12 ข้อแนะนำเล็กๆในการเขียนแผนการสอน (12 Tiny Tips For Writing Lesson Plan)


ในปัจจุบัน ฉันได้เข้าร่วม CELTA extension เพื่อการสอนเด็กเล็กๆ การอบรมเป็นไปด้วยดี และฉันก็อยากจะมีความสุขกับการเขียนแผนการสอนอีกครั้งหนึ่ง หัวหน้าการอบรม (tutor) บอกฉันว่าแผนการสอนของฉันคือจุดเข็มแข็ง ซึ่งหมายความว่า การสอนของฉันยังไม่ค่อยดีนัก

ฉันย้อนกลับไปที่การวิจารณ์ในเชิงบวก (positive comments) จากหัวหน้าการอบรมหลายคน และได้แบ่งปันคำแนะนำที่อยู่ข้างล่างไว้ให้ผู้ที่ต้องการจะเขียนแผนการสอนที่เป็นทางการไว้อ่าน ข้างล่างนี้ดูจะเป็นการสุ่ม (random) และส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อต้องการการสอนให้เด็กเล็กๆ

1. ประวัติห้อง (class profile)

มีสิ่งที่เป็นมาตรฐาน 2-3 อันในการเขียนประวัติห้อง ได้แก่ 1. จำนวนของนักเรียนโดยแยกไปตามชั้น, เพศสภาพ, และอายุ, 2. ภาษาแม่ของนักเรียน, 3. เหตุผลในการเรียนภาษาอังกฤษ, 4. จุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียนแต่ละคน

เพื่อให้การทำประวัติห้องของนักเรียนเป็นที่เข้าใจมากขึ้น ซึ่งคุณจะต้องรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับห้องของตนเอง จำเป็นต้องทบทวนในเรื่องเหล่านี้

1. พลวัตรของห้อง (class dynamic) ชั้นเรียนนี้เข้ากันได้อย่างดีหรือไม่, บรรยากาศเป็นอย่างไร, พวกเขาสามารถมีการโต้ตอบที่ดีภายใต้ปฏิสัมพันธ์เป็นแบบหรือไม่, นักเรียนเป็นคนๆสามารถเป็นคู่ที่ดีหรือไม่

2. การจัดการพฤติกรรม (behavioral management) หากมีการจับคู่แล้ว จะมีปัญหาหรือไม่, ประเด็นทางพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่าง เช่น การใช้คำพูดที่ไม่เพราะของเด็กๆ หรือการเสียสมาธิได้ง่าย, รางวัลและการลงโทษใดที่ใช้ได้ผลบ้าง

3. งานประจำ (routines) คำสั่งต่างๆถูกใช้อย่างไร (ที่อยู่ในชั้น หรือตามชั้นเรียน), มีเวลาในการเข้าห้อง หรือออกนอกห้องหรือไม่, เมื่อใดที่การบ้านถูกตรวจ และตรวจอย่างไร, คุณมีระบบให้คะแนนหรือไม่ (โดยมากจะเกี่ยวกับการจัดการพฤติกรรม), คุณให้งานนักเรียนในชั้นเรียนหรือไม่, จะมีการจองที่ไว้ล่วงหน้าหรือเปล่า

4. ข้อมูลอื่นๆ (other info) สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเด็กเล็กๆ เช่น เกมที่เด็กชอบ และรู้จักกันเป็นอย่างดี

ทำไมสิ่งนี้จึงมีความสำคัญ เพราะหากใครก็ตามเข้ามาสอนในชั้นของคุณ ข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ได้เป็นอย่างดี

2. หลายหลายวัตถุประสงค์ (differentiating objectives)

เมื่อคุณเขียนวัตถุประสงค์ของบท จงไปให้ไกลกว่า “เมื่อจบบทเรียนแล้ว นักเรียนสามารถ....” การทำให้วัตถุประสงค์ของคุณสามารถวัดได้ ก็ต่อเมื่อคุณกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จ (success criteria) พยายามใส่ประเด็นทั้งสามนี้ในวัตถุประสงค์ ด้วยการเขียนสิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้ในแต่ละระดับ

1. การทำงานไปสู่วัตถุประสงค์ (working towards the lesson objective) สิ่งนี้หมายความว่านักเรียนยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์นี้ พวกเขายังต้องพยายามอยู่

2. การทำงานไปที่วัตถุประสงค์ (working at the lesson objective) สิ่งนี้หมายความว่านักเรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นแล้ว

3. การทำงานที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ (working beyond the lesson objective) สิ่งนี้หมายความนักเรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และยังต้องการการท้าทายอื่นๆอีก

วิธีการนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้เรียนและคุณครู จากมุมมองทางด้านการสอน วิธีการนี้จะช่วยในการทำให้ภาระงานมีความหลากหลายขึ้น (tasks) หากมีการวางแผน และยังทำให้การประเมินก่อนการเรียน (formative assessment) มีความง่ายขึ้น

3. ประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม (action points) เมื่อเธอเข้าเรียนหลักสูตร CELTA ที่ปรึกษาสามารถที่จะเพิ่ม “ประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม (action points)” หรือสิ่งที่คุณต้องพัฒนา หรือทำงานเพื่อบทเรียนต่อไป พวกเราสามารถให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้ในแผนของเรา หากเราต้องถูกสังเกต แล้วทำไมจึงไม่รวมข้อที่ควรศึกษาเพิ่มเติมไว้ในแผนการสอนของเราเล่า? ในบางครั้งเธอจะไม่ต้องฝึกอะไรอีกต่อไปแล้ว แต่คุณจำเป็นต้องฝึกต่อ (ใช่หรือไม่) ข้อควรศึกษาเพิ่มเติมจะทำให้ผู้สังเกตการสอนของคุณ มีการจุดเน้นเพื่อการสังเกตมากขึ้น และเธออาจได้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่ดีในเรื่องแผนการของคุณ

4. การวิเคราะห์เรื่องภาษา: ความใส่ใจในรายละเอียด

ฉันเกือบจะพลาดในเรื่องการวิเคราะห์ภาษาเสียแล้ว เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถูกให้ข้อคิดเห็นมากที่สุด นี่คือข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ฉันได้ทำ แต่ฉันหวังว่าคุณจะไม่มีความผิดพลาดในเรื่องเหล่านี้

4.1 ความหมาย (meaning), รูปแบบ (form), การออกเสียง (pronunciation) หรือ ความเหมาะสม (appropriacy) จงอย่าลืมในเรื่องการดูว่าวลีต่างๆมีความเหมาะสมกับบริบทต่างๆหรือไม่ เช่น เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ เป็นแสลง หรือไม่เป็น เป็นต้น

4.2 จงแสดงเสียงของแต่ละคำไว้ด้วย รวมทั้งการเน้น

4.3 จงแสดงว่ากริยานั้นเป็นปกติ (regular) หรือไม่ปกติ (irregular) นำเสนอกริยาช่อง 1, 2, และ 3 หากกริยานั้นไม่ปกติ

ในเอกสสารการวิเคราะห์ภาษาแบบ CELTA น่าจะมีประโยคทำนองว่า ฉันจะสื่อความ/ตรวจสอบความหมาย โดย........ไว้ด้วย จงเขียนคำถามจำนวนหนึ่งเพื่อตรวจสอบสังกัป (concept) (CCQs) จงคิดให้ดีเกี่ยวกับวิธีการที่คุณใช้ในการสื่อความหมาย และตรวจสอบภาษาที่ใช้ในการสอนเด็กๆ การตอบสนองด้วยท่าทาง (total physical response), สื่อที่ต้องใช้ตาดู และของจริง (visual and realia) จะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในชั้นเรียนของเรา

5. จงอย่าเขียนข้อมูลที่เป็นรายละเอียด (don’t go overboard with procedural information)

ข้อนี้ใช้ได้หมดทุกแผนการสอน ไม่ใช่สำหรับเด็กเท่านั้น ฉันมีแนวโน้มที่จะเขียนรายละเอียด และกระบวนการโดยใช้การพรรณนา Scrivener (2011:135) กล่าวว่าจงอย่าใช้

5.1 การบรรยายแบบนิยายที่มีขนาดยาว

5.2 การบรรยายที่มีอย่างละเอียดสำหรับงานประจำ

5.3 คำสั่งหรือการอธิบายเป็นคำๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ฉันค้นพบว่าน่าจะเป็นประโยยชน์อย่างยิ่งที่จะให้อาจารย์ได้ตรวจแผนก่อนจะมีการใช้ พวกเขาจะมีการบรรยายว่าฉันใช้คำฟุ่มเฟือยขนาดไหน พร้อมกับการให้คำแนะนำว่าแผนดูยากสำหรับเขา (และตัวฉันเองด้วย) เป็นการเล่นที่ยุติธรรมจริงๆ

6. วิธีการที่มีประสาทสัมผัสอันหลากหลาย (multi sensory approach)

หากคุณกำลังสั่งสอนพวกเด็กๆอยู่แล้วหละก็ กิจกรรมที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสหลายๆทางเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ในขณะที่รูปแบบการเรียนรู้ (ทางตา, หู, การเคลื่อนไหว) ยังคงเป็นมายาคติทางประสาทอยู่ (VAK neuromyth perpetuates) แต่สิ่งที่ดีสำหรับผู้เรียนก็คือแรงจูงใจ (motivation) และการเข้าร่วม (engagement) หากคุณผสมผสานทุกสิ่งได้ในชั้นเรียน เริ่มตั้งแต่ภาระงานทั้งทางตา, หู, และการเคลื่อนไหว เมื่อคุณนำแผนการสอนมารวมกัน เป็นการดีที่จะอ่านผ่านๆถึงกระบวนการและการประเมินถึงภาระงานที่คุณมี สิ่งนี้หมายความว่าไม่เพียงแต่การออกแบบภาระงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระสวนการปฏิสัมพันธ์ (interaction pattern) อีกด้วย สรุปว่าทั้งหมดต้องมีความหลากหลาย

7. วัสดุ/ สื่อการสอน (materials/ resources)

ฉันจะขอแยกออกเป็น 2 ช่วง ก็คือ “นักเรียนจะนำ........ หรือ ฉันต้องการ...........” สิ่งนี้หมายความว่าฉันสามารถย้อนกลับไปดูที่แผนการสอน และจดทุกอย่างที่เป็นสื่อการสอนที่ฉันต้องเตรียม สิ่งนี้ดูเหมือนวิญญูชนจอมปลอมอย่างนั้นหรือ?

8. พัฒนาเด็กอย่างเต็มความสามารถ (Developing the whole child)

ทักษะชีวิต และพัฒนาการของเด็กแบบเต็มที่โดยมากจะถูกมองข้ามไปในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ (ELT) ในการวางแผนการสอนแบบ CELTA จะมีพื้นที่ต่อการบรรยายทักษะ (การอ่าน, การเขียน, การพูด, และการฟัง) หรือเป็นระบบ (คำศัพท์, ไวยากรณ์, และการออกเสียง) จงอย่าลืมว่าการสอนเด็กเล็กๆ คุณต้องมีอะไรมากไปกว่าการสอนภาษา จงคิดเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มความสามารถ น่าจะมีกิจกรรมต่างๆที่พัฒนาแบบทุกอย่าง เช่น อารมณ์, สังคม, สติปัญญา ฯลฯ สิ่งนี้ควรค่าแก่การบันทึกไว้ในแผน ไม่ว่าจะกระตุ้นการร่วมมือหรือไม่ แต่การพัฒนาการรู้ทางด้าน ICT, ความเข้าใจการโต้ตอบทางอารมณ์ ฯลฯ นี้ต้องมีอยู่ สิ่งนี้มีความสำคัญเท่ากับการเรียนรู้คำใหม่ๆเลยทีเดียว จงใส่ในแผนการสอนของคุณ

9. ปัญหาที่คาดว่าจะเกิด (anticipated problems)

จงอย่าคิดเกี่ยวกับความยุ่งยากของผู้เรียนเกี่ยวกับภาษาในชั้นเรียนของคุณ ในแบบแผนการสอนสำหรับเด็กเล็กๆในแบบ CELTA จะมีสิ่งที่คาดหมายอยู่ในนั้นด้วย

9.1 ภาษาศาสตร์ (ภาษา (language) และ ภาษาที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ (metalanguage))

9.2 การตระหนักรู้ (cognitive)

9.3 การเกี่ยวข้องและปฏิสัมพันธ์ (involvement and interactional)

9.4 พละกำลัง (physical)

10. ความพอดีของบทเรียน (lesson fit)

ระหว่างการสอนเด็กเล็กๆแบบ CELA นั้น พวกเราจะสอนเป็นกลุ่ม ประเด็นของเราอยู่ที่การสร้างสรรค์กลุ่มที่มีความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน (cohesive) ระหว่างบทเรียนต่อวันและทั้งหมด สิ่งนี้มีความหมายว่าการร่วมมือเป็นสิ่งที่สำคัญ คุณอาจสอนชั้นเรียนสำหรับเด็กเล็กๆด้วยตัวเอง แต่อย่าลืมเรื่องภาพใหญ่ๆไว้ด้วย การเรียนรู้จะพอดีกับหลักสูตรหรือโมดูล (module) ตรงไหน? เรียนเพียงแค่อย่างเดียว หรือสร้างตึกไว้เรียนบทเรียนต่อไป และสิ่งนี้มีความสำคัญต่อผู้สังเกตการณ์ด้วย

11. แผนการสอนสำหรับเด็กเรียนรู้เร็ว (plan for fast finishers)

สิ่งนี้ย้อนกลับไปที่หัวข้อการสร้างวัตถุประสงค์ให้มีความหลากหลาย จงจำไว้ว่าแผนการสอนต้องมีกิจกรรมเพิ่มเติมสำหรับเด็กๆที่เรียนเร็ว เพื่อที่พวกเรียนเร็วจะได้มีความท้าทาย จงจดสิ่งเหล่านี้ไว้ในแผน ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้จบลงที่แผนเพิ่มเติม แต่ผู้สังเกตต้องรู้ว่าคุณวางแผนกิจกรรมเหล่านั้น

12. เนื้อหาบทเรียน (lesson content)

ฉันรู้สึกว่าได้หันเหไปในทางเนื้อหาในบทเรียนมากไปกว่าการเขียนการสอนโดยทั่วไป ฉันเดาว่าสิ่งนั้นมีความสำคัญ และฉันอยากจะแบ่งปันภูมิปัญญาจากบทเรียนของพวกเรา นี่คือสิ่งที่เป็นของทั่วไป ในการพิจารณาเมื่อเราต้องวางแผนการสอนสำหรับเด็กๆ ซึ่งฉันได้ประยุกต์จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติ (workshop)ในชั้นเรียน

12.1 กิจกรรมต่างๆท้าทาย, น่าสนใจ, และสร้างแรงจูงใจกับผู้เรียนหรือไม่

12.2 มีโอกาสที่มากพอสำหรับผู้เรียนจะแบ่งปันความคิด และฝึกปฏิบัติในภาษาที่ฝึกปฏิบัติอยู่หรือไม่

12.3 ภาษาที่ฝึกปฏิบัติมีความหมายหรือไม่

12.4 นักเรียนเรียนรู้ (หรือทำ) ในขั้นตอนต่างๆหรือไม่ การกระทำเหมาะกับผู้เรียนโดยตลอดหรือไม่ จงแน่ใจว่าคุณเขียนวัตถุประสงค์ (aim) และ จุดประสงค์ (purpose) ในแต่ละขั้น

หนึ่งในบรรดาการสัมมนาเชิงปฏิบัติที่ทรงความหมายที่สุด เน้นไปที่เงื่อนไขหลักๆ ของการเรียนรู้ภาษา เป็นความคิดที่ดีในการจดจำสิ่งเหล่านี้เมื่อต้องวางแผนการสอน โดยย่อก็จะมี

1. นำเสนอตัวป้อน (input) ที่เข้าใจได้และมีมากพอ

2. โอกาสในการใช้การใช้ภาษาที่เป็นจริง

3. แรงจูงใจในการประมวล (process) ตัวป้อนทางภาษา และมีแรงปรารถนาที่จะใช้ภาษา

4. การมีความท้าทายทางภาษา

แปลและเรียบเรียงมาจาก

Lyn Quilty. 12 Tiny Tips For Writing Lesson Plan. https://eltplanning.com/2016/05/25/12-tiny-tips-for-writing-lesson-plans/

หมายเลขบันทึก: 607978เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2016 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2016 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...วิธีการสอนที่ช่วยให้มีประสาทสัมผัสหลากหลาย น่าสนใจ ครับ

Developing the whole child ข้อนี้น่าจะแปลความหมายว่า พัฒนาเด็กแบบบูรณาการเป็นองค์รวม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท