บริหารความเสี่ยงอนาคตด้วย Scenario Planning


อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์

[email protected]

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจของกิจการในปัจจุบัน พึ่งพาการวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมเป็นสำคัญ การกำหนดวิธีการวางแผนกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นได้มากขึ้นกับสภาพความเปลี่ยนแปลงในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจในระยะยาวของกิจการ ซึ่งต้องการการพัฒนากิจการสู่ความเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและกลยุทธ์

กิจการในปัจจุบันควรจะมองประเด็นของ Scenario Planning มีหลานด้าน ซึ่งหากกิจการขาดความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอและชัดเจน ก็อาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจในอนาคตที่เป็นระยะยาวด้วย

ประการที่ 1

การวางแผนด้วย Scenario Planning เป็นเรื่องของผู้บริหารและทีมกำหนดนโยบายที่จะต้องสร้างภาพของแบบจำลองให้ได้ (Simulation Game)

หากนำเอาแบบจำลองเสมือนจริงหลายๆฉากที่อาจจะเป็นไปได้ มาผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบแล้ว จะให้เรื่องราวของโลกอนาคตมากมายที่อาจจะมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้แทบทั้งสิ้น

ประการที่ 2

การใช้รูปแบบการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) หมายถึงการนำเอาปัจจัยมากมายผสมผสานกันในลักษณะที่มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากภาพของโลกปัจจุบัน

ประการที่ 3

ผู้บริหารและทีมกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์จะต้องนำเอาภาพในโลกอนาคตมาทับซ้อนกับภาพของโลกปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างและสรุปออกมาเป็น

  • ประเด็นที่ยังเป็นจุดอ่อนของกิจการหากต้องดำเนินงานอยู่ในภาพของโลกในอนาคต
  • ประเด็นที่ยังเป็นข้อจำกัดขาดความยืดหยุ่นของการดำเนินกิจการ ซึ่งไม่อาจจะใช้ได้หากจะต้องดำเนินงานอยู่ในภาพของโลกอนาคต

ประการที่ 4

ผู้บริหารและทีมกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์จะต้องนำเอาทั้งประเด็นที่เป็นจุดอ่อน และประเด็นที่ยังขาดความยืดหยุ่นมาพิจารณา

  • หาทางหลีกเลี่ยงมิให้กิจการได้รับผลกระทบนั้นในโลกอนาคต
  • หาทางลดระดับความรุนแรงของผลกระทบนั้นในโลกอนาคต

ประการที่ 5

จุดอ่อนที่สำคัญของการจัดทำแผนบน Scenario Planning ก็คือ ผู้บริหารและทีมกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์อาจจะไม่รู้ว่า สิ่งใดบ้างที่ตนต้องรับรู้ในโลกอนาคต และคิดไม่ออกว่าฉากของโลกในอนาคตควรจะเป็นอย่างไร เพราะไม่ได้รับรู้ข้อมูลและสารสนเทศที่เพียงพอจะใช้ในการตั้งสมมติฐานและการสร้างภาพของโลกในอนาคต

การพัฒนาศักยภาพ ความพร้อมในการรับรู้จึงเป็นประเด็นสำคัญเบื้องต้นที่ผู้บริหารและทีมพัฒนานโยบายและแผนกลยุทธ์จะต้องผ่านด่านการรับรู้ไปให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก

หลังจากนั้นก็คือการขยายพรมแดนของความคิดออกไปสู่ประเด็นที่น่าจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ในอนาคต

หากคิดฉากในอนาคตไม่ได้ครอบคลุมและมีความหลากหลายอย่างเพียงพอ ก็ไม่อาจจะนำมาเชื่อมโยงเพื่อหาแนวทางใหม่ในการวางนโยบายและแผนกลยุทธ์เพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้

จำนวนฉากของโลกในอนาคตที่เริ่มต้นพิจารณาจะอยู่ระหว่าง 5- 9 แก หลังจากนั้นอาจจะลดส่วนที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับอนาคตของกิจการและความเสี่ยงทางธุรกิจมากนัก จนอาจจะเหลือเพียง 2 -3 ฉากหลักเท่านั้น

ประการที่ 6

ด้วยเหตุที่ฉากของโลกในอนาคตมาจากการใช้กระบวนการของความคิดจึงอาจจะยังเลื่อนลอย มีข้อมูลสนับสนุนไม่หนักแน่นเพียงพอ จึงทำให้กิจการอาจจะต้องมีการพัฒนางานวิจัยและสำรองเพิ่มเติม เพื่อจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม จนสามารถต่อภาพของโลกในอนาคตได้อย่างชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ

ประการที่ 7

ฉากในโลกอนาคตที่ได้วาดไว้จะต้องถูกนำมาเทียบเคียงกับศักยภาพและความสามารถของการรองรับภัยพิบัติร้ายแรงและความพร้อมในการลดระดับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จนกระทั่งทำให้กิจการไม่อาจจะดำเนินต่อไปได้

ประการที่ 8

ทำการเรียงลำดับประเด็นที่ควรจะมีการติดตามในลำดับต้นๆและทำการพัฒนาการสื่อสารและสร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ

  • นำมาปรับปรุงการบริหารวิกฤติ
  • ทดลองและทดสอบในภาคปฏิบัติ
  • วางระบบการเฝ้าระวังและติดตามเพื่อหาข้อบ่งชี้เพิ่มเติม
หมายเลขบันทึก: 609015เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2016 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2016 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท