ประวัติหมู่บ้าน



ประวัติความเป็นมาองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว

<p “=”“>ตำบลสามพร้าว </p>

เปลี่ยนแปลงชื่อจากตำบลหนองบุมาเป็นตำบลสามพร้าวและได้ประกาศของกระทรวง

มหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงตำบลในท้องที่อำเภอเมือง อุดรธานี

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2513 ในขณะนั้นมีเขตการปกครองจำนวน 8 หมู่บ้าน

ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านสามพร้าว เดิม คือ หมู่ที่ 11
หมู่ที่ 2 บ้านสามพร้าว เดิม คือ หมู่ที่ 2
หมู่ที่ 3 บ้านหนองบุ เดิม คือ หมู่ที่ 3
หมู่ที่ 4 บ้านดอนหาด เดิมคือ หมู่ที่ 4
หมู่ที่ 5 บ้านหนองนาหล่ำ เดิมคือ หมู่ที่ 5
หมู่ที่ 6 บ้านนาหนยาด เดิมคือ หมู่ที่ 1
หมู่ที่ 7 บ้านหนองบั่ว เดิมคือ หมู่ที่ 17
หมู่ที 8 บ้านหนองคอนแสน เดิมคือ หมู่ที่ 15

เหตุที่ชื่อตำบลหรือชื่อหมู่บ้านซึ่งมีนามว่า สามพร้าว

เพราะเพี้ยนมาจากคำว่า สามท้าว ซึ่งคนโบรารณมีความเชื่อว่าคำว่า “ท้าว”

เป็นของต่ำเลยเปลี่ยนเป็นพร้าวแทน ( ข้อมูลจากแผนชุมชนบ้านสามพร้าว

หมู่ที่ 1 ) 2. ข้อมูลจาก รูปบั้นในวัดบ้านสามพร้าว และ

ท่านพระปลัดไวพจน์ วรธมโม(ในขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดสามพร้าว ระบุว่า

บ้านสามพร้าว สร้างเมื่อปี พ.ศ.2320 เดิมเรียกว่า “บ้านสามท้าว”

ซึ่งหมายถึง ชายหนุ่มสามคน โดยชายสามคนนี้ล้วนมากจากที่ต่างๆ กัน มี

1.ท้าวหนูพันธ์ มาจากอุบลราชธานี 2. ท้าวขาช้าง มาจากบ้านเชียง

อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 3.ท้าวคอก่อย มาจากเวียงจันทร์ ประเทศลาว

โดยนำช้างเชือกหนึ่งมาด้วยเป็นเพศตัวเมียชื่อพังวงศ์

ต่อมาได้ขุดบ่อน้ำขึ้น 2 บ่อ ซึ่งภาษาอิสานเรียกว่า ส้าง คือ ส้างคำ

และส้างบก ซึ่งคนในหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน

และเมื่อต่อมาเมื่อช้างพังวงศ์ใช้งานลากไม้ลากชุงประกอบกับอายุมากได้ล้มลง

ขณะที่มาถึงหนองน้ำที่หนองหนึ่งใกล้หมู่บ้าน

ซึ่งหนองน้ำแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า หนองวงศ์ เป็นหนองน้ำที่มีน้ำใช้ตลอดปี

ปัจจุบันอยู่ในวัดบ้านสามพร้าว3. ข้อมูลจาก นายสวน จันดาหาร

อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านสามพร้าว หมู่ที่ 2 ให้ข้อมูลว่า “ บ้านสามพร้าว ”

ประกอบด้วยกลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ 1. อพยพมาจากลาวพวนจังหวัดชัยภูมิ

มีอาชีพเป็น ช่างตีสร้อยตีแหวน , ทำกำไร 2. อพยพมาจากอำเภอคำเขื่อนแก้ว

จังหวัด ยโสธร มีอาชีพเป็นพ่อค้าวัว ควายและ 3.

อพยพมาจากหลวงพระบางประเทศลาว กลุ่มนี้ได้นำช้างมา 1 เชือก เรียกว่า

ช้างพังวงศ์ จึงตั้งชื่อว่าบ้านสามท้าว และเปลี่ยนชื่อเป็น สามพร้าว

ข้อมูลพื้นฐานจำนวนครัวเรือน
- จำนวน 4,462 ครัวเรือน
จำนวนประชากร
- ชาย 7,981 คน
- หญิง 8,061 คน
อาชีพ
- เกษตรกรรม ร้อยละ 38.14
- รับจ้าง ร้อยละ 20.59
- ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.89
- ธุรกิจคัาขาย ร้อยละ 5.95
- อื่นๆ ร้อยละ 23.43

<p “=”“>1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว </p>

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองอุดรธานีมีพื้นที่ทั้งหมด 45,753 ไร่

<p “=”“>หรือประมาณ 73.22 ตารางกิโลเมตร ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร </p> <p “=”“>โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ </p> <p “=”“>1.2 สภาพภูมิประเทศ </p> <p “=”“>ตำบลสามพร้าว </p>

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มตอนกลาง

ด้านทิศเหนือลาดต่ำสูงด้านทิศตะวันตกของตำบล

ทำให้สภาพพื้นที่ทางทิศเหนือมีสภาพเป็นที่ลุ่ม

สลับกับที่ดอนลักษณะเป็นที่ลาดลูกคลื่นสูงต่ำ

ด้านทิศเหนือมีสภาพดินเป็นลูกรัง ด้านทิศตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม

และลอกลูกคลื่นตื้นสลับเพียงบางส่วน และเป็นที่ราบลำห้วยไหลผ่าน

บริเวณลำห้วยหลวง,ห้วยสังข์ห้วยเชียงหลวงบรรจบเป็นลักษณะแอ่งกระทะทำให้เกิด

<p “=”“>น้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ในหมู่ที่ 2,3,6,9,11 และหมู่ที่ 14 </p> <p “=””>
1.3 พื้นที่ป่าไม้ ในพื้นที่ตำบลสามพร้าว
</p>

มีพื้นที่ป่าสงวนประมาณ 9,384 ไร่ หรือประมาณ 19.38 % ของพื้นที่ทั้งหมด

ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเสื่อมโทรมและป่าโปร่งในพื้นที่สาธารณะประโยชน์

ได้แก่ ที่สาธารณะโคกขุมปูน บ้านสามพร้าว

ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวได้มีมติยกให้มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้าง,โคกหนองโน

บ้านดอนหาดเป็นแหล่งอาหารป่าธรรมชาติของตำบลสามพร้าวและตำบลใกล้เคียง

ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าเป็นแหล่งเห็ดธรรมชาติที่ขึ้นมากมายในฤดูเห็ดในแต่ละ

ปี,ที่สาธารณะป่าช้าบ้านหนองบุ

ซึ่งเป็นป่าช้าเก่ามีสภาพเสื่อมโทรมและองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวได้มี

มติยกให้เป็นที่ตังของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี จำนวน 14 ไร่

และป่าช้าสาธารณะบ้านสามพร้าว ( ป่าช้าหนองอีโก่ง)

อยู่ในพื้นที่บ้านสามพร้าว หมู่ที่ 2

เป็นป่าเสื่อมโทรมอยู่ติดกับหนองบ่อใหญ่

และได้จัดแบ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสมพร้าววิทยา ,

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล,ตลาดกลางชุมชนตำบลสามพร้าว

,ที่ทำการกลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลสามพร้าวและสวนสาธิตของศูนย์บริการและถ่ายทอด

<p “=”“>เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลสามพร้าว </p> <p “=”“>1.4 อุณหภูมิ ตำบลสามพร้าว มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี ประมาณ 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 </p>

องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุด 40 องศาเซลเซียส สภาพภูมิอากาศมี 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน,ฤดูฝนและฤดูหนาว

<p “=”“>ที่มา : http://samprao.webiz.co.th/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B…
</p>

คำสำคัญ (Tags): #บ้านสามท้าว
หมายเลขบันทึก: 610332เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สามพร้าว เดิมเรียกว่า “บ้านสามท้าว

ในทางภาษาศาสตร์ คือการกร่อนเสียงใช่ไหม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท