เพชรบุรีดินแดนภาษาตะวันตก


เพชรบุรีดินแดนภาษาตะวันตก

ใครเคยไปเพชรบุรี ก็จะได้พบเจอกับภาษาตะวันตก ลองถามคนเพชรบุรี ว่า "ไปไหม ?" "กินข้าวรึยัง?"

ท่านจะได้รับคำตอบกลับมาถ้าเป็นประโยคปฏิเสธ

โดยทั่วไป จะตอบว่า "ไม่ไป" แต่คนเพชรบุรีจะตอบว่า "ไปไม่" หรือเป็นเสียงพูดสำเนียงเพชรบุรี ว่า "ไปม๊ะ" ถ้าออกเหน่อก็ "ไป๊หมะ"

โดยทั่วไป จะตอยว่า "ยังไม่ได้กิน" แต่คนเพชรบุรีจะตอบว่า "ยังได้กินไม่" หรือเป็นเสียงพูดสำเนียงเพชรบุรีว่า "ยังได้กินม๊ะ"ถ้าออกเหน่อ ก็ "ยางได้กิ๊นหมะ"

คนเพชรบุรีจะนำคำปฏิเสธไปไว้ด้านหลัง เหมือนภาษาตะวันตก

เหตุที่เป็นเช่นนี้ ผู้เขียน สันนิษฐาน น่าจะเป็นเพราะเมื่อประมาณ 150 ปีก่อน มีคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน นำโดย ศาสตราจารย์ เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์
(Rev. S.G.McFarland) ศาสตราจารย์ ดาเนียล แมคกิลวารี (Rev. Daniel McGilvary) และครอบครัวเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาและวางรากฐานการศึกษาแก่ชาวเมืองเพชรบุรี

โรงเรียนราษฎร์สตรีแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) ณ ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี ด้านตะวันตก เรียกว่า โรงเรียนสตรีฝึกหัดทำการ หรือ โรงเรียนการช่างสตรี (INDUSTIRAL SCHOOL) สอนวิชาการทั่วไป และการเย็บปักถักร้อย โดยแหม่ม เอส.จี.แมคฟาร์แลนด์ และจักรเย็บผ้าได้นำมาใช้เป็นครั้งแรก เพชรบุรีจึงได้ชื่อว่า เมืองแห่งจักรเย็บผ้า (SEWING MACHINE TOWN)

ในปี พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสมทบทุนสร้างโรงเรียน ชื่อว่า โฮเวอร์ดเมมเมอรเรียลสกูล (HOWARD MEMORIAL SCHOOL) หรือโรงเรียนอรุณสตรี

ปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) ศาสตราจารย์ พอล เอ.เอกิน (Rev. Paul A.Eakin) ได้สร้างโรงเรียนชายขึ้น ชื่อว่า แรนกิน เมมเมอเรียลสกูล (RANKIN MEMERIAL SCHOOL) หรือ โรงเรียนประดิษฐ์วิทยา 15 ปีต่อมา (ค.ศ. 1931) โรงเรียนอรุณสตรีได้ย้ายไปอยู่ใกล้คริสตจักรศรีพิมลธรรม มีชื่อว่า รูธเธอร์ ฟอร์ด ดิคคีย์ เมมเมอเรียลสกูล (RUTHERFORD DICKEY MEMORIAL SCHOOL)

ปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) โรงเรียนชายได้ร่วมกิจการกับโรงเรียนหญิงมีชื่อใหม่ว่า โรงเรียนอรุณประดิษฐ (AROONPRADIT SCHOOL) (ชื่อโรงเรียนนี้ที่ถูกต้องจะไม่มี ไม่มี ตัว การันต์ เหนือ "ฐ" ถ้าใครเขียนมีการันต์ แสดงว่า ผิดครับ ป้ายโรงเรียนก็เช่นกันหลายคนเข้าใจว่าตัวการันต์หลุดหายไป ไม่ได้หายนะครับ ชื่อโรงเรียนมีเพียงเท่านั้น)
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนอรุณประดิษฐ

ส่วนนี้เป็นข้อสันนิษฐานของผู้เขียน....

เนื่องจากเป็นโรงเรียนราษฏร์สตรีแห่งแรกของประเทศไทย และก่อตั้งโดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน วิชาที่สอนก็คงจะไม่พ้นวิชาภาษาอังกฤษ กุลสตรี ลูกหลานชาวเมืองเพชรก็ได้มาเรียนวิชาภาษาอังกฤษกันอย่างกว้างขวาง ประโยคปฏิเสธของชาวเมืองเพชรบุรี จึงมีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษที่คณะมิชชันนารีมาสอนเมื่อประมาณ 150 ปี ที่แล้วครับ

ศิษย์เก่ารุ่นตำนาน ของโรงเรียนอรุณประดิษฐ เพชรบุรี นี้เท่าที่ผู้เขียนทราบก็มีสองท่าน คือ
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
เป็นบุตรีของนายจาด อุรัสยะนันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์

ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/จรุงจิตต์_ทีขะระ

และอีกท่านหนึ่งคือ พลตรีจารึก อารีราชการันต์ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการบริหารและเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งถึง 6 สมัย (สมัยละ 4 ปี)

ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/
จารึก_อารีราชการัณย์


พีระพงศ์ วาระเสน (ฺBobbie)
อรุณประดิษฐ รุ่น 114
18 กรกฏาคม 2559





























หมายเลขบันทึก: 610876เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2016 06:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจค่ะ "ภาษาตะวันตก" น่าจะพูดกันเฉพาะบางพื้นที่ในเมืองเพชรหรือเปล่า คนที่บ้านไม่พูดแบบนี้ค่ะ ไม่ไป ก็พูดไม่ไปค่ะ ตอนเด็กเข้าไปเรียนที่ รร สตรีประจำจังหวัด อาศัยอยู่กับป้า ได้ยินเป็นภาษาตะวันตกเป็นครั้งแรก ตอนหลังก็พูดเป็นกะเขาด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท