ค่าแรงที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมของประเทศจะยิ่งถูกทำลาย ในที่สุดอาหารจะขาดแคลนมีเงินก็ซื้อหาไม่ได้(เกิดการปล้นสะดมและจลาจลทางอาหารขึ้นแล้ว ในเวเนซุเอล่า)


ค่าแรงที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมของประเทศจะยิ่งถูกทำลาย ในที่สุดอาหารจะขาดแคลนมีเงินก็ซื้อหาไม่ได้
(เกิดการปล้นสะดมและจลาจลทางอาหารขึ้นแล้ว ในเวเนซุเอล่า)

สงสัยว่าทำไมเงินเฟ้อขึ้นทุกปี ไม่สิ้นสุด ค่าครองชีพทำไมสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ยอมหยุด แสดงว่าปริมาณเงินในระบบการเงินของโลกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทุกประเทศไม่มีใครยอมดึงเงินออกจากระบบ มีแต่พยายามทำ QE QE แล้วก็ QE แล้วเงินมาจากไหน ค่าของเงินลดลงทุกวัน ๆ สิ่งนั้นต้องไปถามผู้ที่ก่อกรรมทำสิ่งนั่นกับชาวโลกเอง ครับ


ตัดกลับมาดูในประเทศไทย
ภาคอุตสาหกรรม ภาคราชการ ภาคบริการ ก็พยายามเอาตัวรอดด้วยการ ขอขึ้นค่าแรง ก็ได้ขึ้นค่าแรงมาตลอด ค่าแรงที่เป็นตัวเงิน(wage in cash)เพิ่มขึ้น ค่าแรงที่ไม่เป็นตัวเงิน (wage in kind) ก็เพิ่มขึ้นมีความสุขกันทั่วหน้า

แต่เมื่อขึ้นค่าแรงให้แล้วก็เกิดกรณี สินค้ามีต้นทุนสูงส่งออกได้น้อยลง มีหรือที่ผู้ประกอบการ ระดับ L จะยอมผลิตมาแล้วขายไม่ได้ ก็หันมาขอความร่วมมือจากผู้บริหารการเงินของประเทศ ที่ทำการบริหารค่าเงิน (managed floating exchange rate) ช่วย บริหารค่าเงินให้ ขายสินค้าให้ได้สักหน่อยไม่อย่างนั้น แรงงานจะตกงานสังคมจะลำบาก ค่าเงินก็ลดลง สินค้าก็ขายได้ สบายไป

หวนกลับมาดู ผู้ประกอบการภาคเกษตร และ SMEs บ้างเป็นไร พวกนี้ไม่ได้ ค่าแรงเป็น ตัวเงิน จะได้ผลตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงินคือ ความมั่งคั่งของกิจการ หรือผลตอบแทนจากการขายผลผลิตการเกษตร (wage in kind) ก็จะขายสินค้าได้ราคาเป็นเงินไทยสูงกว่าเดิม ดีใจกันทั่วหน้า แต่เมื่อเทียบผลได้เป็นมูลค่าที่แท้จริงแล้ว ลดลง ยกตัวอย่างได้ จากเมื่อก่อนชาวนาขายข้าวเปลือกได้เกวียนละ 400 บาท ซื้อทองได้ 1 บาท เดี๋ยวนี้อัตราแลกเปลี่ยนแบบที่เป็นอยู่ ข้าวเปลือกเกวียนละ 8-9000 บาท ซื้อทองได้ยังไม่ถึง สองสลึงเลย ดู ๆ ไปจะเป็นข้าวเปลือก 3 เกวียนทอง 1 บาทเลยด้วยซ้ำ

ดังนั้นยึ่งขึ้นค่าแรงงานที่เป็นตัวเงิน ในภาคอุตสาหกรรม ภาคการราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคบริการ ไปเท่าไร ช่องว่างระหว่าง รายได้ภาคเกษตร และ SMEs กับ ทั้งสามภาคที่กล่าวมาข้างต้น จะยิ่งห่างไกลกันมากขึ้น GAP ยิ่งห่าง

ในการผลิตอุตสหกรรม การให้บริการของภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคบริการ ต้องช่วยเหลือภาคเกษตรและ SMEs โดยการไม่ขึ้นค่าจ้าง แต่พยายามลดค่าจ้างลง เพื่อลด GAP ลง และต้องใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี การรักษาสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ฯลฯ ในการสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น แต่สินค้าของประเทศไทยเป็นที่ต้องการของตลาดภายนอกได้เหมือนเดิม ซึ่งจะทำให้ภาคเกษตร และ SMEs ไม่ตกขบวนไป

เพราะหากภาคเกษตรและ SMEs เลิกราไป ที่ดินทางการเกษตร ที่เกษตรกรครอบครองอยู่ ก็จะต้องถูกเปลี่ยนเป็นโรงงานอุตสาหกรรม แรงงานภาคเกษตรก็จะหายไปไปเป็นแรงงานราคาถูก (unskilled labor)ในภาคอุตสหกรรม

แล้วก็จะเกิดการรุกที่ป่าไม้ เข้าไปทำการเกษตรดั่งที่เห็นมีอยู่เพิ่มขึ้น ทางที่ดีคือลดค่าแรง เพิ่มค่าเงิน สิ่งแวดล้อมก็จะลดการถูกทำลายลง
เห็นว่าการแข่งขัน แย่งชิง ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากร ได้ดีเท่า กับการแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชาติ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะดีกว่า

เขียนขึ้นเพราะได้เห็นข่าวเรื่อง การปล้นสะดมและจลาจลทางอาหารในเวเนซุเอลา ทั้งนี้ ปัจจัยพื้นฐานอย่างเช่นแป้งและข้าวกำลังขาดแคลนอย่างหนัก ฝูงชนที่ร้องตะโกนว่า "เราต้องการอาหาร"

http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/702463


พีระพงศ์ วาระเสน
FB_peeraphong varasen
มิถุนายน 2559


คำสำคัญ (Tags): #จลาจลทางอาหาร
หมายเลขบันทึก: 608709เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2016 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2016 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท