กลยุทธในการสร้างธรรมาภิบาล คือ สร้างบรรยากาศให้คนอยากทำงานในสิ่งถูกต้อง





พลเอกพหล สว่างเนตร รอง ปธ.กมธ.ปฎิรูปการศึกษา(สปท.) ปธ.อนุกรรมการเรื่องการเรียนรู้

สาระธรรมาภิบาลคือการสร้าง “คนดี” หลักธรรมาภิบาล ๖ ข้อยังเป็นนามธรรม กำลังทำให้ชัดเจนขึ้น เช่น ในระดับกระทรวงชี้รูปธรรมธรรมาภิบาลมากขึ้น ระดับกรมเน้นที่คุณภาพของผู้บริหารส่วนกลาง โรงเรียนเน้นที่จริยธรรมและกฎระเบียบ

กลยุทธในการสร้างธรรมาภิบาล คือ สร้างบรรยากาศให้คนอยากทำงานในสิ่งถูกต้อง แนวทางสี่ข้อเพื่อสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดเป็นรูปธรรม คือ ๑)ชี้ให้เห็น ๒)ทำให้ดู ๓)รู้คุณค่า และ ๔)มีกฎเกณฑ์การปฎิบัติ ตัวอย่างเช่นการยืนเคารพธงชาติ ผลที่คาดหวังคือทำให้คนเห็นคุณค่าของประเทศ ยืนตรงเคารพด้วยความสมัครใจ

ธรรมาภิบาลสถานศึกษา คือ การสร้างจริยธรรมองค์กร เพื่อเป็นกลไกบริหารกำกับองค์กร แนวทาง คือสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เป็น Active learning การเรียนต้องผูกโยงเข้ากับสภาพแวดล้อม ให้เกี่ยวเนื่องกับชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสังคม ภาษา วิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

ที่มาตรฐานการศึกษาไทยตกต่ำกว่าลาวและเขมรเป็นเพราะการจัดการศึกษาไม่ถูกต้อง ไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ทั้งที่ประเทศไทยมีความพร้อมกว่าลาวและเขมร งบประมาณที่จัดสรรให้การศึกษาก็มากกว่า

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการศึกษาให้เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ ระยะยาวคือการวางระบบ กำลังทำ พรบ.การศึกษา ด้ายแนวทางปฎิรูปการศึกษา สปท.จะมอบนโยบายให้นายกรัฐมนตรีวันที่ ๒๙ ก.ค.นี้ ในเรื่องแก้ปัญหาเฉพาะหน้านายกรัฐมนตรีได้ใช้ ม.๔๔ เมื่อวันที่ ๑๓ ก.ค.๕๙ ยับยั้งปัญหาไว้ก่อน เช่น ออกคำสั่งปลดอธิการ มรภ.สุรินทร์ และ มรภ.ชัยภูมิ

การสัมมนาวันนี้คือ การหาความหมายใหม่ของธรรมาภิบาลการศึกษา เป้าหมายคือการสร้างคน สร้างจริยธรรมองค์กร และปฎิรูปการเรียนรู้ซึ่งหัวใจคือ จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาแวดล้อมและบริบทของสังคม งานวันนี้จะเป็น “เทียนเล่มแรก” ที่จะส่องสว่างแก่การศึกษาไทย

สรุปการสัมมนาเรื่องธรรมาภิบาลในระบบการศึกษา จัดโดย อนุ กก.ปฎิรูปการศีกษา ร่วมกับ ป.ป.ท.

วันที่ ๑๔ ก.ค.๕๙ ณ ห้องประชุมสำนักงาน ป.ป.ท. ถนนแจ้งวัฒนะ

หมายเลขบันทึก: 610954เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2016 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2016 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Active learning สำคัญมากๆ ค่ะ นักเรียนจะได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติได้ ไม่ใช่ฟังและดูจากครูที่บรรยายไปเรื่อยๆ และถ้าโจทย์ active learning สามารถสอดประสานเชื่อมโยงกับชีวิตได้ ผู้เรียนก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นและนำไปใช้ได้จริงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท