณค่าที่แท้จริงจะจบที่คุณธรรม จริยธรรม และเมื่อมีคุณค่าจะให้ฝึกมองแบบกลางๆ คือมีทั้งมุมบวกและลบ และให้หมุนมุมลบเป็นมุมบวก หลักการเลือกทีมคือให้ทำสิ่งที่รักกับคนที่เรารัก เราต้องให้โอกาสคน ทุกคนต้องการพื้นที่ในการปรับตัว ให้ทำสิ่งที่ดีที่สุดร่วมกัน จะสามารถเปลี่ยนคนไม่ดีเป็นคนดีได้ ยิ่งเบียดคนไม่ดีให้ไม่มีที่ยืน คนไม่ดีจะยิ่งดิ้นรน แต่ถ้าสร้างให้เขาได้มีที่ยืน เขาจะปรับเป็นคนดีได้ เพราะพื้นฐานมนุษย์ทุกคนมีจิตประภัสสร

Managing Self – Performance โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

หนึ่งคุณลักษณะที่สำคัญที่เป็นสมรรถนะของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ (Achievement orientation) ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์

หลักการ Coaching คือ Leadership, Life, Learning เราสามารถสร้างให้เป็น Cause ของความสำเร็จได้ ต้องให้ Feedback ดี ๆ และถามลูกน้อง ต้อง Empowerment

ได้ข้อคิดจากแนวคิดของคุณโจน จันใด คนเราต้องต้องเผชิญกับสิ่งที่ตัวเองกลัวและอาย ฝึกที่จะฝืน ฝึกที่จะเผชิญ จะทำให้ใจเปลี่ยนได้เพราะเกิดความคุ้นเคย การวิ่งตามอารมณ์จะทำให้เราเหนื่อย เราต้องเผชิญกับอารมณ์อย่างมีสติ

วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของ ม.อ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การเปลี่ยนแปลงต่างๆบนโลกเกิดจากความเร็ว สิ่งสำคัญต้องรู้ภาษาต่างประเทศด้วย เพราะโลกเข้าสู่โลกาภิวัตน์ AEC มหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

สิ่งที่ได้จากการทำ workshop

1. student journey ต้องให้นักศึกษาเขียนความต้องการอยากเก่งเรื่องอะไร

2. student entrepreneurship

3. ต้องหานักเรียนเก่งตั้งแต่มัธยม เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เก่ง นอกจากนี้ยังต้องให้นักศึกษามีความสมดุลระหว่างการเรียน กีฬา และสุขภาพ กระตุ้นให้พร้อมการเรียนรู้ตลอดเวลา

4. เน้นเรื่องภาษา ซึ่งต้องมีความสามารถภาษาที่ 3 โดยเฉพาะ ASEAN

5. อาจารย์ต้องสอนให้น้อยลงเป็น Facilitator สอนข้ามศาสตร์ สอมนการใช้ชีวิต สอนการใช้เทคโนโลยีให้คุ้มค่า

วันที่ 30 กรกฎาคม 2559

กิจกรรมรักษ์ใจ : ศิลปะ...สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร, อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า และทีมงาน

กิจกรรมในวันนี้ทำให้เรามีสมาธิ เน้นเรื่องการอยู่กับตัวเอง สร้างความมั่นใจ และเชื่อว่าถ้าเราคิดว่าทำได้ เราก็จะทำได้แน่นอน สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานได้ดีมากๆ ชอบกิจกรรมรักษ์ใจมากคะ ที่สำคัญได้รูปที่อาจารย์สาโรจน์วาดเป็นของขวัญวันเกิดที่สวยงามมากคะ ขอบคุณทางผู้จัดที่หากิจกรรมดีๆมาให้ผู้เข้าอบรมได้ร่วมกิจกรรมคะ

Homework 28-30 July 2016

Date: 28 July 2016

Effective Teamwork and Value Creation

Assoc. Prof. Dr. Chalearmpol discussed about the attributes of high performance workteam in response to change. Leader of a team should be open-minded and able to identify the right goal and communicate to his team in a clear and precise manner.

More importantly, he should be able to choose the right person for the right job by looking at his subordinate’s personality and expertise.

Managing Self-performance

Some core competencies are essential for the success of a person. Some of these competencies are visible; some may be categorized as knowledge and skills; and some may be hidden. In order to ensure the success in a work, clear communication and feedback are the keys.

Date: 29 July 2016

AEC 2015

Assoc. Dr. Somchai drew his vast experience into the talk which examined the economic and regional grouping and showed the way on how these happenings may affect PSU; and more importantly how we as leaders of the university may react to these phenomena.

He also argued that the PSU leaders should understand the paradox of what is happening today. For example, there is globalization; there should be anti-globalization counterpart. Thus, there are groups of people who do not agree with what have been brought about under globalization banner and reacted to them negatively. However, PSU should see opportunities and provide some courses and trainings suitable for students and staff to take advantage of such events and help them to life peacefully in this world.

Date: 30 July 2016

Rak Chai Activities

This activity highlights the importance of arts and perhaps music in balancing the life of leaders and helping them to become more effective ones. Appreciation of artwork results in a more focused and resource-oriented leader

วันที่ 28-30 กค. 2559

1. group assignment and presentation/Effective Teamwork and value creation of PSU/Managing self-performance

- กลยุทธ์ของ ม.อ. ตอนนี้ ควรมองแบบ blue ocean เปิดตลาดใหม่ที่เราเล็งเห็นถึงการที่เรามีทรัพยากรอยู่แล้ว เปิดพื้นที่การตลาดใหม่โดยไม่เน้นการแข่งขัน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับองค์กร โดยมองว่าคุณค่าและมูลค่าสามารถไปพร้อมกันได้

- doing charity by doing trade

- กลยุทธ์ของ ม.อ. จะต้องอยู่บนกิจกรรมที่มีเอกลักษณ์ และมีความแตกต่าง โดยใช้หลัก 2R’s

- Vision ประกอบด้วย core Ideology (Yang,ชาย) vs. envisioned future (Yin,หญิง)

Core Ideology ประกอบด้วย 1. Core values ต้องไม่ตายไปกับกาลเวลา 2. Core purpose ต้องหาคำตอบว่าทำไมเราถึงต้องมี ทำไมเราถึงต้องอยู่

Vision ต้องทำได้ใน 10-30 ปี ไม่ใช่ระยะสั้น ต้องมีลักษณะ BHAG (Big, Hairy, Audacious goal)

และต้องระวัง!!!! การหยุดพัฒนาเมื่อไปถึง vision แล้ว

- สิ่งที่ ม.อ. ต้องระบุให้ได้ คือ 1. Define all customers/streakholders 2. บุคคลเหล่านี้มองเราอย่างไร 3. และเราอยากให้เค้ามองเราแบบไหน 4. เราต้องทำอะไรให้แตกต่าง

- กรอบแนวความคิด มนุษย์สร้างได้และเปลี่ยนแปลงได้

1. Mindset กรอบความคิดเปลี่ยนแปลงได้

2. Logic thinking

3. Process product

4. Wisdom for life management

- ความต้องการของเราประกอบด้วย

1. Personality needs (ความแน่นอน ความมั่นคงปลอดภัย ความสะดวกสบาย/ ความไม่แน่นอน ความหลากหลาย/ ความเชื่อมโยงและความรัก/ ความเป็นคนสำคัญ)

2. Spirit needs (การเจริญเติบโต/ การแบ่งปัน)

2. เศรษฐกิจ ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบ การปรับตัวและกลยุทธ์ของ ม.อ.

- คนดี คือ มีโอกาสโกงแต่ไม่โกง ซึ่งไม่เหมือนกับคนไม่โกง

- เปลี่ยนตามโลกให้ทัน (global mindset/ IT literary/ innovation)

- 4.0 กระทบกับมหาวิทยาลัย ต้องปรับหลักสูตรทั้ง social และ sci

3. กิจกรรมรักษ์ใจ

- เน้นเรื่องสมาธิ การอยู่กับตัวเองและความมั่นใจ

วีระพงค์ อาภารัตนคุณ

สรุปประเด็นวันที่ 28 - 30 กรกฎาคม 2559
Effective Teamwork and Value Creation of PSU
- มนุษย์สร้างได้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหมายความว่า คนที่เป็นเพื่อนร่วมงานเรา เพื่อนเรา คนในครอบครัวเรา ก็สร้างได้เช่นกัน
- ให้ตั้งต้นว่าโลกนี้มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ให้ตั้งต้นว่าเราทำได้ ถ้าสมองคิดว่าเราทำได้ สมองจะหาวิธี และเมื่อ Mindset เปลี่ยนแปลง เราจะเพาะเรื่องการคิดอย่างมีเหตุมีผล (Logic Thinking) แล้วเกิดการทำซ้ำเรื่อย ๆ จะเปลี่ยนนิสัยใหม่ และทำซ้ำเรื่อย ๆ จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมเรา เส้นทางสายปัญญา
- มนุษย์จะเลือกเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน เพราะเขาจะเอาคุณค่าเป็นตัวตั้ง ดังนั้นการนำพาคณะไปต้องให้เขาเห็นคุณค่าหรือได้รับประโยชน์ เพราะเมื่อคนมีคุณค่า แรงบันดาลใจ แรงจูงใจจะเกิด ในการกระทำที่ไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้
Managing Self - Performance
- ในโลกนี้ไม่มีคำว่าล้มเหลว เพียงแค่ยังไม่เจออะไรบางอย่างที่ยังไม่ทำ ชีวิตไม่มีคำว่าล้มเหลวเพียงแค่ยังไม่ได้ทำหรือทำยังไม่ดีพอ
- 6 Core Needs
Personality Needs
1. ความแน่นอน (Certainty) /ความมั่นคงปลอดภัย (Security) /ความสะดวกสบาย (Comfort)
2. ความไม่แน่นอน (Uncertainty)/ความหลากหลาย (Variety) /ความสมบุกสมบัน (Adventure)
3. ความเชื่อมโยงและความรัก (Love and Connection)
4. ความเป็นคนสำคัญ /ได้ความสำคัญ (Significant)
Spirit Needs
1. การเจริญเติบโต (Growth)
2. การช่วยเหลือแบ่งปัน (Contribution)
กิจกรรมรักษ์ใจ ศิลปะกับผู้บริหาร
- เป็นอีกกิจกรรมในหลักสูตรที่สามารถผ่อนคลาย โดยใช้เวลาอยู่กับการใช้ศิลปการระบายสีน้ำ ที่เดิมเราไม่ค่อยให้ความสำคัญ

ประเด็นและสิ่งที่ได้เรียนรู้ ช่วงที่ 3 วันที่ 28-30 กรกฎาคม 2559

คงมองในภาพรวมจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ มนุษย์เราสรา้งได้ ก็ย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ นั้นหมายความว่า คนเรา องค์การ ต้องยอมรับและเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติ นโยบาย และโดยเฉพาะสถานะของมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องมีการจัดทำแผนเตรียมรับที่ดี ครอบคลุมทุกส่วนฝ่าย และที่สำคัญคือเป้าหมาขององค์กรต้องชัดเจน รวมถึงต้องมีการสื่อสารภายในองค์กรที่เข้าใจตรงกันและทั่วถึง

การให้ความสำคัญกับทุกองคาพยพ การชื่นชมยินดีและการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งสำคัญมากๆ และเห็นด้วยกับข้อสรุปที่ว่า "มนุษย์จะเลือกเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน เพราะเขาจะเอาคุณค่าเป็นตัวตั้ง มนุษย์จริง ๆ รักตัวเองมากที่สุด ดังนั้นการนำพาคณะไปต้องให้เขาเห็นคุณค่าหรือได้รับประโยชน์"

อีกประการที่สำคัญก็คือ การปรับยุทธศาสตร์ขององค์การให้สอดคล้องและเท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้แล้ว องค์การ หรือแม้แต่ตัวเราเองอาจจะมองข้ามสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ สมาธิและจิตใจที่สงบ ซึ่งหากเรามีจิตใจที่ดี สงบ มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีแล้ว สามารถที่จะสรา้งสรรค์ พัฒนาผลงานได้อย่างมีคุณภาพ และมีธรรมาภิบาล

28 กค

Effective Teamwork and Value Creation of PSU

  • ทุกอย่างในโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับมุมมองของชีวิตแต่จะดีหรือไม่สุขหรือทุกข์ แท้จริงแล้วอยู่ที่มุมมองของตัวเราเอง
  • ในทีมจะมีหลายคน แต่ละคนอาจจะมีไม่เหมือนกันแต่สามารถทำให้ทีมทำงานร่วมกันได้ ประสิทธิภาพของทีมอยู่ที่การผสมผสานบทบาทของแต่ละคนให้ทำงานในสิ่งที่ทีมต้องการ
  • ทุกคนมีกรอบความคิดแต่กรอบนี้จะเปลี่ยนแปลงได้
  • สมาชิกในทีมจะเปลี่ยนความคิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ คุณค่าหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ ประสิทธิภาพของทีมจึงอยู่ที่ผู้นำให้ลูกทีมเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ที่เขาจะได้รับหรือไม่
  • บุคลิกภาพของคนในทีม4 กลุ่ม คือ นักกิจกรรมนักปฎิบัตินักทฤษฎีและ นักผจญภัย
  • นักบริหารต้องเป็นได้ทุกอย่าง ทุกคนเป็นผู้นำได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
  • การสร้างคุณค่าในทีม ทำให้ทุกคนมีคุณค่าให้โอกาสทำในสิ่งที่รัก
  • ความสำเร็จของทีมต้องดูที่ประสิทธิผล ก่อนประสิทธิภาพ ให้หยิบเป้าที่ใช้มาเป็นตัวทำ อย่าไปยึดติดที่กระบวนการสังคม สร้างสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เป้าหมายชัด มีการสื่อสารร่วมกัน เป้าหมายใหญ่ ให้ซอยเป้าย่อยลง ถ้ามีคนเก่งให้เขามาช่วยเรา เช่นการปลูกต้นไม้ฤดูฝน การรู้จักภูมิศาสตร์ ภูมิสังคมจะเป็นตัวช่วย รู้ฟ้า รู้ดิน รู้เขา รู้เรา
  • Competency เป็นเรื่องของ Knowledge

ManagingSeft –Performance

- สิ่งที่อยู่ข้างในเป็นคุณลักษณะความเข้าใจตนเอง ทัศนคติ ค่านิยม/คุณค่า การมองตนเอง บุคลิกภาพและแรงจูงใจ ความเชื่อ ความต้องการ

- ผู้บริหารต้องรู้จักเข้าใจถึงตัวตนของตัวเองเป็นอย่างดี คิดเชิงรุก (proactive) จึงจะสามารถบริหารผู้อื่นและนำพาองค์กรไปได้อย่างมีประสิทธิผล

- การสื่อสารที่ดี คือการรับฟังคนอื่นพูดและรับรู้สิ่งที่ผู้นั้นพูด แล้ว acknowledge สิ่งที่ผู้นั้นพูดก่อนที่จะตั้งคำถามเชิงบวกและสร้างสรรค์

ความต้องการหลัก 6 อย่าง : 6 Core Needs

Personality Needs

1. ความแน่นอน (Certainty) /ความมั่นคงปลอดภัย (Security) /ความสะดวกสบาย (Comfort)

2. ความไม่แน่นอน (Uncertainty)/ความหลากหลาย (Variety) /ความสมบุกสมบัน (Adventure)

3. ความเชื่อมโยงและความรัก (Love and Connection)

4. ความเป็นคนสำคัญ /ได้ความสำคัญ (Significant)

Spirit Needs

1. การเจริญเติบโต (Growth)

2. การช่วยเหลือแบ่งปัน (Contribution)

29 กค

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และ เศรษฐกิจไทย...ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของ ม.อ.

เม็ดพันธ์หรือยุคของมนุษย์ 4 ยุค

1.สังคมเกษตร- แข่งขันหรือแย่งชิงที่ดิน

2.สังคมอุตสาหกรรม - ล่าอาณานิคม

3.Information Technology- ภาษาต่างประเทศข้อมูลการแข่งขันทางการค้า โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

เปิดเสรี – การค้าเงินทุนบริการ แรงงาน

เกิดการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเพื่อทำกิจกรรม

มีขบวนการต่อต้านโลกาภิวัฒิ

สรุป การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย

30 กค

กิจกรรมรักษ์ใจ : ศิลปะ...สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

ฝึกใช้วาดรูปสีน้ำเพื่อสร้างสมาธิวาดรูปธรรมชาติทำจิตใจว่างปราศจากสิ่งรบกวนจิตและสมาธิ อยู่กับสิ่งที่วาดฝึกวาดรูปง่าย ๆ

กิจกรรม 28-30 กรกฎาคม 2559

  • ประสิทธิภาพของทีมคือ ศิลปะให้การบริหารและเชื่อมโยงศักยภาพของบุคคลให้องค์กร ซึ่งมีความหลากหลาย และแตกต่างการในด้าน IQ EQ MQ และ SQ หากผู้นำสามารถหลอมรวมบุคคลทั้ง 4 ประเภทได้ ก็จะสร้างสร้างพลังเพื่อการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าสูงสุด
  • การทำงานของสมองทั้งซีกซ้าย และซีกขวา มีความแตกต่างกัน ผู้บริหารส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้สมองซีกซ้ายในการบริหารจัดการงาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำงานศิลปะมาใชเพื่อให้สองซีกขวาได้ทำงาน และเป็นการช่วยให้สมองซีกซ้ายได้พักผ่อนไปในตัวด้วย

วิชาที่ 13: Effective Teamwork and Value Creation of PSU

วันที่ 28 กรกฎาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

การสร้างคุณค่าให้กับทีมมหาวิทยาลัย มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า คุณค่าที่แท้จริงอยู่ที่คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งความรู้ความสามารถเฉพาะตัว คือ มีทั้งด้านบวกและลบ มหาวิทยาลัยต้องคัดเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน/ภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ มหาวิทยาลัยต้องให้โอกาสคน ทุกคนต้องการพื้นที่ในการปรับตัว เพื่อให้สามารถทำสิ่งที่ดีที่สุดร่วมกันได้ สามารถเปลี่ยนคนไม่ดีเป็นคนดีได้ เปลี่ยนให้คนมีความสามารถมากขึ้น จะทำให้มหาวิทยาลัยมีทีมงานที่ดีและมีคุณภาพ

วิชาที่ 14: Managing Self-Performance

วันที่ 28 กรกฎาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

สิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องสร้าง/ตอบสนองความต้องการของบุคลากร คือ สร้าง personality needs ได้แก่

1. สร้างความแน่นอน (certainty) /ความมั่นคงปลอดภัย (security) ความสะดวกสบาย (comfort)

2. แก้ปัญหา/กำจัดความไม่แน่นอน (uncertainty) ความหลากหลาย (variety) ความสมบุกสมบัน (adventure)

3. สร้างความเชื่อมโยงและความรัก (love and connection) ให้กับคนในองค์กร

4. ยกย่องความเป็นคนสำคัญ/ให้ความสำคัญ (significant) กับคนในองค์กร

จึงจะทำให้มหาวิทยาลัยก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

วิชาที่ 15: เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของ ม.อ.

วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

มหาวิทยาลัยต้องสรางหลักสูตรที่ให้บัณฑิตมีคุณภาพ มีการบูรณาการ ส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการ เรียนรู้การศึกษาจริง มีการเสริมสร้างความแข็งแรงทางด้านภาษา ลดความซ้ำซ้อนระหว่างคณะและวิชา จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น สร้างงานวิจัยที่ทันสมัยตอบสนองความต้องการของโลก มหาวิทยาลัยควรมีการบริการทางวิชาการที่ตอบโจทย์สังคม มีการรับฟังชุมชนมากขึ้น สร้างอัตลักษณ์ให้คณะ/บุคลากรเพื่อทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยได้

วิชาที่ 16: แผนรับมือด้านเศรษฐกิจและสังคม

วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

การเรียนในอนาคต นักศึกษาแต่ละคนจะจบออกมาไม่เหมือนกัน แต่ละคนที่เข้ามาต้องมีเป้าหมายของว่าจะไปในแนวทางใด มหาวิทยาลัยต้องสามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษาเหล่านั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย เสริมทักษะการบริหารจัดการ เรียนรู้จากการศึกษาจริง จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น สร้างงานวิจัยที่ทันสมัย

วิชาที่ 17: กิจกรรมรักษ์ใจ: ศิลปะ...สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

วันที่ 30 กรกฎาคม 2559

(นายสุรชาติ เพชรแก้ว)

การเรียนศิลปะจะเน้นเรื่องการอยู่กับตัวเอง สร้างความมั่นใจ และเชื่อว่าทำได้จะทำได้แน่นอน ศิลปะจึงเป็นเรื่องรสนิยมของแต่ละบุคคล แต่รสนิยมสามารถเปลี่ยนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้จากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

วันที่ 28 กรกฎาคม 2559

Innovation on high-value culture ต้องเพาะใจ (mindset) เพาะสมอง (logic thinking) เพาะกาย (process product&service) อยู่กับปัจจุบันทำดีที่สุด ณ เวลานั้น

การ coaching การเข้าถึงคนที่จะไปพัฒนาจะต้องตั้งคำถามดีดี ดีกว่า การบอกเรื่องดีดี คุณลักษณะที่ค้องการเพื่อประสบความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ การรับฟัง การเผชิญหน้ากับความกลัว

การเขียน vision ให้ success ดูความต้องการทั้ง personal needs และ spirit needs

วันที่ 29 กรกฎาคม 2559

reactive thinking เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น IT, global mindset, innovation มอ.ควรมีการปรับยุทธศาสตร์ให้สองคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 30 กรกฎาคม 2559

กิจกรรมรักษ์ใจ ศิลปะทำให้มีสมาธิเพื่อสร้างสิ่งที่อาจจะไม่เคยทำให้ได้ดี


บุุษบา บุญเสริมสุขเจริญ

สรุปสาระสำคัญการอบรมช่วงที่ 3 วันที่ 28-30 ก.ค.59

28 ก.ค.59

ในโลกนี้ไม่มีคำว่าล้มเหลว เพียงแต่ยังไม่เจอสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ หรือทำแล้วยังไม่ดีพอ

6 Core Needs

Personality Needs

1. ความแน่นอน (Certainty) ความมั่นคงปลอดภัย (Security) ความสะดวกสบาย (Comfort)

2. ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความหลากหลาย (Variety) ความสมบุกสมบัน (Adventure)

3. ความรักและความเชื่อมโยง (Love and Connection)

4. การเป็นคนสำคัญ (Significant)

Spirit Needs

1. การเจริญเติบโต (Growth)

2. การช่วยเหลือแบ่งปัน

29 ก.ค.59

จริยธรรม กับความดี

- หลีกเลี่ยงการทำสิ่งใดๆ ที่ไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา

- สังคมยิ่งขยายใหญ่ จริยธรรมต้องสูงมาก

- จริยธรรมไม่ใช่ทำตามที่คนอื่นบอกหรือกำหนดหรือทำตามกฎหมาย แต่อยู่ที่จิตใจ

คนดีจริง ๆ คือคนที่มีโอกาสโกงแต่ไม่โกง

30 ก.ค.59

เรียนศิลปะเพื่อเน้นการอยู่กับตัวเอง สร้างความมั่นใจ และเชื่อว่าทำได้จะทำได้แน่นอน ดังนั้น ความรู้สึกจึงเป็นเรื่องสำคัญ ศิลปะเป็นการมองตามความรู้สึกและรสนิยม การมีประสบการณ์จะสะท้อนสิ่งที่เรามอง ช่วยให้เกิดรสนิยม ซึ่งสามารถเปลี่ยนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท