​เรื่อง บุญมหาชาติ (บุญผะเหวด)


เรื่อง บุญมหาชาติ (บุญผะเหวด)


บุญผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสองของชาวอีสานแต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจากทานครั้งยิ่งใหญ่ในตำนานฮีตสิบสอง ได้กล่าวถึงการทำบุญผะเหวดไว้ว่า “ฮอดเดือน 4 ให้พากันเก็บดอกจาน สานบั้งไม้ไผ่เสียบดอกจิก ” ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไปของชาวอีสานว่าดอกจิก ดอกจานบานราวต้นเดือนสาม พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้มาร้อยเป็นมาลัย เพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาตินี้เองและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิ์ผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวกัน และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงค์ไปเกิดในภพพระอริยเมตไตร


ชาวอีสาน จะจัดบุญผะเหวด ปีละหนึ่งครั้ง ระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงกลางเดือน 5 โดยจะมีวันรวม ตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันตกแต่งศาลา หรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอนอย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ไว้แปดทิศและมีศาลาเล็กๆเป็นที่เก็บข้าวพันก้อนและเป็นเครื่องคาวหวาน สำหรับผี เปรต และมาร รอบๆศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ 1 ถึงกัณฑ์สุดท้าย

บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดียิ่งยวดอันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อผลประโยชน์อันไพรศาลของมวลชนมนุษย์ชาติเป็นสำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญและได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมาจนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่า และอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบต่อไป

อ้างอิง: หนังสือมหาเวสสันดรชาดก โดยพระมหาสมพร วรชยเมธี

วัดเทวาพิทักษ์ ตำบลผักแว่น อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

หมายเลขบันทึก: 608951เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2016 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2016 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นประเพณีเชิงอัตลักษณ์ของชาวร้อยเอ็ดที่ผูกอิงไว้กับการท่องเที่ยว ---

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท