บันทึกพิเศษ บทความสรุปการสัมมนา เรื่องCollaboration between industy,government and academics in technology evlopment:Its sig..


เรื่องCollaboration between industy,government and academics in technology evlopment:Its significance and Japanese challenge วันพุธที่ ๕ พฤษจิกายน ๒๕๔๖ โดยวิทยาการญี่ปุ่นและมีล่ามแปล ได้ใจความที่เป็นสาระที่น่าเปิดเผย เกี่ยวกับวิกฤตการ ของญี่ปุ่นประสพอยู่ และแนวทางแก้ไข จึงอยากเล่าให้อ่านดังนี้

1.ปัญหาขาดแคลนประชากรคนวัยทํางาน เนื่องจากประชากรแต่งงานแล้วมักมีเพียงคนเดียว หรือไม่มีลูกพิจารณาจาก เมื่อมีการแต่งงานจากพ่อแม่มีลูกคนเดียวเวลาพ่อแม่ หมดวัยทํางาน(เกษียณ) ทั้งสองคนหมายถึงสังคมหมดคนทํางานสองคน แต่กลับมีลูกคนเดียวหมายถึง สังคมมีคนทํางานทดแทนเพียงคนเดียว แสดงให้เห็นว่าสังคมขาดคนทํางานแล้วหนึ่งคน และถ้าเมื่อมีการแต่งงานจากพ่อแม่ไม่มีลูกเวลาพ่อแม่หมดวัยทํางาน(เกษียณ)ทั้งสองคน หมายถึงสังคมหมดคนทํางานสองคน และไม่มีทดแทน แสดงให้เห็นว่าสังคมขาดคนทํางานแล้วสองคน เมื่อเวลาผ่านไปสังคมก็จะขาดคนในวัยทํางานไปเรื่อยๆ จนกระทั่งประเทศขาดคนวัยทํางานถึงขั้นวิกฤษแก้ก็แก้ไม่ทันเพราะต้องใช้เวลานานกว่าจะสร้างประชากรทดแทน แต่ประเทศต้องยังคงอยู่ในช่วงที่รอสร้างประชากรนั้น ฅ้องพาประเทศไปให้ได้ แก้ไข โดยการสร้างฐานการผลิฅในประเทศอื่น และนำเข้าแรงงานต่างประเทศ รอเวลาที่ประชากรวัยทำงานจะมีมากพอ

2.วัฒนธรรมระบบบริษัทแบบศักดินากล่าวคือนับถื่ออวุโส ระบบเงินเดือนเป็นขั้นบันได คนที่เข้ามาทีหลังไม่มีทางได้มากกว่าคนอยู่ก่อน เงินเดือน พนักงานต้องต่ำกว่าผู้จักการเสมอไม่มีวันปลดออกจากงานทำงานเรื่อยไปตลอดก็อยู่ได้ เมื่อมีการพิจารณาปรับตําแหน่งก็พิจาณาอวุโสก่อน จึงก่อในเกิดปัญหาผู้อวุโส ไม่กระฅือรือรนจะพัฒนาองค์ เพราะเห็นว่ายังไงก็ได้พิจารณาปรับตําแหน่งอยู่แล้ว ส่วนคนทํางานก็ไม่รู้จะทําไปเพื่ออะไรเพราะยังไงก็ไม่ได้พิจารณาปรับตําแหน่ง แก้ไข โดยการใช้ ระบบผลงานใครแสดงผลงานก็ได้พิจารณาเป็นอันดับแรกสร้างให้เกิดการแข่งขัน เพื่อแสดงความสามารถพัฒนาทั้งตัวเองและหน่วยงาน เป็นการสร้างให้เกิดวัฒนธรรม ใหม่ ทุกคนไม่ว่า อวุโสหรือหนุ่มมีสิทธเท่ากันหมดขึ้นกับความสามารถ การขึ้นเงินเดือนไม่ได้เป็น ระดับขั้นแต่ขึ้นตามผลงานที่ทำ ผู้จัดการอาจมีเงินเดือนน้อยกว่าพนักงานทำความสะอาดก็ได้ แต่พนักงานทุกคนไม่ว่าต่ำแหน่งไหนสามารถถูกเลิกจ้างได้ทุกเมื่อ

3. เทคโนโลยีลิขสิทธต้นน้ำ เนืองด้วยหตุการที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่จากเทคโนโลยีเก่าที่ซื้อมาเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วย กล่าวคือ มีการดัดแปลงจากเครื่องจักรเก่า มาเป็นเครื่องจักรเฉพาะด้านในการสร้าง ผลผลิตชนิดอื่น ซึ่งผลิตงานใหม่ แต่กลับโดยฟ้องระเมิดลิขสิทธ และต้องแพ้จากประเทศผู้ผลิตเป็นสร้างเครื่องจักร เนื่องจากมีการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเก่า ซึ่งถือลิขสิทธโดยประเทศ ผู้ผลิตให้เทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นคิดขึ้นนั้นเป็นเทคโนโลยีที่ได้จากเครื่องจักรของประเทศผู้ผลิต ฉนั้นเทคโนโลยีที่เกิดนี้ผู้ผลิตเครื่องจักรต้องมีสิทธิในลิขสิทธเทคโนโลยีใหม่นี้ด้วย และมีสิทธเรียกค่าดัดแปลงเครื่องจักรได้อีกด้วย แก้ไข โดยส่งเสริมหน่วยงานวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยตนเอง สร้างศูนย์ส่งเสริมงานวิจัย สร้างแหล่งการศึกษาส่งเสริมภูมิปัญญา สร้างหน่วยงานจดจองลิขสิทธทางปัญญาให้กับผู้วิจยโดยรัฐเป็นคนดำเนินงานทั้งสิ้น โดยมีหน้าที่การตลาดให้กับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจากนักวิจัย เป็นหน่วยงาน กลางเป็นศูนย์เก็บลิขสิทธเทคโนโลยีต่างๆ ไว้ทั้งหมดใครที่อยากทำอะไรเข้ามาหาในศูนย์ถ้ามีงาน หรือนัวตกรรมที่ ตรงตามความต้องการเกิดขึ้นแล้ว ก็ดำเนินการขายลิขสิทธเทคโนโลยี แบบแบ่งขายใครสนใจก็มาซื้อขายให้กับผู้ต้องการ เพราะบางทีผู้วิจัยในมหาลัยต่างๆ ทำวิจัยมากมายแต่ผู้ประกอบการ(นายทุน)ไม่รู้ว่ามีอยู่อะไรบ้างคิดได้ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ถ้ายังไม่มีอยู่ก็จัดหาผู้วิจัยในการวิจัยให้ ส่วนนายทุนมีเงิน แต่ที่ไม่รู้จะทำอะไรก็เข้าไปดูเข้าไปหาเข้าไปเลือกพอใจก็ซื้อลิขสิทธเทคโนโลยีนั้นมาผลิตทำเงิน ต่อไป เสมื่อนว่าจัดตั้งศูนย์การค้าลิขสิทธเทคโนโลยี ทุกคนมีสิทธมาเลือกซื้อ ถ้าไม่พอใจก็สั่งทำ ถ้าพอใจตรงใจตามความต้องการอยู่ก็ซื้อได้เลย มีการส่งเสริมงานวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการ

4. การส่งเสริมของรัฐมากเกินไป เนื่องด้วยรัฐได้ ช่วยเหลือผู้ประกอบการเกินไป โดยการส่งเสริมโน้น-นี้ ไม่ว่าจะเป็นมาตราการทางภาษี การลดหย่อนต่างๆ ก่อให้เกิด ปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริง และดำเนินกิจการละหลวม เพราะเห็นว่ามีรัฐคอยอุ้มอยู่ เมื่อรัฐเกิดปัญหาตัดการช่วยเหลือ หรือรัฐปล่อยให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการเอง ก็ทำให้ผู้ประกอบ การไม่สามารถทำงานได้ด้วยตนเองก็เปรียบได้กับว่ามีรัฐคอยประคองตลอด จึงยืนด้วยตัวเองไม่ได้ แก้ไขโดยคือรัฐควรช่วยเฉพาะด้านเทคโนโลยี และการส่งเสริมในขั้นต้นเท่านั้น เมื่อพ้นระยะหนึงก็ปล่อยให้ผู้ประกอบการก็ดำเนินกิจการด้วยตัวเอง ส่งเสริมการแข่งขัน การแปรรูปวิสหกิจ

5. การส่งเสริมนักวิจัยเผยแพร่งาน ในบางครั้งนักวิจัย นักนวัตกรรม รวมถึงการเรียน ป.ตรี ป.โท และป.เอก

ผู้เรียนมีความเก่งเป็นการเฉพาะ ทางญี่ปุ่นเล็งเห็นศักยภาพในความรู้ความสามารถเฉพาะนี้มากกว่า ซึ่งเป็นสาระสำคัญ ฉะนั้นในการวิจัย หรือ การศึกษาระดับ ป.ตร โท และ เอก รวมถึงงานวิจัยอื่นๆ ผู้เรียน และผู้วิจัย ไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) ทางญี่ปุ่นไม่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ป.ตรี โท และ เอก รวมถึงงานวิจัยอื่นๆ ว่าผู้นั้นต้องมีความสามารถภาษาต่างประเทศอื่นๆ ต้องจบโทเฟล หรือ ไอเอล เพราะถือว่าไม่ใช้สาระสำคัญในการพัฒนาประเทศ และการวิจัย พัฒนานวัตกรรมใดๆ เพราะถ้าไปคำนึงถึงจุดนี้อมากเกินไปจะเป็นการทำลายบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะ ญี่ปุ่นเห็นว่า ถ้าไม่ได้ภาษาอื่น ก็จ้างล่ามแปล เท่านั้นเอง กล่าวคือ ล่ามก็เป็นอาชีพหนึ่ง คนวิจัยก็เป็นอีกอาชีพหนึ่ง คนเก่งเยาะ วิจัยเก่ง นักนวัตกรรม ไม่จะเป็นต้องไปเรียนภาษาอื่นที่ไม่ถนัด ถ้าต้องการเก่งภาษาก็ไปเรียนด้านภาษาไปเลย ไม่ใช้บังคับให้ใครต่อใครไปเรียนภาษานั้น ต้องผ่านการทดสอบ โทเฟล หรือ ไอเอล อะไร ผู้เรียน ตรี โท และเอก ไม่จบเพราะเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมแบบนี้มากมายนัก (ถ้าผู้เรียนอยากเก่งภาษาอื่น หรือชอบเรียนภาษาคงเลือกเรียนด้านภาษาต้องแต่ มัธยมต้นไปแล้ว ประกอบอาชีพล่าม อาชีพแปลเอกสาร ที่ใช้ภาษาต่างประเทศไปเลย มาทำอะไรแบบนี้ทำลายทรัพยากรบุคคลชัดๆ)

แก้ไข รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงานแปลภาษา (ล่ามต่างประเทศในทุกๆ ภาษาที่ประชาชน ต้องการ) กล่าวคือ หน่วยงานนี้มีหน้าที่ แปลงานวิจัยที่นักวิจัยต้องการแปลสู่ อินเตอร์ นักวิจัยเพียงส่งเรื่อง/รายงาน/บทความ (Paper) ให้หน่วยงานนี้ หน่วยงานนี้ จะรับเรื่องแล้วแปลเป็นภาษาอื่นๆ ให้ ทั้งภาษาเยอรมัน/อังกฤษ/จีน/ฝรั่งเศษ/ฯลฯ พร้อมทั้งจัดเตรียม เผยแพร่ให้ด้วย ถ้าผู้วิจัยมีความประสงค์จะนำเสนองานวิชาการสู่ประเทศไหน ภาษาอะไร ทางหน่วยงานก็จะจัดหาลามคิดตามตัวนักวิจัยไปด้วย ในการนำเสนอทางวิชาการ เป็นการส่งเสริมให้นักวิจัย ที่มีผลงานวิจัยดีๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอื่น แต่ขอให้ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับก็เผยแพร่ออกอินเตอร์ได้โดยไม่น้อยหน้าใคร ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายก็มีทั้งเอกชนออกเอง ออกส่วนหนึ่ง หรือ หน่วยงานรัฐออกให้ทั้งหมด ในญี่ปุ่นจึงมีคนจำนวนหนึ่งหันมาเรียนภาษาอื่นแล้วมีอาขีพเป็นลาม ทำให้มีการส่งเริมอาชีพเพิ่มอีกหนึ่งอาชีพเลยครับ

[ ณ วันนั้นที่ผมไปสัมนา วิทยากรเป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก็นำลามคนญี่ปุ่นมาแปลภาษาเป็นภาษาไทยให้กับผู้ร่วมสัมนาฟังด้วย โดยท่านเองก็บอกอย่างภาคภูมิใจว่า ท่านไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เลย จะไปไหน ก็ให้หน่วยงานของรัฐจัดหาล่ามติดตามไปทุกที่ ท่านไม่จะเป็นต้องกังวลว่าจะขายหน้า ลองคิดง่ายๆ สิครับ ภาษาของตัวเองยังรู้ไม่ท่อแท้เลย (ความคิดเห็นส่วนตัว “ดัดจริตเก่งภาษาอื่น พูดถูกๆ ผิดๆ แล้วคิดว่าตัวเองพูดถูก สู้หาคนอื่นที่มีความสามรถเฉพาะ แปลภาษาเป็นล่ามดีกว่า”) ]

ในหัวข้อนี้ผมสงสารคนใทย ที่คิดแต่ว่าคนเรียน โท /เอก ต้องมีภาษาที่สอง ภาษาอังกฤษต้องเก่งระดับหนึ่งถึงจบได้ ถามจริงๆ ครับ ผู้เรียน โท/เอก ถ้าอยากเก่ง หรือชอบด้านภาษาคงเลือกเรียนด้วยภาษาไปแล้วครับ กรณีนี้ ทำให้คนที่ผมรู้จักเรียน โท/เอก ไม่จบก็เยาะ ทั้งๆ ที่มีความรู้ในงานของตัวเองอย่างดี ชำนาญ อย่างดีเยี่ยม เพราะคนทำหลักสูตรคำนึงถึงแต่ตัวเอง ไปเรียนเมืองนอก เมืองนา ลืมบ้านเกิดของตัวเอง ก็ทำหลักสูตรผู้เรียน ต้องผ่าน นั้นผ่านนี้ ก่อนถึงจะจบ โท/เอก โดยไม่คำนึกถึงความสามารถเฉพาะตัวของผู้นั้น ซื่งเป็นสาระสำคัญ ….....จริงไม๋ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท