โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลหนองจิก และสถานการณ์การดื้อยา



บทนำและวัตถุประสงค์: โรงพยาบาล คือ สถานบริการที่รับรักษาผู้ป่วยทุกประเภททั้งโรคติดเชื้อ โรคไม่ติดเชื้อ ฯลฯ ผู้มารับบริการด้านสุขภาพในโรงพยาบาล เปรียบเสมือนเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคหลายชนิด ซึ่งอาจจะแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน หรือจากสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลสู่คนฯลฯ ทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขไทย และพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ จากสถิติตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองจิก ก่อนปี 2556 ไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาเกิดขึ้นในโรงพยาบาล แต่ในปี 2557 – 2558 พบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล จำนวน ๑๗ ราย ทำให้ทีมงานผู้ป่วยใน สนใจในการศึกษา โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลหนองจิกและสถานการณ์การดื้อยา เพื่อนำสู่การพัฒนาเชิงระบบในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยติดเชื้อเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น

วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณา เป็นการศึกษาย้อนหลัง แบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Studiesโดยการศึกษาข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ที่เข้ารับการรักษาตัวในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองจิกในปี ๒๕๕๖– ๒๕๕๘ ประกอบด้วย เพศ อายุ โรคประจำตัว จำนวนวันนอน ค่าใช้จ่าย ผลการตรวจห้องปฏิบัติการ โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเพาะเชื้อและพบเชื้อดื้อยา ได้แก่ เชื้อ Acinetobacter baumannii , Psuedomonas aeruginosa, Klebsiella pneumoniae ,Yeast cells and budding yeast และ Escherichia coli.

ผลการศึกษา : จากการศึกษาเวชระเบียน ปี ๒๕๕๖-๒๕๕๘

1.พบผู้ป่วยที่มารับบริการในตึกผู้ป่วยในจำนวน ๑๓,๕๐๙ ราย เป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อ จำนวน ๑,๕๕๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๕ แยกเป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๖ รองลงมาคือการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๑ ติดเชื้อทางผิวหนังคิดเป็นร้อยละ ๗.๕ และติดเชื้อในกระแสเลือด คิดเป็นร้อยละ ๒.๔ ตามลำดับ พบผู้ป่วยเสียชีวิตในหน่วยงาน จำนวน ๓๐ ราย เป็นผู้ป่วยโรคติดเชื้อจำนวน ๑๐ ราย และแยกเป็นการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ จำนวน ๗ ราย และจากการติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน ๓ ราย

2. พบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา ทั้งหมด ๑๗ ราย เป็นเพศชาย ๑๑ ราย คิดเป็นร้อยละ 64.7 เป็น เพศหญิง 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.3 มีอายุอยู่ในระหว่าง 61-80 ปี จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.5 มีโรคประจำตัวเป็นเป็นโรคเรื้อรัง จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ ๕๘.๘ ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน ๗ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๒ จำนวนวันนอนผู้ป่วยทั่วไปเฉลี่ย ๓.๕ วัน ค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว เฉลี่ย ๘,๓๑๐.๗ บาท ผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา มีวันนอนเฉลี่ย 14.2 วัน และค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว เฉลี่ย 27,796.9 บาท

3. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจากการตรวจเสมหะเพาะเชื้อ สามารถแยกตามเชื้อได้ดังนี้ ติดเชื้อ Acinetobacter baumannii จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.3 ติดเชื้อ Psuedomonas aeruginosa จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.5 ติดเชื้อ Klebsiella pneumoniae จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.6 ติดเชื้อ Yeast cells and budding yeast จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.9 พบเชื้อดื้อยา 2 ตัว Psuedomonas aeruginosa และ Klebsiella pneumonia จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.6

4.ยาปฏิชีวนะที่ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำที่ใช้ในโรงพยาบาล ได้แก่ Ampicillin , Augmentin และ Ceftriazone ซึ่งเชื้อดื้อยาดังกล่าวไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาทั้ง 3 ชนิด จำนวน 3 ราย และไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา Ampicillin จำนวน 4 ราย ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อ Augmentin+ Ampicillin จำนวน 1 ราย ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อ Ceftriazoneจำนวน 3 ราย เชื้อดื้อยาที่พบส่วนใหญ่ที่มีการตอบสนองต่อยา Levofloxacin,Ceftazidine ซึ่งเป็นยานอกบัญชีของโรงพยาบาล และต้องยืมยาจากโรงพยาบาลปัตตานี

สรุปและข้อเสนอแนะ : โรคติดเชื้อในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหนองจิก พบว่ามีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจมากที่สุด ซึ่งเชื้อที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อคือ แบคทีเรีย โดยเชื้อที่พบบ่อย คือ Acinetobacter baumannii , Psuedomonas aeruginosa, Klebsiella pneumoniae ซึ่งเชื้อกลุ่มนี้มีการพัฒนาการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทำให้ค่ารักษาเพิ่มขึ้นและต้องใช้เวลานานขึ้น ทีมงานผู้ป่วยใน ได้นำผลการศึกษาข้อมูลโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลหนองจิกและสถานการณ์การดื้อยา เข้าสู่การทบทวนในทีม สหวิชาชีพ ในการทบทวนแนวทางการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล การทบทวนการใช้ยาปฏิชีวนะ การวางแผนการจำหน่ายเพื่อการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล เพื่อการจัดการและการติดตามผู้ป่วย ใน รพสต. และชุมชน

หมายเลขบันทึก: 609203เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2016 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2016 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจมาก

ผู้ป่วยติดเชื้อนะครับ

ไปปัตตานีมาไม่มีโอกาสได้พบกันเลย

https://www.gotoknow.org/posts/606566

แบคทีเรียบ้านเราดื้อยาซะแล้วนะคะ

สวัสดีคะ อาจารย์ ขจิต อาจารย์จันทวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท