ทักษะการฟัง: จากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน (Listening: Top down and bottom up )


การฟังในชีวิตจริง นักเรียนต้องใช้ทั้ง 2 กระบวนการร่วมกันเสมอ สองกระบวนการนั้นก็จะมีจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบน ซึ่งจะใช้กระบวนการใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับเหตุผลในการฟังด้วย

กระบวนการจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน (Top-down VS bottom up listening)

ลองจินตนาการดูสถานการณ์ต่อไปนี้

ในตอนเที่ยง เพื่อนของคุณบอกเกี่ยวกับเรื่องราวในวัดหยุดเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นเรื่องโศกเศร้า เธอฟังมันด้วยความสนใจ และอุทานด้วยอาการอันเหมาะสม บางครั้งอาจแสดงอาการแปลกใจ หรือแสดงความเห็นใจ

              เย็นวันนั้น เพื่อนของคุณอีกคนเชื้อเชิญคุณไปงานเลี้ยงที่บ้านของเธอในวันเสาร์ แต่คุณไม่เคยไปบ้านของหล่อนมาก่อน หล่อนให้แผนที่บ้านกับคุณ เธอตั้งใจฟัง และพยายามจดสิ่งที่จำเป็น

คุณจะฟังด้วยกระบวนการอะไรในแต่ละกรณี? จะมีความแตกต่างหรือไม่ในกระบวนการทั้งสอง?

หากเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวันหยุด สิ่งที่คุณต้องเกี่ยวข้องด้วยอาจเป็นเพียงการทำความเข้าใจกับความคิดโดยรวม (general idea) และรู้ว่าเมื่อใดที่ควรจะโต้ตอบ ในทางตรงกันข้าม หากฟังเรื่องที่เกี่ยวกับทิศทาง (directions)ไปงานเลี้ยง การเข้าใจคำที่เกี่ยวกับทิศทางนั้นคือความสำคัญยิ่งกว่า----ถ้าคุณจะไปที่นั่นโดยไม่มีอุบัติเหตุใดๆ ก็แค่นั้น

วิธีที่คุณฟังเรื่องราวเกี่ยวกับวันหยุดน่าจะใช้การฟังแบบบนลงล่าง (top-down listening) สิ่งนี้มีนัยยะถึงการใช้ความรู้เบื้องหลัง (background knowledge) ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของสาร ความรู้เบื้องหลังประกอบด้วยบริบท (context) ซึ่งหมายถึงสถานการณ์และหัวข้อ (situation and topic), ข้อความข้างเคียง (co-text) ซึ่งหมายถึง สิ่งใดมาก่อน และสิ่งใดมาทีหลัง บริบทของการกระซิบกับเพื่อนเป็นสถานะแบบไม่เป็นทางการ (casual environment) ซึ่งแน่นอนว่าจะลดปริมาณหัวข้อลง (the range of possible topics) เมื่อหัวข้อของวันหยุดเกิดขึ้น ความรู้ของเราเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดกับวันหยุดจะมาเกี่ยวข้องในมโนภาพ และจะช่วยเราในการจับคู่

ในทางตรงกันข้าม เมื่อกำลังฟังทิศทางไปที่บ้านของเพื่อน ความเข้าใจ (comprehension) จะเกิดขึ้นโดยการแบ่ง (dividing) และถอดรหัส (decoding)เสียงไปทีละเล็กละน้อย ความสามารถในการแยกการพูด (the stream of speech) ไปสู่คำทีละคำเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในขั้นตอนนี้ เช่น หากเราต้องแยกกันระหว่างชื่อของถนน หรือการขึ้นรถบัส

ในความเป็นจริงแล้ว การฟังที่ราบรื่นตลอดจะต้องใช้กระบวนการทั้งสองกระบวนการ (บนลงล่าง และล่างขึ้นบน)ไปพร้อมๆกัน ลองคิดถึงการพูดกับเพื่อนสักคนหนึ่ง (ในภาษาแม่ของเรา) ในบาร์ที่มีแต่เสียงอึกทึกครึกโครม มีแนวโน้มว่าคุณจะ “เดา” เนื้อหาของการพูดโดยส่วนใหญ่นั้นได้ โดยอาศัยความรู้จากหัวข้อ (topic) และสิ่งที่เพื่อนพูดมา ด้วยวิธีการนี้ คุณจะใช้กระบวนการจากบนลงล่าง (top-down) เพื่อที่จะคาดเดาเกี่ยวกับเสียงที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นอุปสรรคในการใช้กระบวนการล่างขึ้นบน (bottom-up) โดยนัยยะเดียวกัน ผู้ฟังที่ใช้ภาษาที่สอง มักจะใช้ความรู้เรื่องหัวข้อ (topic) และสถานการณ์ (situation) เมื่อต้องเจอคำศัพท์หรือโครงสร้างที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้นนี่คือการใช้กระบวนการจากบนลงล่างเพื่อที่จะทดแทนความยุ่งยากในกระบวนการจากล่างขึ้นบน หากกล่าวในอีกแง่มุมหนึ่ง หากผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่คนอื่นกำลังพูดอยู่แล้วหละก็ เขาหรือหล่อนก็จะไม่สามารถหาหัวข้อในบทสนทนา ดังนั้นกระบวนการจากบนลงล่างจะเป็นข้อจำกัดอย่างยิ่ง

ในห้องเรียน

ในการฟังในชีวิตจริง นักเรียนของพวกเราจะต้องใช้กระบวนการทั้งสองอย่างพร้อมกัน เพียงแต่จะเน้นหนักในระหว่างจากล่างขึ้นบน หรือจากบนลงล่าง ซึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นกับเหตุผลในการฟังเรื่องนั้นๆ อย่างไรก็ตาม กระบวนการทั้งสองนั้นสามารถฝึกแยกขาดจากกันได้ เพราะว่ากระบวนการที่เกี่ยวข้องมีความแตกต่างกัน

กิจกรรมการฟังจากบนลงล่าง (Top-down listening activities)

คุณเคยให้นักเรียนคาดเดาเนื้อหาของกิจกรรมการฟังมาก่อนหรือเปล่า? บางครั้งอาจเป็นการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อ (topic) หรือสถานการณ์ (situation), ภาพวาด, หรือคำสำคัญ? ถ้าเป็นอย่างที่ว่า คุณกำลังฝึกเด็กๆให้ใช้หรือพัฒนากระบวนการจากบนลงล่าง (top-down processing) โดยการเน้นให้เด็กๆใช้ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อมาทำความเข้าใจเนื้อหา นี่คือทักษะที่สำคัญอันหนึ่ง เพราะสถานการณ์การฟังในชีวิตจริง แม้แต่ผู้ฟังที่มีความเชี่ยวชาญนั้นด้วย (advanced learners) มีแนวโน้มที่จะเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้อยู่มากมาย ด้วยการใช้ความรู้เกี่ยวกับบริบท (context) และข้อความข้างเคียง (co-text) พวกเขาจะสามารถเดาความหมายของคำที่ไม่รู้ หรือไม่ก็เข้าใจความคิดโดยรวมโดยไม่เสียสมาธิกับมัน ตัวอย่างของการใช้กิจกรรมแบบบนลงล่าง ก็มีการเรียงภาพวาดให้เป็นลำดับ หรือเรียงเหตุการณ์ให้เป็นลำดับ, ฟังบทสนทนา และเดาว่าเกิดขึ้นที่ไหน, อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อ ต่อมาจึงฟัง และให้หาว่าประเด็นที่เคยอ่านถูกนำเสนอในการฟังนั้นหรือไม่, หรือเดา (infer)ถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในบทสนทานั้น

กิจกรรมการฟังจากล่างขึ้นบน (Bottom-up listening activities)

การเน้นสื่อการฟังสำหรับการเรียนที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในปีที่ผ่านมานี้มีการพัฒนาแต่กระบวนการจากบนลงล่าง (top-down) มีหลายเหตุในการทำสิ่งนี้ เพราะผู้เรียนสามารถที่จะฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะพวกเขาอาจพบคำศัพท์หรือโครงสร้างที่ไม่คุ้นเคยได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้เรียนเข้าใจคำศัพท์ที่น้อยมากๆจากเสียงที่ได้ยิน ถึงแม้ว่าความรู้เกี่ยวกับบริบทอาจไม่เข้าใจว่าอะไรเกิดขึ้นบ้า และสุดท้ายเขาหรือเธออาจเสียสมาธิได้ แน่นอนว่าผู้เรียนที่ไม่ค่อยเชี่ยวชาญมาก (low-level learners) อาจไม่รู้คำศัพท์หรือไม่รู้เกี่ยวกับภาษา มากมายนัก แต่พวกครูส่วนใหญ่ย่อมคุ้นเคยกับสถานการณ์ ซึ่งผู้เรียนที่พอมีความเชี่ยวชาญอยู่บ้างก็พลาดที่จะบ่งชี้คำในกระแสของคำที่พูดที่ติดกันเป็นพืดได้ (the stream of fast connected speech) กิจกรรมการสอนแบบล่างขึ้นบนจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจองค์ประกอบทางภาษาศาสตร์ที่เพียงพอ (enough linguistic elements) ในประโยคที่ได้ยิน ต่อมาจึงสามารถจะใช้กระบวนการแบบบนลงล่างเพื่อที่ฟังให้เข้าใจได้

กระบวนการที่จะนำเสนอขึ้นมาจะช่วยพัฒนาทักษะการฟังจากล่างขึ้นบนได้ (bottom-up skill) กิจกรรมนี้ชื่อว่า dictogloss กิจกรรมนี้จะพัฒนาให้ผู้เรียนให้มีการตระหนักรู้การแบ่งคำแต่ละคำได้ ซึ่งเป็นทักษะการฟังแบบจากล่างขึ้นบน ครูจะอ่านประโยคจำนวนมาก และขอให้นักเรียนเป็นคนเขียนให้อยู่ในรูปแบบเขียน ถึงแม้ว่าภาระงานนี้จะมีความง่าย แต่สำหรับนักเรียนที่ไม่ค่อยเก่งแล้ว การพูดที่ติดต่อกันเป็นพืดย่อมทำให้เกิดปัญหาได้ ดังนั้นจึงจำเป็นสำหรับครูที่อ่านประโยคเหล่านี้อย่างเป็นธรรมชาติ (very natural way) มากกว่าที่จะอ่านประโยคเหล่านี้เป็นคำๆ นี่คือตัวอย่างของกิจกรรม dictogloss: I’m going to the shop, Do you want some chocolate?, Let’s have a party!, I’d better go soon, You shouldn’t have told him, What are you doing?, There isn’t any coffee, What have you got?, He doesn’t like it, It’s quite a long way,Why did you think you’d be able to?, Can you tell him I called?

ผู้เรียนต้องทำงานเหล่านี้เป็นคู่ ก่อนที่จะฟังอีกครั้งเพื่อการตรวจสอบ เมื่อมีการฟังเป็นครั้งที่ 3 พวกเขาจะเขียนสิ่งที่ได้ยิน และสร้างประโยคใหม่เป็นคู่หรือกลุ่ม โดยการเปรียบเทียบกับประโยคที่ถูกต้อง นักเรียนจะได้รู้ว่าพวกตนขาดเสียงใด และอย่างไรที่ภาษาเขียนแตกต่างจากภาษาพูด สิ่งนี้จะช่วยผู้เรียนในการพัฒนาทักษะการตระหนักรู้คำที่รู้ดีอยู่แล้ว (known words) และการบ่งชี้การแบ่งแยกระหว่างคำสำหรับการพูดที่ติดกันเป็นพืด

การสรุป

การฟังที่ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยทักษะทั้งสองอย่างนี้ประกอบกัน กิจกรรมที่เหมาะสำหรับแต่ละทักษะคือการผสมผสานทั้งทักษะจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบน การฝึกในลักษณะนี้คือการฝึกให้ผู้เรียนเป็นนักฟังที่มีประสิทธิภาพในชีวิตจริง

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Catherine Morley. Listening: Top down and bottom up. http://www.teachingenglish.org.uk/article/listening-top-down-bottom?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish

หมายเลขบันทึก: 610950เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2016 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2016 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thanks for a useful article. It would be better if you checked the translation more carefully, there were lot of mistakes here, for example: 'chatting' doesn't mean 'กระซิบ' in this context, it means 'an informal conversation'(พูดคุย). ไม่ทราบว่าใช้โปรแกรมแปลไว้ก่อนหรือเปล่าเพราะเหมือนจะเเปลตรงตัวมากไปหน่อยเลยอ่านแล้วงงๆ แต่ยังไงก็ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท