โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 9 ระหว่างวันที่ 28 - 30 มิถุนายน 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ

วันนี้เข้าสู่ช่วงที่ 9 ซึ่งเป็นสู่ช่วงสุดท้ายของการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ ผมขอเรียกว่า "TSU Leader Class" ซึ่งในช่วง 9 นี้ เราจะเน้นเรื่อง

- การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหา

- กลยุทธ์และการคิดเชิงกลยุทธ์

- แผนพร้อมรับมือด้านเศรษฐกิจและสังคมบทบาทและการปรับตัวของมหาวิทยาลัยทักษิณ

- กิจกรรมรักษ์กาย - Healthy Mini Walk Rally

- ทฤษฎีกระเด้ง..จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯ

สู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัยทักษิณ

ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ร่วมกันในช่วงนี้ ลูกศิษย์ของผมจะได้รับมุมมองที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคมของเรา

ผมขอใช้ Blog นี้ เป็นคลังความรู้สำหรับกิจกรรมในช่วงที่ 9 ของเราครับ



โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

สรุปการบรรยายวันที่ 28 มิถุนายน 2559

วิชา การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

บรรยายโดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ระบบคิดมีความสำคัญมาก สุดยอดของความคิดเรียกว่า Strategic Thinking จะช่วยให้รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เรื่องที่นำเสนอคือ Game Theory ที่มีการปรับเรื่อย ๆ ระบบคิดมี 2 ระบบ

1. Mechanic ที่เป็น Box Thinking เป็นการคิดในกรอบ เป็นการตั้งคำถามที่มองจากตาและหู เช่น What สอนอะไร พูดอะไร

2. Organics เป็นระบบที่คิดอย่างมีชีวิต คนประเภทนี้เห็นอะไรเยอะมาก แต่ละวันจะมีมูลค่าเพิ่ม คนพวกนี้เวลาตั้งคำถามจะใช้ Why ทำไม และ How to วิเคราะห์ความเหมือนบนความแตกต่าง

ดังนั้นการเห็นข้อมูลเดียวกัน คนเห็นไม่เหมือนกัน บางคนเต็มไปด้วยความรู้ต่อยอดตลอด บางคนเห็นแล้วเฉย ๆ

ตัวอย่าง สมชายเอาถังมาใบหนึ่ง ใส่ลูกกอล์ฟเต็มถัง นักเรียนดูด้วยตาบอกว่าเต็มแล้ว แต่สมชายใส่ทรายไปได้อีก นักเรียนบอกเต็มแล้ว แต่ต่อมาสมชายเติมน้ำไปได้อีก นักเรียนบอกเต็มแล้ว ที่ไหนได้สมชายใส่น้ำไปได้อีกเพราะน้ำงวด

ข้อมูลนี้บอกหรือเสริมเราค่อนข้างมาก ข้อมูลนี้เต็มไปด้วยการคิดอย่างมีชีวิต ใช้ทฤษฎีเกมส์มาจับ

แต่ละรายการสอนระบบคิดมาสร้างตัวอย่างล้านตัวอย่าง ใช้ System Thinking บางคนได้ความรู้ทั้งที่ไม่ได้บรรยาย แต่สิ่งที่ทำคือได้ความรู้ สรุปคือได้ความรู้มาหลายเรื่อง เรียกว่า Organics Mindset Thinking

มีข้อมูลอันหนึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเมล็ดพันธุ์ที่สามารถนำไปเพาะได้

1. ความคิดในเชิงระบบ (System)

แบบ System คือ การมองเป็นระบบ

ตัวอย่าง

1. เป็นลูกโซ่ของกลุ่มประเทศอาเซียน

2. ระบบนาโต้ ถ้า EU ไม่แย่ นาโต้จะอ่อนแอลง

- คนที่ทำโพล ส่วนใหญ่ฝ่ายแพ้ชอบทำโพลให้ชนะ

- คนฉลาดจะหลีกเลี่ยง Negative zum game (คนฉลาดหมายถึงคนมีเหตุผล เป็นการมองตามหลัก Logics) เพราะถ้าเงินยูโรพัง เยอรมันต้องช่วย

- ระบบคิด ไม่ควรอยู่ต่อหน้าคนทั้งหมดแล้ว Commit 100 % ดังนั้นถ้ายังไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตให้ตอบกลาง ๆ

กระบวนการคิด

กระบวนการคิดมีบันได 3 ขั้นที่ต้องไต่

2. ความคิดในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

- ซุนวูเป็นตัวอย่างที่ถูกต้อง คือ มองว่าการคิดทั้งหมดต้องเริ่มจาก Why และ How to

การบอกว่ารู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ คำตอบคือ เป็นไปได้ถ้าเรารู้ศาสตร์ในการมองเป็นองค์รวม และการเชื่อมโยง จะชนะได้ สรุปคืออย่ามองแยกส่วนจะชนะ

- ชนะ มี 2 ความหมายคือ สนามรบ (Battle) กับสงคราม (War) ทั้งสองต่างกัน คือ

บางครั้งเราอาจแกล้งโง่ในสนามรบ แต่ชนะในสงคราม

ตัวอย่างเช่น อาจารย์สมชายเลือกที่จะสู้ในบางสนาม คือ ถ้าผู้หญิงต้องการผู้ชาย Dark tall and handsome จะไม่สู้ แต่ถ้าต้องการคนเก่ง ขยัน ทำงาน ถึงจะสู้

Organic System

คือ อย่าเชื่อในสิ่งที่เราเห็นโยงไปเชื่อมกับอย่าเชื่อในสิ่งที่เราได้ยิน

- เราต้องเลือก Positioning

- การบรรยายและตีความข้อมูล

ประเภทที่ 1 ข้อมูลเยอะมาก

ประเภทที่ 2 มีระบายสีหัวข้อที่จะบรรยาย

ประเภทที่ 3 มีหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อย

ทุกอย่างในโลกนี้ไม่แยกส่วนแต่ระบบความคิดแยกส่วน

ตัวอย่าง เปรียบเทียบต้นไม้กับการคาดการณ์ในอนาคต

1. เห็นลำต้น กิ่ง ผลไม้

2. เห็นลำต้น และกิ่ง ไม่เห็นผลไม้ สามารถทำนายผลไม้ได้

3. เห็นลำต้น สามารถทำนายกิ่งได้

4. เห็นเมล็ดพันธุ์ สามารถทำนายกิ่ง ผลไม้ได้ เป็นตัวอย่างของการสร้างความรู้ไม่รู้จักจบ เพราะงอกไม่จบ

ตัวอย่าง สมชายเอาถังมาใบหนึ่ง ใส่ลูกกอล์ฟเต็มถัง นักเรียนดูด้วยตาบอกว่าเต็มแล้ว แต่สมชายใส่ทรายไปได้อีก นักเรียนบอกเต็มแล้ว แต่ต่อมาสมชายเติมน้ำไปได้อีก นักเรียนบอกเต็มแล้ว ที่ไหนได้สมชายใส่น้ำไปได้อีกเพราะน้ำงวด เป็นตัวอย่างการหาความรู้ตลอดชีวิต

ดังนั้นเมล็ดพันธุ์จะเกี่ยวข้องกับ Why ทำไมสมชายถึงหัวเราะ

ทฤษฎีต้นไม้ มี 2 ลำต้นคือ

1. บ๊อง

2. ไม่บ๊อง

- มีความสุข

- เยาะเย้ยเห็นคนทำผิด

- คาดไม่ถึงว่าทำผิด

- คลายเครียด

อะไรคือสิ่งที่ทำให้เขาทำผิด คือ เชื่อในสิ่งที่เห็นด้วยตา

สรุปคือ อย่าเชื่อในสิ่งที่เห็นด้วยตา แยกเป็นอย่าเชื่อทุกเรื่องที่ตาเห็น และเวลาตาเห็นอะไรบางเรื่องเชื่อได้ บางเรื่องเชื่อไม่ได้ ให้มาวิเคราะห์ก่อน

คนพวกนี้เป็นพวก Conceptual Thinker คือเป็นพวกที่ลึก เป็นพวก Strategic Thinking

ตัวอย่าง การวิเคราะห์ความจริงและมุมมอง

1 .Fact /Reality

2. Perception

ความจริงกับมุมมองไม่เหมือนกัน เช่นบางคนมองเพชรมีค่า บางคนมองไม่มีค่า

ให้แยกความจริงออกจากการต่อยอด และให้เอา System ไปต่อยอดได้หรือไม่

ของจริงกับความจริงอาจไม่ตรงกับสิ่งที่เขาคิด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เช่น

- ในการตลาด เราจะวิเคราะห์ Perception และขายสินค้าตรงกับ Perception เขา

- ทุกคนเป็นเพชร แต่การศึกษา หรือที่ทำงานสอนไม่ดีและไม่รู้ว่าเป็นเพชร สรุปคือ ให้สำรวจตัวเองว่าตัวเองคือเพชร เราชอบอะไร ให้เลือกอาชีพนั้น ให้เอาอาชีพเป็นตัวตั้ง แล้วหาความรู้ต่อยอด

- ขอให้เราทำสิ่งที่ถูก บางสิ่งที่นาน แต่สามารถเปิดนรกเป็นสวรรค์

- สอนให้มองในมุมลูกค้า อย่ามองในมุมตัวเอง

- เดินไปไหนทำให้ได้ข้อมูลความรู้ทั้งหมด

- เราต้องให้ต่างฝ่าย ต่างรู้ว่าไม่กระจอก จึงไม่รบกัน สามารถใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ครอบครัว สังคมและ ระหว่างประเทศ

สรุป ต้องให้นักเรียนรู้จักตนเอง และหาความรู้ด้วยตนเอง ความรู้ไม่มีวันเต็ม ความรักไม่มีวันเต็ม การทำให้ครอบครัวมีความสุข ห้ามมองจากมุมตัวเอง เพราะเป็นการมองที่ไม่เป็นระบบ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเชื่อมโยงกับลูกค้าให้ได้

อธิบายว่า บางเรื่องสำคัญ บางเรื่องไม่สำคัญ บางเรื่องสำคัญมาก ๆ ให้มองจากมุมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ตัวอย่าง สมชายเอาถังมาใบหนึ่ง ใส่ลูกกอล์ฟเต็มถัง นักเรียนดูด้วยตาบอกว่าเต็มแล้ว แต่สมชายใส่ทรายไปได้อีก นักเรียนบอกเต็มแล้ว แต่ต่อมาสมชายเติมน้ำไปได้อีก นักเรียนบอกเต็มแล้ว ที่ไหนได้สมชายใส่น้ำไปได้อีกเพราะน้ำงวด

ความสำคัญของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อะไรสำคัญใส่ก่อน อะไรไม่สำคัญจะไม่ใส่ เช่นสมชายไม่เห็นว่าหินสำคัญเพราะไม่ใส่หินเป็นต้น

ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันอะไรสำคัญควรมาก่อน ให้คิดแบบ Organic Thinking อย่าทำตัวเป็น Box Thinking คือใครบอกอะไรก็เชื่อ

การสร้าง Organics เป็น Paradigm Shift เปลี่ยนจากอะไรเป็นทำไม และไห้ศึกษาว่าทำไม Case นี้จึงประสบความสำเร็จ

การคิดเชิงระบบ (System) คืออะไร

การคิดในเชิงระบบคือ Input ผ่าน Process จะไปสู่ Output เป็นระบบที่ไม่สมบูรณ์ สิ่งที่ขาดคือ การจะวิเคราะห์อะไรให้ตั้งคำถาม

ระบบ Knowledge Management วิธีตั้งคำถามคือ Why Output ? ผลิตเพื่ออะไร เช่น ผลิตปากกาเพื่อขาย เพราะฉะนั้นไม่จบที่ Output แต่จบที่ Outcome ถ้า Outcome ดีคนจะซื้อบ่อย

ถ้าเมื่อไหร่ จบที่ Outcome จุดเริ่มต้นคือที่ Outcome

- ก่อนผลิตต้องวิเคราะห์ก่อนว่าลูกค้าคือใคร ต้องการสีอะไร ถึงใส่ Input ให้ คิดสะก่อนแล้วค่อยทำ เป็นการคิดแบบ Think forward and work backward

- คนที่เป็น Visionary จะเห็นจากปัจจุบันและอดีต ปัจจุบันต้องการคน Thinking the future ในวันนี้ต้องการคนแบบข้ามมิติ ต้องการมนุษย์พันธุ์ใหม่ที่มองข้ามช้อต

- คนฉลาดทำเฉพาะเรื่องที่ตรงประเด็น

- ต้องเห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่างเป็นล้านเรื่อง

- ระบบที่สมบูรณ์จะมีองค์ประกอบ 4 ประการคือ Component Function Action Driver

1. มีขั้นตอน 1,2,3,4,5 คือ มีประธาน กิริยา กรรม แต่ละองค์ประกอบต้องมีหน้าที่ ซึ่งหน้าที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ความอยู่รอดของระบบก็ดี

Induction คือพยายามที่จะเห็นแล้วสร้างทฤษฎี ทุกระบบเหมือนกันเป๊ะ ต้องมีองค์ประกอบและแต่ละองค์ประกอบต้องมีหน้าที่ การทำหน้าที่สำคัญ ต้องนำไปสู่การอยู่รอดทั้งระบบ ทุกระบบมีสิ่งที่สำคัญกับสำคัญน้อย และสิ่งที่ไม่สำคัญจะไม่อยู่ในระบบ ตัวอย่างส่วนประกอบห้องเรียน ประกอบด้วยอาจารย์ นักเรียน โต๊ะ ไมค์ ฯลฯ

2. ความอยู่รอด (Survival) ของระบบคือ ต้องออกมาพิสูจน์ให้ได้

อยู่ในระบบการเมือง – เราต้องไปเลือกตั้ง การสวดมนต์เพื่อไม่ให้โดนจับ

อยู่ในระบบสังคม – การเสียภาษี การสวดมนต์ทั่วไป

ในแง่การเมืองเป็นระบบ Super Structure

3. ต้องแยกระหว่างกฎหมายกับความเป็นจริง

4. ระบบMechanic กับ ระบบ Organic ต่างกันตรงไหน คำตอบคือระบบ Organic เปลี่ยน เราต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงมองไม่เห็น ในวันนี้ไม่สามารถเชื่อมตัวเองกับระบบได้ ถ้าเราไม่สามารถเชื่อมกับระบบที่เปลี่ยนได้ เราจะค่อย ๆ เฉาไป

Component อยู่ที่ Input

Production อยู่ที่ Process

นักการตลาดอยู่ที่ Outcome

สรุปการพัฒนาแบบรู้เขา รู้เราต้องเริ่มจากการพัฒนาความคิด มองด้วย Why ? How to? และต้องเชื่อมความแตกต่าง ต้องสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค สามารถอธิบาย Customer Behavior เช่นผู้บริโภคจะดูในเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย การใช้กลยุทธ์แบบ MK สุกี้ หรือ One Stop Service เป็นต้น สรุปคือ ลูกค้าต้องการความหลากหลาย เพราะลูกค้าต้องการมีอำนาจในการเลือก ดังนั้นการทำตลาดที่ดีคือการทำตลาดแบบ Customize

IT ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์ การพูดทำให้คนเชื่อ

การมอง Problem Solving ต้องมองเป็นองค์รวม

อะไรที่ทำให้ลูกค้ามีอำนาจ Customer is a King ส่วนหนึ่งมาจาก Social Media ลูกค้ามีอำนาจจากอิทธิพลโลกาภิวัตน์

วิชา กลยุทธ์และการคิดเชิงกลยุทธ์

บรรยายโดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การแก้ไขปัญหา มองอย่างเป็นระบบและไม่เป็นระบบต่างกันตรงไหน

1. การตัดสินใจโดยเรา ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น

2. การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น

1. การตัดสินใจโดยเรา ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น

สาเหตุปัญหา

- ปัญหามีเยอะมากมาจากปัญหาเดียวคือ Conflict of Mean and End คือความขัดแย้งระหว่างแนวทางกับเป้าหมาย ตัวที่เป็นช่องว่างคือเป็นปัญหา

- สังเกตได้ว่า บางคนมีช่องว่างเยอะ เครียด แต่ไม่เป็นปัญหา บางคนมีช่องว่างนิดเดียว ฆ่าตัวตาย

สิ่งที่อยากได้ไม่ได้

- เมื่อมนุษย์ฉลาดควรให้เสรีภาพ เรามีจุดอ่อนอะไรควรรีบแก้ก่อนจะข้ามไปจุดต่าง ๆ

- เรียนรู้ความคิดเหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง เช่น ปากกาหล่น แอปเปิ้ลก็หล่น

- อย่าเชื่อในปัจจุบันและอดีต

- อย่าเชื่อสิ่งที่ได้ยินด้วยหู

- ปัญหามาจากการวิเคราะห์โปรเจคและกระบวนการผิด

การแก้ปัญหาให้มองอย่างเป็นระบบ ต้องมีการใช้อยู่ตลอดเวลา

1. ต้องรู้จักตัวเอง

2. อย่าประเมินสถานการณ์ที่เกินจากตัวเอง ต้อง Realistic

- What you will be, Where you will be , Which one is the best? Dominant Strategy

Decision Tree ใช้เพื่อฝึกการตัดสินใจ

1. ความผิดพลาดอย่างหนึ่งคือเชื่อคนง่าย ๆ บริษัทที่เชื่อคนง่ายจะเจ๊ง ดังนั้นเราต้องหาข้อมูลให้พอ

การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด ข้อมูลต้องเพียงพอมาจาก Statistic Information ถ้าหาข้อมูลไม่ได้ให้วิเคราะห์เท่าที่ข้อมูลมีอยู่ อย่าไปแต่งสีข้อมูล อย่ามองจากมุมตัวเอง วิเคราะห์แล้วกำหนดทางเลือก วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียภายใต้ Cost and Benefit . Which one is the best? Dominant Strategy.

2. การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งคือ

  • เป้าหมายเหมือนกันแต่ทะเลาะกันที่วิธีการคือความขัดแย้งระหว่าง Mean and End
  • เป้าหมายคนละเรื่อง เช่นคนหนึ่งมองคุณภาพ อีกคนมองเรื่องเงิน
  • Information Knowledge ข้อมูลไม่เหมือนกัน ข้อมูลไม่สมดุล ทางแก้คือต้องพยายามจูนข้อมูลที่รู้เท่ากัน
  • ความแตกต่างด้านทัศนคติ (แนวความคิด) ค่านิยม (Corporate Value) วัฒนธรรม (สิ่งที่ประพฤติ ปฏิบัติ) ตัวอย่างเช่น มีทัศนคติที่อ่อนน้อม มีค่านิยมคือเคารพผู้ใหญ่ และมีวัฒนธรรมคือการไหว้

- อุดมการณ์ที่แตกต่างเป็นตัวที่แก้ยากมาก เช่น อุดมการณ์ที่แตกต่างระหว่างคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตยนำไปสู่สงครามเย็น ความแตกต่างระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม ระหว่างระบอบกษัตริย์กับสาธารณรัฐ

- สถานภาพและบทบาท สถานภาพจะบอกถึงบทบาท เช่น อาจารย์สมชายมีสถานภาพเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ บทบาทคือสอนหนังสือ ออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบ ทำงานวิจัย ส่วนอีกสถานภาพหนึ่งคือทำร้านอาหาร แต่เมื่อไหร่มีความทับซ้อนกันอาจเกิด Conflict of Interest เช่น เสนอว่าเวลาเลี้ยงอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยให้มากินที่ร้านอาหารอาจารย์สมชายเป็นต้น ถ้าเป็นไปได้ รักกันแค่ไหนอย่าทำธุรกิจร่วมกัน

- ผลประโยชน์ที่ขัดกันเป็นเรื่องนามธรรม ส่วนใหญ่

ทฤษฎีเกมส์

1. Zero Zum Game ตัวอย่างเช่น การเล่นเกมส์หมากรุก หรือไพ่

- เมื่อไหร่ที่คนฉลาดเผชิญกับทฤษฎีเกมส์ศูนย์ คนฉลาดจะไม่เล่น เพราะมีผู้ชนะหรือแพ้

- คนฉลาดไม่เล่นทฤษฎีเกมส์ลบโดยไม่มีข้อยกเว้น

- คนฉลาดหลีกเลี่ยงทฤษฎีเกมส์ศูนย์

- คนฉลาดใช้ทฤษฎี Win-Win

2. ในโลกมีสิ่งเหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง

- ต้องหาพันธมิตร

- ต้องป้องกันไม่ให้พันธมิตรทรยศ

3. Chicken Game

- ต่างฝ่ายต่างไม่อยากชนแล้วตายทั้งคู่ หลักเหตุผลคือ ฝ่ายหนึ่งหลบอีกฝ่ายอยู่ที่เก่า ตัวอย่าง เรื่อง EURO คนที่แพ้อำนาจต่อรองคือกรีก เงินยูโรยังคงอยู่

- สามารถนำมาแก้ไขข้อขัดแย้ง วิธีการ H M L (High Minus Low) เวลาหาทางแก้ปัญหาต้องหาข้อมูลจนครบ คือข้อมูลที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ ข้อมูลมีความเข้มแข็ง หรือขี้โกงหรือไม่ แล้วมาวิเคราะห์ SWOT แล้วกำหนดวัตถุประสงค์ในการเจรจา

- การเจรจาต่อรองมีมากกว่า Win-Win เรียกว่า Best Alternative to a Negotiated Agreement (BATNA) ต้องหาข้อมูลให้ครบ แลกเปลี่ยนมุมมองต่างมิติ อย่าไปมิติเดียวกัน นำไปสู่การแก้ไขข้อขัดแย้ง สู่เรื่องการบริหารจัดการ ชดเชยเรื่องความแตกต่างที่เป็นรูปธรรม

4. Dialectics (การโต้แย้งตามหลักตรรกวิทยา) ประกอบด้วย

1. การเปลี่ยนแปลง (Change) แบ่งเป็น Qualitative และ Quantitative

2. Thesis Vs. Anti-Thesis สู่ Synthesis

การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก

จากระบบทาส เปลี่ยนเป็นระบบศักดินา เปลี่ยนเป็นระบบทุนนิยม มีชนชั้นกรรมาชีพชนะ ไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ สังคมประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงจบ

คนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ไม่ได้อยู่ที่ใครเลย เป็นเพียงชนชั้นเดียว

Implicit Knowledge = Explicit Knowledge

สิ่งเหล่านี้นำสู่ Change การเปลี่ยนแปลงในโลกสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ

ได้ยกตัวอย่าง What Dream may come ? ความรักทำให้สามี ภรรยามาพบกันได้ เส้นแบ่งเขตระหว่างสวรรค์และนรกบางมาก การเปลี่ยนแปลงเพียงจุดหนึ่งจุดใดจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม การเปลี่ยนแปลงจะเป็นสัญญาณตัวเลข เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางจำนวน ต้องมีการป้องกันก่อนข้ามมิติ ต้องรีบแก้ ทุกครั้งที่ลูกค้าหายไป มันมีสัญญาณ เช่น บ้านไร่กาแฟไม่ได้จับสัญญาณลูกค้า ทำให้ความนิยมบ้านไร่กาแฟหายไป

ดังนั้นสรุปก่อนที่จะตัดขาด หรือเปลี่ยนแปลงจะมีสัญญาณบอกก่อน ดังนั้นหัวใจสำคัญต้องเริ่มต้นด้วย Organics เปลี่ยนจาก What เป็น Why มองสิ่งเหมือนกันในความแตกต่างกัน อย่ามองอดีตและปัจจุบันไม่มองถึงอนาคต

Indirect Knowledge – การสอนในเรื่องเดียวกัน ทุกอย่างเป็น Relative



สรุปการบรรยายวันที่ 29 มิถุนายน 2559

กิจกรรมรักษ์กาย-Healthy Mini Walk Rally

การบรรยาย

หัวข้อ เพศศึกษากับบทบาทผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา

โดย ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ

คนเราไม่ชอบสิ่งไหนมักได้สิ่งนั้น และเฝ้ารออะไรก็มาช้า

สอบถามความคิดเห็นจากอาจารย์ม.ทักษิณ

1. ท่านคิดอย่างไร กับนโยบายให้ติดตั้งตู้ขายถุงยางอนามัยอัตโนมัติในม.ทักษิณ

- เห็นด้วย ป้องกันย่อมดีกว่าแก้ปัญหาภายหลัง นิสิตมีวุฒิภาวะเพียงพอและควรป้องกันได้ถูกต้อง ควรมีแต่ว่ามีที่มิดชิด

- ไม่เห็นด้วย ไม่ควรมีในมหาวิทยาลัย ควรมีการรณรงค์เรื่องการสร้างความตระหนักเรื่องเพศสัมพันธ์

2. หากพบว่าลูกของท่านพาเพื่อนมาที่บ้าน และมีลักษณะตุ้งติ้งหรือเป็นทอม

- ชวนมานั่งคุย

- ถามความสัมพันธ์ส่วนตัว

- ไม่ห้ามคบกันคอยดูอยู่ห่าง ๆ

- ยอมรับได้ ถ้าเป็นคนดี

- แนะนำวิธีการคบเพื่อนที่ถูกต้อง

3. ถ้าลูกสาวมาเล่าว่า มีเพศสัมพันธ์กับแฟนมา ท่านจะแนะนำเรื่องคุมกำเนิดอย่างไร

4. ถ้าลูกศิษย์มาแจ้งว่าตั้งครรภ์ ท่านจะ

- ไม่ทำแท้ง เพื่อมนุษยธรรม

- ทำแท้งในกรณีที่ไม่พร้อม การทำแท้งจากการติดเชื้อ เพื่อป้องกันคนที่มีปัญหาและสภาพจิตใจไม่ดีในกรณีตั้งครรภ์ป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย

ความรู้ทั่วไป

ชีวิตเราเริ่มต้นที่อสุจิและไข่ คนเรามีโครโมโซม 23 คู่ มี 46 แท่ง ใครอายุเกิน 35 ยังมีโอกาสตั้งท้องอยู่

ในหัวอสุจิมีโครโมโซม 23 อัน ในนิวเคลียสของไข่มี 23 อัน

ใครเป็นตัวกำหนดเพศในมนุษย์ คำตอบคือพ่อ เพราะในอสุจิในปริมาณ 3 CC. มี x ออกมา 1 ½ มี Y ออกมา 1 ½ อสุจิเคลื่อนไปข้างหน้าจะควงไป

การทำให้ผู้หญิงท้องต้องมีอสุจิก่อน จริง ๆ การอสุจิเริ่มตั้งแต่มีความต้องการทางเพศแล้ว และเมื่อมีเพศสัมพันธ์จะมีอสุจิส่วนหนึ่งหล่นไปในช่องคลอดผู้หญิงแล้ว และเมื่อไหร่ผู้หญิงอยู่กลางรอบเดือนคือช่วงตกไข่ เป็นช่วงที่ฟองไข่ใหญ่จะรู้สึกอ้อล้อเป็นพิเศษ และเมื่ออ้อล้อจะมีเมือกออกมาตรงกลางมดลูก ซึ่งน้ำเมือกนี้จะมาดักจับอสุจิที่อยู่ในช่องคลอดของเรา ผสมพันธุ์ที่ปีกมดลูก แล้วตัวอ่อนจะผสมตัว

และเมื่อตกไข่ไปแล้วจะรู้สึกไม่อยากให้ใครมายุ่งด้วย หงุดหงิด แต่จะเจ็บนม ปวดขา และพอประจำเดือนมาเรียบร้อยแล้วจะอารมณ์ดี อ้อล้อต่อ

การคัดสรรอยู่ที่ X หรือ Y

- อสุจิเป็น X เจอกับไข่ X ลูกจะโดนเลือกให้เป็นเพศหญิง มีรังไข่ เมื่อไหร่ที่ต่อมเพศเป็นรังไข่ จะมีการพัฒนาเป็นท่อเกิดขึ้น จะเป็นจิ๋ม

- อสุจิเป็น X เจอกับไข่ Y ลูกจะโดนเลือกให้เป็นอัณฑะ โดยปกติอัณฑะจะต้องมีขนาดเท่ากัน แต่ห้อยไม่เท่ากัน ต่อมเพศจะสลายเป็นอสุจิ มีกระเจี๋ยว

เด็กผู้หญิงจะเข้าสู่วัยสาวเร็วกว่าผู้ชาย มีกลิ่นตัว มีเต้มนม มีน้ำเมือก มีประจำเดือนมา และแสดงถึงการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้สมบูรณ์แบบแล้ว และหมายถึงการตั้งท้องได้แล้ว แล้วการเติบโตจะหยุด

เด็กผู้ชายจะเข้าสู่วัยหนุ่มช้ากว่าคือม.ปลาย จะมีการเจริญที่ช้ากว่า มีอัณฑะใหญ่ขึ้น องคชาติใหญ่ขึ้น และเสียงเปลี่ยนไป และจะหยุดที่สูงกว่าผู้หญิง ผู้ชายจึงสูงกว่าผู้หญิงโดยเฉลี่ย

เพศวิถี

1. ฉันมีอะไร Biological sex

- เป็นใครมา มี XX ต่อมเพศเป็นจิ๋ม

- ถ้ามี XY มีอัณฑะ มีกระจู๋

2. ฉันคือเพศใด Gender Identity

- คิดว่าตัวเองเป็นเพศใดมาจากจิตสำนึก

3. ฉันรักใคร Sexual Orientation

- รสนิยมทางเพศ

- อยากเซ็กส์กับเพศไหน

4. ฉันอยู่กับใคร Sexual act

- ใช้ชีวิตอย่างไร อยู่เพื่อสังคม พ่อแม่ ฯลฯ

สรุปคือ การเป็นเกย์ ตุ๊ด ทอม ดี้ ไม่ได้มีความผิดปกติทางเพศแต่อย่างใด ไม่ได้เป็นโรคจิต ดังนั้นการจะเป็นอะไรจึงเป็นเรื่องปกติ

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

- การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

- การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

จริง ๆ เป็นปัญหาของเรามากกว่าเพราะวัยรุ่นจะเป็นลักษณะปกติในหมู่เพื่อน

การตอบสนองทางเพศ

- เมื่อมีความต้องการทางเพศ

ผู้ชาย หลอดเลือดจะขยายตัวทำให้เลือดไหลไปในองคชาติ องคชาติจะใหญ่ขึ้นและอุ่นขึ้น จะเบียดเส้นเลือดดำที่ผิวองคชาติ จะทำให้ใหญ่และแข็ง โดยปกติอัณฑะจะมีสีคล้ำกว่าร่างกาย

ผู้หญิง เวลามีอารมณ์ทางเพศ หน้าจะแดง นมจะตั้งขึ้น จิ๋มมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น บวมขึ้น มีน้ำเมือกออกมา โดยปกติแคมจะผิวสีคล้ำกว่าร่างกาย

เมื่อมีความพร้อม จิ๋มจะบวม มีน้ำเมือก และเป็นช่วงที่สามารถมีเพศสัมพันธ์กัน และเมื่อถึงจุดหนึ่งจะมีการถึงจุดสุดยอดทางเพศ ผู้ชายจะมีการหลั่งน้ำอสุจิ ส่วนผู้หญิงจะมีการผ่อนคลายอย่างรุนแรง

สรุปเมื่อมีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีอารมณ์เพศ น้ำเมือกจะรัดอสุจิ 20 ล้านตัว มี 1 ตัวที่ทำให้เกิดการท้องได้ ไม่จำเป็นต้องถึงจุดสุดยอด

ช่วงที่มีความสุขคือช่วงที่หลังจากถึงจุดสุดยอดแล้ว ผู้ชายมีจุดพัก แต่ผู้หญิงสามารถทำได้ต่อ เมื่ออายุมากขึ้นระยะพักจะมากกว่าปกติ

ปัญหาทางเพศที่พบได้บ่อย

1. มีความต้องการทางเพศน้อย

ผู้ชายจะรู้สึกผิดปกติเพราะกลัวเข้าวัยทอง แต่จริง ๆ ขึ้นอยู่กับระยะพัก แต่ผู้หญิงอาจเป็นเรื่องปกติ

2. หลั่งเร็ว

การหลั่งเร็วจะ 2 นาที แก้ไขโดยการฝึก ปฏิบัติ กินยา

3. องคชาติไม่แข็งตัว

ส่วนใหญ่เกิดหลังจาก 40 ปี แสดงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ไม่แข็งจากโรค หรือจากจิตใจ เช่น เกิดกับผู้ชายไม่เกิดกับผู้หญิง หรือเกิดเฉพาะกับผู้หญิงสาวสายแต่ไม่เกิดกับภรรยา หรือเกิดจากเป็นโรคเบาหวาน ฯลฯ

4. เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ แข็ง

เมื่อไหร่ที่ขาดปรากฎการณ์ทางมีอารมณ์ทางเพศ การเล้าโลมไม่เก่งมากเพียงพอ หรือวัยทอง วิธีแก้ไขคือใส่ฮอร์โมนในช่องคลอด ใช้เจล และใช้น้ำลาย

5. ไม่ถึงจุดสุดยอดทางเพศ

ส่วนใหญ่เกิดจากผู้ชายเสร็จเร็ว ผู้ชายไม่กระตุ้นเลย

เรื่องเพศของนักศึกษา

1. สิ่งที่พบคือลูกศิษย์มีเพศสัมพันธ์โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง

ทุกวันที่โตขึ้นแสดงถึงวุฒิภาวะมากขึ้น เด็กเมื่ออยู่ในมัธยมต้นไม่รู้ว่าการเพศสัมพันธ์มีความเสี่ยงคืออะไร แต่เด็กมัธยมปลายคิดว่ามีความเสี่ยง แต่คิดว่าไม่น่าจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดกับตัวเอง ในระดับอุดมศึกษาคิดว่ามีความเสี่ยง รู้ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่หาการเข้าบริการเข้าถึงอย่างนั้น

2. การคุมกำเนิด

การคุมกำเนิดมีแบบใดบ้าง

1) ลูกศิษย์ที่จะมีเพศสัมพันธ์จะใช้วิธีนับวัน หน้า 7 หลัง 7 ก่อนและหลังการมีประจำเดือน แต่อย่าลืมว่าใครจะมีประจำเดือนมาทุก 28 วันอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการใช้ก่อน 7 หลัง 7 จะไม่ท้องแน่ ๆ

2) กินยาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ยาคุมแบบฉุกเฉิน มีมาดอนน่า กับโพสตินอร์ วิธีกินคือหลังมีเพศสัมพันธ์ 72 ชั่วโมง กินเลย 2 เม็ด เพียงแต่ว่าการกินยาเกิดให้การตั้งท้อง 4% และทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยปกติกินตอนโดนข่มขืน และผลคือจะไม่มีประจำเดือนมาตามปกติ

3) กินยาคุมปกติ

แม้ว่ามีถุงยางอนามัย แต่มีสิทธิ์พลาด 10 % จึงควรกินยาคุมตามปกติด้วย และถ้ามีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจให้กินโพสตินอล

3. การตั้งครรภ์

4. ทางออกของการตั้งครรภ์

การท้องโดยไม่ได้ตั้งใจแนะนำว่าควรทำแท้ง อายุครรภ์ที่เหมาะกับการทำแท้งต้องไม่เกิน 20 สัปดาห์ มีระเบียบวิธีปฏิบัติ ไม่อย่างนั้นจะมีผลกระทบต่อผู้หญิง

- การทำแท้งชีวิตเปลี่ยนใหม่เสมอ

- การทำแท้งโดยหลักคือผิดกฎหมาย

- ถ้ากฎหมายทำให้ผู้หญิงอยู่ในความเสี่ยงหรือได้รับอันตราย การคุมกำเนิดไม่ได้ผล จะมีการทำแท้งจากการทำแท้งติดเชื้อ เกิดตับวาย โดยฟอกเลือด

เมื่อการตั้งท้องทำให้จิตใจว้าวุ่น นอนไม่ได้กินไม่หลับ ลูกอยากฆ่าตัวตาย นี่คือความผิดปกติทางกายที่ลูกได้รับ การข่มขืนกระทำเราหรือการลวงหลอกให้คิดว่าเป็นสามีแห่งตน กฎหมายไทยไม่ยอมให้เด็กหญิงตั้งท้องและเกิดการล่วงละเมิดทางเพศ ถ้าปิดซ่องและจับโสเภณีท้องสามารถทำแท้งได้

ใช้กฎข้อบังคับแพทยสภาในการทำแท้งได้

ข้อเสนอแนะ

1. เข้าใจในธรรมชาติ

2. ใส่ใจเพื่อการเข้าถึง

3. เข้าใจเทคโนโลยี

4. ทำใจ

การบรรยายหัวข้อ การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (CPR)

โดย นพ.ชัชโช ปรีชาไว

ทำไมถึงสำคัญ

1. การช่วยจะทำให้อัตราการรอดชีวิตมากขึ้น ใน 100 คน มี 1 คนที่ช่วยแบบ CPR ส่วนใหญ่มาถึงหมอถึงช่วย ทำให้โอกาสรอดไม่มาก

2. 15% - 30% ของผู้ที่มี Cardiac arrest ได้รับการช่วยเหลือ

สิ่งที่เป็นตัวกีดขวางไม่ให้เราอยากช่วยเช่น

1. กลัวทำให้เกิดการบาดเจ็บมากขึ้น

2. กลัวช่วยผิดวิธี

3. ร่างกายช่วยไม่ไหว

4. กลัวถูกฟ้องร้อง

5. กลัวการติดเชื้อ

6. กลัวบาดแผล

Recognition of Cardiac Arrest

1. Gasping การหายใจเป็นเฮือก ๆ

- การหายใจเป็นเฮือก ๆ แสดงว่าเขาจะตาย ควรช่วยช่วงนี้อัตราการรอดชีวิตจะสูงมาก ถ้าผ่านไป 10 นาทีโอกาสรอดยากมาก

- การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน Adult Basic Life Support เป็นการช่วยทำให้เขามีชีวิตอยู่ต่อไป

2. คิดว่าเป็นการหายใจปกติ

3. การช่วยช่วงนี้จะดีมากเพราะอัตราการรอดชีวิตสูง

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CABD)

1. C – Circulation การกดหน้าอกให้มีการหมุนเวียนโลหิต (การนวดหัวใจ)

2. A – Airway การเปิดทางเดินหายใจ

3. B – Breathing การช่วยหายใจ

4. D – Defbrillation การใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า

5. Differential diagnosis การหาสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น

การตรวจสอบความรู้สึกตัว

1. เรียกผู้หมดสติดัง ๆ โดยตบที่บ่า พร้อมทั้งสังเกตการณ์หายใจ

2. ถ้าไม่รู้สึกตัวหรือหายใจเป็นเฮือก ๆ

3. ให้ตามทีมผู้ช่วยเหลือทันที

การเรียกขอความช่วยเหลือ

1. สถานที่เกิดเหตุ

2. หมายเลขโทรศัพท์ โทร 1669

3. เกิดเหตุอะไร

4. มีผู้ต้องการความช่วยเหลือกี่คน

5. สภาพของผู้ป่วย หายใจหรือไม่

6. ผู้ป่วยกำลังได้รับการช่วยเหลืออย่างไรขณะนั้น

7. ขอรายละเอียดอื่น ๆ ที่หน่วยฉุกเฉินต้องการทราบ

เมื่อไหร่ต้องช่วยฟื้นคืนชีพ

1.ผู้ป่วยไม่ตอบสนอง

2. หายใจเฮือก

3. หายใจเป็นเฮือก

4, หายใจผิดปกติ

5. ไม่ขยับ

6. ไม่มีอะไรเลย

7. Agonal Gasp

การกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ C

1. กดเร็ว 100 -120 ครั้งต่อนาที

2. กดแรง ผู้ใหญ่อย่างน้อยกดลึก 5 ชม.หรือ 2 นิ้ว

3. ให้หน้าอกคืนตัวเต็มที่ก่อนกดหน้าอกครั้งต่อไป

4. รบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด

5. หลีกเลี่ยงการช่วยหายใจที่มากเกิน

6. เปลี่ยนหน้าที่ทุก 2 นาที

7. ตำแหน่งกดที่ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก

การช่วยหายใจ

1. ช่วยหายใจโดยการเป่าปาก

2. เป่าช้าใน 1 วินาทีให้เห็นทรวงอกขยาย

3. ช่วยหายใจ 2 ครั้ง

4. ใช้เพียงลมหายใจเข้าธรรมดา ไม่ต้องหายใจเข้าเต็มที่ก่อนเป่าปาก

Airway and Breathing

1. หน้าอกขยับขึ้น-ลงมีลมหายใจออก

2. ถ้าเป่าไม่เข้า ? ดูในปาก คอ อีกครั้ง ถ้าโล่งดี ให้จัดท่าใหม ประกบปากให้สนิท

การช่วยชีวิตโดยผู้ช่วยเหลือ 2 คน

1. สลับเปลี่ยนหน้าที่กันได้

2. ควรสลับเปลี่ยนหน้าที่กันทุก 5 รอบหรือทุก 2 นาที

3. ควรใช้เวลาในการสลับให้เสร็จภายใน 5 วินาที หรือไม่เกิน 10 วินาที

4. เป่า 2 ครั้ง กดหน้าอก 30 ครั้ง 5 รอบ หรือ 2 นาที

D การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

Defibrillation การใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า

สิ่งที่แสดงการช่วยชีวิตได้ผล

1.จับชีพจรได้ (ถ้าจับได้)

2.หน้าอกของผู้

การใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Automated External Defibrillator (AED))

Public Access Defibrillator (PAD)

สิ่งที่แสดงว่าการช่วยชีวิตได้ผล

1. จับชีพจรได้ (ถ้าจับได้)

2. หน้าอกของผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวแสดงว่ามีการหายใจ

3. รูม่านตาตอบสนองต่อแสง

4. สีผิวหนังของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงดีขึ้น (สีชมพู)

5. เริ่มมีการกลืน การไอ

6. เริ่มรู้สึกตัว ส่ายหน้า ขยับแขนขา

วิธีการแก้ไข

1. ปลุก

2. ขอ +/- AED

3. คลำ

4. ปั๊ม

5. เป่า

Automated External Defibrillator (AED)

1. เครื่องช็อตไฟฟ้าอัตโนมัติ

2. ประชาชนทั่วไปสามารถใช้งานได้ (Lay rescuer)

3. วิเคราะห์ผล EKG ได้เอง

4. สามารถทำ Defibrillation ได้อัตโนมัติตามขั้นตอน 1,2,3

วิธีการ

1. ติดแผ่นปิดหน้าอกเพื่อดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

2. หลังช็อคไฟฟ้าเสร็จให้รีบกดอกทันที เป็นเวลา 2 นาทีแล้วจึงให้เครื่องอ่านคลื่นไฟฟ้าใหม่อีกครั้ง

3. นอนตะแคงหลังจากรู้สึกตัว

Foreign-Body Airway Obstruction (Choking)

1. การตระหนักถึงอาการการสำลักช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการช่วยเหลือ

2. การสำลักพบได้บ่อย แต่ป้องกันได้

3. มักเกิดในขณะกำลังกินหรือเล่นซึ่งมักมีผู้ดูแลอยู่ด้วย

4. การให้การช่วยเหลือมักประสบความสำเร็จสูงถึง 95%

Recognition of FBAO

1. ให้การช่วยเหลือเมื่อมีการสำลักอย่างรุนแรง

2. อาการแสดงคือมีอาการหายใจลำบาก ได้แก่ ไอไม่มีเสียง เขียว ไม่สามารถพูดหรือหายใจได้

3. อาจเอามือจับที่ลำคอ

4. ให้รีบถามว่ากำลังสำลักอยู่ใช่ไหม

5. ถ้าตอบว่าใช่โดยการพยักหน้าโดยไม่สามารถพูดได้ให้คิดว่ามีอาการรุนแรงแล้ว

Relief of FBAO

1. ถ้าอาการน้อย มักจะไอมีเสียงได้ ไม่ต้องทำอะไรให้ไอออกเพื่อให้สิ่งที่สำลักออกมา

2. ให้อยู่ดูและสังเกตอาการและช่วยเหลือเมื่อมีอาการรุนแรงคือ ไอไม่มีเสียง การหายใจมีเสียงดัง หมดสติ


Healthy Mini Walk-Rally

แนะนำรูปแบบกิจกรรมและทีมวิทยากร

สรุปกิจกรรม และมอบรางวัล

โดย คุณเสรี ศักดิ์จิรพาพงษ์ ภาควิชารังสีวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฐาน 1 สนุกสนานกับอาหารสุขภาพ

เรียนรู้การทานอาหารที่ถูกต้อง เลือกรับประทานด้วยปริมาณที่เหมาะสม

ฐาน 2 กายภาพมันส์ฮา

เรียนรู้วิธีการนั่งหยิบของ และเคลื่อนย้ายของอย่างถูกวิธี โดยนั่งย่อลงหยิบของด้วยความสมดุล และเคลื่อนย้ายของ ยืนชิดก่อนย่อวางของ

ฐาน 3 CPR ฮาเฮ

เรียนรู้วิธีการช่วยคนหมดสติ หายใจติดขัดอย่างถูกวิธี วิธีการกดหน้าอกและเป่าปาก

ฐาน 4 หัวใจสดชื่นรื่นรมย์

เรียนรู้วิธีการใส่มาร์คหน้ากากอย่างถูกวิธี โดยหันส่วนที่เป็นสีเข้มออกข้างนอก และเอาส่วนที่เป็นลวดไว้ด้านบน กดให้พอดีกับจมูก

เรียนรู้วิธีการล้างมืออย่างถูกวิธี ใช้เวลาประมาณ 30 วินาทีด้วยท่าที่ถูกต้อง

เรียนรู้การเลือกใส่เสื้อที่เหมาะสม สบาย ไม่ควรคับเกินไป

เรียนรู้การเลือกรับประทานอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ ทั้งในเรื่องการทานอาหารที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโรคความดันโลหิตสูง ไต เบาหวาน หัวใจ เพราะแต่ละส่วนจะเกี่ยวพันกันหมด


กิจกรรม

1. การละลายพฤติกรรม

- ร้องพร้อมไหม ๆ อุ้ยตื่นเต้น ๆ เต้นท่าประกอบ

- ร้องเพลงพายเรือตามนาวาฯ และให้จับกลุ่มวงกลม

1 = ก้าวขวา

2 = ก้าวซ้าย

3 = ก้าวหน้า

4 = ก้าวหลัง

เสร็จบอกฮึบ

- ทำตามคำสั่งที่บอก หลังจากร้องเพลงพายเรือตามนาวาฯ

- ใครทำผิดโดนทำโทษ

กิจกรรม Walk Rally

1. แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

2. แนะนำตัวเอง คิดชื่อและสโลแกนกลุ่ม

3. ทำกิจกรรมตามฐาน และถ่ายรูปส่งเข้าไปในไลน์กลุ่ม

กลุ่ม Number 4 สโลแกน คือ Number 4 พิทักษ์โลก

กลุ่ม ความต้องการสูง สโลแกนคือ สักวันหนึ่งเราจะโต เราจะโต (โตทุกอย่างทั้งในหน้าที่การงานและการบริหาร

กลุ่ม ลูกโท๊ะ แปลว่าโคลงเคลง สโลแกน คือ รับใช้แผ่นดิน

กลุ่ม Powerful Leader สโลแกน คือ สู้ทั้งทีม

กิจกรรม Walk Rally บอกอะไรบ้าง

- ออกกำลังกาย ใช้สมอง

- ได้ความรู้นำไปใช้ CPR

- ได้ความรู้ดูแลสุขภาพตัวเอง

- การดูแลช่วยเหลือคนอื่น

- หาโอกาสไปฝึกเพิ่มเติม

- การได้อาหารเพื่อสุขภาพ เช่นถั่วนึกว่าโปรตีน แต่จริง ๆ เป็นไขมันประกอบด้วย ทำให้รู้และแก้ไข Concept ได้หลายเรื่อง

- ได้มีส่วนร่วมและแต่ละฐานมีความรู้ ประกอบ อย่างน้อยมีความรู้ในพฤติกรรมที่ทำอยู่ บางอย่างเข้าใจผิดก็ได้ทำให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง

- การมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น

Walk Rally

เป็นกิจกรรมที่พัฒนาบุคลากร เข้ามาโดยปูนซีเมนต์ไทยปี 2515 ได้ไปเรียนและได้นำมาปรับใช้ในคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. และมีบริษัทภายนอกนำมาใช้เป็นครั้งคราว

ประโยชน์

1. มีอะไรที่ทำด้วยกัน

2. ตั้งโจทย์เดียวกัน

3. แก้ปัญหาร่วมกัน


สรุปการบรรยายวันที่ 30 มิถุนายน 2559

ทฤษฎีกระเด้ง...จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯ สู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

กลุ่มที่ 4 Innovative Learning Gateway

หลักการและเหตุผล

1. ทิศทางของประเทศเพื่อสอดคล้องแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 2 เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ตั้งแต่ประถมศึกษาถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อสื่อการเรียนการสอน

3. การให้ผู้เรียนเรียนได้ไม่จำกัดสถานที่ เวลา

4. โครงการเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทุกผู้ ทุกวัย ที่ทำให้เราคิดโครงการนี้ขึ้นมา

แนวคิด

นำเอาความรู้จากอาจารย์หลายสาขามาร่วมกันคิดพัฒนาการเรียนการสอนพัฒนามหาวิทยาลัยคิด TSU Channel เพื่อเป็นช่องทางการเรียนรู้ ให้เข้าถึงในทุกกลุ่มคน โดยใช้ความรู้จากอาจารย์ในสาขา มีวิธีการวางแผน มีการวางแผนคุยกันว่ามีวิชาอะไรบ้างที่จะเปิดการเรียนการสอน มีการออกแบบหลักสูตร มีการเช็คคุณภาพ ปรับปรุงสื่อ และทดลองใช้ และมีผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี

ที่มา

ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และการรับรู้ภายนอกเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา นำไอทีมาแก้ปัญหาเปิดเป็น Channel ให้อาจารย์อัดเป็นคลิปสั้น ๆ โดยเริ่มต้นจากกลุ่มเล็ก ๆ 9 คน มีการสร้างและทดลองทางมีคุณภาพ เริ่มต้นจากการผ่านช่องทาง Youtube เอาคลิปที่มีอยู่ส่งขึ้นเพื่อเผยแพร่ไปสู่ส่วนอื่น ทุกที่ทุกเวลาสามารถเรียนรู้ได้ และเปิดโอกาสให้อาจารย์มีช่องทางของตัวเอง

ในช่วงเวลาที่มีโอกาสจึงได้สร้างและดึงข้อมูลผ่านทาง Youtube Channel และในอนาคตจะมีการทำช่องทางของตัวเอง มีการทำ PDCA เพื่อปรับปรุงคุณภาพ

ตัวชี้วัด

1. ตัวชี้วัด คือผู้ที่ Access เข้าไปในเบื้องต้น สิ่งที่อยากพูดเสริมคือ เดิมใช้ช่องทางคือ Youtube งานเริ่มต้นจากมีงบประมาณ และถ้าไม่มีงบประมาณจะทำอะไรแล้วสำเร็จ จึงทำที่ Youtube สิ่งที่คาดหวังอาจมีแบนเนอร์เป็นโฆษณาเชิญชวนเข้ามา มีรางวัล หรืออื่น ๆ ใช้งบโฆษณามา

มีหลายองค์กรที่มาเกี่ยวข้องในการ Support เรา คิดว่าตรงนี้เป็นจุดสำคัญ TSU Channel อาจทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนของสาขา ของ ม.ทักษิณ ทำขึ้นมาเพื่อให้ใครก็ได้เรียนรู้ศาสตร์ต่าง ๆ และทำให้ ม.ทักษิณเป็นที่รู้จักและเรียนรู้ใหญ่ขึ้น

คิดว่าเป็นงานที่จะสำเร็จเพราะคิดว่าเป็นพื้นฐานที่เป็นไปได้ และสามารถดำเนินการได้

3 V

จากทฤษฎี 3 V มีเทคโนโลยีรองรับ และทางศูนย์คอมพิวเตอร์สามารถรองรับได้ ใช้ 3 V เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจารย์จะได้พัฒนาทักษะการอธิบายว่า 5 นาทีจะพูดอะไร ว่าทำอย่างไรให้ที่อื่นรู้จัก ม.ของเราด้วย และถ้าทุกคนช่วยกันและกระตุ้นให้ทำตรงนี้ มีตัวชี้วัดคือระดับความพึงพอใจ มีช่องทางวัดคนเข้าชมและคนคลิ๊กไลค์จะทำให้น่าสนใจมากขึ้น มองเรื่องความหลากหลายที่มาช่วยกัน เช่น ศาสตร์สุขภาพ ชีวเคมี ฯลฯ

การเริ่มโครงการฯ

เริ่มต้นจากงบลงทุนไม่มากนัก ใช้จากทรัพยากรที่มีอยู่ มุ่งหวังให้เกิดการเผยแพร่ สังคมรับทราบ และเกิดการใช้ประโยชน์จากตรงนี้

ร่วมให้คำแนะนำ

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

1. การนำเสนอโครงการฯ ดีมาก ได้นำเรื่อง IT ที่เป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นมากมาใช้มีเป้าหมายให้ลูกค้าเข้าถึงสถานที่และเวลา

2. ใช้อาจารย์เก่ง ๆ แต่ละสาขา นำความรู้มาเสนอ มาขาย มาเชื่อม และมีความคิดเรื่องการจัดสรรและได้มาของงบประมาณ

3. ต้องดูลูกค้าว่ากลุ่มไหน คือเพื่อนิสิตของเรา เพื่อสังคมอาจเป็นคนไทย หรือเป็นคนต่างชาติ โจทย์นี้ยากเพราะความต้องการของลูกค้ามีความหลากหลายไม่เท่ากัน ถ้าต้องการ Focus ชัดเจนจะดีมาก ถ้ามองว่าเป็นเรื่อง Public คู่แข่งจะเยอะมาก

ฝากให้ดูเป้าหมายที่เป็นแต่ละระดับ และต้องตอบสนองกับความต้องการของเรา มีคู่แข่งมาก ดังนั้นการทำคือต้องตอบสนองต่อผู้อื่นให้ได้ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์มาก และคิดว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นโครงการที่ดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าทำได้สำเร็จ มหาวิทยาลัยจะได้แบรนด์ อยู่ที่ว่าจะเดินอย่างไร อยากให้เสริมว่าจะทำอะไรบ้าง หลักสูตรนี้ทำให้เกิดมูลค่า และมีลูกค้า มีแบรนด์ขึ้นมา การดูเนื้อในยังเป็นคอนเซปต์กว้าง ๆ อยู่ ขอให้จับขั้นตอนให้ดี ต้องมีคนอย่างน้อย 1 คนที่ดูแลด้านนี้อยู่ อย่าปล่อยให้อาจารย์ไปทำ เพราะเรามีคู่แข่งมหาศาล และการมีคลิปดีนั้น จะดึงดูดคนดูหรือไม่ เริ่มจากหาลูกค้าที่ทำอย่างไรก็ต้องใช้ และอาจใช้หนังสือบางอย่างที่สอนที่หลัง ไม่สอนในห้อง สร้างแรงจูงใจให้อยากอ่าน และให้มองให้ไกลว่ามุมกว้าง โครงสร้าง อายุ ไม่ได้มาเรียนเรื่องปริญญา การหาความรู้ด้วยตนเอง การเป็น Online learning ก็มี เทคโนโลยีตรงนี้ทำมานานแล้ว มีข้อมูลเหล่านี้มากในโลก และอยากใช้ภาษาด้วยว่าจะใช้ภาษาอะไร ได้แนะนำให้ใช้ภาษายาวีด้วย ขอให้อาจารย์พิชญ์ภูรีดูขั้นตอน หัวข้อที่นำเสนอดีมากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ คอนเซปต์ดี และเมื่อจบหลักสูตรนี้ ควรมี Full time Assistance ที่มาจาก IT และขอเสนอเรื่องนี้ไปที่ท่านอธิการบดีเพราะเป็นจุดเริ่มต้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การนำเสนอมีการจัดลำดับดี ของดีมีอยู่แต่อาจยังไม่ได้นำเสนอ มีโปรแกรมต่าง ๆ อยู่แล้ว และขอให้ทำให้เด่นภายใน 3 เดือน

กลุ่มที่ 2 ศูนย์ทีเอสยูสมาร์ท (TSU Sa-Mart Center)

แนวคิด

เป็นบริการข้อมูลทางวิชาการ ที่ถูกต้องทันสมัย เข้าถึงได้ง่าย 24 ชั่วโมง มี Kios ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปวางตามแหล่งต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า หรือ งานกาชาด หน้าจอมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษภายใต้ Theme คือ Creative Culture ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และการศึกษา สามารถหาข้อมูลกด TSU Sa-Mart Center แล้วข้อมูลต่าง ๆ จะขึ้นมาเลย เช่น การพัฒนากะปิ จะเลือกพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการตลาด ฯลฯ ในนั้นจะมีข้อมูลวิชาการ มีผู้เชี่ยวชาญที่รองรับ แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลมากกว่านั้น ต้องพิมพ์ชื่อที่อยู่ เบอร์ติดต่อ ติดต่อกลับไป และจะมีผู้เชี่ยวชาญไปหาถึงที่ ใช้ผู้เชี่ยวชาญตอบโจทย์ลูกค้าที่ Request เข้ามา

หลักการและเหตุผล

ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำโครงการฯนี้ขึ้นมา เมื่อทำแล้วจะประเมินโครงการฯนี้อย่างไร รายได้ ผู้เข้าโครงการฯ มีการประเมินรายปี และรอบ 5 ปี ให้เห็นผลอย่างชัดเจน และเมื่อโครงการฯ ไม่สำเร็จ จะไม่เกิดกำไร หรือผู้เข้าร่วมน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ควรยุติบทบาท และปรับตัวสู่ระบบการตลาด อันไหนได้กำไรจึงทำ

แนวทาง 3 V

มองเรื่อง 3 V สร้างภาพอย่างกว้างขวางให้มหาวิทยาลัย มีการใช้ทรัพยากรเช่นฝ่ายบุคลากร ห้องสมุดในการเสริมทัพโครงการฯ และหวังเป็นอย่างยิ่งที่โครงการจะขับเคลื่อนภายในระยะเวลา 3 เดือนที่จะถึงนี้

อยากมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน อย่าลืมคิดถึง TSU Sa-Mart

ร่วมให้คำแนะนำ

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

โครงการฯนี้เริ่มต้นดี คือพยายามตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ลูกค้ามาจากภายนอก เช่น นิสิต หรือประชาชนที่มาใช้บริการของ ม.ทักษิณ อยากให้มีการคำนวณเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น พฤติกรรมเขาใช้ Wise ของเราเอง และบางครั้งใช้ Kiosk ของเราแสดงถึงเขาต้องประจันหน้า การมีเจ้าหน้าที่เป็นการจำกัดเวลา ต้องมีเจ้าหน้าที่ Kiosk ต้องหาทางบรรลุข้อจำกัด ใช้ในการเข้าถึงประชาชน และเวปไซด์กับ Kiosk มีอะไรที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน เนื้อหาไปผูกกับ Website จะทำให้ Website มีคุณค่ามากขึ้น คือทำอย่างไรให้ผู้ใช้บริการภายนอกสามารถเข้าถึงได้ ใช้ IT ช่วย อยากให้มี Content ดี ๆ และสื่อดี ๆ ไปยังผู้ใช้ สนับสนุนให้ทำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องไปสำรวจสถานการณ์ที่เป็นอยู่ก่อนคือ Where are we? มี Existing Information ลูกค้าที่เข้ามาจะมีความหลากหลาย ถ้าจะทำอย่างไรขอให้ดูแบบ Simple คือ Advance แบบ Simple และอยากให้โปรเจคนี้คิดร่วมกันต่อ ต้องรู้ว่า Customer หลากหลาย และอยากให้ Sa-Mart Center ไป Deliver Basic ก่อน

อยากให้เดินต่อและปรึกษาพวกเราว่า Step ต่อไปจะเป็นอย่างไร และเมื่อสุกงอมแล้วขอให้ปรึกษาท่านอธิการฯ จบไปแล้วมีประโยชน์จะมีมูลค่าเกิดขึ้นอย่างมหาศาล และต้องต่อเนื่อง มีหลักสูตรต้องกระเด้งไปเรื่อย ๆ การทำต่อก็จะทำให้เราหิวความสำเร็จ

กลุ่มที่ 3 โครงการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ สู่การสร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ใจรักษ์โลก ตอนชนะเล็ก ๆ ด้วย EM Ball

หลักการและเหตุผล

ทำอะไรง่าย ๆ แต่ให้ประสบความสำเร็จ สิ่งที่ประเมินคือ Where are we ? มีอะไรบ้างที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เปิดตัวด้วยโครงการง่าย ๆ คือการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ สู่การสร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ใจรักษ์โลก ตอนชนะเล็ก ๆ ด้วย EM Ball

เริ่มต้นจากการประเมินตัวเองคือ Where are we ? มีทุนทางสังคมอย่างไร เทคโนโลยีอย่างไร มาประเมินวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่รับใช้สังคม เพื่อประเมินชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักในสังคม

มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ปัญญา ทุนแห่งความยั่งยืน และผู้ประกอบการใหม่ สิ่งที่เน้นคือการสร้างจิตสำนึกร่วมกัน

โครงการ EM Ball ใครรู้จัก ทำไมต้องเลือกเกาะยอ เป็นทะเลสาบสงขลา การMovement ของน้ำไม่มาก ทำอย่างไรให้ชุมชนยั่งยืน ให้ว่าด้วยเรื่องการบำบัดน้ำเสีย เน้นการมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัย ชุมชน และชาวบ้าน

แนวทาง 3 V

นิสิต และอาจารย์ได้ทำงานกับชุมชน เกิดมูลค่าเพิ่มทางจิตใจเพื่อสร้างแบรนด์ TSU เกิดเป็นรูปแบบเครือข่าย เกิด Network เพื่อการทำงานในเกาะยอ นิสิตเรียนรู้เรื่องจิตสาธารณะ เรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาจารย์ในมหาวิทยาลัยบางครั้งอาจกลัวไม่อยากทำงานในชุมชน อยากทำงานห้องแลปของตัวเอง เป็นการนำอาจารย์ไปชุมชนเพื่อเกิดปฏิสัมพันธ์

ปัจจัยความสำเร็จ

เกิดจากความร่วมมือของแต่ละภาคส่วนในสังคม อาทิ อาจารย์ ผู้นำท้องถิ่น คนในชุมชน ผู้ประกอบการ ฯลฯ

อุปสรรค คือสภาพดินฟ้าอากาศ และไม่ใช่ฤดูการท่องเที่ยว ชาวบ้านไม่ค่อยสนใจปัญหา

การขอความคิดเห็นจากท่านรองอธิการบดี ไพบูลย์ กล่าวว่าเห็นด้วยที่อยากให้ทีมงานทำด้านนี้เพื่อบูรณาการสังคมให้ยั่งยืนต่อไป

การทำ EM Ball คนบางกลุ่มรู้จักอยู่แล้ว เพียงแค่สามารถดึงความมีส่วนร่วมมาให้มากขึ้น

ร่วมให้คำแนะนำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สั้น ๆ แต่น่าสนใจในการเริ่มต้น ที่สนใจคือ ชอบการมีส่วนร่วมจากหลายส่วน คือ มีการดึงผู้ประกอบการและชาวบ้านมาด้วย

การทำ EM Ball อยากเขียนให้ร่วมกับคนอื่น เพียงแต่เป็น Lead ให้มีประโยชน์ทางธุรกิจ ให้มี Income ที่เห็นชัด Green ไม่จำเป็นต้องเป็นต้นทุนอย่างเดียว ต้องศึกษาเรื่อง Networking ให้ดีคือต้อง Trust และต้องใช้เวลา ทราบมานานแล้วว่าทะเลสาบสงขลามีเสน่ห์มหาศาล แต่นานไปเรื่อย ๆ เริ่มมีคนบุกรุก

ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีเป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับชาวบ้านถือได้ว่าเป็น Flagship และสามารถขอความร่วมมือจากจังหวัดได้

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

อยากให้ทำมากเลย จากยุทธศาสตร์ที่ว่า

- มหาวิทยาลัยทักษิณ คลังปัญญาแห่งทักษิณทิศ

จะรู้ว่าทักษิณมีอะไรและสามารถตอบโจทย์ได้

- มหาวิทยาลัยผู้สร้างสังคมแห่งปัญญาและสันติสุขที่ยั่งยืน

ถ้าทำได้จริงจะสามารถดึงอุดมศึกษาทั้งประเทศไทย และสันติสุขนั้นสอดคล้องกับคำว่า ทักษิณทิศ

- มหาวิทยาลัยผู้สร้างประกอบการยุคใหม่ใจรักษ์โลก (TSU : Green Entrepreneur)

ที่เกาะยอเป็น Green การท่องเที่ยวมูลค่าเป็นแสนล้านบาท ชุมชนสามารถอยู่รอดได้ และถ้าพัฒนา Entrepreneur และถ้าสามารถพัฒนา EM Ball ให้ขายได้ การใช้จำนวนเท่าไหร่ ถ้าน้ำเปลี่ยนไปจะมีสูตรแก้ไขที่ไม่เหมือนกันแต่ให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพน้ำหรือไม่ สร้าง Em Ball ที่สามารถรับรองคุณภาพด้วยคลังปัญญาแห่งทักษิณ และจบไปที่ประเทศที่กำลังพัฒนาไปทั่วโลกเลย ดังนั้นการสร้าง Entrepreneur ได้จากวิทยาศาสตร์ ควรเชื่อมโยงกับงานวิจัยร่วมด้วย ถ้าทำให้ดี ๆ และจุดแข็งอีกอย่างคือการดึงความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เป็นโจทย์ที่ตีแตกเพราะมีงบประมาณด้วย ต้องให้จังหวัดเชื่อ ประเทศเชื่อ การทำเรื่องเดียวแต่สามารถต่อยอดได้อีกหลายอย่างมาก

การจัดกิจกรรมให้ความรู้เปลี่ยนเป็นการจัดการเรียนรู้ร่วมกันเพราะชุมชนมีความรู้อยู่ และมีชุมชนอื่นสอดแทรกอยู่ ต้องแปลงเป็นวิทยาศาสตร์ก่อนให้ได้

กลุ่มที่ 5 เสนอเปิดหลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ

มีวัตถุประสงค์

  • เพื่อเปิดหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนที่ใช้เป็นภาษาต่างประเทศ
  • เพื่อรองรับความต้องการของนักศีกษาต่างประเทศที่ต้องการมาศึกษาในประเทศไทย หรือนักศึกษาไทยที่ต้องการทำงานในองค์กรที่ใช้ภาษาต่างประเทศ
  • เพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยทักษิณเป็นระดับสากล

แนวคิด

เป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างมูลค่าทางวิชาการสู่ระดับสากลมากขึ้น หาจุดแข็งและจุดอ่อน

ต้องทำงานภายใต้ความรอบคอบและอุปสรรคของเรา

การนำไปใช้ อยู่ที่ How to get there ?

ระยะที่ 1 เราต้องเลือก ต้องหาหลักสูตรที่พร้อม การเปิดพร้อมกันอาจมีปัญหาเรื่องทรัพยากรมีจำกัด มหาวิทยาลัยต้องให้ความจริงจังและสนับสนุน

ระยะที่ 2 พัฒนาหลักสูตรเป็นนานาชาติ ต้องยกร่างหลักสูตรขึ้นมา ทำหลักสูตรเป็นภาษาต่างชาติ สร้างความหลากหลายในการออกแบบหลักสูตร มีการวิเคราะห์หลักสูตรนำร่องก่อน

ระยะที่ 3 คาบเกี่ยวกับระยะที่ 2 เป็นการคัดเลือกบุคคลที่จะพัฒนา อาจเลือกจากที่มีอยู่หรือ Outsource เพื่อยกระดับ เน้นการพัฒนาคนในองค์กรว่าจะพัฒนาอะไร และทดลองนำร่องก่อนเจอสถานการณ์จริง ผลตอบแทนต่าง ๆต้องให้เขาพึงพอใจ ดูผลการพัฒนาภาษาต่างประเทศ และวัฒนธรรม และดูความคุ้มค่าการลงทุน

ระยะที่ 4 Roadshow ต้องทำให้เขารับรู้และรู้จักเรา จูงใจ และมีการทำ MOU ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนกัน มีการประชาสัมพันธ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่นสงขลามีทะเล ต้องทำให้เป็นจุดขาย ต้องทำประชาสัมพันธ์ เปิดทำการสอน ความคงอยู่ของผู้เรียน และบุคลากร เป็นตัววัด และความสามารถในการทำกำหร

ระยะที่ 5 เปิดทำการสอนในปี 2561 และให้ประเมินปัญหาและอุปสรรค แก้ไขไปเรื่อย ๆ เกิดหลักสูตรนำร่องดีแล้วค่อยมองหาหลักสูตรต่อไป

ทุนงบประมาณ

สร้างทุนการพัฒนา และการดำเนินการหลักสูตร

3 V

การพัฒนาทุนมนุษย์ ยกแบรนด์เป็นระดับนานาชาติ และยกระดับหลักสูตรใหม่ ๆ เกิดขึ้น ความหลากหลายในการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นพหุวัฒนธรรม มีเครือข่ายมากขึ้น

ปัจจัยประสบความสำเร็จ

1. ผู้นำต้องทำตามและเป็นวาระสำคัญ

2. ตัวอาจารย์ต้องมีการปรับทัศนคติให้กล้าเปลี่ยน

3. การประชาสัมพันธ์ ให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ และการแสวงหา

4. การแข่งขันกับทาง ม.อ. และ ม.หาดใหญ่

5. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกัน

ร่วมให้คำแนะนำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ในเรื่องการริเริ่มเป็นเรื่องธรรมดา ที่ม.ทักษิณต้องก้าวไปในอนาคต ในเรื่องหลักสูตรนานาชาติให้มองแบบ Reality คณะทุกคณะต้องกระตุ้นให้มีการสอนภาษาอังกฤษมากขึ้น ม.ทักษิณอาจช้าไป

2. ใน 3 หลักสูตรที่อยากแนะนำคือ 1. บริหารธุรกิจภาษาอังกฤษ เน้น Entrepreneurship นวัตกรรม ศิลปวัฒนธรรม ศึกษาศาสตร์นานาชาติ Creative Economy อยู่ที่ทุนทางวัฒนธรรม ที่ม.ทักษิณเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่ใหญ่ที่สุด

3. การบริหารต้องมี Incentive ดึงอาจารย์เก่ง ๆ จากต่างประเทศมา

หัวข้อดีแต่ช้าไปหน่อย ตลาดต่างประเทศไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียว อยากให้มองเรื่องตลาดตะวันออกกลางได้ด้วย ประเทศไทยเป็นตลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของตะวันออกกลาง อย่างประเทศยุโรปตะวันออกน่าทำ

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

เรื่อง International เป็นอะไรที่ต้องไป แต่ต้องทำอย่างรวดเร็วใช้เกียร์สูงขึ้น เกียร์ต่ำไม่ทัน มีการทำ Roadshow MOU และให้ทุนให้ต่างชาติมาเรียน อุดมศึกษาไทยน่าจะผิด

Internationalization EU ชัดเจน กระแสเปิดประเทศ EU ต้องชัดเจน มหาวิทยาลัยต้องมี Standardize เทียบเคียงได้ ต้องเป็น Mobilize ทั้งภาษาและวัฒนธรรม เอาความรู้มา Mobilize มีเรื่องความรู้ เรื่องวัฒนธรรมมาด้วย และสุดท้ายคือการโยงเรื่องสันติสุข เป้าหมาย EU คือป้องกันสงครามโลกครั้งที่ 3 คนที่รู้จักกันจะไม่รบกัน อยากให้เอายุทธศาสตร์ของกลุ่มที่ 3 คือ มหาวิทยาลัยผู้สร้างสังคมแห่งปัญญาและสันติสุขที่ยั่งยืน คนไทยสนใจเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับเราหรือไม่ สิ่งที่เขาพูดบางทีเราเข้าใจผิดแล้วไปแกล้งเขาอีก

EU มีความชัดเจนว่าต้อง 3 ภาษา คือต้องเป็น Globalization

หลักสูตร International คือต้องทำให้บัณฑิตที่จบสามารถไปทำงานในตลาดระดับสากลได้หรือไม่

การทำงานบริษัทข้ามชาติ จุดอ่อนของไทยไปไม่ถึงไหนเพราะติดขัดเรื่องภาษา เถียงสู้ต่างชาติไม่ได้ อยากให้ศึกษาตัวอย่างที่สิงคโปร์คือสร้างบัณฑิตขึ้นมาเป็นเจ้านาย แต่ไทยสร้างบัณฑิตเพื่อไปเป็นลูกน้อง พลังปัญญาต้องถ่ายทอดให้บัณฑิตเรา

International ให้ Survey จากหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว ลูกศิษย์ไปทำงานบริษัทข้ามชาติได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้น Internationalization ต้องการทุกหลักสูตรไม่ใช่เฉพาะหลักสูตรใหม่ จุดขายต้องฉีกแนว หน้าที่หลักของบัณฑิตต้องเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถที่ต้องไปทำงานด้วยภาษาที่ดี ทำงานกับคนต่างชาติ และมีวัฒธรรมข้ามชาติได้

กลุ่มที่ 1 โครงการบูรณาการหลักสูตรแบบสหวิทยาการ เพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน

หลักการและเหตุผล

ทำอย่างไรที่ตัวเองและชุมชนได้รับประโยชน์ด้วยกัน พบว่านิสิตที่เรียน 80% เป็นด้านทำนา และสวนยาง

สิ่งที่ทำคือการต่อยอดให้เด็กได้ Inspiration ไปต่อยอดเพิ่มเติม จะเอาเด็กนักเรียนไปเรียนรู้ชุมชน เช่น ทำปุ๋ย ทำนา จะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดในชุมชนขายได้ ทำอย่างไรให้เด็กไปซื้อและกลับมาทำต่อ) ทำอย่างไรให้เด็กได้เรียนรู้ว่าถ้าทำแผนการตลาดได้จะต่อยอด AEC ได้เช่น ทำอย่างไรให้เป็น ฮาราล ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีปัญหา ต้องมีการทำแผนการตลาด สร้างคนไปช่วยดูและให้ความรู้กับชุมชน

เดิมนิสิตจะเรียนรู้อย่างเดียว แต่การทำในลักษณะบูรณาการชุมชนเรียนรู้กับเราและนำสู่การพัฒนาด้วย ชุมชนที่รับผิดชอบต้องให้ครบทั้งวงจรและตอบโจทย์ตัวที่เป็นนิสิต และมหาวิทยาลัย และเมื่อรู้จักมากขึ้นจะทำให้บอกต่อ

ม.มีการพัฒนาชัดเจน มีการทำวิจัยและบริการทางวิชาการ

การมองถึงส่วนของ Asean ลักษณะการเรียนการสอนเป็น Active Learning

การต่อยอดความรู้เพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และสร้างมูลค่า ดังนั้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการจะสอนอย่างไรให้มีการบูรณาการที่แท้จริง ดังนั้นโครงการที่คิดได้คือการสร้างแผนการตลาดอย่างที่พูดแล้ว

ทฤษฎีรองรับจะมีขั้นตอนต่าง ๆ

งบประมาณต่าง ๆ ใช้ทางวิชาการ การมีส่วนร่วมชุมชนและผู้ประกอบการ และคณะอื่นที่สนใจจะนำนิสิตไปต่อยอดคนอื่นได้ ต้องมีการจัดการความมีส่วนร่วมกับชุมชน

โครงการเริ่มต้นต้องดึงคนที่เชี่ยวชาญก่อน
โครงการแรกใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค และการตลาด มีการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เน้นการทำงานร่วมกัน ทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยได้รับใช้สังคมตามปณิธานที่ตั้งไว้

ร่วมให้คำแนะนำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พื้นฐานทุนทางสังคมของมหาวิทยาลัยทักษิณมาก สิ่งที่ทำในวันนี้สามารถกระเด้งไปหลายเรื่อง ถ้าทำสำเร็จให้มองจากเรื่องที่ไปสู่ความยิ่งใหญ่ด้วย ไม่มี Start up ที่เกิดจากศูนย์ เพียงแค่มีการเคลื่อน (Move) เป็นจุด ๆ มีการพูดเรื่องคน Strategy Leadership

ที่พัทลุง สงขลา เอา Start up มาสองสิ่ง แล้วใส่ Productivity มาที่คน

ชุมชนสามารถทำเงินได้มหาศาล ให้เอาจริงกับเรื่องนี้อย่าพูดเฉย ๆ

รางวัลไม่สำคัญ รางวัลชีวิตอยู่ที่ทำอะไรที่มีคุณค่าและ Passion

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

ชอบมหาวิทยาลัยที่รับใช้ชุมชน และไปทำร่วมกับชุมชน

การมีผลิตภัณฑ์ผลไม้มากในภาคใต้ สามารถ Reserve ได้ สามารถช่วยประเทศไทยและทั้งโลกได้ เพราะยุทธศาสตร์โลกบอกว่า ประเทศไทยพึ่งได้คือเรื่องการท่องเที่ยว มีต้นทุนที่ไหนในโลกเหมือนประเทศไทยที่ดินดี มีน้ำพร้อมสร้างผลผลิตทางการเกษตร พลังงานที่ใช้คือพลังแสงอาทิตย์ ใช้พลังงานทดแทนแสงอาทิตย์แล้วแปลงไปเป็นพลังงานไฟฟ้า

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารให้กับโลก แต่ด้วยการกีดกันทางการค้ามีเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนั้นการสร้างโมเดลเพื่อรองรับในการพัฒนาเพื่อสู่ตลาดเป็น Value Creations

ระดับแรกคือ Reserve และระดับที่สองคือ Organic ยอมจ่ายแพงเพื่อให้มีอายุยืน และสามารถประทับตราสถาบันการศึกษาเพื่อรับรองด้วย ต้องสร้าง Value Added และ Value จาก Health เพิ่ม ต้องจบที่ความยั่งยืนของสละด้วย

ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ

กล่าวชื่นชมโครงการทุกโครงการฯ บางเรื่องเป็นเรื่องที่ทำอยู่แล้วได้นำมาจัดระบบความคิดใหม่เป็นโครงการฯใหม่ ใช้นโยบายเป็นยุทธศาสตร์ของเรา อย่างเรื่องการเปิดหลักสูตร มีคำถามที่ต้องแก้อีกมาก ต้องหาคนที่มีจุดดึงดูดมาช่วยในการเริ่มต้นก่อน

รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์

สิ่งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น จริง ๆ มีอีกมากที่ต้องทำร่วมกัน สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากคือ กลุ่ม 2,4,5 ที่ทำเพื่อ Stakeholder หรือ Customer ยังขาดการวิเคราะห์อยู่ เพราะการทำโครงการฯ ใดก็ตามที่เอาตัวเองตั้งจะเป็นสิ่งที่ยากมาก จึงต้องวิเคราะห์ Customer ให้ชัดเจนเพื่อนำมาพัฒนายากมาก สิ่งที่จะพัฒนาต่อจะทำอย่างไร ถ้าไม่มียากมาก จะประเมินความพึงพอใจได้อย่างไร ดังนั้นประเด็นที่จะฝากในภาพรวมคือลูกค้าสำคัญที่สุด

ในกลุ่มที่ 2 เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เวปไซด์เป็น Gateway ในการเข้าถึงอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือ Information Broker คือการวิเคราะห์ข้อมูล สารสนเทศให้ถูกต้องและใช้งานได้ คือต้อง Identify ว่ากลุ่มลูกค้าคืออะไร เขาต้องการอะไร ต้องเป็นสารสนเทศที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วไม่สามารถหาจากที่อื่นได้จึงเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ประเด็นที่ไม่มีเพราะไม่มีคนรับผิดชอบข้อมูล

ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจหรือวางแผนเป็นปัญหาหลักของเรา ปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่ อย่างเรื่องระบบประกันคุณภาพ สกอ. รับผิดชอบกี่ปีแล้ว มีข้อมูลแต่พื้นฐานไม่มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อใช้งานให้รัฐมนตรี หรืออธิการบดีใช้ สรุปคือต้องวิเคราะห์ลูกค้าให้ชัดเจนว่าลูกค้าต้องการอะไร ทุกครั้งที่ทำงานและไป Defend แค่การบ่นแต่ไม่มีข้อมูลนำเสนอจะไม่มีการได้ จึงฝากไว้

การพัฒนาหลักสูตรยังมองว่าลูกค้า และ Stakeholder สำคัญที่สุด ต้องวิเคราะห์ว่า Stakeholder ต้องการอะไร อย่ามองว่าหลักสูตรไหนพร้อมถึงพัฒนานั่นคือเอาตัวเองเป็นตัวตั้ง แต่ต้องวิเคราะห์จาก Stakeholder และลูกค้าก่อน เพื่อมากำหนด Outcome Base แต่ถ้าวิเคราะห์จากความพร้อมจะไม่มีคนมาเรียนเพราะเขาไม่ต้องการ จึงอยากให้วิเคราะห์ Customer และ Stakeholder ว่าหลักสูตรที่ต้องการอย่างไรและมีความแตกต่างได้อย่างไรให้น่าสนใจ เครื่องมือไอทีเป็นแค่องค์ประกอบ ที่สำคัญคือเนื้อหา

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ทุกกลุ่มพูดเรื่อง Supply เรามองตัวที่เป็นเนื้อหา ทำได้หรือไม่ ตอนนี้มีเทรนด์ใหม่คือทุกองค์กรต้องเป็น Organic หลายส่วนเข้าถึง ทุกนโยบายต้องออกจากงานวิจัย

เอาความคิดมารวมกันเพื่อสร้างเป็นสินค้า สร้างความร่วมมือ เราวัดอย่างไร ทุกกลุ่มถึงต้องมีความร่วมมือ

ในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร เรียนไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่ให้รู้มากขึ้น สร้างให้ดีและเก่งได้อย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การนำเสนอถ้าไม่เด่น ไม่คม ไม่ชัด โครงการฯดีจะถูกลดทอนลงไป

การทำโครงการเชิงนวัตกรรมกลุ่ม ที่อื่นไม่ค่อยให้ความสำคัญตรงนี้ แต่ถ้าไม่ไม่ตรงนี้จะไม่มีโอกาสที่ได้คิดวิเคราะห์ข้ามศาสตร์ สรุปคือเป็นโอกาสที่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โครงการดีฯ ไม่มีอะไรให้คอมเม้นต์ แต่ถ้าโครงการไม่ดีแต่แนวคิดดี จะทำให้มีการคอมเม้นต์ที่น่าสนใจสามารถนำไปเพิ่มเติมได้ ทำให้สิ่งที่ได้รับจากทุกกลุ่มมีคุณค่า บางกลุ่มยังขาดการเลือกสิ่งที่โดดเด่น ทำเองไม่ได้ต้องรู้จักให้คนอื่นช่วยทำ

ให้เราปรับตัวตรงนี้ในระยะเวลา 3 เดือน ถ้าคิดว่าโครงการฯ ดีก็ปรับให้มาก

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

การเป็นมหาวิทยาลัยเล็กชนะมหาวิทยาลัยได้คือการเข้าถึงชุมชนและชาวบ้าน

การดึงความร่วมมือกับต่างชาติ การทำธนาคารปูเป็นอีกต้นแบบที่ต่อยอดพลังทางปัญญาของชาวบ้านได้

สรุปคืออย่าวิ่งตามอย่างมหาวิทยาลัยใหญ่ แต่ให้หาความแตกต่าง


..................................................................................................................

ตัวอย่างการบ้านจากลูกศิษย์.. ทำได้ดีครับ






โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

https://www.youtube.com/watch?v=8CH1ofF7riw&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็นกับ “ดร.จีระ”. ตอน : TSU Leader Program การสร้างผู้นำทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 609319เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2016 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016 12:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทุกครั้งที่ฟัง รศ.ดร.สมชาย บรรยาย จะรู้สึกว่าโลกเชื่อมโยงกันทั้งหมด ทฤษฎีที่เกิดขึ้นบนโลกนี้มีรากฐานมาจากจุดเดียวกัน ได้รับทราบเทคนิคของการใช้ชีวิตให้มีคุณค่า เทคนิคในการอ่านหนังสือ และวิธีการบรรยายที่ประทับใจมาก

รู้สึกเสียดายที่ไม่ค่อยได้สนใจเศรษฐกิจและสังคมในช่วงที่เป็นนักเรียน ทั้งๆ ที่เป๋นเรื่องใกล้ตัวและสำคัญกับการดำรงชีวิตอย่างมาก หากนักเรียนมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูที่เชื่อมโยงวิธีคิดได้อย่างท่าน เด๋ก ๆ คงมีภูมิคุ้มกันและสนุกสนานกับการคิด วิเคราะห์

ทฤษฎีที่เกี่ยวกับ ระบบ ทฤษฎีเกม เป็นคำเก่า ที่ได้เรียนรู้ใหม่ ได้อย่างชัดแจ้ง ขอบคุณอาจารย์มาก ๆ และจะติดตามผลงานวิธีคิดวิเคราะห์ของอาจารย์

ดร.วัลลภา เชยบัวแก้ว คชภักดี

1. โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2559)

การอบรมในครั้งนี้นั้นสามารถนำไปใช้ในการบริหารงานของคณะได้เป็นอย่างดี ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจะต้องมองในรอบด้านและให้ความสำคัญต่อสิ่งต่างๆ อีกทั้งจะต้องยึดถือแนวทางที่มุ่งเน้นความจริง (Reality) และ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ (Relevance) โดยเฉพาะการพัฒนานิสิตและมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การสร้างสรรค์มูลค่า (Value Creation) และความหลากหลายมูลค่า (Value Diversity และได้เรียนรู้รวมถึงการได้รับโอกาสและเพิ่มศักยภาพ ในการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยอย่างสมบูรณ์แบบ

2. โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)

ในครั้งนี้มีความระทับใจถึงแนวคิดและหนทางของการต่อสู้ของ Alibaba Way ที่ก่อให้เกิดแรงบรรดาลใจในการใช้ชีวิตและนำไปใช้ในการสอนนิสิต และแง่คิดการอยู่รอดท่านกลางกระแสแห่งการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นที่จะต้องคิดต่างและมองต่างมุม เพราะการสร้างนวัตกรรมนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการพัฒนาคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์การ ฉะนั้นผู้นำจะต้องมีความเข้าใจในองค์การและขับเคลื่อนองค์การเพื่อสร้างสรรค์รนวัตกรรมที่นำไปสู่เป้าหมายองค์การ ภายใต้กระบวนการ คิดใหม่ทำใหม่ใฝ่ใจเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน

3. โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

ในการพัฒนาตนเองนั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงตัวเองให้มากที่สุด คนเราต้องฝึกและพัฒนาตนเองเพื่อกาวทันต่อการพัฒนาในสิ่งต่างๆ และปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ อีกทั้งในการบริหารงานนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปของสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ และสามารถที่จะนำหลักการทรงงานของในหลวง เพื่อเป็นแนวทางและหลักคิดเพื่อวางระบบและกำหนดรูปแบบในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ตลอดจนเกิดเทคนิคในการบริหารบุคลากรในรูปแบบของการปฏิบัติต่อทุกคนบนฐานของความรัก ความเมตาและความรับผิดชอบ

4. โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559)

สำหรับการร่วมอบรมในครั้งนี้ได้รับความรู้ทางด้านศิลปะ การเขียนสีน้ำด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆ ซึ่งสามารถทราบได้ว่าในการสร้างสรรค์งานศิลปะนั้นมีกระบวนการที่เป็นขั้นตอน มีกระบวนการวางแผน ว่าควรจะทำอะไรก่อนและอะไรหลัง ต้องใช้สมาธิ ใจเย็น ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการทำงานว่าคนเราจะต้องมีกระบวนการวางแผน มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนการลงพื้นที่ตะโหมดนั้นได้ร่วมพัฒนาและสร้างสรรค์ชุมชนและพัฒนาชุมชนที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนและความเข้มแข็งแห่งชุมชน

ดร.พงษ์พันธ์ พิณโท

โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1

(ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม 2559)

ผู้นำขององค์กรเป็นส่วนที่สำคัญต่อการพัฒนาองค์กร ซึ่งผู้นำที่ดีต้องมี หลักการคิด 2R เพื่อการบริหารและปฏิบัติงานที่ดีและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลคือ

  • Reality คือการใช้ข้อเท็จจริงขององค์กรและยอมรับสภาพจริงที่เป็นอยู่
  • Relevance คือใช้เป้าหมายเป็นทิศทางขององค์กร อย่างถูกทาง ตรงประเด็น มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สอดคล้องกันในทุกระดับ โดยมีการแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ มีความมุ่งมั่นที่จะชนะเล็กๆ เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายใหญ่อย่างสำเร็จ

มีการใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยง ที่จะทำให้ S-Curve ตัวเดิม สามารถดำรงอยู่ได้ ทำให้องค์กรมีความยั่งยืน ในขณะเดียวกันได้มีการสร้าง S-Curve ตัวใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของภายนอกหรือของโลก และดำเนินการให้ S-Curve ตัวใหม่เติบโต เห็นผลอย่างมั่นคงและรวดเร็ว เพื่อช่วยเสริมให้องค์กรยืนอยู่ได้ นอกจากนี้ยังใช้โครงข่ายความร่วมมือกันอย่างจริงใจและจริงจังทั้งเครือข่ายภายในองค์กรและเครือข่ายภายนอกองค์กร

โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

(ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559).....

วิธีการคิดนอกกรอบช่วยให้องค์กรสามารถหลุดพ้นจากกับดักของปัญหาจากวิธีการเดิมๆ รวมทั้งช่วยสร้างความแตกต่างเพื่อการแข่งขันและการอยู่รอดขององค์กรอย่างยั่งยืน โดยมีการยกตัวอย่างประกอบอย่างเป็นรูปธรรมให้เห็นถึงการคิดนอกกรอบที่ประสบความสำเร็จ และแนวโน้มของอนาคตอันใกล้นี้ก็ยังให้ความสำคัญกับความคิด แนวคิดและวิธีคิดนอกกรอบอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การคิดนอกกรอบจะต้องอาศัยความรู้และการทำงานเป็นทีมเป็นสำคัญ รวมทั้งการบริหารคนและองค์กรที่ช่วยให้ทีมสามารถนำพากันไปจนถึงเป้าหมายได้ โดยสามารถศึกษาการบริหารคนจากเรื่อง สามก๊ก จะช่วยให้แนวคิดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในของการครองใจคน การใช้งานคนให้ถูกต้อง สามารถนำมาประยุกต์หรือปรับใช้เพื่อการพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

(ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2559

คุณกรณ์ จาติกวานิช ได้อธิบายให้เป็นภาพใหญ่และความเชื่อมโยงกันของเศรษฐกิจโลกและของอาเซียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่คนไทยต้องคิดให้กว้างและไกลจากเฉพาะแค่ในส่วนของประเทศไทยเท่านั้น จึงจะทำให้ประเทศเข้มแข็งและพัฒนาจนเป็นประเทศชั้นนำของโลกได้ ซึ่งการใช้ภาษาอย่างน้อย 2 ภาษานั้นเป็นสิ่งท้าทายที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้และสามารถเติบโตได้ในกลุ่มอาเซียน

รศ. ยืน ภู่วรวรรณ รศ .ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและทิศทางของการก้าวไปโดยที่เราเองจะต้องติดตามและใช้งานอย่างรู้ทัน การใช้เทคโนโลยี Cloud การบริหารสถาบันการศึกษาเอกชนที่ต้องพึ่งพาตนเอง 100% การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เพื่อประหยัดต้นทุน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และเพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนใหม่ๆ

โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

(ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2559)

Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba ได้ใช้แนวทางของ Alibaba Way โดยใช้โอกาสจากเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเตอร์เน็ต ในการพัฒนา e-Commerce ในรูปแบบที่แตกต่างจาก Amazon, e-Bay และอื่นๆ จนทำให้ประสบกับความสำเร็จในประเทศจีน ก่อให้เกิดธุรกิจแบบ SME ที่เข้าถึงประชาชนทั่วไปได้ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่ทำให้ประชาชนรากหญ้า (Grass root) มีความเข้มแข็ง โดยรูปแบบการทำดำเนินการ e-Commerce หากได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาให้กับ OTOP ของประเทศไทยก็สามารถช่วยพัฒนาธุรกิจของประชาชนชาวรากหญ้าให้มีความเข้มแข็งอันนำพาให้ประเทศไทยในภาพรวมมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันกับชาติได้อย่างดี

โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1

(ช่วงที่ 5 ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2559)

บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งของคุณลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดีและประสบความสำเร็จ การปรับปรุงบุคลิกภาพให้เหมาะสมต่อการเป็นผู้นำจึงเป็นสิ่งที่ผู้นำต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการวางตัวและการมีมารยาทที่เหมาะสมในสังคม การแต่งกาย การกล่าวทักทาย การพูดจา การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การรับประทานอาหาร การพบปะผู้ใหญ่

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้ให้ถ่ายทอดประสบการณ์จากการที่ได้มีโอกาสรับใช้งานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เข้าใจในวิธีการทำงาน การครองใจคน การทุ่มเทกับงานเพื่อความสำเร็จและความสุขของผู้กระทำ การน้อมนำเอาคำสอนของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมทั้งในการทำงานและการดำรงชีวิต

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

(ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-1 เมษายน 2559)

การเป็นผู้นำต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยศิลปะช่วยให้มีความใจเย็นมากขึ้น มีการคิดและวิเคราะห์สาเหตุและทราบถึงผลลัพธ์ การผสมมีและผลลัพธ์ที่ได้จากการผสมสี การลงสีบนกระดาษ การทาน้ำลงในกระดาษ ทุกอย่างล้วนต้องใช้สมาธิในการทำงานทั้งสิ้น การเป็นผู้นำ การบริหารคนก็ไม่แตกต่างกัน ผู้นำต้องรู้จังหวะ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกล่าวยกย่องชมเชย หรือกล่าวตำหนิทีมงาน เพื่อให้ความเป็นทีมและความทุ่มเทให้กับทีมยังคงอยู่ต่อไป

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

(ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559)

มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีความโดดเด่นในด้านของการบริหารจัดการอย่างคุ้มค่า การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทุกอย่าง อย่างเหมาะสมเกิดมูลค่ามากที่สุด การเพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์เข้าไปในงาน ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างออกมามีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นเฉพาะ มีจุดเน้น จุดขาย โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน จึงทำให้มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงและประสพความสำเร็จเป็นที่นิยมของผู้ที่สนใจศึกษาต่อเป็นอย่างมาก

SCG มีความโดดเด่นในด้านของการบริหารจัดการได้ดีเยี่ยม มีกิจกรรมกับชุมชนโดยรอบ โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน การบริหารคนอย่างเป็นเลิศ แนวความคิดด้านการเติบโตของบุคลากร "น้ำนิ่งคือน้ำเน่า น้ำดีคือน้ำที่ไหล" เป็นการพัฒนาคนในทีมอย่างต่อเนื่อง การก้าวไปศึกษางานอื่นๆ ให้ครบถ้วน การที่นายไม่หวงลูกน้องเก่งๆ เป็นหน้าที่หลักของผู้นำที่จะต้องสร้างโอกาส ให้โอกาสและหาโอกาสให้ลูกทีมได้ก้าวหน้าพร้อมทั้งร่วมกันสร้างผลงานที่ดีเพื่อให้องค์กรเข้มแข็ง ยังยืนและก้าวหน้าต่อไป

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ

(ช่วงที่ 8 ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2559)

มหาวิทยาลัยทักษิณต้องมีการกำหนด Positioning ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยการมองอนาคตที่ท้าทายเพื่อให้เป็นจุดเด่นและยั่งยืนในอนาคต การวิเคราะห์จุดด้อยของมหาวิทยาลัย การมองจุดแข็ง การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสังคมออนไลน์เข้ามาช่วยให้ก้าวไปถึงจุดหมายอย่างง่ายดายขึ้น โดยคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ท่านได้บรรยายถึงทิศทางและองค์ประกอบที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในสังคมอนาคต 5 ประการที่สำคัญ คือ

1. New Global Trend – เน้นการเปลี่ยนสไตน์การใช้ชีวิตของคนในอนาคต

2. Creative Economy – การหันมาให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม หรือภูมิปัญญาสมัยใหม่

3. 5C’s Model

4. New Society / New DNA เป็นสังคมยุคอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดที่ต้องอยู่ในโลกแคบ

5. New Organization Culture

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท