ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 อย่างที่มีชื่อเสียง: การแนะนำผู้เริ่มต้น


ชื่อของทฤษฎี 4 อย่างที่ได้สำรวจเพื่อเป็นการแนะนำผู้เริ่มต้นนี้ (Dewey, Maslow, Bruner, และ Vygotsky) น่าเป็นที่คุ้นเคยกับครูทั้งหลายแล้ว แต่เราต้องไม่ลืมว่างานของท่านเหล่านั้นส่งผลดีต่อการศึกษาไม่น้อยกว่า 100 ปีแล้ว ดังนั้นการอธิบายของหลักการบางอย่างสั้นๆ และตัวอย่างเชิงปฏิบัติ (practical examples) ที่ถูกประยุกต์ใช้ว่าจะใช้ทฤษฎีต่างๆในโรงเรียนปัจจุบันได้อย่างไร

1. ลำดับขั้นของความต้องการต่างๆของ Maslow

Abraham Maslow (1908-1970) เป็นนักจิตวิทยา ที่มีความสนใจในแรงจูงใจของมนุษย์ (human motivation) และพัฒนาการ (development) ในเอาสารปี 1943 ที่ชื่อ ทฤษฎีที่ว่าด้วยแรงจูงใจของมนุษย์ (A Theory of Human Motivation) เขาเสนอว่า มนุษย์มีความต้องการแบบต่างๆ ที่ต้องได้รับการตอบสนอง (motivated) เขาจัดวางความต้องการเหล่านี้เป็นขั้นๆ

1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological needs) เช่น อาหาร,น้ำ, และการนอนหลับ

2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เช่น การป้องกันจากการทุบทำลาย และการเจ็บตัวในรูปแบบต่างๆ

3. ความต้องการความรัก (love), อารมณ์รัญจวน (affection), และการเป็นเจ้าของ (belonging)

4. ความต้องการนับถือตนเอง หรือการยกย่องจากผู้อื่น (esteem)

5. ความต้องการการตระหนักรู้ตนเอง (self-actualization) หรือการเติมเต็มศักยภาพ

Maslow เสนอว่า หากปัจเจกบุคคลคนใดไม่มีทางที่จะได้รับความต้องการที่สูงกว่าได้ หากความต้องการขั้นต่ำกว่ายังไม่ได้รับการสนอง และยังเสนออีกว่า ความต้องการ (needs) จะต้องไม่อยู่แบบแยกกัน กล่าวในอีกแง่หนึ่งคือมนุษย์มีประสบการณ์กับความต้องการที่มากกว่า 1 อย่างเสมอ ซึ่งความต้องการทั้งหมดจะต้องส่งผลต่อแรงจูงใจเสมอๆ

ถึงกระนั้น ประเด็นก็ยังยืนโดดเด่นโดยท้าทายกับประสบการณ์ของคนส่วนใหญ่เสมอๆ ซึ่งหมายความว่า หากความต้องการขั้นต้นยังไม่ได้รับการสนอง ก็อย่าหวังถึงความต้องการขั้นต่อไป เช่น หากคนผู้หนึ่งหิวกระหายแล้วหละก็ ก็อย่าได้หวังถึงการแต่งเพลงที่ว่าด้วยธรรมชาติของความรักเลย

เห็นได้ชัดเจนว่าการวิเคราะห์ของ Maslow เกี่ยวกับแรงจูงใจนั้นมีผลกับห้องเรียนเป็นอย่างมาก หากโรงเรียนสามารถทำให้เด็กๆของตนได้รับการตอบสนองในขั้นแรกแล้วหละก็ ขั้นที่ 5 ที่ว่าด้วยการตระหนักรู้ในตนเองก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นนัก

เมื่อพิจารณาในความต้องการแต่ละขั้น โรงเรียนจะต้องตอบสนองให้ได้ 5 อย่างในความต้องการทั้ง 4 ขั้น ดังนี้

ความต้องการด้านร่างกาย (Physiological needs)

1. อาหารที่อร่อย, ถูกหลักโภชนาการ, และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

2. กระตุ้นให้เด็กๆดื่มน้ำตลอดวัน

3. มีแหล่งน้ำให้ได้ใช้ประโยชน์

4. ให้การศึกษาแก่พ่อแม่ และเด็กๆในเรื่องความสำคัญของการนอนหลับ และนอนให้ตรงเวลา

5. ห้องน้ำต้องสะอาด และมีเพียงพอ

ความต้องการด้านความปลอดภัย (Safety needs)

1. นโยบายลดระเบียบแบบเข้มลง

2. ครูที่มักจะหายตัวในช่วงพัก

3. ความคาดหวังที่ชัดเจนต่อพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และการลงโทษที่สมเหตุสมผล

4. นางพยาบาลประจำโรงเรียน หรือเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการปฐมพยาบาลมาแล้ว

5. กฎระเบียบที่มีเหตุผล และตรงตามหลักจริยธรรม (morality)

ความต้อการความรัก, ความรัญจวน, และการเป็นเจ้าของ (Needs for love, affection, belonging)

1. บรรยากาศโดยรวมที่ส่งเสริมความหลากหลาย

2. การพักเที่ยงที่มีจำนวนมาก และชุมนุมหลังจากโรงเรียนที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมความสนใจที่มีจำนวนมาก

3. การใช้กระบวนการกลุ่ม และการเรียนรู้แบบร่วมมือ

4. ระบบแบบลูกทุ่ง (pastoral system) ที่ให้โอกาสในการดูเด็กๆ และระบบการให้ครูสอนพิเศษ (tutor)

5. จริยธรรม (ethos) ในชั้นเรียนที่ส่งเสริมคติที่ว่าทุกๆคนสามารถประสบความสำเร็จได้ และทุกๆคนมีโอกาสในการเรียนรู้

การนับถือตนเองและการยกย่องจากผู้อื่น (Esteem)

1. การชมเชยจากครู โดยเน้นไปที่สิ่งที่เด็กๆทำได้เป็นอย่างดีในการทำงาน,พฤติกรรม, และเจตคติ

2. การประเมินตนเอง และการประเมินโดยการเฝ้าดูจากผู้อื่น ที่เน้นไปที่ความเข็มแข็งและการพัฒนา (ชมเชยอย่างน้อย 3 อย่างในการประเมิน 1 ครั้ง)

3. นำเสนองานของนักเรียนในห้องเรียนและในชุมชน

4. ให้เด็กๆมีส่วนร่วม และให้คำปรึกษาในการตัดสินใจที่สำคัญ

5. การเฉลิมฉลองความสำเร็จของนักเรียนในจดหมายข่าว (newsletter), การชุมนุม (assemblies), และ สื่อท้องถิ่น (local media)

2. โครงร่างยกพื้นของ Bruner (Bruner’s scaffolding)

Jerome Bruner เป็นนักคิดที่สำคัญในเรื่องการศึกษาในยุคสมัยใหม่ เกิดใน New York ปี 1915 เขาได้รับการฝึกฝนเป็นนักจิตวิทยา และได้สร้างประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในสาขา ตอนอายุ 96 เขายังสร้างงานวิจัยในมหาวิทยาลัย New York สาขากฎหมาย

เมื่อพูดถึงความคิดหลักๆของ Bruner แล้ว โครงร่างยกพื้น (scaffolding) ยังคงมีผลกระทบต่อศาสตร์ห้องเรียนเป็นอย่างยิ่ง โครงร่างยกพื้นจะช่วยหรือนำ ซึ่งทำให้เด็กๆมารู้ทักษะใหม่ๆ และสังกัปใหม่ๆได้ (concept) เมื่อพวกเด็กมีความสามารถมากขึ้น โครงร่างยกพื้นจะถูกถอนออกไปทีละเล็กทีละน้อย ก็คล้ายๆกับตึกใหม่ ที่โครงร่างยกพื้นจะถอดออกทีละน้อยเช่นเดียวกัน ผลที่ได้ก็คือเด็กๆมีความสามารถใช้ความคิดใหม่ๆ หรือใช้ทักษะเฉพาะอย่างได้อย่างคล่องแคล่ว (effective use of particular skill)

เมื่อโครงร่างยกพื้นถูกใช้ คุณครูเพียงแต่ช่วยให้เด็กๆเคลื่อนที่, เรียนรู้, พัฒนาตนเอง มีลักษณะคล้ายๆกับการแสดงให้บุคคลเห็นขอบเขตของวิชา (field) ต่อจากนั้นหลักจากได้เรียนทุกส่วนแล้ว ก็สามารถที่จะสำรวจสาขาวิชา (field) ได้ด้วยตัวเขาเอง

นี่คือเทคนิค 3 อย่างของโครงร่างยกพื้น

การสร้างแบบจำลอง (modeling) ครูจะสร้างแบบจำลองของความคิด หรือทักษะ เพื่อนักเรียนจะได้เห็น, ได้ยิน, หรือมีประสบการณ์ ซึ่งการสร้างแบบจำลองนั้นต้องอยู่ในบริบท ครูจะนำเสนอสิ่งที่สามารถเลียนแบบ (imitated) และกลืนกลายหรือผสมกลมกลืน (assimilated) ให้กับเด็กๆ เพื่อที่จะช่วยให้เขาคุ้นเคยกับสังกัปใหม่ๆ (new concepts) เช่น ในบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ครูอาจแสดงแหล่งข้อมูล (source) บนกระดานดำ และแสดงให้เห็นว่าเด็กๆจะทำการวิเคราะห์ได้โดยใช้แหล่งข้อมูลเหล่านี้

ให้คำแนะนำ (advice) ครูจะใช้ความรู้นำทาง (steer) นำทางเด็กๆ ไปในทิศทางที่เหมาะสม เช่น ในชั้นเรียนพละศึกษา ครูอาจแนะนำให้เด็กๆถึงการวิ่งที่มีประสิทธิภาพ เด็กๆจะใช้ข้อมูลนั้นเพื่อพัฒนาการวิ่งของตน

นำเสนอการฝึก (provide coaching) ครูจะอธิบายให้เด็กๆฟังในเรื่องสิ่งที่ทำได้ดี และเหตุผล รวมทั้งสิ่งที่ทำเพื่อที่จะปรับปรุง กระบวนการนี้ต้องการให้ครูขยายเกณฑ์ความสำเร็จในแต่ละรายวิชาออกไป ดังนั้นเด็กๆจะได้เลียนแบบ หรือผสมกลมกลืนทั้งสิ่งที่ทำได้ดี และสิ่งที่ต้องทำเพื่อการปรับปรุง

3. รอยต่อการพัฒนาของ Vygotsky (Vygotsky’s proximal development)

Lev Vygotsky เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ซึ่งถึงแม้ว่าจะตายในปี 1934 ตอนนั้นเขามีอายุเพียงแค่ 37 เท่านั้น แต่ก็ได้ผลิตผลงานอันทรงคุณค่าไว้อย่างยิ่ง เมื่อพูดถึงการศึกษา และศาสตร์การสอน ตัวบทที่ทรงคุณค่าของเขา ที่ชื่อ Thought and Language และ Mind in Society ได้ปรากฏขึ้น ชื่อของหนังสือทั้งสองชวนให้เรานึกถึงทฤษฎีทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับจิต

ทฤษฏีพื้นที่รอยต่อพัฒนาการของไวก็อตกี้( Zone of ProximalDevelopment) หรือ ZPD ดำรงอยู่ระหว่างสิ่งที่เด็กๆทำได้อยู่แล้ว กับข้อจำกัดที่เด็กๆทำได้ภายใต้การแนะนำจากคนอื่น กล่าวอีกในแง่มุมหนึ่งก็คือระดับการพัฒนาที่สามารถจะเป็นไปได้ ระดับการพัฒนาที่เป็นไปได้นี้คือพื้นที่ที่เด็กๆสามารถจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ภายใต้ผู้สอน (โดยมากจะเป็นครู หรืออาจเป็นเด็กคนอื่นๆได้) ถึงแม้ว่าสังกัปโครงร่างยกพื้น (scaffolding) จะมาภายหลัง แต่ทั้งสองทฤษฎีต่างมีความเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น

นี่เป็นวิธีการ 5 วิธีที่คุณสามารถจะใช้ทฤษฎีพื้นที่รอยต่อการพัฒนา (ZPD)ในการสอน

1. ประเมินสิ่งที่เด็กๆของคุณสามารถทำได้โดยอิสระหากปราศจากผู้ช่วยเหลือ และสิ่งใดที่ต้องการผู้ช่วยเหลือบ้าง จงใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการจัดกลุ่ม และวางแผนการสอน เด็กๆที่มีความสามารถจะดูแลเพื่อนๆได้ หากคุณไม่อยู่

2. จงสร้างภาระงานที่เปิดกว้าง (open tasks) ที่สามารถประเมินได้หลายแง่หลายมุม สิ่งนี้ทำให้เด็กๆมีโอกาสในการทำภาระงานอย่างเป็นอิสระ ตัวอย่างของภาระงานที่เปิดกว้างก็คือการเขียนที่เป็นปัจเจกบุคคล (individual writing) ที่ให้มีสื่อที่หลากหลาย (stimuli materials) ให้เด็กๆที่มีความสามารถแตกต่างกันได้ใช้สื่อเหล่านั้นในการสร้างงานเขียน

3. สร้างการท้าทายหลายอย่างในบทเรียนของคุณ เช่นคุณอาจมีการขยาย (extension) และ การขยายที่มากขึ้น (super extension) ไว้ในสไลด์ของคุณ สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆของคุณมีการตอบแบบธรรมดา กับการตอบที่มากขึ้นในบทเรียน

4. จงติดตามเป้าหมายของเด็กๆ ซึ่งอาจอยู่ในหนังสือต่างๆ จงใช้เวลาให้มากขึ้นเมื่อคุณพิจารณาเป้าหมายเหล่านี้ สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆของคุณตระหนักรู้ในพื้นที่รอยต่อของการพัฒนา และรู้ว่าพวกเขามีความก้าวหน้าอย่างไรบ้าง

5. จงแยกแยะเด็กๆที่คุณต้องทำงานแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น คุณมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กๆทุกคนอยู่แล้ว แต่ในบางครั้งเด็กๆของคนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตรงนี้ได้ คุณก็อาจช่วยเขาให้สามารถบรรลุเป้าหมายตรงนั้นก็ได้ local media)

4. ประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์ของ Dewey

John Dewey (1859-1952) เป็นนักปรัชญาชาวอเมริกัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อจิตวิทยา และการศึกษา Dewey มองการศึกษาที่เป็นอุดมคติว่านักเรียนต้องมีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับหลักสูตร เขามองโรงเรียนว่าเป็นสถาบันทางสังคม ซึ่งปัจเจกบุคคลมีประสบการณ์กับสังคมที่อยู่ภายนอก

ดังนั้น เขาจึงเสนอว่า การศึกษาไม่เพียงแต่จะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาเท่านั้น แต่ยังต้องเรียนรู้ว่าจะดำรงชีวิตได้อย่างไรด้วย

ข้างล่างเป็นวิธีการ 3 อย่างในการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ

1. จงออกไปจากห้องเรียนซะ สิ่งนี้หมายถึงการไปเที่ยวพิพธภัณฑ์ หรืออาจเป็นการทัวร์โดยการเดินไปรอบๆโรงเรียน ซึ่งทั้งครูและเด็กๆจะได้เห็นสภาวะรอบข้างที่อยู่ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่นนักเรียนทางสังคมวิทยาที่กำลังศึกษาอาชญากรรม และพฤติกรรมเบี่ยงเบนอยู่ ก็อาจเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่ตนเองอยู่ เพื่อศึกษาการควบคุมทางสังคมแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

2. จงใช้การอภิปราย การอภิปรายดำรงอยู่แทบจะทุกส่วนในชีวิต ที่ทำงาน เราสามารถคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำได้ดี และเราจะทำอะไรต่อไป ที่บ้าน เราคุยเกี่ยวกับแผนการ และวิธีการที่จะอยู่ร่วมกัน ฯลฯ การอภิปรายในชั้นเรียนเป็นวิธีการหนึ่งในการให้เด็กๆมีประสบการณ์กับความเป็นจริงภายในสังคม และให้เด็กๆเรียนรู้ที่จะเข้าร่วมการอภิปรายอย่างมีทักษะ, เสนอแต่สิ่งที่จะเป็นในทางบวก, และประสบผลสำเร็จ

3. จงให้โอกาสเด็กๆในการเป็นอิสระและสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับภาระงานที่ทำกันเป็นกลุ่ม, สร้างสรรค์, และเปิดกว้างต่อความคิดเห็น (เด็กๆจะได้อภิปราย, ต่อรอง, และทำงานร่วมกัน) หรืออาจเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่มีทางเลือกให้เลือกอยู่มากมาย นอกจากนี้ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากกิจกรรมเหล่านั้น และให้คุณค่ากับความผิดพลาดไว้ด้วย

แปลและเรียบเรียงจาก

Mike Gershon. Four famous theories of leaning: a beginner’s guide.

https://newteachers.tes.co.uk/content/four-famous-theories-learning-beginners-guide

หมายเลขบันทึก: 609893เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2016 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2016 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทฤษฎีที่เป็นอมตะจ้ะ

สมัยเรียนท่องจนแทบจะนอนละเมอ

ตอนนี้...ลืมไปแล้ว ๕๕๕๕



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท