ภาวะผู้นำกับการคิดนอกกรอบ สถาบันครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นครปฐม


สวัสดีลูกศิษย์และ ชาว blog ทุกท่าน

เช้าวันนี้ผมเดินทางมาบรรยาย หัวข้อ ภาวะผู้นำกับการคิดนอกกรอบ บรรยายให้กับสถาบันครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กว่า 50 ท่าน จากทั่วประเทศ โดยมี

วัตถุประสงค์

  • เรียนรู้ความสำคัญของภาวะผู้นำ
  • เรียนรู้บทบาทของผู้นำในการคิดสร้างสรรค์เพื่อความสำเร็จขององค์การ
  • จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่านเกิดพลังในการที่จะเป็นผู้นำความสำเร็จขององค์การด้วยการมีวิธีการคิดแบบสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้
  • สร้างความเข้าใจวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ และวิธีการคิดแบบสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ
  • สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สร้างสังคมการเรียนรู้ร่วมกัน

ผมขอใช้ blog นี้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

หมายเลขบันทึก: 607793เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2016 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2016 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สรุปการเรียนรู้

หัวข้อ ภาวะผู้นำกับการคิดนอกกรอบ บรรยายให้กับสถาบันครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กว่า 50 ท่าน จากทั่วประเทศ โดยมี

วัตถุประสงค์

  • เรียนรู้ความสำคัญของภาวะผู้นำ
  • เรียนรู้บทบาทของผู้นำในการคิดสร้างสรรค์เพื่อความสำเร็จขององค์การ
  • จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่านเกิดพลังในการที่จะเป็นผู้นำความสำเร็จขององค์การด้วยการมีวิธีการคิดแบบสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้
  • สร้างความเข้าใจวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ และวิธีการคิดแบบสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ
  • สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สร้างสังคมการเรียนรู้ร่วมกัน

เน้นทฤษฏี 4L's

  • Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
  • Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้
  • Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

หลักสูตรแบบนี้ในวันนี้ขอ 3 เรื่อง

1.เกิด Inspiration

2.คิดในแนว 2 R's ในองค์กร Creativity มีความสำเร็จอะไรบ้าง ถ้าไม่สำเร็จจะแก้ปัญหาอย่างไร เราต้องรวมพลังกัน

3. เป็นเพื่อนกัน เป็นเครือข่ายกัน Network ข้าม Silo กัน

คุณพิชญ์ภูรี : วิชาที่จะให้ความรู้แก่ท่าน ในฐานะที่ติดตามอาจารย์จีระ คือ ให้องค์ความรู้ใหม่ 1 อย่าง Imagination คือ จินตนาการ แต่ไม่มีขอบเขต แต่ Creativity มี customer นึกถึงเครือข่ายที่ทำร่วมกัน

มองขอบฟ้า คิดนอกกรอบ คือจัดการกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้

ดร.จีระ : ผมชอบตื่นเช้า และขอสรุปเรื่อง Workshop

วันนี้..เราเน้นเรื่องภาวะผู้นำ หรือ Leadership แต่จะเน้นเป็นพิเศษตามโจทย์ คือ ภาวะผู้นำ (Leadership) กับ การคิดนอกกรอบ หรือ Thinking outside the box

  • กรณีตัวอย่างของหนังสือเล่มล่าสุด เรื่อง Thinking in New Boxes เขียนโดยคุณ Luc De Brabandere และ Alan Iny ซึ่งเป็นอดีตที่ปรึกษา Boston Consulting
  • หนังสือเล่มนี้จึงเป็นที่มาของแนวคิด 3 แนว อยู่ใน Box เดิม แต่ทำให้ดีที่สุด
  • ออกนอกกล่อง คือเปิดกล่องเดิมและออกมา

การตั้งองค์กรใหม่ๆขึ้นมา นอกเหนือจากองค์กรเดิมขึ้นมา อาจจะตั้งมาเป็นองค์กรอิสระขึ้นมา จัดองค์กรใหม่ขึ้นมาเลย

แต่ทฤษฎี Think outside the box ไม่ได้บอกว่า ออกไปแล้วไปไหน เพียงแต่บอกว่าต้องออกจากกล่องเพื่อทำงานที่ท้าทายมากขึ้น

ซึ่งอาจมีอะไรคล้ายๆกัน แต่บางอย่างอาจจะไม่เหมือนกัน คือ มีBox ใหม่ ก็หมายถึง สร้างวิธีการทำงานใหม่เลย อาจะเลิกใน Boxเก่า แต่อย่าลืม Box เก่า ก็มีอะไรที่น่าสนใจอยู่ คล้ายๆมีหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่า ถ้าจะออกจาก Box เก่า ต้องรู้ว่า Box เก่ามีอะไรดี และไม่ดี ทิ้งไม่ดีแต่เก็บของดีๆไว้

แนวคิดของหนังสือเล่มนี้น่าสนใจ คือ มีกฎ 5 ข้อที่จะทำให้ผู้บริหาร หรือผู้นำไปสู่ Boxes ใหม่ได้

  • Doubt everything ขี้สงสัยในทุกๆเรื่อง มีความสงสัยในทุกเรื่อง
  • Probe the possibility แสวงหาโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ตลอดเวลา

- Diverse มองหาวิธีการใหม่ๆ

- Converge หาจุดรวมที่พอดี

สุดท้าย Reevaluate ต้องประเมินซ้ำแล้วซ้ำอีก ดูว่าที่ทำอยู่เป็นอย่างไร แต่ไม่ใช่แค่หนเดียว จึงนำมาเสนอเพื่อโปรดพิจารณา

ดังนั้น จึงจะเสนอเรื่อง Leadership ในมุมมองต่าง ๆ ตามแนวทางที่ผมใช้อยู่ ดังต่อไปนี้

ผู้นำ

  • เน้นที่คน
  • Trust
  • ระยะยาว
  • What , Why
  • มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์
  • เน้นนวัตกรรม
  • Change

ผู้บริหาร

  • เน้นระบบ
  • ควบคุม
  • ระยะสั้น
  • When , How
  • กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
  • จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
  • Static

- ส่วนใหญ่ ผู้นำคือเป็นผู้มีตำแหน่ง และได้รับการศรัทธาจากผู้ร่วมงาน สร้างศรัทธาอย่างต่อเนื่อง

- ผู้จัดการ มีช่องว่าง Gap ระหว่างกัน

กรณีศึกษาผู้นำจีน 5 รุ่น

รุ่นที่ 1 (1949 - 1976) เป็นผู้นำรุ่นบุกเบิกมี เมาเซตุง (Mao Tse-tung) หรือ โจว เอ็นไล (Zhou En lai) เป็นหลัก รุ่นนี้ คือ

  • รุ่นเปลี่ยนแปลงการปกครอง ชนะการปฏิวัติมา เป็นผู้บุกเบิก
  • ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างจะมาก
  • ต้องสร้างระบบให้แน่น เพราะระบบเดิมยกเลิกหมด เช่น
    • ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐไม่ใช่ของบุคคล
    • เศรษฐกิจ คือ รัฐเป็นคนกำหนด

รุ่นที่ 2 (1976 - 1992)

คือ เติ้ง เสี่ยว ผิง (Deng Xiaoping)

รุ่นที่ 3 (1992 - 2003)

คือ เจียง ซี มิน (Jiang Zemin)

  • เป็นผู้นำประเทศสู่โลกภายนอก
  • เศรษฐกิจแข็งแรงขึ้น แต่ต้องมีบทบาทในโลก
  • จัดประชุม APEC 2003 ในจีน
  • นำจีนเข้า WTO
  • เปิดประเทศทางเศรษฐกิจมากขึ้น
  • ส่งความช่วยเหลือไป Africaและประเทศด้อยพัฒนา
  • คือ หู จิ่นเทา (Hu Jintao)
  • เห็นความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจจีนเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนมีอิทธิพลต่อโลกมากขึ้นทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ
  • แต่เริ่มมีปัญหาเสรีภาพในประเทศ และความเหลื่อมล้ำ
  • คือ สิ จินผิง (Xi Jinping)
  • ผู้นำรุ่น 5 จะต้องเก่งเรื่องประชาธิปไตยเปิดแบบจีนที่โลกยอมรับ มีสิทธิมนุษยชนมากขึ้น และดูแลการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคของจีนไม่ให้เหลื่อมล้ำ ให้เศรษฐกิจจีนสมดุลกับโลกภายนอก โดยเฉพาะค่าเงินหยวน

รุ่นที่ 4 (2003 2013)

รุ่นที่ 5 (2013 2023)

  • เราต้องสร้างผู้นำของเราให้เป็นที่รู้จัก

Leadership กับ Creativity คิดนอกกรอบ และคิดใหม่แตกต่างกว่าเดิม จะเรียกว่า สร้างสรรค์ ก็คงไม่ผิด

  • การพัฒนาทุนทางความคิดสร้างสรรค์..เริ่มจากวันนี้ ลองถามตัวเองตัวเองดูว่าเรามี ideas ใหม่ ๆ แล้วหรือไม่ และเราจะมีไอเดียใหม่ ๆ อยู่เสมอได้อย่างไร?
  • สำหรับตัวผม..ไอเดียใหม่ ๆ ของผม ได้จาก..
  • การอ่านหนังสือดี ๆ
  • ใช้ Internet
  • การพูดคุยกับคนเก่ง
  • ปะทะกับคนเก่ง

จุดอ่อนของเรา ก็คือ..
(1) เรายังไม่ได้สร้างบรรยากาศในการ Share ความรู้ร่วมกันในองค์กร

(2) การบริหารส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ Top down อยู่ ซึ่งจะเน้น Command and Control หรือเป็นการทำงานแบบแนวดิ่ง Vertical
**Power
มีไว้สำหรับ Participate ในทุกระดับ

(3) ส่วนใหญ่ทำงานเยอะ Working แต่ Think Strategies (คิดเป็นยุทธศาสตร์ไม่มาก)

(4) การทำงานเป็นทีมมีแต่ในระดับ Function ได้ดีแต่ไม่ Cross Function

การสร้างทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เป็นแนวนอน และต้องข้ามศาสตร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีตัว T ไม่มีระบบความคิด อยู่ที่การฟังชั่นระหว่างสมองซีกซ้าย และซีกขวา

การสร้างทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เน้นทฤษฎี Blue Ocean

Leadership กับ Thinking outside the box ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญในวันนี้ ผมจึงขอให้ความเห็นดังต่อไปนี้

(1) Thinking outside the box แปลว่า ผู้นำทำงานแบบเดิม ๆ ในขีดจำกัด ภายใน BOX ไม่สำเร็จ

2. Inside the box อาจจะหมายถึงงานประจำ จำเจ มีกฎระเบียบจนทำไม่ได้

3.Thinking outside the box คือ พยายามหลุดจากพันธนาการที่มีอยู่ แต่คิดอย่างเดียวไม่พอ ต้องคิดแล้วไปทำด้วย คือ ต้อง Realistic และ Practical

อุปสรรค ก็คือ

  • ไม่กล้าคิดนอกกรอบ กลัวจะถูกมองว่าผิด
  • วัฒนธรรมองค์กรไม่เอื้ออำนวย
  • ตัวเองไม่รู้ตัวเอง ไม่ใฝ่รู้ ไม่เปิดกว้าง
  • ขาด Role Model ที่ดี
  • ขาด Teamwork ที่ดี
  • ขาด Incentives ที่เหมาะสม

วิธีการทำให้เกิดขึ้น ก็คือ

  • ผู้นำต้องเป็นผู้ฟังที่ดี
  • สนับสนุนให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เสมอ และยกย่องให้เกียรติ
  • เน้นคุณค่าของความคิดใหม่ ๆ ที่หลุดจากแนวเดิม ๆ และนำไปปฏิบัติ
  • มีแนวทางใหม่ ๆ หรือ New Perspective ที่ไม่ใช่งานประจำ หรือ day to day หรือทำงานแบบเสมียน
  • พร้อมจะนำเอาความคิดไปทำให้เกิดมูลค่าแบบ 3 V

มีหนังสือออกมาหลายปีแล้ว ชื่อว่า who kill creativity

Creativity อาจจะเกิดได้ พบว่า Creativity อาจจะเกิดได้ แต่ก็มี อุปสรรคเสมอคือเกิดขึ้นมาแล้วถูกฆ่าทิ้ง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • องค์กรไม่มี diversity มีแต่อะไรที่คล้ายๆกันแบบเหมือนกันมากเกินไป
  • ไม่มี Positive feedback
  • วัฒนธรรมองค์กรปิด ไม่ Open mind
  • Lack of reward and incentive
  • ไม่มี Learn share and care ขัดแย้งไม่ผนึกกำลังกัน
  • Negative attitude คิดว่าทำไม่ได้ผล
  • ทรัพยากรไม่พอเพียงในองค์กร เช่น ห้องสมุด หนังสือดีๆ ไม่ใช่แค่เงิน

ส่วนล่าสุดมีหนังสือ inside out มอง Process เริ่มจาก Imagination , Creativity ไปสู่ Innovation สุดท้าย entrepreneurship ซึ่งถ้าทำตาม Process จะได้ผลมากโดยเฉพาะ เรื่องการศึกษา

อยากให้เกิดระบบ Feedback ในองค์กร ต้องมีวัฒนธรรมองค์กร ที่ไม่ Top down ต้องใฝ่รู้ เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

สร้างโอกาสใหม่ๆในการศึกษาตลอดเวลา เกี่ยวกับคุณภาพของทุนมนุษย์ วิชาที่สอนทำให้ปรับตัวได้ มีการศึกษาที่ดีขึ้น ห้ามโกงใช้งบประมาณขององค์กรอย่างประหยัด

entrepreneurship มีจิตวิญญาณ ให้โอกาสต่างๆเกิดขึ้น ต้นทุนต่ำสุด สร้างแนวร่วมขึ้นมา จะเอาไปใช้ในการศึกษา เพื่อให้เกิด Thinking outside the box ขึ้นมา

ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้มูลค่าของเราสูงขึ้นได้

  • Value Added
  • Value Creation
  • Value Diversity

คุณพิชญ์ภูรี : เรื่อง Thinking outside the box และ entrepreneurship ยกตัวอย่างออกมา เพื่อให้ทุกท่านจำได้ ต้นทุนกับลูกค้า กาแฟคั่วบด เป็นเทรนด์ที่กำลังมา เริ่มจากสตาร์บัค เพราะคิดสร้างสรรค์ แต่ราคาแพง เป็นจุดเริ่มของแรงบันดาลใจ สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการดื่มกาแฟนอกบ้าน จะนั่งทำอะไรก็ได้ มีบรรยากาศดี

ทุนมนุษย์ คือ เราต้องเสียก่อน ก่อนที่จะได้มา

entrepreneurship เมื่อเจออุปสรรคไม่ยอมแพ้ จัดการกับสิ่งที่เป็นโอกาสกับการคุกคามอย่างมีคุณภาพ ต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้

ต้องมีโอกาสที่ต้องได้ปะทะกันทางปัญญา ต้องทำงานย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง และต้องเป็นแนวร่วมกัน

มีทฤษฏี C U V ทำตามและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

  • Copy
  • Understanding
  • Value Creation/Value added/ Value Diversity
  • ค้นหาตัวเอง ว่าคุณเป็นข้าราชการศึกษาไปเพื่ออะไร
  • แน่นแล้วก็ไปสร้าง Network กับคนอื่น เอาข้างนอกมาร่วม
  • เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จะได้มีความคิดแตกฉาน

ผู้เข้าร่วม : อ.สอนให้คิดนอกกรอบ พยายามพัฒนาไปในสิ่งที่ดี ขึ้นชื่อเป็นผู้บริหารระดับสูง สิ่งที่หนึ่งเจออยู่ประจำ คิดที่จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ กฏระเบียบบล็อคเราอยู่เสมอ เคยเสนอผู้ใหญ่ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ กฏระเบียบที่ไร้สาระแบบนี้ อ.มีอะไรแนะนำบ้าง

ดร.จีระ : สงครามในการเอาชนะอุปสรรคเป็นสงครามการยืดยื้อ หาช่องทางอื่น ต้องกล้าเปลี่ยน ไม่จำเป็นต้องเน้นแต่กฏระเบียบ เรามีแนวร่วมร่วมกัน ต้องเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้ชนะในทันที

คุณพิชญ์ภูรี : การซื้อขายทางอินเตอร์เน็ทเก็บภาษีไม่ได้ อันนี้ศุลกากรเก็บเงินไม่ได้ หากฏระเบียบอยู่ หาช่องเล่นให้ได้

ดร.สมโภชน์ : มีกฏระเบียบเยอะ แต่กฏระเบียบถ้ามองเป็นข้อจำกัด ก็จะเป็นข้อจำกัด กฏระเบียบคือข้อระเบียบ มันจะเดินตามนั้นได้

ดร.จีระ : หนึ่งบวกหนึ่ง อาจจะไม่เป็นสอง อาจจะเป็น 4, 5 หรือ 6 ก็ได้

ผู้เข้าอบรม 2 : ผมยืดหยัด ทำงานให้รัฐบาลเกินและคุ้มค่า มากเงินเดือนที่รัฐบาลให้ สามารถระดมมาและเสริมสร้างเพิ่มขึ้นมาได้ ไม่เคยยอมจำนนตามกฏระเบียบของรัฐบาล ผมบูรณาการ หลักแนวคิด หลักการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต่างๆให้เกิดมูลค่าได้ ระดมสินค้าโอท็อปมาขายได้ ส่งเสริมให้เด็กมีงานทำฝึกธุรกิจขายปลีกมามีรายได้และมีเงินปันผลในทุกปี และให้ภาคเอกชนมาร่วมมือกับ กับ สพฐ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เสริมสร้างในกิจกรรมที่มีอยู่

ดร.จีระ : หลักสูตรที่ อ.สมโภชน์ ทำเป็นหลักสูตรที่รอบคอบ และวิชาที่น่าสนใจคือ วิชาการปรับ Mindset ปรับตัวไปเรื่อง การหาเงินหรืองบประมาณมาจากข้างนอกสามารถทำได้ ถ้าเรามีความหวังดีต่อส่วนรวมก็สามารถทำได้ อย่ามองโลกเป็นแบบเดิม หลักสูตรนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นได้

อ.พิชญ์ภูรี : ทั้งสองท่าน เสนอในความแตกต่าง มีอยู่จริงที่ได้เสนอในบางหน่วยงาน เกิดความคิดในการพัฒนาและสามารถแก้ได้ เราจะปะทะกันในทางปัญญา Learning Opportunity คือการเกิดปะทะกันทางปัญญา

Workshop

กลุ่ม 5

อธิบายอุปสรรคที่ทำให้องค์กรและตัวท่านออกนอกกรอบไม่ได้คืออะไร 3 เรื่อง

1. ระเบียบ ข้อบังคับ กลัวปัญหาต่างๆ กลัวโดนฟ้อง ทำให้เราไม่สามารถคิดนอกกรอบได้

2. วัฒนธรรมองค์กร ไม่ถูกใจใครๆ ทำให้ไม่สามารถคิดนอกกรอบได้

3. ตัวเราเอง ไม่มีความเชื่อมั่น กลัวคนไม่ยอมรับ กลัวโดนด่า คิดว่า เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด เลยไม่กล้าทำอะไร คิดนอกกรอบได้

ดร.จีระ : ควรมีความคิดริเริ่ม คิดนอกกรอบ ทำไม่ได้ก็อ่านหนังสือ มีเพื่อนร่วมงานและผนึกกำลังร่วมกัน ผู้นำ ที่ดีต้องมองการเปลี่ยนแปลงให้เป็น พาองค์กรสู่ความเป็นเลิศให้ได้

กลุ่ม 6 :

ทำไม entrepreneurship จึงจำเป็นในการทำให้ Creativity ประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่าง

ภารกิจบทบาท เราพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการ บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการในการเพิ่มมูลค่า เราเห็นว่าเราจะสอนหรือเพิ่มให้เด็กคิดเป็นวิเคราะห์เป็น มอง Value Creation/Value added/ Value Diversity การทำงานของเราเนื่องจากงบประมาณรายหัว ในการเราจะเปลี่ยนแปลง ยากมาก งบประมาณที่ได้รับลดลง เราจะสร้างและผลิตเด็กอย่างไรให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนและให้เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการ ให้เด็กได้รับคุณภาพ ซึ่งได้ร่วมลงทุนกับ เบทาโกรแล้วด้วย

ดร.จีระ : ปะทะกันทางปัญญา ด้วย 3 V entrepreneurship ทำให้ V 2 และ V 3 มีโอกาสทำต่อเนื่อง ขอเพิ่มเรื่องอาชีวะเกษตร ในความเห็นผม เป็นสิ่งที่ดี อุตสาหกรรม มาเกษตรและมาที่การบริการ ผมเคยฝึกที่ กศน.เพื่อให้เข้ามาต่อยอดเรื่องเกษตร เช่นเรื่องแปรรูปยางพาราต่อยอดรายย่อย สร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นผู้ประกอบการ มี partnership มี 3 V ร่วมด้วย มีนวัตกรรมอย่างเดียวไม่พอ มี entrepreneurship ด้วย และในที่สุดเป็นแนวร่วมกันด้วย ขอชื่นชมด้วย

คุณพิชญ์ภูรี : ความกล้าที่จะทำ เห็นในความคิดสร้างสรรค์ บวกทักษะประสบการณ์ มีองค์ความรู้ ก้าวข้ามอุปสรรคไปได้

กลุ่ม 4 :

ยกตัวอย่างที่องค์กรของท่านที่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่มีปัจจัยบางอย่างมาฆ่าทิ้ง อธิบายว่าคืออะไร และจะแก้อย่างไร

เป้าหมายคือสร้างผู้ประกอบการใหม่ ให้เกิดขึ้นองค์กร ทั้งใน ปวช.และปวส.สิ่งที่ทำมาไม่เกิดที่แท้จริง ปูพรม สวนทาง ในความต้องการที่จะสร้างผู้ประกอบการใหม่ และเรามีหลักสูตรในรายวิชา ปัจจัยสำคัญคือ ประสบการณ์ของครูและผู้เรียน ครูไม่ใช่นักธุรกิจ แต่ไม่เก่ง แต่มีการเขียนแผนธุรกิจ ในการติดตามประเมินที่ไม่ออกมาเป็นผลเลย

ส่วนที่ 2 เพิ่มภาระงาน ในการต้องไปดูในการทำธุรกิจ ที่ไม่ชำนาญ ขาดแรงจูงใจ และคัดสรร เด็กไม่ได้อยากทำจริงๆ

แนวทาง ที่กลุ่ม 6 เสนอ คือปรับหลักสูตรที่จริงจังให้เป็นไปได้จริง เราต้องมองหลักสูตรในการเสริมเรื่องการประกอบอาชีพเสริม และดึงจากหน่วยงานข้างนอกเข้ามาและร่วมมือกับสถานประกอบการในอนาคต สถาบันการเงินก็เข้ามาร่วมในการเสริมพลัง และความคิดของครูและเด็กก็ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อเสริมตรงนี้ ส่งเสริมและร่วมกันเป็นเครือข่าย เชื่อว่า SME จะเกิดขึ้นในประเทศไทย

ดร.จีระ : ที่ผมทำ คือ ภาษาอังกฤษ กับผู้ประกอบการ คือต้องจุดประกายและตรงประเด็น ให้เกิด จริงๆ เรื่องธุรกิจอยู่ในสายเลือดคนไทยอยู่แล้ว ต้องทำให้ต่อเนื่อง เอาจริง คิดว่าคงไม่ยาก เราต้องเริ่ม เด็กรุ่นใหม่ก็ไม่อยากเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่แล้วด้วย เสริมความมั่นใจของเด็ก ว่าสามารถเป็นผู้บริหารได้ในอนาคต

อ.พิชญ์ภูรี : ใช้เหตุผลเชื่อมโยงในการศึกษาจริงมาโยงกัน Learn share care ด้วยกัน ระหว่างกลุ่ม 4 และ กลุ่ม 6 เรียกเครือข่าย แบ่งเบาภาระงานได้ด้วย อย่าลืมตัวละคร 4 กลุ่ม คือวิชาการ เอกชน ชุมชนและท้องถิ่น ภาครัฐ เครือข่าย ใน 4 ตัวละครนี้มาร่วมด้วย

ดร.จีระ : แต่ต้องมีการประสานให้ดี นั่นคือคนกลาง ที่จะมารวมตัวละครทั้ง 4 ตัวมาร่วมกันให้ได้ดี การศึกษาของเราไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่ไม่มีคนมาจุดประกาย และต้องเป็นความรู้ที่สด ใหม่ ด้วย เพราะในอนาคตเราต้องทำอีกหลายอย่าง ไม่ว่าสนามบิน รถไฟ เป็นต้น

ดร.สมโภชน์ : น่าสนใจมากครับ บ้านเรานอกจากข้าวและยางพารา ยังมีน้ำตาล ไม่มีการสอนเลย มีสอนปริญญาโทเรื่อง Sugar กว่าจะรับเด็กเข้าไปทำงานได้ต้องฝึกงานถึง 2 ปี ซึ่งนานมาก ความร่วมมือนี้จับมือร่วมกันตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปลูกอ้อย และการผลิตต่างๆ ร่วมกัน อุปสรรค อยู่ที่ภาครัฐและเอกชนไม่เกิดร่วมกันเท่าที่ควร

กลุ่ม 2

ยกตัวอย่างที่องค์กรของท่านที่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่มีปัจจัยบางอย่างมาฆ่าทิ้ง อธิบายว่าคืออะไร และจะแก้อย่างไร

สิ่งที่เป็นตัวฆ่า ตัวผู้บริหารไม่กล้าจะทำอะไร ก็ไม่แตกต่างกับแบบเดิม ที่เกิดความท้าทาย วัฒนธรรมองค์กร เปลี่ยนโดยการรับผิดชอบตัวเอง

สิ่งที่แก้ไข คือนิตินัยเป็นพฤตินัย กระบวนการการสรรหาบุคลากร ควรมีความชัดเจนและแน่นอน บอกระยะเวลาที่แน่นอน ทำให้เกิดความกล้าและท้าทาย เราขาดครู เช่น ครูภาษาอังกฤษ ต้องสอบอีก 3 เดือน ถึงได้ครู ซึ่งช้ามา น่าจะเป็นโรงเรียนที่มีอำนาจในการจัดหาเองเพื่อความรวดเร็ว และการพัฒนาใดๆ ควรเป็นไปในทางที่ยั่งยืน

ดร.จีระ : ถึงมีคนมาฆ่าทิ้ง ถ้ามันดี ต้องอยู่ให้มันรอด ชนะเล็กๆ มากกว่าชนะทันที สะสมประสบการณ์ การสรรหาผู้บริหารในการศึกษาให้ชำเรืองในผู้บริหารสถาบันศึกษา โหวตกันในสถาบันการศึกษาเอง คนที่รู้เรื่องในองค์กรนั้น ต้องมั่นใจว่าจะสามารถจัดการได้

กลุ่ม 3

อธิบายอุปสรรคที่ทำให้องค์กรและตัวท่านออกนอกกรอบไม่ได้คืออะไร 3 เรื่อง

กฏระเบียบคือแนวปฏิบัติ ไม่ใช่ข้อจำกัด สิ่งสำคัญคือผู้นำ และผู้บริหาร เรามองในจุดที่ตัวเราเอง ในหลักการวิธีการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ อยู่ที่ตัวเรา บริหารจัดการในการสร้างการคิดนอกกรอบ นั่นคือผู้นำ ในการจุดประกายให้ได้ดีที่สุด

ดร.จีระ : มีการคิดนอกกรอบ เพื่อให้ทำให้สำเร็จ เพราะเวลาเจออุปสรรค ผู้นำสำคัญที่สุด ซึ่งไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา ต้องมองในอนาคต กล้าตัดสินใจ มีจังหวะเวลา คิดถึง V มากกว่าคิดถึงตัวเอง ผู้นำที่ดีเชิญผู้มีภาวะผู้นำมาบรรยายเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ

กลุ่ม 1

ยกตัวอย่างที่ทำสำเร็จ 3 เรื่อง ในการออกนอกกรอบที่เป็นรูปธรรมและยกเหตุผลที่ชัดเจน 3 ข้อ

การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีเจ้าหน้าที่สภาพัฒน์มาเป็นที่ปรึกษาด้วย คนของเรามีความสามารถพอหรือไม่ เชิญผ.อ.มาประชุมและกำหนดศักยภาพและสร้างนักศึกษาในการความรู้ความเข้าใจในจังหวัด สิงห์บุรี และอบรม กว่า 2,000 คน สร้างความเข้าใจในคนในพื้นที่ อบรมอาสาสมัครนักท่องเที่ยว สิงห์บุรีแหล่งการเรียนรู้ขึ้นยูทูปในสิงห์บุรี ทำให้มีคนเข้าไปท่องเที่ยวมากขึ้น สร้างงานพัฒนาคนและสร้างความเข้าใจคนในท้องถิ่นด้วย

ที่จังหวัดชลบุรี ระดมความคิดในการทำชลบุรีโมเดล เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมให้เหมาะสมกับตลาดแรงงาน คิดหลักสูตร ว่าทำอย่างไรเมื่อเด็กจบแล้วสามารถทำงานในสถานประกอบการที่มีคุณภาพ เราผลิตลูกค้ามีนิสัยอุตสาหกรรม และมีทักษะวิชาชีพ ประชุมไปเกือบ 6 เดือน เริ่มเรียนตั้งแต่อนุบาลถึงประถมให้รู้เรื่องอาชีพ เมื่อได้หลักสูตรก็นำร่อง มีโครงการติดตามและทำโครงการวิจัย ทุกโรงเรียน เอาหลักสูตรเพื่อมีงานทำเข้าร่วม และไม่ขัดกับระเบียบ ขอชื่นชมผู้ว่าในเรื่องนี้เพื่อลดอัตราการว่างงาน สามารถปรับภาพลักษณ์ได้ คิดนอกรอบได้ประโยชน์มาก

imagination จากที่ได้อ่านและติดตามคือ เกิดจากการที่จิตเป็นสมาธิ คิดทบทวนสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา มีปัญหาอุปสรรคอะไร เกิดและความคิดขึ้นมา เป็นจินตนาและสมาธิและความคิดที่เป็นระบบ และจดมาและจัดให้เกิดเป็นระบบและมาเป็น Innovation

บริหารโดยการสำรวจ ความต้องการ ปัญหา ความสำคัญ วางแผนและนำมาดำเนินงานต่อไป และบูรณาการ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดการขยายผลออกมา

อ.พิชญ์ภูรี : สิ่งที่ได้รับคือได้องค์ความรู้ใหม่ ได้กระตุ้นและได้แชร์กัน เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนกัน ได้ Value Added และ value diversity และได้จุดประกายขึ้นมา

ดร.สมโภชน์ อ.ไม่ใช่จุดประกาย แต่อ.ช็อตพวกเรา บางท่านรับได้ บางท่านรับไม่ได้ ทำให้เรากระตุ้น ยอมรับ ต่อต้าน เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย นี่คือ Learn share care โดยแท้จริง ท้าทายที่จะเป็นผู้นำของตัวท่านเอง นี่สิ่งที่อ.จีระช็อตพวกเรา

ดร.จีระ : ผมจะนำไปคิดต่อ ในเรื่องต่างๆ ซึ่งเกิดจากปะทะทางปัญญา จะหาจากข้อมูลตรงๆไม่ได้ เราต้องฝึกไปตลอดชีวิต มี Impact ขอให้จำผมได้ 1 เรื่อง การกระตุ้นให้ผมด้วย แต่ที่ทำไปอยากเอาข้างในของทุกคนออกมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท