ฝึกศักยภาพจริตจิตใจ


ขอบพระคุณทีมงาน Central Group โดยเฉพาะคุณจอน คุณเต่า และทีมกระบวนกรทุกท่าน ที่ให้โอกาสผู้อบรมโค้ชหรือชี้นำตนเองให้เรียนรู้ด้วยความสุขจนเกิดพลังสนุกในกิจกรรมแปดอย่างแล้วนำไปใช้ในงานกับชีวิต คือ ปลุกพลังสื่อสารรู้ใจตนเองเข้าใจผู้อื่น พร้อมสร้างสรรค์อารมณ์บวกจนสำเร็จใส่ใจในเป้าหมายชีวิตการทำงานเป็นทีมราศี นพลักษณ์ และอิสระตรงใจ

ร่างกายเรามี 32 ประการ ในครั้งนี้เกิดการตกผลึกความรู้แห่งการขับเคลื่อนหนึ่งดวงใจ 23 ส. เพื่อคิดเชิงระบบด้วยวงจรการทำงานประสานกันระหว่างสมอง (ศูนย์หัว-อารมณ์กลัวกังวล) หัวใจ (ศูนย์ใจ-อารมณ์เศร้า) และร่างกาย (ศูนย์ท้อง-อารมณ์โกรธ) ควบคู่กับการวิเคราะห์สังเคราะห์กิจกรรมหรือการกระทำที่ใช้จิตจดจ่อ 3 หมวดงานๆ ละ 3 กิจกรรมบำบัดที่มีเป้าหมาย มีคุณค่า และมีความหมายในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้เข้าอบรม ดังต่อไปนี้

หมวดหนึ่ง จริต 9 ส. กิจกรรมการไตร่ตรอง "ความเชื่อ จุดแข็ง และจุดควรพัฒนา" เพื่อตัดสินใจลักษณ์ของตนเอง ต่อด้วยกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการทำงานเป็นทีมลักษณ์เดียวกันในการรวมตัวเคลื่อนไหวเป็นช้าง (5-10 นาที) การต่อตัวให้สูง (5 นาที) และการนำเครื่องแต่งกายมาเรียงให้ยาวที่สุด (5 นาที) ตัวอย่างเช่น การก้าวเดินและสื่อสารเป้าหมายในชีวิตที่ต้องการเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีมากขึ้น การทำงานศิลปะจับคู่ด้วยการวาดไม่มองกระดาษ ไม่ยกปากกา และสบตาคู่เท่านั้น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับส่วน การชมภาพยนต์ความรักแท้จริงในความไม่แน่นอนระหว่างแม่ลูก-พี่น้องและการฟังบทภาวนาตายก่อนตาย




ผลลัพธ์แห่งการเรียนรู้คือ ลักษณ์ 1 สังเกต ลักษณ์ 2 สงสาร ลักษณ์ 3 สำเร็จ ลักษณ์ 4 สร้างสรรค์ ลักษณ์ 5 สะสม (ปัญญา) ลักษณ์ 6 สามัคคี ลักษณ์ 7 สำราญ ลักษณ์ 8 สตรอง (คุกคาม) ลักษณ์ 9 สงบ

หมวดสอง จิต 8 ส. กิจกรรมการสื่อสาร (ทำให้จริตนพลักษณ์ที่หล่อหลอมตั้งแต่แรกเกิด-14 ปีของชีวิต ซึ่งแต่ละลักษณ์ควรเรียนรู้ปรับตัวด้วยการยอมรับเปิดใจในการเปลี่ยนแปลงพฤตินิสัยของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ตลอดชีวิตได้ถึง 70% อีก 30% ต้องใช้ 3 ส. คือ สอนใจ สะกิดใจ และสะท้อนคิด เพื่อให้สันดานเป็นสันโดษ) ด้วย Systemic Thinking 3X3 Grid สู่กิจกรรมสัมพันธ์ ด้วย Drama Communication และกิจกรรมสร้างสุขในงาน ด้วยกระบวนการฝึกจิตใต้สำนึกวิธี State Management, Status & Purpose กับ Mindfulness based learning บูรณาการ Logical Levels of Change ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น การขยับร่างกายด้วยจังหวะและจินตนาการที่หลากหลาย ผ่อนคลายด้วยการฝึกสมาธิจดจ่อลมหายใจเข้าออกหลายรูปแบบ การฝึกทักษะการมองเห็นสบตาในเป้าหมายที่เปลี่ยนไปขณะเดิน การฝึกเปล่งเสียงและฟังเสียงตัวเอง เอ อา อู โอ การสนทนาในหลายบทบาทสถานการณ์จับคู่-กลุ่มกับเพื่อน การสื่อสารภาษากายแบบระดมการทำงานเป็นทีม





ผลลัทธ์แห่งการเรียนรู้ เพิ่มพลังชีวิต จิตรู้ตัว, พลังกาย คลายใจ, สื่อสารใจ ให้ทีมงาน และสะท้อนคิด ฟิตสร้างสรรค์

หมวดสาม ใจ 6 ส. กิจกรรมปรับสติและสัมปชัญญะให้เกิดการเสียสละเพื่อความสบายใจ แล้วเข้าสู่การสังเกตซ้ำ (เข้าสู่วงรอบต่อๆไป คล้าย CQI หรือ Continuing Quality Improvement) ด้วย Emotional Freedom Tapping & Brain Gym เมื่อถึงความพร้อมแห่งคุณค่าตนเอง เช่น ความเชื่อมั่นในศักยภาพแห่งตน ก็จะเกิดความสว่างแห่งปัญญาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่นต่อไป


ผ่านกิจกรรมภาวะผู้นำธรรมชาติ และกิจกรรมละครเพื่อการพัฒนา หรือ Theater for Development (TfD) เรื่อง "โค้ชความสุข สนุกสร้างงาน" สังเกตมีการใช้ภาษาพูดนานโดยไม่ได้ลงมือใช้ความรู้สึกแสดงท่าทางภาษากาย มีการแยกกลุ่มย่อยได้น่าสนใจแต่ขาดการสื่อสารเชื่อมโยงกระบวนการคิดเชิงระบบถึงความสนุกสามัคคีในผลงานที่มีคุณค่า มีเป้าหมาย มีความหมายในชีวิตการทำงานจริง ทำให้ใช้เวลาแสดงจริงเกินเวลา ต้องกระตุ้นการจัดสภาพแวดล้อมเป็นวงกลมและการชี้นำให้ลดภาษาพูดด้วยคนๆเดียวสู่การเพิ่มผู้นำธรรมชาติมากขึ้นและเกิดความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นๆ อิงบทละครการแสดงบทบาทหน้าที่ในงานประจำของแต่ละท่านได้ค่อนข้างดี

สรุปผลลัพธ์แห่งการเรียนรู้ คือ ทั้ง 100 ท่าน ยังต้องการระบบพี่เลี้ยงผู้มีทักษะโค้ชชิ่งพร้อมๆ กับการฝึกโค้ชชิ่งจัดการทักษะชีวิตของตนเองด้วยกิจกรรม 3 ประการ ได้แก่

1) ฝึกสร้างสติในการวางแผนและการกระจายงานให้เหมาะสมกับจริตจิตใจของแต่ละท่านแบบ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ในระยะเวลาอันสั้นให้โชว์ผลงานและชื่นชมในทุกๆ บริบทของวัน เวลา สถานที่ บุคคล และทุกสถานการณ์

2) ฝึกสร้างสรรค์ผ่านการดึงศักยภาพสูงสุดแต่ละบุคคลไม่ว่าด้วยประสบการณ์ความสามารถและ/หรือความเชื่อมั่นในสมรรถนะด้วยการรู้จริตจิตใจของตนเอง ฝึกสมองรวมจิตมิให้ร่างกายอยู่นิ่งจนเกินไปแล้วการสอบถามตนเองว่า กำลังทำอะไร ทำเพราะอะไร และทำอย่างไรเพื่อคุณค่าในชีวิตการทำงาน ณ องค์กรนี้ ขณะกำลังทำงานเป็นทีม

3) ฝึกสร้างสัมพันธ์ผ่านกระบวนการสงสัย สืบค้น สอบทวนและสอนตนเองให้เรียนรู้และกล้ารักษาสิทธิ์เจรจาต่อรองในโจทย์หรือปัญหาในการ ทำงานที่คลุกเคลือ-กดดัน-และต้องใช้ไหวพริบตัดสินใจและผู้นำตามธรรมชาติควรฝึกปล่อยวางความคิดหรือคิดน้อยๆ แต่แคร์ความรู้สึกทางอารมณ์มากๆ ผ่านการตั้งคำถามว่า มีอารมณ์อะไรเพราะอะไร และทำอย่างไรจะจัดการอารมณ์นั้นๆได้พร้อมมีทางเลือกจากนั้นค่อยๆสอบถามความคิดแก้ปัญหาในสถานการณ์ชีวิตการทำงานต่อไป

หากอุปมาอุปมัยกับการฝึกปฏิบัติธรรมะโดยประยุกต์ตามธรรมชาติในกิจกรรมการดำเนินชีวิต ผมขอต่อยอดว่า ฝึกจริตด้วยศีล ฝึกจิตด้วยสมาธิ และฝึกใจด้วยปัญญาผ่านเครื่องมือขันธ์ห้าเพื่อคงจริตที่ดี พรหมวิหารสี่เพื่อคงจิตที่ดี และสติปัฏฐานสี่เพื่อคงใจที่ดี โดยมุ่งเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาศักยภาพจริต (สมองเชื่อมกาย-หัวใจ) ได้ 100% + การพัฒนาศักยภาพจิต (จิตเชื่อมอารมณ์-สังคม-วิญญาณ) ได้ 100% + การพัฒนาศักยภาพใจ (สติสัมปชัญญะ-บุคลิกภาพ-นพลักษณ์) ได้ 100% + การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ที่มีคุณค่าและมีความหมายในการทำความดีเพื่อสังคม ได้ 60% เติมเต็มครบวงล้อชีวิต 360 องศาด้วยศีลธํรรม (ฐานคิด) + คุณธรรม (ฐานใจ) และจริยธรรม (ฐานกาย)





หมายเลขบันทึก: 609270เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2016 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2016 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.โอ๋ ที่ติดตามบันทึกและเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ผมเป็น Blogger ได้ดีทุกวันนี้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท